ประจําเดือนเป็นก้อนเหมือนตับ

สวัสดีครับคุณ เฟิร์น 

    อาการลิ่มเลือดประจำเดือน เกิดจากการที่ไม่สามารถขับเลือดประจำเดือนออกมาได้หมด ทำให้เลือดประจำเดือนค้างสะสมอยู่ในช่องคลอด  ปกติแล้วจะพบได้ไม่บ่อยนัก ยกเว้นในช่วงที่ประจำเดือนมามากกว่าปกติ อาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ ในกรณีนี้ถือว่าไม่ผิดปกติอะไรครับ

     อย่างไรก็ตามหากมีอาการประจำเดือนออกมากๆเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะซีดได้ ซึ่งสาเหตุของประจำเดือนออกมากอาจเกิดจาก ภาวะเนื้องอกมดลูก หรือ เยื้อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น หากรู้สึกว่าประจำเดือนมามากผิดปกติ แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมกับสูตินารีแพทย์เพิ่มเติมครับ

ประจำเดือนมีก้อนออกมาเหมือนตับหมูสดๆ

เครียดค่ะ กังวล

เมื่อวานปจด.มาวันแรก แล้วเข้าห้องน้ำไปปัสสาวะ
หลังจากเสร็จภารกิจ ก็ทำความสะอาด ปรากฎว่าพบก้อนประมาณนิ้วกลางได้ มีลักษณะเหมือนตับหมูหั่นบางๆ สีแบบตับหมูดิบๆเลยค่ะ ก้อนใหญ่มากสำหรับดิฉันนะคะ มีมูกขาวๆปนมาด้วยเล็กน้อย

ปกติที่ผ่านมาจะเป็นแค่ลิ่มเลือด คล้ายๆเลือดเป็นก้อนเฉยๆ อยากไปตรวจจังค่ะ ว่าผิดปกติหรือเปล่า อายุ22ปีค่ะ

ไม่ทราบว่าใครเคยเป็นบ้าง เวลามาก็ปวดท้องปกติทุกเดือน เคยกินยาเลื่อนปจด.ด้วยนะคะ แต่ไม่บ่อย เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น

ประจําเดือนเป็นก้อนเหมือนตับ
ประจําเดือนเป็นก้อนเหมือนตับ

0

ประจําเดือนเป็นก้อนเหมือนตับ

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

เพราะการแต่งงานเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญของชีวิต เป็นดั่งความฝันที่ผู้หญิงหลายคนปรารถนา ฉะนั้นอย่าให้ช่วงเวลาอันแสนสุขของคุณต้องหยุดชะงักเพียงเพราะละเลยที่จะตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพภายในอย่างมดลูกและรังไข่ ที่ไม่ใช้แค่การตรวจคัดกรองทั่วไป แต่เป็น “การตรวจอัลตร้าซาวด์” ซึ่งสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ประจำเดือนที่ว่า “ผิดปกติ” ต้องผิดปกติแบบไหน

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือนก็จะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ประจำเดือนที่เคยมาเป็นประจำสม่ำเสมอและไม่ได้สร้างอาการปวดท้องหรืออาการใดๆ กลับมีความผิดปกติไป เช่น มามากและนาน มาน้อยเกินไป มากะปริบกะปรอย หรือทำให้ปวดท้องมากกว่าปกติเพิ่มขึ้นทุกๆ เดือน รวมทั้งปวดท้องทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในช่วงการมีรอบเดือน หรือมีรอบเดือนแล้วมีลิ่มเลือดปนเป็นก้อนออกมา และเมื่อ “ประจำเดือนผิดปกติ” เมื่อไหร่ ก็ให้สงสัยได้ว่า...อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายที่เกิดขึ้นกับมดลูกหรือรังไข่ได้ จึงควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้ชำนาญการ
แต่โดยปกติแล้ว ประจำเดือนของแต่ละคนก็จะมีปริมาณและจำนวนวันมาที่ไม่เท่ากันอยู่แล้ว แต่หากประจำเดือนมามากในระดับที่เป็นสัญญาณผิดปกติ ในทางการแพทย์จะพิจารณาดังนี้

  • ประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไป
  • มามากจนทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ ชั่วโมงหรือบ่อยมากๆ หรือต้องตื่นขึ้นมาเปลี่ยนผ้าอนามัยระหว่างนอนหลับ
  • ในผู้หญิงที่อายุเข้าเลข 50 หรือใกล้เข้าวัยทอง แต่ประจำเดือนกลับมามากขึ้น ทั้งๆ ที่ควรจะน้อยลง

ดังนั้น หากใครมีประจำเดือนมามากผิดปกติเหมือนใน 3 ข้อที่กล่าวมา รวมถึงปวดประจำเดือนมากขึ้น รอบเดือนมาๆ หายๆ หรือมีตกขาวมาก ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้พบว่ามีโรคอะไรแฝงอยู่หรือไม่ จะได้รักษาให้ถูกทาง

วิธีตรวจหาโรคจากการที่ “ประจำเดือนผิดปกติ”

  1. การตรวจภายใน
  2. คือตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูกด้วยการคลำหรือส่องกล้องว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ร่วมกับการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อนำมาเพาะหาการติดเชื้อหรือการอักเสบ ตลอดจนคลำตรวจขนาดของมดลูกและรังไข่ ตรวจด้วยการกดแล้วสังเกตอาการว่าเจ็บหรือไม่ หรือพบก้อนแปลกปลอมหรือเปล่า
  3. การอัลตราซาวด์
  4. เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว หากพบความผิดปกติที่มดลูกหรือรังไข่ การอัลตราซาวนด์ทั้งทางหน้าท้องและทางช่องคลอดจะช่วยให้พบโรคและช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น

อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นสัญญาณเตือนโรคอะไรได้บ้าง?

  1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์
  2. โดยมากจะพบว่ามีการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงและมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน หรือมีอาการปวดและเจ็บลึกๆ ที่ช่องคลอดหรือท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากตรวจแล้วพบโรค ก็สามารถทำการรักษาได้

    การรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์

    ปกติแล้ว จะเลือกรักษาจาก 2 วิธีหลักๆ คือ
    • การรักษาด้วยยา การใช้ยา ก็เพื่อยับยั้งการทำงานของรังไข่ ซึ่งอาจทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือลดอาการปวดขณะมีประจำเดือน ผลการรักษาด้วยวิธีนี้มักขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละคน โดยการใช้ยาจะมีการติดตามและประเมินอาการเป็นระยะๆ จากแพทย์ ถ้าการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดต่อไป
    • การผ่าตัด จะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำถุงช็อกโกแลตซีสต์ออก ซึ่งเป็นทั้งการรักษาและสามารถนำชิ้นเนื้อมาตรวจวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ด้วย ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยมักนิยมการผ่าตัด 2 วิธีนี้ คือ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และการผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องจะช่วยลดปัญหาการเกิดพังผืด แผลเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า และผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
  3. เนื้องอกมดลูก
  4. โดยมากพบว่า มีประจำเดือนมามากและนาน หรือมีลิ่มเลือดปนเป็นก้อน ปวดประจำเดือนมากขึ้น หรือในบางครั้งอาจมีอาการปวดคล้ายปวดประจำเดือน ทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในช่วงการมีประจำเดือน ซึ่งก้อนเนื้องอกอาจเติบโตไปกดทับอวัยวะใกล้เคียงทำให้มีอาการแทรกซ้อนหรือเป็นโรคอื่นๆ ตามมาได้

    การรักษาเนื้องอกมดลูก

    ปกติแล้ว หากเนื้องอกมดลูกยังมีขนาดเล็กก็มักจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็น...จนกว่าตรวจพบความผิดปกติ ซึ่งมักพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี จากการตรวจภายใน หรือการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรพิจารณาเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำ หากตรวจพบโรคเร็วก็สามารถรักษาได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น
    • การฉีดสารเพื่อให้เกิดการอุดเส้นเลือดที่เลี้ยงเนื้องอกมดลูกโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นการรักษาโดยใช้เทคนิคทางรังสีวิทยา ด้วยการสอดสายผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบไปจนถึงเนื้องอก แล้วทำการฉีดสารเพื่อให้หลอดเลือดอุดตัน ก้อนเนื้องอกที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะฝ่อลง เหมาะกับการรักษาเนื้องอกก้อนที่ยังไม่ใหญ่มาก
    • การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกออก หากเนื้องอกมดลูกมีรขนาดใหญ่ แพทย์มักแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งผ่าตัดส่องกล้องทางช่องคลอด ผ่าตัดแบบเปิดผนังท้อง และแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้องแผลเล็ก ซึ่งการจะเลือกผ่าตัดแบบใดนั้นต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น ระดับอาการ ระยะของโรค โรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และความต้องการในการมีบุตรในอนาคต

โรคภายในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์สตรี ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพหรือตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ ก็มักพบเมื่อมีอาการมากแล้ว ทำให้การรักษายากขึ้น และผู้ป่วยต้องเจ็บตัวหรือมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ดังนั้นการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ และการป้องกันที่ดีด้วยการฉีดวัคซีน ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา