เครื่องหมาย . ควรเว้นกี่ระยะตัวอักษร

ประโยชน์ของอักษรย่อคือ ช่วยให้เขียนได้สั้นลง และที่สำคัญเพื่อความรวดเร็วเมื่อมีระยะเวลาอันจำกัดในการเขียน การย่อจะใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์เป็นตัวย่อ แต่เวลาอ่านอักษรย่อต้องอ่านคำเต็ม

กม. อ่านว่า กิโลเมตรพ.ศ. อ่านว่า พุทธศักราชอสมท. อ่านว่า องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยค.ร.ม. อ่านว่า คณะรัฐมนตรีธ.ค. อ่านว่า ธันวาคมด.ญ. อ่านว่า เด็กหญิงนม. อ่านว่า นครราชสีมา
  • ใช้เขียนหลังจากจบข้อความหรือประโยค
  • ใช้เขียนหลังตัวเลขหรืออักษรที่บอกลำดับข้อ
  • ใช้เขียนคั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา
๑๐.๓๐ น.๐๕.๔๔ น.
  • ใช้เขียนแสดงทศนิยมในจำนวนเลข เช่น
๕๐.๕๐ บาท๑.๒ กิโลเมตร
  • ใช้เขียนแสดงจำนวนทศนิยมไม่รู้จบ
๒.๓๓๓...
  • ใช้แทนเครื่องหมายคูณในวิชาคณิตศาสตร์
a.b = a x b
  • ใช้คั่นสูตรเคมีเพื่อแสดงสูตรของสารประกอบในสารประกอบเชิงซ้อน

ไม้ยมก (ๆ) มีวิธีใช้ดังนี้

เมื่อเด็ก ๆ เขาอ้วนมาก (อ่านว่า เมื่อเด็กเด็ก)เธอเดินไป ๆ อย่างไม่มีจุดหมาย (อ่านว่า เดินไป เดินไป)จะทำอย่างไรดี ๆ (อ่านว่า จะทำอย่างไรดี จะทำอย่างไรดี)

ไม่ใช้ไม้ยมกในกรณีต่อไปนี้

  • คำเดิมที่ทำหน้าที่ต่างกันไม่ใช้ไม้ยมก
สถานที่ที่ฉันอยากไปเที่ยวคือเมืองโบราณ [ที่คำที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นประพันธสรรพนาม]ทุเรียนขายเป็นกิโลกิโลละ ๘๕ บาท [กิโลคำที่ ๒ ทำหน้าที่เป็นประธาน]
  • ในการเขียนคำประพันธ์ไม่ใช้ไม้ยมกในคำซ้ำกัน
เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
  • คำว่า นานา และ จะจะ ไม่ใช้ไม้ยมก
เขาพูดกันไปต่าง ๆ นานาเห็นกันจะจะว่าเขาทำอย่างนั้น

ยัติภังค์ (-)

  • ใช้ใส่เมื่อต้องแยกคำ เนื่องจากมาอยู่ตรงสุดบรรทัด แล้วไม่สามารถบรรจุคำเต็มได้
  • ใช้ใส่ไว้ท้ายวรรคหน้าของบทร้อยกรองเพื่อต่อพยางค์หรือคำที่ต้องเขียนคาบวรรคกัน เพื่อให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
  • ใช้เขียนแยกพยางค์ เพื่อบอกคำอ่าน
กตเวทิตา อ่านว่า กะ - ตะ - เว - ทิ - ตา
  • ใช้ในพจนานุกรม เพื่อแสดงว่าคำนั้นมีคำอื่นมาต่อท้าย, เพื่อแทนคำอ่านของพยางค์ที่ไม่มีปัญหาในการออกเสียง, เพื่อใช้แทนส่วนหน้าของคำคู่ที่ละส่วนหน้าไว้และเพื่อใช้แทนคำที่มาจากข้างต้นที่ละไว้โดยไม่ต้องเขียนซ้ำ มักใช้ในกรณีที่เป็นรายการชุดเดียวกัน
  • ใช้ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ"
ทิวา - ราตรีกามนิต - วิสิฏฐี
  • ใช้แทนความหมายว่า "ถึง" เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ
กรุงเทพฯ - เชียงใหม่๑๐.๐๐ - ๑๔.๐๐ น.ถิ่น-อีสาน หมายความว่า เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคอีสาน
  • ใช้แสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ใส่ตัวอักษร
หมายเลขโทรศัพท์ ๒๔๘-๖๒๘๐
  • ใช้แยกตัวอักษรเพื่อให้เห็นการสะกดชัดเจน
ร-า-ษ-ฎ-ร

เครื่องหมาย  .  ควรเว้นกี่ระยะตัวอักษร

วงเล็บปีกกา { }

  • ใช้พ่วงคำซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกัน เพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้
  • ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซต หรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้ว ไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
{a, b, c, d ,e}{๑๕+๕+[๒๑-๘(๓-๑)]}

เครื่องหมาย  .  ควรเว้นกี่ระยะตัวอักษร

วงเล็บเหลี่ยม []

  • ใช้คร่อมคำหรือข้อความเพื่อแยกออกจากข้อความอื่น ในกรณีที่ข้อความนั้นมีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้ว
  • ใช้ในพจนานุกรม สำหรับบอกคำอ่าน
  • ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้ว
  • ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ สำหรับกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ

สัญประกาศ (_____)

  • ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ
วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ ๑ มกราคมของทุกปี
  • ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่เป็นหัวข้อหรือข้อความที่ต้องการให้เด่นเป็นพิเศษ
สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล

เครื่องหมาย  .  ควรเว้นกี่ระยะตัวอักษร

อัญประกาศ (กลาง)
อัญประกาศเดี่ยว (ล่าง)

อัญประกาศ (" ") เป็นเครื่องหมายที่ใช้คร่อมตัวอักษร คำ กลุ่มคำ หรือข้อความที่มีลักษณะพิเศษหรือเป็นส่วนของคำพูด มีวิธีใช้ดังนี้

  • ใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านสังเกตคำใดคำหนึ่ง
สาวแรกรุ่นเปรียบเสมือน "ดอกไม้แรกแย้ม"
  • ใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นบทสนทนา ในกรณีที่มีทั้งบทบรรยายและบทสนทนา
เขาบอกฉันว่า "พรุ่งนี้เขาจะไปชะอำ"
  • ใช้เมื่อยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่หนังสือที่ผู้เขียนกำลังเขียนมา
เราไม่ควรเชื่อใครง่าย ๆ ดังที่สุนทรภู่เคยกล่าวไว้ในเรื่องพระอภัยมณีว่า "แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน"

อัญประกาศเดี่ยว (' ')

  • ใช้เขียนเป็นอัญประกาศซ้อนในข้อความที่มีอัญประกาศอยู่แล้ว
ทนายของจำเลยแย้งขึ้นมาว่า "เมื่อสักครู่พยาน พูดว่า 'ผมได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด' จึงขอเลื่อนเวลาเพื่อตรวจสอบให้แน่ชัด "

อัฒภาค (;)

  • ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน
  • ใช้คั่นระหว่างประโยคที่สมบูรณ์ ๒ ประโยค เพื่อแสดงความต่อเนื่องของประโยคทั้งสอง
  • ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคอยู่แล้วให้เป็นส่วน ๆ ชัดเจนขึ้น
๑,๓๓๕; ๕๔๑; ๓๕,๙๘๔
  • ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมาก ๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวก ๆ
  • ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ความหมายก็ยังมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม และยังใช้คั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายไม่สัมพันธ์กันด้วย
จร ก. ดู; ไป, เกี่ยวไป; ประพฤติ

อัศเจรีย์ (!) โดยทั่วไปใช้เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนไว้ข้างหลังคำหรือกลุ่มคำที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ รับรู้ ประหลาดใจ พอใจ หรืออื่น ๆ มีวิธีใช้ดังนี้