เสนอพื้นที่ให้เช่า scg express

 SCG Express

ตลาดอีคอมเมิร์ซเป็น Driver ที่สำคัญของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ทำให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

โดยปีที่ผ่านมาจากข้อมูลของ Kerry Express มองว่าตลาดคอมเมิร์ซทั้ง B2B B2C และ C2C มีมูลค่ามากถึง 7-8หมื่นล้านบาทเติบโต 30%

และข้อมูลจาก SCG Express พบว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซในส่วนของ B2C และ C2C มีมูลค่า 2-3 หมื่นล้านบาท มีการเเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการเติบโตมากกว่า 2 หลักมาโดยตลอด มีการขนส่งผ่านระบบขนส่งย่อยเฉลี่ย 1.5 ล้านชิ้นต่อวันทั่วประเทศ และคาดว่าจะเติบโต 20% ในปีนี้และยังมีช่องว่างให้เข้ามาเล่นในตลาดนี้อีกมาก

เสนอพื้นที่ให้เช่า scg express

เพราะที่ผ่านมาขนส่งย่อยส่วนใหญ่จะให้บริการในพื้นทีที่จำกัด มีเพียงรายใหญ่ 2 รายคือ ไปรษณีย์ไทย และ Kerry Express ที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

ทั่วประเทศยังมีช่องว่าง SCG Express ยังโตได้อีกไกล

หลังจบปี 2560 SCG Express มีรายได้ 50 ล้านบาท เติบโต 400% ตั้งแต่เปิดตัวในตลาดไทยอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2560 ด้วยยอดการขนส่ง 8 แสนชิ้น โดยช่วยแรกเป็นการให้บริการกับลูกค้า B2C เนื่องจากจุดส่งพัสดุค่อยข้างมีอยู่จำกัด ก่อนขยายไปยังลูกค้า C2C มากขึ้น

ส่วนปีนี้ โยจิ ฮามานิชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส จำกัด คาดการณ์ว่าปีนี้ SCG Express สามารถให้บริการขนส่งย่อยมากถึง 3 ล้านชิ้น เติบโตด้านรายได้มากกว่า 300% ได้ไม่ยาก ถ้าสามารถขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทั่วประเทศได้

การแข่งขันในธุรกิจนี้ของ SCG Expressในปีนี้ใช้งบลงทุน 100 ล้านบาท พัฒนาระบบไอทีหลังบ้าน เพิ่มรถจัดส่ง และพนักงานส่งพัสดุ

เน้นไปยังการขยายพื้นที่ให้บริการ จาก 38 จังหวัดในสิ้นปี 2560 เป็น ครอบคลุมทั่วประเทศ อาศัยเครือข่ายขนส่งของ SCG Logistics ธุรกิจขนส่งในรูปแบบ B2B ที่มีบริการครอบคลุมทั่วประเทศเชื่อมต่อการขนส่งพัสดุระหว่างจังหวัดให้กับSCG Express

ขยายศูนย์บริการ เอสซีจี เอ็กซเพรส จุดให้บริการส่งพัสดุ ในรูปแบบ Service agents จาก 500 จุดในปัจจุบันเป็น 1,000 ในไตรมาส2 ของปีนี้ เพราะธุรกิจนี้แข่งขันกันเรื่องจุดรับพัสดุที่ครอบคลุมอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้า C2C ที่เน้นส่งพัสดุผ่านผู้ให้บริการที่ส่งเร็ว และใกล้บ้านที่สุด ในราคาสมเหตุสมผล

มีการจับมือกับพาร์ทเนอร์นอกธุรกิจขนส่งขยายจุดให้บริการส่งพัสดุ โดยล่าสุดจับมือกับ สถานีบริการน้ำมันซัสโก้ เปิดจุดให้บริการรับพัสดุภายในสถานีน้ำมันซัสโก้ เฟสแรกเปิดให้บริการ 10 สาขา ได้แก่ รามอินทรา กม. 8, เพชรเกษม, ราชพฤกษ์, บางยอ, วังหิน, บรมราชชนนี, บางบัวทอง, ทับยาว, สระบุรี และ แก่งคอย 1 ก่อนขยายไปยังสาขาอื่นๆ

ต้องแตกต่างถึงจะเติบโต

ส่วนใหญ่ธุรกิจขนส่งย่อยจะเน้นความเร็วในการส่งพัสดุและความปลอดภัยของพัสดุในค่าบริการที่น่าคบ

SCG Express สร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งคือ

  1. คิคค่าบริการตามขนาดของกล่องพัสดุ ในราคาเริ่มต้น 40 บาท ซึ่งคู่แข่งจะใช้วิธีการคิดค่าบริการจากน้ำหนักของพัสดุ
  2. ชูความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งในญี่ปุ่นด้วยการบริการที่คู่แข่งไม่มี แม้จะมีผู้ใช้บริการจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับบริการอื่นๆ แต่ก็สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้ อย่างบริการส่งพัสดุรักษาอุณหภูมิได้ยาวนาน 12 ชั่วโมงที่เปิดให้บริการในช่วงเปิดตัว และปัจจุบันมีเพิ่มบริการ Farm to table ส่งตรงสินค้าจากสวน/ฟาร์มถึงมือผู้รับ และบริการส่งอุปกรณ์กีฬา ซึ่งบริการส่งอุปกรณ์กีฬาผู้บริหาร SCG Express มองว่าเทรนด์พฤติกรรมคนไทยจะเริ่มเข้าสู่ Hand Free Society เหมือนญี่ปุ่น

 

เสนอพื้นที่ให้เช่า scg express

Kerry Express ปีนี้ต้องส่งให้ได้ 1 ล้านชิ้น ต่อวัน

แม้จะเชี่ยวชาญด้านพื้นที่ และรู้ลึกรู้จริงใน Relationship ของบ้านแต่ละหลังในพื้นที่สู้ไปรษณีย์ไทยไม่ได้ แต่ Kerry Express ก็เป็นหนึ่งในขนส่งย่อยเอกชนที่เติบโตมากกว่าเท่าตัวในทุกๆ ปีนับจากปี 2556 จากจุดเด่น จัดส่งภายในวันถัดไป และบริการที่ครอบคลุม 99.9% ทั่วประเทศ

แม้จะเข้ามาทำธุรกิจในไทยนานถึง 11-12 ปี ผู้บริหาร Kerry Express มองว่าแบรนด์ Kerry Express เพิ่งติดตลาดภายในปี 2559 โดยไม่ต้องทำตลาดสร้าง Brand Awareness อย่างรุนแรงเหมือนที่ผ่านมา

การติดตลาดของ Kerry Express ทำให้ในปีที่ผ่านมา Kerry Express เติบโตด้วยรายได้ 6,600 ล้านบาทให้บริการส่งพัสดุให้กับธุรกิจ B2B, B2C และ C2C มากถึง 5 แสนชิ้นต่อวัน และมีการเติบโตในลูกค้ากลุ่ม C2C และลูกค้าบุคคล ถึง 300%

ส่วนปีนี้ วราวุธ นาถประดิษฐ์ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานการค้าและพาณิชย์ บริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด คาดการณ์รายได้ 1 หมื่นล้านบาท ให้บริการส่งพัสดุให้กับธุรกิจ B2B, B2C และ C2C วันละ 1 ล้านชิ้น ด้วยงบการลงทุน 1พันล้านบาท ประกอบด้วย

ขยายจุดให้บริการส่งพัสดุจากปัจจุบันมี 2,300 สาขา แบ่งเป็น พาร์ทเนอร์ที่เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ 1,000 แห่ง เช่น แฟมิลี่ มาร์ท,จิฟฟี่, ท็อปส์ ,บีทูเอส, ออฟฟิศ เมท, บิ๊กซี, เชลล์, และปตท. และจุดส่งพัสดุที่เป็นร้านค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่แบรนด์เชน 400 แห่ง เป็น 3,000 แห่ง ในปี 2561 และ 5,000 แห่งในปี 2563 โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปยังพันธมิตรรีเทล สร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้า

มีการขยายศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ที่บางนา และปทุมธานี รองรับทราฟิกการส่งได้มากขึ้น และเพิ่มจำนวนพาหนะขนส่งจากปัจจุบันที่มีอยู่ 6 พันคัน แบ่งเป็น รถปิ๊กอัพและรถบรรทุก 80% มอเตอร์ไซค์ 20% และขยายเส้นทางขนส่งจาก 1 หมื่นเส้นทางต่อวัน เป็น  2 หมื่นเส้นทางต่อวัน

ทั้งนี้ในเส้นทางของธุรกิจขนส่งย่อยยังไปได้อีกไกล ตราบเท่าที่อีคอมเมิร์ซยังเติบโต

อ่านเพิ่ม เปิดแผนธุรกิจโลจิสติกส์ SCG

อ่านคอนเทนต์อื่นๆ http://www.marketeeronline.co



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

เสนอพื้นที่ให้เช่า scg express
เสนอพื้นที่ให้เช่า scg express