ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

รวมข้อสอบ โอเน็ต วิทยาศาสตร์ O-NET ordinary education test เป็นข้อสอบที่ไม่ยากมากพี่จึงรวมข้อสอบ ย้อนหลัง 15ปี พร้อมเฉลย

 

ไม่พลาดทุกข่าวการสอบเข้าทางLine 

>>คลิกติดตามข่าวทางlineที่นี้<<

เว็บไซต์นี้ไม่ใช่เว็บมหาวิทยาลัยนะครับ เป็นเว็บไซต์รวมข่าวรับสมัครรับตรง ทุนต่างๆทั่วประเทศให้น้อง

ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

รวมข้อสอบ โอเน็ต วิทยาศาสตร์ 15 ปี ย้อนหลัง พร้อมเฉลย!

 

หน้าปก เฉลยโดย biochat by P’Nont

 

เฉลยโอเน็ตโดย เพจ BioChat by P’Nont    มีเฉลยข้อสอบและติวมากมายในเพจนี้

 

1.เฉลยข้อสอบละเอียด O-Net ม.6 วิทยาศาสตร์ 63  <<คลิกอ่านที่นี่>>

 

2.เฉลยข้อสอบ ONET ม.6 ปี 62 วิทยาศาสตร์ (สอบ 3 มี.ค. 62)  <<คลิกอ่านที่นี่>>

 

3.เฉลยข้อสอบ ONET วิทยาศาสตร์ ม.6 (สอบเมื่อ 4 มีนาคม 2561)  <<คลิกอ่านที่นี่>>

 

4.เฉลยข้อสอบ ONET วิทยาศาสตร์ ม.6 ปี 59   <<คลิกอ่านที่นี่>>

 

 

เฉลยข้อสอบโอเน็ต

1.เฉลยข้อสอบ ONET ม.6 ปี63 วิทยาศาสตร์  <<คลิกอ่านที่นี่>>

 

 

เฉลย โดยเพจ ครูส้มโอ ติววิทย์ เตรียมสอบ

 

  1. เฉลยข้อสอบ ONET ม.6 ปี 62 วิทยาศาสตร์ (สอบ 3 มี.ค. 62)   <<คลิกอ่านที่นี่>>
  2. เฉลยข้อสอบ ONET วิทยาศาสตร์ ม.6 (สอบเมื่อ 4 มีนาคม 2561)   <<คลิกอ่านที่นี่>>

ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

 

เฉลย โอเน็ตย้อนหลัง  อยู่ด้านหลังแบบไม่ละเอียด

ปี 2560 (dek 61) > http://bit.ly/2D1Jlbk
ปี 2559 (dek 60) > http://bit.ly/2OG5xy5
ปี 2558 (dek 59) > http://bit.ly/2S6iorb
ปี 2557 (dek 58)
ชุดที่ 1 > http://bit.ly/2OGkgJ5
ชุดที่ 2 > http://bit.ly/2Pbttc0
ปี 2556 (dek 57) > http://bit.ly/2R7mLB7
ปี 2555 (dek 56) > http://bit.ly/2PMBAJ7
ปี 2554 (dek 55) > http://bit.ly/2AlT0H5
ปี 2553 (dek 54) > http://bit.ly/2S6jNOq
ปี 2552 (dek 53) > http://bit.ly/2R4R8YG
ปี 2551 (dek 52) > http://bit.ly/2OCHhwJ
ปี 2550 (dek 51) > http://bit.ly/2CuGTsG
ปี 2549 (dek 50) > http://bit.ly/2PNf9n9
ปี 2548 (dek 49) > http://bit.ly/2CYZcre

 

———————————————————

ติดตามช่องทางรับการข่าวจากลิงค์ด้านล่างได้เลยนะครับ มีข่าวรับตรง ค่าย ทุนตั้งแต่ม.ปลายถึงปริญญาเอก รอให้น้องสมัครอยู่

ข้อสอบโอเน็ตวิชาชีวะ ม.6 58 

ข้อ 1) ออร์แกแนลล์ใดที่พบเฉพาะภายในเซลล์ของสัตว์เท่านั้น (O-net 58)       1. ไมโทคอนเดรีย       2. แวคิวโอล       3. ไลโซโซม       4. เซนทริโอล       5. ผนังเซลล์
คำตอบข้อ 1 ) ตอบ (4) เซนทริโอลเหตุผล
เพราะ เซนทริโอลเป็นออร์กาแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม พบในเซลล์สัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวพวกโพรทิสต์ แต่ไม่พบในเซลล์พืชและพวกเห็ดรา ทำหน้าที่ เป็นที่ยึดเส้นใยสปินเดิลช่วยในการเคลื่อนที่ของโครโมโซม และแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจากกันขณะเซลล์แบ่งตัวข้อ 2) เราควรทำเช่นไรจึงจะยืดอายุของดอกกุหลาบที่ปักแจกันให้อยู่ได้นาน (O-net 58)       1. ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน       2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศเข้าไปในก้านดอก       3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้น       4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่มการดูดน้ำจากภายนอก       5. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำ
คำตอบข้อ 2 ) ตอบ (1)  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้าน
เหตุผล

ตัวเลือกที่

ผลที่เกิดขึ้น

1.  ตัดก้านดอกใต้น้ำ เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในก้านการป้องกันไม่ให้ฟองอากาศขึ้นไปก้านดอกจะช่วยให้น้ำ
ในท่อลำเลียงอยู่กันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
สามารถลำเลียงไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ต่อเนื่อง
จึงช่วยยืดอายุของก้านดอกได้นานขึ้น2. ทาวาสลินที่ก้านตรงรอยตัดเพื่อกันไม่ให้อากาศ
เข้าไปในก้านดอกวาสลินจะขัดขวางการลำเลียงน้ำจากภายนอก
เข้าสู่ก้านดอกทำให้เมื่อพืชสูญเสียน้ำไปแล้ว
ลำเลียงน้ำเข้าไปทดแทนไม่ได้3. ใส่ขี้เถ้าลงในน้ำเพื่อปรับค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างมากขึ้นทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในน้ำสูงขึ้น
เกิดสภาวะที่เป็นสารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution) ส่งผลให้น้ำในเซลล์ของพืชสูญเสียออกมาทำให้พืชเหี่ยวเฉาเร็วขึ้น4. ใส่เกลือลงในน้ำเพื่อปรับความเข้มข้นและช่วยเพิ่ม
การดูดน้ำจากภายนอกส่งผลคล้ายคลึงกับข้อ 35. เด็ดกลีบดอกทิ้งบางส่วน เพื่อลดการคลายน้ำการคายน้ำส่วนใหญ่เกิดที่ใบดังนั้น การเด็ด กลีบดอกทิ้ง
บางส่วนจึงช่วยลดการคลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย
เนื่องจากยังมีการคลายน้ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบอย่างต่อเนื่องข้อ 3) อวัยวะใดที่ปลาไม่ได้ใช้ ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย (O-net 58)  
       1. เหงือก  
       2. รูจมูก  
       3. ผิวหนัง
       4. ไต
       5. ทวารหนัก
คำตอบข้อ 3 ) ตอบ (2) รูจมูก
เหตุผล
เหงือก ==> ช่วยขับแร่ธาตุกรณีปลาเค็ม ส่วน ปลาน้ำจืด เหงือกช่วยดูดแร่ธาตุ

ผิวหนังมีเกล็ด==> ช่วยป้องกันไม่ให้แร่ธาตุซึมเข้ากรณีปลาทะเล ส่วนปลาน้ำจืด เกล็ดป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่าน

ไต==> ไตปลาน้ำเค็ม มีโกลเมอรูลัสเล็กหรือไม่มีเลยทำให้กรองของเหลวได้น้อยและปัสสาวะออกมาน้อยด้วย ปัสสาวะจะมีเกลือแร่พวกที่เป็นประจุคู่เช่นแมกนีเซียมไอออนทูซัสเฟตเป็นส่วนใหญ่ และมีของเสียจากเมแทบอลิซึมของสารโปรตีนเจีอปน
ออกมาน้อยมาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นเท่าเลือด (isotonic urine)  ส่วนไตไตปลาน้ำจืดมีโกลเมอรูลัส (glomerulus) ขนาดใหญ่ทำให้กรองของเหลวได้จำนวนมากและกำจัดปัสสาวะที่เจือจาง(dilute urine)และเจือจางกว่าเลือด(hypoto
nic urine) ออกมา เป็นการรักษาเกลือแต่และกำจัดน้ำส่วนเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ
(อ้างอิงจาก  : http://www.vcharkarn.com/vcafe/53025)

ทวารหนัก===> เป็นทางผ่านของอุจาระช่วยขับเกลือกรณีปลาน้ำเค็ม และช่วยขับน้ำกรณีปลาน้ำจืด
ดังนั้นส่วนที่ไม่ได้ใช้ในการรักษาดุลยภาพ ของปลาคือข้อ (2) รูจมูกข้อ 4) นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวประเทศอินเดียในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ร่างกายของเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด (O-net 58)
      1. สมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นร่างกาย
      2. หลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว
      3. กล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนคลายตัว
      4. ต่อมเหงื่อเพิ่มการหลั่งเหงื่อ
      5. อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น
คำตอบข้อ 4 ) ตอบ (5) อัตราการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น
เหตุผล
การเปลี่ยนแปลของร่างกายขณะที่อุณหภูมิภายนอกสูงขึ้นเป็นผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมร่างกายดังนี้
  1. หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังคลายตัวเพื่อเพิ่มการแผ่รังสีความร้อน
  2. ขนเอนราบต่อมเหงื่อหลั่งเหงื่อเพิ่มการระเหยของเหงื่อ
  3. ลดอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้อัตราการเผาผลาญสารอาหารลดลงด้วย
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในข้อ (5) จึงเป็นข้อยกเว้นข้อ 5) ข้อใดจับคู่ระหว่างอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกันและหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง (O-net 58)  
       1.  ต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
       2.  ตับทำหน้าที่สร้างและทำลายเกล็ดเลือด
       3.  ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
       4.   ม้าม ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว
       5.   ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
คำตอบข้อ 5 ) ตอบ (3)   ไขกระดูก ทำหน้าที่สร้างเกล็ดเลือด
เหตุผล
เพราะไขกระดูกเป็นแหล่งสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวทุกชนิด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด

ข้อ 6) เซลล์ในรูปมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีสในระยะใด (O-net 58)

ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

       1. เมตาเฟส I
       2. แอนนาเฟส I
       3. อินเตอร์เฟส II
       4. เมตาเฟส II
       5. แอนนาเฟส II

 


คำตอบข้อ 6 ) ตอบ (2)  แอนนาเฟส I

เหตุผล

จากภาพจะเห็นได้ว่าเป็นการแยกกันของโครโมโซมคู่เหมือน (Homologous chromosome) ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ว่าโครโมโซมที่แยกออกไปแต่ละแท่งประกอบด้วย 2 ซิสเตอร์โครมาทิด (Sister chromatid) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของโครโมโซมในระยะแอนนาเฟส I

 

ข้อ 7) จากการเกิดครอสซิงโอเวอร์ระหว่างคู่โครโมโซมดังภาพ มีผลทำให้ได้เซลล์สืบพันธุ์กี่แบบ (O-net 58)
ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย
       1. 2  แบบ
       2. 3  แบบ
       3. 4  แบบ
       4. 5  แบบ
       5. 6  แบบ
คำตอบข้อ 7 ) ตอบ (2)  3 แบบ
เหตุผล
ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

เมื่อเกิดครอสซิงโอเวอร์ หลังจากการแลกเปลี่ยนยีนจากโครโมโซมแท่งหนึ่งจะไปอยู่อีกแท่งดังภาพโดยโครโมโซมที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการแลกเปลี่ยนแท่งที่ 1 จะเป็นไปตามเส้นสีแดง ส่วนแท่งที่ 2 จะเป็นไปตามเส้นสีเขียว เมื่อการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นจนถึงระยะแอนนาเฟส II โครมาทิดของโครโมโซมแต่ละแท่งแยกไปอยู่ในแต่ละเซลล์ ของทั้งหมด 4 เซลล์ โดยแต่ละเซลล์ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่สร้างได้จะมีแอลลีลของแต่ละคู่ยีน ดังต่อไปนี้
เซลล์ที่ 1 ABCd
เซลล์ที่ 2 abCD
เซลล์ที่ 3 ABCd
เซลล์ที่ 4 aBcD
จะเห็นว่าเซลล์ที่ 1 และ 3 จะมีแอลลีลของแต่ละคู่ยีน ของเซลล์สืบพันธุ์ในรูปแบบเดียวกัน
ดังนั้นการเกิดครอสซิงโอเวอร์ระหว่างคู่โครโมโซมดังภาพ มีผลทำให้ได้เซลล์สืบพันธุ์แตกต่างกัน 3 แบบข้อ 8) ข้อใดเป็นจีเอ็มโอที่เกิดจากการทำพันธุวิศวกรรม (O-net 58)   
       1.  ปลาทับทิม
       2.  ข้าว กข 15
       3.  กล้วยไม้ปลอดเชื้อ
       4.  มะละกอต้านทานไวรัส
       5.  วัวโคลน
คำตอบข้อ 8 ) ตอบ (4) มะละกอต้านทานไวรัส
เหตุผล
พันธุวิศวกรรม คือ การตัดต่อยีนหรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งนำไปเชื่อมต่อกับยีนหรือ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเกิดเป็นยีนหรือ DNA สายผสม ทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝ่ายรับยีน จะสามารถสังเคราะห์โปรตีนชนิดที่ถูกกำหนดโดยยีนที่ได้รับมา ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง สอดคล้องกับสิ่งมีชีวิตในข้อ (4) มะละกอต้านทานไวรัสข้อ 9) สัตว์กลุ่มใดต่อไปนี้มีความหลากหลายทางสปีชีส์ต่ำที่สุด (O-net 58)
      1. สุนัขบ้าน
      2. เต่าไทย
      3. นกจับแมลง
      4. ตั๊กแตน
      5. เป็ดป่า
คำตอบข้อ 9 ) ตอบ (1) สุนัขบ้าน
เพราะอ้างอิงมาจากหนังสือแบบเรียนชีววิทยา สุนัขบ้าน Canis familiaris
โดย
Genus:CanisSpecies:C. lupusSubspecies:C. l. familiarisจะเห็นได้ว่า familiaris เป็น Subspecies จึงจัดว่ามีความหลากหลายน้อยที่สุดข้อ 10)  ทฤษฎีการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด (O-net 58)   
       1. สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวของสปีชีส์นั้นจะมีลักษณะแปรผันแตกต่างกัน
       2. การที่สิ่งมีชีวิตนั้นมีลูกหลานน้อยเกินไป จะทำให้พวกมันต้องต่อสู้กัน
       3.  ตัวที่มีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าจะอยู่รอดได้ดีกว่า
       4. ตัวที่อยู่รอดได้ดีกว่า จะมีโอกาสเป็นพ่อแม่ของรุ่นต่อไป
       5. เมื่อเวลาผ่านไปยาวนาน อาจจะนำไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ได้
คำตอบข้อ 10 ) ตอบ (2) การที่สิ่งมีชีวิตนั้นมีลูกหลานน้อยเกินไป จะทำให้พวกมันต้องต่อสู้กัน
เหตุผล
เพราะสาระสำคัญของทฤษฎีการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติ  มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานจำนวนมากที่มีลักษณะแปรผันแตกต่างกันมากมาย ลูกที่มีลักษณะแตกต่างกันเหล่านี้ต้องต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดมีการแก่งแย่งสิ่งที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ลูกที่อ่อนแอหรือมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะไม่สามารถอยู่รอด จึงไม่มีการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมของตนไปยังรุ่นถัดไป ขณะที่ลูกที่สามารถมีชีวิตรอดได้จะถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมนั้นๆ ไปยังรุ่นต่อไป สิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นจึงมีความแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตรุ่นเดิมทีละน้อย กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อระยะเวลาผ่านไปจึงเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตเดิม

ข้อ 11) ลักษณะชีวนิเวศหรือไบโอมแบบใด ที่พบว่าพืชชนิดต่างๆ ได้เกิดวิวัฒนาการไปสู่สปีชีส์ใหม่มากที่สุด (O-net 58)       1.  ไบโอมป่าดิบชื้น
       2.  ไบโอมทุนดรา
       3.  ไบโอมทะเลทราย
       4.  ไบโอมป่าสน
       5.  ไบโอมสะวันนา


คำตอบข้อ 11 ) ตอบ (1) ไบโอมป่าดิบชื้นเหตุผล
ไบโอมป่าดิบชื้น ภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนตริเมตร ป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายนับพัน สปีชีส์เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  จึงมีโอกาสที่จะเกิดสปีชีส์ใหม่มากที่สุดข้อ 12) ชีวนิเวศหรือไบโอมแบบใดที่ไม่พบในประเทศไทย (O-net 58)       1. ไบโอมป่าดิบชื้น
       2. ไบโอมทุ่งหญ้าในเขตอบอุ่น
       3. ไบโอมป่าสน
       4. ไบโอมแหล่งน้ำจืด
       5. ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม
คำตอบข้อ 12 ) ตอบ (2) ไบโอมทุ่งหญ้าในเขตอบอุ่น
เหตุผล
ไบโอมป่าดิบชื้น พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ที่เขาใหญ่
ไบโอมป่าสน พบที่ภูกระดึง
ไบโอมน้ำจืด พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำ
ไบโอมน้ำเค็ม พบได้ทั่วไปในแถบพื้นที่ ที่ติดกับทะเล
ส่วนไบโอมทุ่งหญ้าในเขตอบอุ่นเป็นทุ่งหญ้าที่มีต้นหญ้าสูงตั้งแต่ 1.5-8 ฟุต แตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝน หญ้าในเขตนี้จะมีรากที่หยั่งลึกมากทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นที่สำคัญ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสเตปส์ (Steppes) ในรัสเซีย ทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยจะไม่มีไบโอมในลักษณะนี้
ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย

ภาพ ทุ่งหญ้าแพรี่

ข้อ 13) ในการศึกษาระบบนิเวศในท้องถิ่น ข้อใดจับคู่ผิดระหว่างเครื่องมือและสิ่งที่ตรวจวัด (O-net 58)   
      1. เทอรโมมิเตอร์ วัดอุณหภูมิ
      2. เซคิดิสก์ วัดระดับความลึกของน้ำ
      3. ถุงลากแพลงก์ตอน เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนในน้ำ
      4. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ วัดความเป็นกรด-เบส
      5. เดนซิโอมิเตอร์ วัดความหนาแน่นของเรือนบอดไม้
คำตอบข้อ 13 ) ตอบ (2) เซคิดิสก์ วัดระดับความลึกของน้ำ
เหตุผล
เซคิดิสก์ เป็นเครื่องมือวัดการส่องผ่านของแสงลงสู่แหล่งน้ำ
ข้อสอบโอเน็ต ชีวะ ม.6 ปี 61 พร้อมเฉลย
ภาพ เซคิดิสก์
ข้อ 14) สายใยอาหารที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตดังต่อไปนี้ นกหัวขวาน  เหยี่ยว  หนอนบุ้ง  ไส้เดือนดิน  และเชื้อรา การถ่ายทอดพลังงานเริ่มต้นจากสิ่งมีชีวิตในข้อใด (O-net 58)
      1.  นกหัวขวาน
      2.  เหยี่ยว
      3.  หนอนบุ้ง
      4.  ไส้เดือนดิน
      5.  เชื้อรา
คำตอบข้อ 14 ) ตอบ (5) เชื้อรา
จากข้อมูลสายใยอาหารที่กำหนดให้น่าจะเป็นสายใยอาหารที่เริ่มจากผู้ย่อยสลาย หรือที่เรียกว่า โซ่อาหารหรือสายใยอาหารแบบดีไทรทัส (detritus food chain and detritus food web) ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายในนี้ คือตัวเลือกที่ (5) เชื้อราข้อ 15)  ข้อใดเรียงลำดับของพืชที่น่าจะพบเมื่อทำการเผาไร่ข้าวโพดแล้วปล่อยให้รกร้าง ได้อย่างถูกต้อง (O-net 58)   
       1. ข้าวโพด –  หญ้า – แห้วกระเทียม –  ไม้พุ่ม – ไม้ต้น
       2.  ข้าวโพด – แห้วกระเทียม – ไม้ต้น – ไม้พุ่ม  – หญ้า
       3. ข้าวโพด – ไม้ต้น  – ไม้พุ่ม –  แห้วกระเทียม – หญ้า
       4. ข้าวโพด –  หญ้า – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น  – แห้วกระเทียม
       5.  ข้าวโพด – แห้วกระเทียม –  หญ้า – ไม้พุ่ม – ไม้ต้น
คำตอบข้อ 15 ) ตอบ (1)  ข้าวโพด –  หญ้า – แห้วกระเทียม –  ไม้พุ่ม – ไม้ต้น
เหตุผล
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ ขั้นสุด climax community ระบบนิเวศบริเวณนั้นๆจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นป่าไม้ ดังนั้นลำดับสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหลังจากการเผาไร่ข้าวโพดน่าจะเป็น ไม้ต้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลือกข้อ 1  และ ข้อ 4 แต่หลังจากเผาไร่ข้าวโพดแล้วสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่จะเกิดมาแทนที่น่าเป็นหญ้า ดังนั้นตัวเลือกที่ถูกต้องมากที่สุดจึงเป็นข้อ 1

ข้อ 16) วัฏจักรของสารใดในระบบนิเวศซึ่งหากเสียสมดุลไปแล้ว จะมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการดำรงชีวิตของสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ (O-net 58)       1. น้ำ
       2. คาร์บอน
       3. ไนโตรเจน
       4. ฟอสฟอรัส
       5. กำมะถัน


คำตอบข้อ 16 ) ตอบ (5) ฟอสฟอรัส
เหตุผล
เพราะฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง   ข้อ 17) ข้อใดที่ระบุประเภทของทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกต้อง (O-net 58)       1.   แร่- ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
       2.   แสงแดด – ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดสิ้น
       3.   สัตว์ป่า -  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
       4.  ป่าไม้ – ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้
       5.  น้ำมัน – ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
คำตอบข้อ 17 ) ตอบ (3) สัตว์ป่า -  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป
เหตุผล

ทรัพยากรประเภททรัพยากรแร่ธาตุทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปแสงแดดทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดสิ้นสัตว์ป่าทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้ป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้น้ำมันทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปดังนั้นทรัพยากรที่ไม่ถูกประเภท คือ สัตว์ป่า ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถเกิดทดแทนได้ข้อ 18) ข้อใดไม่สามารถนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ (recycle) ได้ (O-net 58)   
      1. ท่อเหล็ก
      2. ขวดพลาสติก
      3. จานแก้ว
      4. กระดาษสมุด
      5.  ใบตองห่อขนม 
คำตอบข้อ 18 ) ตอบ (5) ใบตองห่อขนม
เหตุผล
สิ่งที่ไม่สามารถนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้ เมื่อใช้ไปแล้ว คือใบตองห่อขนม

อ้างอิง

http://www.nana-bio.com/Medium/O-net2558/O-net2558C16-C18.html