งานที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง

งานที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง

งานที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง

เชื่อว่าท่านๆ ที่เป็นหัวหน้างาน หรือผู้จัดการ หรือแม้กระทั่งผู้บริหารระดับสูงเอง ก็ต้องเคยประสบกับปัญหาเรื่องของการมอบหมายงานให้กับลูกน้องของตนเอง กล่าวคือ ผู้จัดการบางคนก็มอบหมายงานไม่เป็น บ้างก็ไม่รู้ว่าควรจะมอบหมายอะไรให้ลูกน้องคนไหน บ้างก็ไม่กล้ามอบหมายงานให้ทำ เพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้ ฯลฯ ท่านผู้อ่านล่ะครับ เคยเจอกับปัญหาเหล่านี้มาบ้างหรือไม่

บางองค์กร พนักงานนั่งชิวๆ ทำงานสบายๆ ไม่เครียดไม่เหนื่อยอะไร บางคนถึงกับไม่ค่อยมีงานจะทำ แต่ตัวผู้จัดการเองกลับตรงกันข้าม งานล้นมือ ล้นโต๊ะไปหมด เครียด เวลาในแต่ละวันหมดไปกับงานกองใหญ่ ถ้าเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ก็คงรู้ว่า ปัญหามาจากการที่นายไม่มอบหมายงานให้ลูกน้องทำนั่นเอง

อุปสรรคหลักๆ ของการมอบหมายงานให้กับลูกน้องมีดังนี้ครับ

  • ไม่เชื่อใจลูกน้อง สาเหตุแรกก็คือ ผู้จัดการเนื่องจากทำงานได้ดี ก็เลยคาดหวังผลงานที่ดี แต่พอจะต้องมอบหมายงานที่ตนเองเคยทำได้ดีให้กับคนอื่นทำ ก็เริ่มที่จะไว้ค่อยไว้ใจคนที่จะมาทำสักเท่าไหร่ ว่าจะทำได้ดีเท่ากับที่เราเคยทำไว้หรือไม่ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่เชื่อใจลูกน้องตนเองว่าจะทำได้ดีจริงๆ
  • ไม่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย การมอบหมายงานที่ดีนั้น คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องสื่อสารได้ดีด้วย ต้องสื่อถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างชัดเจนให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นภาพ และเข้าใจได้ตรงกัน ปัญหาก็คือ ผู้จัดการบางคนชอบพูดเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก และพูดเรื่องยากให้มันยากขึ้นไปอีก จนพนักงานที่ได้รับมอบหมายงานไม่เข้าใจสิ่งที่จะให้ทำ
  • สอนคนอื่นไม่เป็น การมอบหมายงานให้ลูกน้องทำ อาจจะต้องมีการสอนงาน แนะนำงานให้กับลูกน้องบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อให้เขาทำงานให้ได้ แต่ผู้จัดการ หรือหัวหน้างานหลายคนที่ไม่สามารถที่จะสอนงานลูกน้องได้ หรือสอนงานไม่เป็น บางคนเข้าใจว่าเขากำลังสอนงานอยู่ แต่พนักงานกลับมองว่า นายกำลังจับผิดอยู่ สุดท้ายงานที่มอบหมายก็ไม่สำเร็จสักที
  • กลัวสูญเสียอำนาจ ผู้จัดการบางคนเข้าใจผิดว่า การมอบหมายงาน คือการมอบหมายอำนาจให้กับพนักงานไปด้วย ก็เลยไม่อยากมอบหมายงานให้ทำ
  • กลัวลูกน้องได้ดีผู้จัดการบางคนก็กลัวว่า ถ้าเรามอบหมายงานสำคัญๆ ไปให้ลูกน้อง แล้วเกิดลูกน้องทำงานได้ดี เราก็จะเสียหน้า และเสียผลงานให้กับลูกน้องไป ยิ่งไปกว่านั้นยังกลัวว่าลูกน้องตนเองจะได้ดิบได้ดีกว่าตนเอง

ถ้าอยากให้ผู้จัดการรู้จักที่จะมอบหมายงานให้กับลูกน้องของตนเอง ก็คงต้องทำให้ผู้จัดการรู้สึกเชื่อมั่นในตัวลูกน้องตนเอง โดยการให้เขาเข้ามาช่วยเลือกพนักงานที่จะเข้ามาเป็นลูกน้องของตนเอง และต้องพัฒนาเรื่องของการสื่อความของคนที่เป็นผู้จัดการให้พูดเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ได้ดี เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจกับทีมงานของตนเองได้ดี

นอกจากนั้นก็คงต้องเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ คือ คนเป็นหัวหน้าถ้าทำให้ลูกน้องเก่งได้ หัวหน้าหน้านี่แหละที่จะได้ดีไปด้วย องค์กรเองก็ต้องให้ความสำคัญกับผู้จัดการที่สอนงานและพัฒนาพนักงานได้ดี จนสามารถทำงานยากๆ ได้

แล้วผู้จัดการก็จะทำหน้าที่ของผู้จัดการอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่งานที่ทำเป็นงานของพนักงาน

     การบริหารงานในความ รับผิดชอบให้บรรลุเป้าหมายคงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารคำนึงนึงและใส่ใจอยู่เสมอ โดยผู้บริหารบางคนก็มีความมานะทุ่มเททำงานทุกอย่างที่ขวางหน้าแม้กรทั่งงาน ของลูกน้องก็ตาม ผู้บริหารบางคนก็ไม่ค่อยจะทำงานที่รับผิดชอบโดยมักจะอ้างว่าใช้ระบบที่เรียก ว่า คุณ-นะ-ทำ(พ้องเสียงคำว่า คุณธรรม) กล่าวคือมอบหมายหรือสั่งการให้แต่ลูกน้องทำ เมื่อเปรียบเทียบผู้บริหารทั้งสองประเภทจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่าง มากในวิธีการบริหารงาน อาจมีผู้บริหารตั้งคำถามว่าแล้วจะทำอย่างไรละเมื่องานในความรับผิดชอบมัน เยอะไปหมดไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง และที่สำคัญก็ไม่รู้จะมอบให้ใครทำดีเพราะดูเหมือนจะไม่ค่อยจะไว้วางใจไปเสีย หมด วันนี้ผู้เขียนของนำเสนอแนวคิดวิธีการหนึ่งซึ่งสามารถช่วยให้ปัญหาดังกล่าว บรรเทาเบาบางลงบ้างซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ควรใส่ใจมากขึ้นนั้นคือ การมอบหมายงาน(Delegation)

การมอบหมายงาน(
Delegation) คืออะไร

คือการกระจายงานในหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจการตัดสินใจภายในขอบเขตที่กำหนด ให้ผู้อื่นไปปฎิบัติ


ประโยชน์ของการมอบหมายงาน

     1. ทำให้ผู้บริหารมีเวลามากขึ้น โดยสามารถนำเวลาไปทำกิจกรรมงานอื่นๆได้เช่น การแก้ปัญหางาน หรือคิดสร้างสรรค์สิงใหม่

     2. เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงานซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางหนึ่ง

     3. เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อการเป็นหัวหน้างานใน อนาคตซึ่งอาจถือว่าเป็นการประเมินศักยภาพของเขาไปด้วย


ข้อพึงพิจารณาในการมอบหมายงาน

ถึงแม้การมอบหมายงานจะมีประโยชน์แต่ควรคึงนึงถึงปัจจัยบางประการที่สำคัญกับความสำเร็จในงานที่มอบหมาย ได้แก่

     ใครเหมาะสมกับงานที่ จะมอบหมายนี้ กล่าวคือต้องใส่ใจและคำนึงว่าควรเลือกคนที่เหมาะสมมารับผิดชอบงานเพื่อ ประกันความสำเร็จ และลดความเสี่ยง ซึ่งคำที่คุ้นเคยกันคือ Put the right man to the right job นั่นเอง

     งานที่มอบหมายบางงานต้องมีผู้ปฎิบัติร่วมกันหลายคนควรคำนึงถึงหลักการทำงานเป็นทีมกล่าวคือควรพิจารณาคนที่สามารถทำงานร่วมกันได้

     การติดตามและประเมิน ผลเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นการลดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นหาก ผู้ที่ได้รับมอบหมายมีความสามารถไม่พอ ไม่ตั้งใจ หรือไม่มีความรับผิดชอบ

งานที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง

ขั้นตอนของการมอบหมายงาน

1.กำหนดงานและวัตถุประสงค์ในการมอบหมายงาน
     งานใดที่จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทนได้นั้นต้องพิจารณาให้ดีว่างานนั้น
เหมาะสมหรือไม่ ตัวอย่างเช่นงานบางอย่างเกี่ยวข้องกับความลับขององค์การ หรือสิ่งที่เป็นงานเชิงนโยบายที่ต้องอาศัยการตัดสินใจและความรับผิดชอบสูง อย่างยิ่งก็คงไม่อาจมอบหมายได้ แต่งานที่เป็นงานประจำ(Routine) ก็คงมอบหมายได้ อีกทั้งเมื่อเลือกงานแล้ว ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการมอบหมายนั้นให้ชัดว่าต้องการให้ลูกน้องได้พัฒาตน เอง หรือเพื่อประเมินศักยภาพเพื่อเครียมความพร้อม

2.กำหนดขอบเขตหน้าที่และอำนาจตัดสินใจ
     ในการทำงานบางงานต้องมีการตัดสินใจเช่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือ
กระทบภาพลักษณ์(Image) ขององค์กรหรือหน่วยงาน คงต้องพิจารณาว่าผู้รับมอบหมายงานจะมีอำนาจตัดสินใจได้หรือไม่ หรืออาจต้องมาปรึกาษาหารือกันก่อนที่จะดำเนินการ
 

3.พิจารณาบุคคลที่เหมาะสม
     สืบเนื่องจากการกำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งการเลือกคนที่มารอบผิดชอบงานนั่นคงต้อง
คำนึงว่าถ้าต้องการให้งานนั่นสำเร็จอย่างมีคุณภาพควรเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ ถ้าจะเพื่อพัฒนาลูกน้องก็ต้องดูว่าใครที่ยังไม่มีความสามารถในเรื่องนั่น แต่ถ้าต้องการจะประเมินศักยภาพความพร้อมคงต้องเลือกคนที่มีโอกาสเลื่อน ตำแหน่งในอนาคต

4.ทำความเข้าใจกับผู้รับมอบงาน
     สิ่งที่สำคัญยิ่งในการมอบหมายงานคือต้องมีการทำความเข้าใจกับตัวผู้ใต้บังคับบัญชา
ที่เลือกมาแล้วกล่าวคือต้องสอบถามความพร้อม บอกวัตถุประสงค์ของการมอบหมายงาน และแนะนำวิธีการขั้นตอน พร้อมทั้งให้ผู้ที่จะรับมอบหมายได้เสนอแนวทางการดำเนินการ หรือแผนงานที่จะทำเพื่อเป็นการประกับโอกาสความสำเร็จ

5.กระตุ้นจูงใจ ให้กำลังใจและสนับสนุน
     เมื่อผู้รับมอบงานได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ทำความเข้าใจกันแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้อง
มีการกระตุ้นให้กำลังใจ และสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือ ความสะดวก และการชี้แนะหรือให้คำปรึกษา เป็นระยะเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และความสัมพันธ์อันดีอันดี
 

6.ติดตามและประเมินผลงาน
     ขั้นตอนสุดท้ายของการมอบหมายงานคือต้องติดตามความคืบหน้าระหว่างดำเนินการ
ว่าเป็นไปตามแผนหรือแนวทางที่กำหนดหรือไม่มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรซึ่งจะได้มี การแก้ไข ปรับปรุงได้ทันท่วงที่ก่อนความเสียหายเกิดขึ้น และเมื่องานนั้นแล้วเสร็จก็ต้องประเมินคุณค่าว่าดีเพียงใด และควรมีการให้รางวัลเช่นคำชม หรือของรางวัลก็ดี
 

     การมอบหมายงานเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ท่านบริหารได้ทั้งสองสิ่งควบคู่กันกล่าวคือได้ทั้งงาน ที่ท่านไม่ต้องทำเอง และยังได้คนคือลูกน้องที่เก่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้นควรถามตนเองว่า “วันนี้เรามอบหมายงานแล้วหรือยัง”

ที่มา :

www.hrcenter.co.th

งานที่ได้รับมอบหมายคืออะไร

1.9.1 ความหมายของการมอบหมายงาน การมอบหมายงาน หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาได้กําหนดความรับผิดชอบและอํานาจหน้าที่ (Assignment of Responsibility and Authority) หรือเป็นการกระจายงานในหน้าที่ (Responsibility) และให้อำนาจในการตัดสินใจ (Authority) กายในขอบเขตที่กําหนดให้ผู้ร่วมงานหรือ ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติ

การมอบหมายงานมีความหมายว่าอย่างไร

การมอบหมายงาน (Delegation) หมายถึง การให้บุคคลอื่นท างาน โดยการมอบหมายงาน ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือโครงการ ใดโครงการหนึ่งให้อีกคนหนึ่งท า ซึ่งคนที่ถูกมอบหมายงานนั้นอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในระดับต าแหน่งเท่าเทียมกัน เพื่อนร่วมทีมงานในโครงการเดียวกัน พนักงานที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้มอบหมายงาน หรือบุคคลภายนอกองค์กรที่ ...

การแบ่งงานและปฎิบัติงานตามหน้าที่ควรปฏิบัติอย่างไร

1.กำหนดงานและวัตถุประสงค์ในการมอบหมายงาน งานใดที่จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทนได้นั้นต้องพิจารณาให้ดีว่างานนั้น ... .
2.กำหนดขอบเขตหน้าที่และอำนาจตัดสินใจ ... .
3.พิจารณาบุคคลที่เหมาะสม ... .
4.ทำความเข้าใจกับผู้รับมอบงาน ... .
5.กระตุ้นจูงใจ ให้กำลังใจและสนับสนุน ... .
6.ติดตามและประเมินผลงาน.

การมอบหมายงานมีกี่ขั้นตอน

1. ก าหนดงานและวัตถุประสงค์ในการมอบหมายงาน ... .
2. ก าหนดขอบเขตหน้าที่และอ านาจตัดสินใจ ... .
3. พิจารณาบุคคลที่เหมาะสม ... .
4. ท าความเข้าใจกับผู้รับมอบงาน ... .
5. กระตุ้นจูงใจ ให้ก าลังใจและสนับสนุน ... .
6. ติดตามและประเมินผลงาน.