โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ

บริการด้านการแพทย์ไม่เคยเพียงพอกับความต้องการ เป็นเหตุให้เกิดโรงพยาบาลเอกชนขึ้นมามากมาย แต่ยุคเฟื่องฟูสุดขีดของโรงพยาบาลเอกชนผ่านมาแล้ว การเปิดโรงพยบาลใหม่จึงลดความร้อนแรงลงไปมาก แต่ล่าสุดกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาได้ร่วมทุนกันเปิดโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ขึ้นในรอบ 25 ปี ในชื่อว่า เมดพาร์ค (MedPark)

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผนึกกำลังทีมแพทย์เฉพาะทางระดับแถวหน้าของประเทศ ร่วมพัฒนาโรงพยาบาล เมดพาร์ค ด้วยมูลค่าลงทุนระยะแรกกว่า 7,000 ล้านบาท สร้างนิยามใหม่ภายใต้แนวคิดที่เป็นมากกว่าโรงพยาบาล เพื่อก้าวสู่ศูนย์กลางการบริการทางแพทย์มาตรฐานสากล สำหรับโรคยากและโรคซับซ้อนแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นคอนเซ็ปท์โรงพยาบาลที่เน้นรักษาโรคยากและซับซ้อน ที่มีนายแพทย์เป็นเจ้าของด้วยเป้าหมายบริการทางการแพทย์เชิงลึกและได้มาตรฐานระดับสากล 

โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหลากหลายสาขา ที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ซึ่งไม่เพียงเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์เฉพาะทางระดับ (Super Tertiary care) ที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันในทุกรายละเอียดที่จะเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับคนไข้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

[caption id="attachment_36070" align="alignnone" width="600"]

โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ
นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ขวา)[/caption]

โดยโรงพยาบาลเมดพาร์ค ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจแห่งใหม่ บนถนนพระราม 4 ประกอบด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร สามารถให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกถึง 300 ห้อง และรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้สูงสุด 550 เตียงเมื่อเปิดให้บริการเต็มโครงการ นอกจากนี้ยังมีห้องผู้ป่วยที่ต้องดูแลพิเศษมากกว่าโรงพยาบาลทั่วไปถึง 3 เท่า

โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ

เน้นรักษาโรคยาก-ห้องไอซียูกว่า 30%

ที่สำคัญ MedPark มีแพทย์เฉพาะทางกว่า 30 สาขา ซึ่งทีมแพทย์หลักเกือบร้อยละ 70 ผ่านการฝึกอบรมในต่างประเทศ ทั้งแพทย์ที่จบอเมริกันบอร์ด และผ่านหลักสูตรการอบรมในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งนี้ เมดพาร์ค ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอแล้วสำหรับ 4 ศูนย์ ได้แก่ หัวใจ มะเร็ง ไต และ แล็บ

นอกจากนี้ MedPark ยังมีจำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียูมากถึงร้อยละ 30 หรือ 130 เตียงเมื่อเปิดเต็มโครงการ และพร้อมจะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 40 ได้หากจำเป็น ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งครบครันด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย สามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่โรงพยาบาลทั่วไปจะมีสัดส่วนของห้องไอซียูประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น

สำหรับในเฟสแรก MedPark เปิดให้บริการผู้ป่วยค้างคืนจำนวน 205 เตียง และรองรับผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 65 เตียง และนอกจากการคัดสรรทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง MedPark ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับมาตรฐานกระบวนการดูแลคนไข้ภายใต้หลักปฏิบัติ Integrated Care โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมมอบคุณค่าของการรักษา (Value-based Care) ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในสังคมปัจจุบัน

โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ

มุ่งพัฒนาสถาบันแพทย์เป็นเลิศ 3 ด้าน 

ในอนาคต MedPark มีความมุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นมากกว่าโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายยกระดับให้เป็นสถาบันการแพทย์ที่มีความเป็นเลิศทั้ง 3 ส่วนคือ การบริการทางการแพทย์ การเรียนสอน และการวิจัย เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นำไปสู่แนวทางการดูแลรักษาคนไข้ โดยเฉพาะโรคยากและซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

MedPark ถือเป็นโมเดลใหม่ที่เป็นแหล่งรวมศักยภาพของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการดีไซน์ส่วนต่าง ๆ ให้ตอบสนองทุกความต้องการของคนไข้ได้อย่างแท้จริง และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) รวมถึงคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของคนไข้

ขณะเดียวกัน MedPark เดินหน้าสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ในทุกด้าน ซึ่งจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาลเมดพาร์ค
(MedPark Hospital)
เครือโรงพยาบาลมหาชัย
โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ
โรงพยาบาล เมดพาร์ค เจ้าของ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง3333 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเอกชน
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉิน02 090 3000
จำนวนเตียง500
ประวัติ
เปิดให้บริการวันที่ 1 ตุลาคม 2563
ลิงก์
เว็บไซต์www.medparkhospital.com

โรงพยาบาลเมดพาร์ค (อังกฤษ: MedPark Hospital) เป็นโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของคณะแพทย์หลากหลายสาขาและบริษัทโรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน) นำโดย นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช ประธานกรรมการบริหาร เครือบริษัท โรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน) และ ศ.นพ. สิน อนุราษฎร์ อดีตอาจารย์โรงเรียนแพทย์ประจำ University of Iowa และ Texas Tech University สหรัฐอเมริกา ดำเนินธุรกิจด้านการรักษาพยาบาล ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตลอด 24 ชั่วโมง

โรงพยาบาลเมดพาร์คดำเนินการโดยบริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ด้วยมูลค่าลงทุนในระยะแรกกว่า 7,000 ล้านบาทและทุนจดทะเบียน 2,500 ล้านบาท มีบริษัท โรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วน 42% หรือ 1,050 ล้านบาท[1] และได้ร่วมกับศาสตราจารย์นายแพทย์สิน อนุราษฎร์ และอดีตผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนระดับนานาชาติ ในการก่อตั้งเมดพาร์ค และส่วนที่เหลือเป็นการรวมถือหุ้นของแพทย์ท่านอื่น ๆ

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลเมดพาร์คเป็นโรงพยาบาลเอกชน ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์ ให้บริการรักษาโรคยากที่มีความซับซ้อนและโรคที่ยังหาวินิจฉัยไม่ได้หรือรักษาไม่หายตามแนวทาง destination medicine ของ Mayo clinic ที่ Rochester Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีแพทย์เฉพาะทางกว่า 30 สาขา สามารถให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอก 300 ห้อง และสามารถรองรับผู้ป่วยค้างคืนได้ 550 เตียง โดยมีจำนวนเตียงผู้ป่วยวิกฤต 130 เตียง[2]

ที่ตั้งโรงพยาบาล[แก้]

โรงพยาบาลเมดพาร์คตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 บนที่ดินเช่าช่วงจาก บริษัท เกษมทรัพย์สิริ จำกัด ซึ่งเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นส่วนหนึ่งของเดอะพาร์ค โดยเช่าพื้นที่ด้านหน้าริมถนนพระราม 4 เนื้อที่ 6 ไร่ ระยะเวลาเช่า 30 ปี ต่อสัญญาได้อีก 30 ปี[3] ประกอบด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร[4] หันหน้าเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและบางกระเจ้า

อาคารสำคัญ[แก้]

อาคารโรงพยาบาลเมดพาร์ค เป็นอาคารโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ มีขนาดจำนวนเตียง 500 เตียง เริ่มเปิดให้บริการรักษาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 และได้ทำการก่อสร้างอาคารมาตรฐานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรอง LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน ประกอบไปด้วย ห้องล้างไต ห้องตรวจ ห้องพักผู้ป่วย ห้อง ICU ห้องตรวจโรคผู้ป่วย ตัวอาคารถูกวางตามทิศทางแดดและลม สะอาดและปลอดภัย

สวนกายภาพลอยฟ้า[แก้]

สวนกายภาพลอยฟ้า โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตั้งอยู่บริเวณชั้น 5 โดยโรงพยาบาลได้วางตำแหน่งของสวนกายภาพให้อยู่ทางทิศเหนือ ประกอบไปด้วย ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัดกลางแจ้ง และธาราบำบัด (Hydro Therapy) เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ศูนย์แพทย์เฉพาะทาง[แก้]

โรงพยาบาลเมดพาร์คมีศูนย์แพทย์เฉพาะทางดังนี้
  • จักษุ
  • ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • ทันตกรรม
  • ประสาทวิทยา
  • ผิวหนัง
  • ผู้สูงวัย
  • รักษาผู้มีบุตรยาก
  • ศัลยกรรม
  • ศัลยกรรมประสาท
  • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • สูตินรีเวช
  • อายุรกรรม
  • โรคไตแบบบูรณาการ
  • โสต ศอ นาสิก
  • ปลูกเส้นผม
  • วิสัญญีวิทยา
  • ศูนย์ดูแลผู้ป่วยวิกฤต
  • ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
  • ศูนย์ภูมิแพ้
  • ศูนย์มะเร็ง Light of Day Center
  • ศูนย์รังสีวินิจฉัย
  • ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • ศูนย์สุขภาพเด็ก
  • ศูนย์หัวใจ
  • ศูนย์อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
  • ศูนย์เต้านม
  • ศูนย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
  • ศูนย์โรคข้อ
  • ศูนย์โรคติดเชื้อ
  • ศูนย์โรคปอด
  • ศูนย์ไตเทียมแบบห้องส่วนตัว
  • แผนกฉุกเฉิน
  • แผนกเวชศาสตร์โรคจากการหลับ

อ้างอิง[แก้]

  1. ""เมดพาร์ค" เจาะคนไข้ไฮเอนด์ ชูโมเดลดึงหมอถือหุ้น-รักษาโรคซับซ้อน". ประชาชาติธุรกิจ. 9 ตุลาคม 2563.
  2. ""เมดพาร์ค"ครั้งแรกที่แพทย์รวมตัวตั้งรพ.ด้วยทุน7พันล้าน". กรุงเทพธุรกิจ.
  3. "MedPark โครงการแฟลกชิพ "หมื่นล้าน" เครือโรงพยาบาลมหาชัย บนที่ดินเช่าของ "เจ้าสัวเจริญ"". แบรนด์บุฟเฟต์.
  4. "เมดพาร์คสร้างมาตรฐานใหม่ในวงการแพทย์ไทย". เดอะพีเพิล.