วิธีการตรวจ สอบ สภาพ เครื่องจักร

ในชีวิตประจำวันเราต้องตรวจสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาสุขภาพได้อย่างทันท่วงที ในโรงงานก็เช่นเดียวกัน การตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรแบบ real-time ช่วยให้เราวางแผนป้องกันปัญหาของเครื่องจักรที่จะเกิดขึ้นได้ ก่อนที่จะต้องหยุดการผลิตโดยไม่จำเป็น

วิธีการตรวจ สอบ สภาพ เครื่องจักร

ลองสำรวจโรงงานของเราดูว่า การตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรแบบที่ใช้กันอยู่สามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การละเลย การตรวจสอบที่ไม่ถูกต้อง การบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาด หรือแม้กระทั่งปัญหาบางอย่างที่เราคาดไม่ถึง ปัญหาเล่านี้ทำให้การตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ดังนั้นจึงมีการนำเอาเทคโนโลยี RTU (Remote Terminal Unit) เข้ามาช่วยในการตรวจติดตามสภาพเครื่องจักร ซึ่งสามารถลดการใช้พนักงานในการตรวจติดตาม ลดความผิดพลาดจากสาเหตุต่างๆ สามารถตรวจติดตามได้แบบ real-time และมีประสิทธิภาพในการตรวจติดตามมากกว่าแบบเดิม

วิธีการตรวจ สอบ สภาพ เครื่องจักร

หัวใจหลักของการตรวจติดตามสภาพเครื่องจักรแบบ real-time อยู่ที่ RTU ที่คอยเก็บค่าต่างๆ ของเครื่องจักรเช่น อุณหภูมิ แรงดัน แรงสั่นสะเทือน เป็นต้น และส่งข้อมูลดังกล่าวมาที่ส่วนกลาง การเก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้แบบ real-time ทำให้เราสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรได้แบบ real-time และนอกจากนั้น ระบบยังสามารถแจ้งเตือนไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีต่างๆ เช่น SMS, EMAIL หรือ Voice mail ซึ่งการทำงานแบบ real-time ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตามสภาพเครื่องจักร และทำให้เราสามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
โครงสร้างภายนอกของ RTU ประกอบด้วย Base terminal, CPU module, Input/ Output terminal, Communication terminal แต่ละส่วนทำหน้าที่ดังนี้

วิธีการตรวจ สอบ สภาพ เครื่องจักร

1. Base terminal เป็นส่วนฐานของ RTU ไว้สำหรับยึด RTU กับราง DIN rail และเป็นส่วนที่รวม Input/ Output terminal และ Communication terminal อยู่ด้วย เวลา RTU ชำรุดต้องการเปลี่ยนตัวใหม่จะเปลี่ยนแค่ CPU Module ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน Base terminal และสามารถเปลี่ยนได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตัดไฟเลี้ยง หรือที่เรียกว่า hot swap

2. CPU Module ส่วนประมวลผลกลางของ RTU ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่เราสั่งให้ RTU ทำงาน สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายภาษาเช่น C/C++, PLC program (Ladder, IL, ST) ซึ่งทำให้เราสามารถประยุดต์ RTU ให้ทำงานตามที่เราต้องการได้เช่น การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า, การสั่งงานในลักษณะ Event, การทำ alarm และทำหน้าที่ในส่วนของการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด (Data-logging)

3. Input/ Output terminal ส่วนรับสัญญาณ Input และ Output จากอุปกรณ์ภายนอก สามารถรับสัญญาณได้หลายชนิดเช่น Digital input, Analog input (4-20 mA, 0-10 VDC, PT100 เป็นต้น), Digital output, Analog output

4. Communication terminal ส่วนพอร์ทสื่อสารที่ไว้สำหรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก พอร์ทสื่อสารของ RTU ควรมีไห้ครบไม่ว่จะเป็น RS232, RS422, RS485, Ethernet เนื่องจาก RTU จำเป็นต้องสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Modem, Gateway จึงจำเป็นต้องมีพอร์ทสื่อสารที่ครบ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

  1. หน้าแรก
  2. บทความทั้งหมด
  3. เครื่องจักร
  4. วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร มีอยู่ด้วยกัน 4 วิธีคือ

Last updated: 23 มี.ค. 2564  |  3447 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีการตรวจ สอบ สภาพ เครื่องจักร

  1. การบำรุงรักษาเป็นประจำ (Routine Mentenance) เป็นการดำเนินการตรวจสอบเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น การตรวจสอบประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี โดยพนักงานฝ่ายผลิตที่เป็นผู้ใช้งานเครื่องจักร หรือพนักงานซ่อมบำรุงจะเป็นผู้ดำเนินการเอง เป็นวิธีการที่ไม่สลับซับซ้อน เช่นการตรวจเช็คอะไหล่ การทำความสะอาดเครื่องจักร การใส่น้ำมันหล่อลื่น การตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ หรืองานเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ
  2. การบำรุงรักษาหรือตรวจซ่อมตามแผนที่กำหนดไว้  (Periodic Scheduled Repair) เป็นการตรวจสอบ ซ่อมบำรุงตามแผนที่ได้กำหนดไว้ แบ่งออกเป็น 3 วิธีดังนี้

    • การซ่อมเพียงเล็กน้อย (Minor Repair) เป็นการบำรุงซ่อมแซมเครื่องจักรแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้กำลังคนและวัสดุอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย และใช้เวลาไม่นานในการดำเนินการ โดยดำเนินการในขณะที่เครื่องจักรยังคงทำงานต่อไปเรื่อยๆ

    • การซ่อมขนาดปานกลาง (Medium Repair) เป็นการซ่อมบำรุงโดยบุคลากรฝ่ายซ่อมบำรุงเป็นหลัก ซึ่งจะต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักร และดำเนินการให้เสร็จทันภายในเวลาที่กำหนด โดยจะทำการตรวจเช็คเครื่องจักร ถอดชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาด ปรับแต่งชิ้นส่วนให้เข้าที่ เช็คอุปกรณ์หรืออะไหล่บางชิ้นที่หมดอายุ ทำการถอดเปลี่ยน ซ่อมแซมอุปกรณ์ชิ้นที่ชำรุดเสียหาย และสามารถเดินเครื่องจักรเพื่อทำงานต่อได้ทันทีหลังจากครบกำหนดเวลา

    • การซ่อมใหญ่ (Major Overhaul) เป็นการซ่อมบำรุงแบบที่มีการประชุมวางแผนการดำเนินการไว้ล่วงหน้า เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก โดยจะกำหนดหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องมีการถอดส่วนประกอบของเครื่องจักรออกมาหมดทุกชิ้นส่วน เพื่อตรวจเช็คสภาพ รวมทั้งเปิดการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทดสอบสมรรถภาพหลังการซ่อมบำรุง

  3. การซ่อมฉุกเฉิน (Emergency Maintenance) เป็นการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างฉุกเฉิน ในกรณีที่เครื่องจักรไม่สามารถทำงานต่อได้ โดยที่ไม่มีการคาดการณ์มาก่อน ซึ่งอาจเกิดการชำรุดเนื่องจากการวางแผนซ่อมบำรุงไม่ดีพอ อาจเป็นการซ่อมเพียงเล็กน้อย ซ่อมปานกลาง หรือซ่อมใหญ่ก็ได้
  4. การซ่อมเพื่อดัดแปลง (Recovery Overhaul) เป็นการซ่อมบำรุงในกรณีที่เครื่องจักรล้าหลังเกินไป หรือเป็นเครื่องจักรที่ทำการซ่อมแซมบ่อยครั้งแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องทำการพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สนใจ สินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ ติดต่อ
คุณพรเทพ 093-601-5499
คุณธัญญ์ 098-652-2290
ไลน์ไอดี @9longtoon

รับปรึกษาทางการเงิน 24 ชั่วโมง โทรมาเลยนะคะ ไม่ต้องเกรงใจ
“รับเงินสดทันที ไม่มีต้องรอนาน เต็มวงเงินกู้”

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

การเสื่อมสภาพของเครื่องจักรมี3ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้วเครื่องจักรย่อมต้องมีความเสียหายจากการใช้งานเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยความเสียหายนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ความเสียหายของระบบทางกลการแตกหัก ร้าว ยึดตัว 2. ความเสียหายของระบบทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฉนวนเสื่อมสภาพ ลัดวงจรการสูญเสียทางไฟฟ้า

การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรควรทำอย่างไร

ดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยการตรวจเช็คเครื่องจักรตามรอบเวลาในแผน พร้อมทั้งจัดทำแบบรายงานสรุปแจ้งกับหัวหน้างานและติดประกาศ การซ่อมและถอดเปลี่ยนอะไหล่ตามอายุใช้งาน โดยทำบัญชีอะไหล่ที่ต้องถอดเปลี่ยนตามอายุใช้งานแต่ละสัปดาห์เพื่อเสนอฝ่ายจัดซื้อและระบุกำหนดการถอดเปลี่ยนอะไหล่ในวันหยุด

วิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรมีกี่ชนิด

เทคนิคการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม.
การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) ... .
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) ... .
การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance) ... .
การป้องกันเพื่อบำรุงรักษา (Maintenance Prevention) ... .
การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance).

เครื่องจักร มีกี่อย่าง

ปัจจุบันเครื่องจักรสามารถแบ่งออกตามลักษณะ พลังงานที่ใช้ และประโยชน์ใช้สอยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้.
1. เครื่องต้นกำลัง ... .
2. เครื่องส่งกำลัง ... .
3. เครื่องจักรทำการผลิต.