ย้าย ทะเบียนบ้าน ออนไลน์ จากทะเบียนกลาง

การย้ายเข้า

ต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้งย้ายออก หากไม่แจ้งย้ายเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

Show

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมาเอง

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  3. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2

หลักฐานที่ใช้ กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
  3. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
  4. ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”

หลักฐานที่ใช้ กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
4 ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
5 หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน

การย้ายออก

หากมีผู้ย้ายออกจากบ้านใดให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกไปใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทาปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมาเอง

1  บัตรประตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย

1  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะที่ได้รับมอบหมาย
4  หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย และผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

1  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะได้รับมอบหมาย
4  หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

ผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยสามารถติดต่อขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะย้ายเข้า โดยให้ผู้ประสงค์แจ้งด้วยตนเอง

   หลักฐานที่ใช้

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วยตนเอง)
3 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
4 เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

    หมายเหตุ

อนึ่ง การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าว ต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวทองที่ (สน.) ด้วยทั้งกรณีย้ายเข้าและย้ายออก

การแจ้งย้ายบุคคลเข้าทะเบียนกลางของสำนักทะเบียน

บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วันถ้าไม่ทราบว่าบบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใดหรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน เพื่อแจ้งย้ายชื่อบุคคลไปเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

  หลักฐานที่ใช้

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง

ให้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง ยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกำหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน

   หลักฐานที่ใช้

1 บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง สูติบัตร
2 คำสั่งศาล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
3 พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้

การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อ แจ้งที่ฝ่ายทะเบียนเขตท้องที่ตามกฎหมายกำหนด

   หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้

1 หลักฐานของผู้เพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานการผ่านการอุปสมบท หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัวลูกเสือชาวบ้าน หลักฐานการทหาร
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 หลักฐานการเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับก่อนปี พ.ศ. 2499 (ถ้ามี) เช่น สำมะโนครัว ปี พ.ศ. 2460 และปี พ.ศ. 2489 สูติบัตร
4 หัวหน้าครอบครัวตามทะเบียนบ้านเดิม (ถ้ามี)
5 เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน

การเพิ่มชื่อ กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ โดยมีหลักฐาน การเกิดที่แสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย

หลักฐานประกอบการแจ้ง
1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
2 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
3 หลักฐานทะเบียนการเกิด สูติบัตร หรือหลักฐานการเกิด ซึ่งออกโดยรัฐบาลประเทศที่เกิด ซึ่งแปลและรับรองคำแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
4 หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือต่างประเทศของผู้ขอเพิ่มชื่อ
5 พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

การเพิ่มชื่อ กรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศโดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย

ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน สำนักทะเบียน ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบันนายทะเบียนจะส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ เมื่อได้รับหนังสือยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนสัญชาติไทย จึงจะดำเนินการให้ตามระเบียบต่อไป

   หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้

1 หนังสือยืนยันจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นคนสัญชาติไทย
2 หลักฐานผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทาง หลักฐานแสดงการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3 สำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้าน
4 เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดามารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน

การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน

บุคคลที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่งให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อว้ำ ยื่นคำร้องต่อานายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันหรือท้องที่ที่มีชื่อซ้ำ เพื่อยืนยันที่อยู่ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อซ้ำ
2 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 ทะเบียนบ้านที่มีชื่อและรายการบุคคลซ้ำ

การแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร และทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 บัตรประจำตัวประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3 เอกสารราชการที่ต้องการแก้ไข
4 เอกสารอ้างอิง เช่น ทะเบียนบ้านฉบับปี พ.ศ. 2499, ปี พ.ศ 2515
5 หลักฐานของบิดา มารดา เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบมรณบัตร

หลักฐานที่ใช้ กรณีที่ไม่มีเอกสารราชการมาแสดง

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3 หลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่เชื่อถือได้

การตรวจ ค้น คัดและรับรองาำเนารายการทะเบียนราษฎร

การคัดรับรองสำเนารายการของตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาปัจจุบัน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2 หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
3 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท

เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ปรากฎรายการทะเบียนราษฎร

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2 หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3 หนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ(กรณีเจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
4 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท

บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง

ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ปรากฎรายการทะเบียนราษฎร โดยเสียค่าธรรมเนียมตาที่กำหนดในกฎกระทรวง

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำคัวประชาชน
2 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจผูกพัน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3 หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นหนังสือนิติกรรมสัญญาต่างๆ คำสั่งศาลใบแต่งตั้งทนายหรือหนังสือมอบอำนาจจากคู่ความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
4 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท