แผนที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย

อยากทราบภาพรวมของชาย แดนไทยทางบกติดประเทศไหนกี่กิโลเมตร และมีด่านอะไรบ้างครับ อธิบายการรับ AEC ด้วยนะครับ

เดี่ยว

ได้คำตอบจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ว่า ประ เทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ คือ ทิศเหนือ ได้แก่ พม่า และลาว, ทิศตะวันตก ได้แก่ พม่า, ทิศตะวันออก ได้แก่ ลาว และกัมพูชา และทิศใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ทั้งนี้โดยรวมแล้วประเทศไทยมีพรม แดนติดต่อประเทศพม่าเป็นระยะทางยาวที่สุด คือ 2,400 กิโลเมตร รองลงไปคือประเทศลาว ระยะทาง 1,810 กิโลเมตร, ประเทศกัมพูชา ระยะทาง 725 กิโลเมตร และประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 647 กิโลเมตร

ประเทศไทยได้พัฒนากรอบความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างเครือข่ายการขนส่งเชื่อมโยงทางบกผ่านจุดผ่านแดนของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน แบ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราวและจุดผ่อนปรน ดังนี้ 1.จุดผ่านแดนถาวร เป็นจุดผ่านแดนที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน ประกาศให้มีการสัญจรไป-มา ทั้งบุคคล สิ่งของและยานพาหนะ โดยทั่วไป จุดผ่านแดนถาวรจะมีการดำเนินงานเรื่องพิธีการตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการศุลกากรตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ ปัจจุบัน ไทยมีจุดผ่านแดนถาวรกับประเทศเพื่อนบ้านรวม 29 จุด ดังนี้

ด้านพม่า มีจุดผ่านแดนถาวร 3 จุด ฝั่งไทย 1.อ.แม่สาย จ.เชียงราย ฝั่งพม่า เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน 2.อ.แม่สอด จ.ตาก ฝั่งพม่า เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง 3.อ.เมือง จ.ระนอง ฝั่งพม่า เมืองเกาะสอง ภาคตะนาวศรี

ด้านลาว มีจุดผ่านแดนถาวร 13 จุด (รวมด่านสากล 5 ด่าน) ฝั่งไทย 1.อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ฝั่งลาว เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว 2.อ.เชียงของ จ.เชียงราย ฝั่งลาว เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ด่านสากล) 3.ด่านห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ฝั่งลาว บ้านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไชยะบุลี 4.ด่านปากห้วย อ.ท่าลี่ จ.เลย ฝั่งลาวเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุลี 5.อ.เชียงคาน จ.เลย

ฝั่งลาวเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ 6.ด่านคกไผ่ อ.ปากชม จ.เลย ฝั่งลาว บ้านวัง เมืองสานะคาม 7.ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย ฝั่งลาว บ้านดงพูลี เมืองหาดทรายฟอง กําแพงนครเวียงจันทน์

8.ด่านท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย ฝั่งลาว ท่าเดื่อ กําแพงนครเวียงจันทน์ 9.ด่านบึงกาฬ จ.หนองคาย ฝั่งลาว เมืองปากซัน แขวงบอลิคําไซ (ด่านสากล) 10.อ.เมือง จ.นครพนม ฝั่งลาว เมืองท่าแขก แขวง คําม่วน (ด่านสากล) 11.อ.เมือง จ.มุกดาหาร ฝั่งลาว เมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขต (ด่านสากล) 12.ด่านบ้านปากแซง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ฝั่งลาว บ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน และ 13.ด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ฝั่งลาว บ้านวังเต่า แขวงจําปาสัก (ด่านสากล)

ด้านกัมพูชา มีจุดผ่านแดนถาวร 6 จุด ฝั่งไทย 1.ด่านช่องสะงํา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ฝั่งกัมพูชา ช่องสะงํา อำเภออัลลองเวง 2.ด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ฝั่งกัมพูชา โอร์เสม็ด 3.ด่านบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

ฝั่งกัมพูชา ปอยเปต จ.บันเตียเมียนเจย 4.ด่านบ้านแหลม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ฝั่งกัมพูชา บ้านตวง จ.พระตะบอง 5.ด่านบ้านผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน ฝั่งกัมพูชา เมืองพรม กรุงไพลิน จ.พระตะบอง 6.ด่านบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ฝั่งกัมพูชา จามเยียม จ.เกาะกง

ด้านประเทศมาเลเซีย มีจุดผ่านแดนถาวร 7 จุด ฝั่งไทย 1.ด่าน ตม.ตากใบ อ.ตากใบ(ท่าเรือ) จ.นราธิวาส ฝั่งมาเลเซีย ด่านเป็งกาลันกูโบ รัฐกลันตัน 2.ด่าน ตม.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ฝั่งมาเลเซีย ด่านรัฐตูปันยัง รัฐกลันตัน 3.ด่าน ตม.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา

ฝั่งมาเลเซีย ด่านบูกิตบือราปิด 4.ด่าน ตม.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา ฝั่งมาเลเซีย ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดาห์ 5.ด่าน ตม.ปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ฝั่งมาเลเซีย ด่านปาดังเบซาร์ รัฐเปอร์ลิส 6.ด่าน ตม.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล ฝั่งมาเลเซีย ด่านวังเกลียน รัฐเปอร์ลิส และ 7.ด่าน ตม.สตูล(ท่าเรือ) ฝั่งมาเลเซีย ท่าเรือกัวลาเปอร์ลิส รัฐเปอร์ลิส

ทั้งนี้ บุคคลจากประเทศที่สาม (เช่น นักท่องเที่ยวต่างชาติ) เดินทางเข้า-ออกทางจุดผ่านแดนถาวรได้โดยใช้หนังสือเดินทาง แต่ในกรณีจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว ทางฝ่ายลาวประกาศให้มีจุดผ่านแดนถาวร 5 แห่ง ที่อนุญาตให้บุคคลจากประเทศที่สามเดินทางเข้า-ออกลาวได้ จึงเรียกชื่อเพื่อให้แตกต่างจากจุดผ่านแดนถาวรจุดอื่นๆ ว่าด่านสากล

2.จุดผ่านแดนชั่วคราว / จุดผ่อนปรน รวม 42 แห่ง โดยแยกเป็น ไทย-พม่า 11 แห่ง ไทย-ลาว 21 แห่ง และไทย-กัมพูชา 10 แห่ง โดยจุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดผ่านแดนที่เปิดเป็นการเฉพาะกิจเพื่อเหตุฉุกเฉินจําเป็นเฉพาะคราวเท่านั้น และในบริเวณนั้นหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น หรือมีแต่ไม่สามารถใช้ หรือไม่เหมาะกับการใช้ด้วยเหตุผลต่างๆ และเมื่อครบกําหนดเวลาหรือบรรลุวัตถุประสงค์แล้วจะปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทันที

ส่วนจุดผ่อนปรน หรือจุดผ่อนปรนการค้า เป็นจุดที่จังหวัดชายแดนผ่อนปรนให้มีการค้าขายบริเวณชายแดน เป็นสินค้าเล็กๆ น้อยๆ ที่จําเป็นต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนทั้งสองประเทศ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า คาบสมุทรอินโดจีน และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ เรียกว่า กลุ่มเกาะมลายู สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น ประกอบกับสภาพแวดล้อม ที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มจึงเหมาะสมกับการผลิตสินค้าทางการเกษตร ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกในฐานะเป็นแหล่งผลิตอาหารและวัตถุดิบที่สำคัญปห่งหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ที่ตั้งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ควบคุมเส้นทางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตก ทำให้ประเทศมหาอำนาจพยายามที่จะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ แต่ปัจจุบันหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้น เพื่อดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเพิ่มอำนาจในการต่อรองระหว่างประเทศกับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น

เอชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่ตั้ง : อยู่ระหว่างดินแดน 3 ส่วน คือ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และภาคเหนือของทวีปออสเตรเลีย

อาณาเขต : ทิศเหนือติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และมหาสมุทรอินเดีย

พื้นที่ : 4,600,000 ตารางกิโลเมตร

ประชากร : 600,000,000 คน

          ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศต่างๆ  11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย  ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม  มีประชากรรวมทั้งสิ้นราว 600 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 10 ของประชากรทั้งโลก อินโดนีเซียมีประชากรคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในภูมิภาคนี้  (40%) รองลงมาคือฟิลิปปินส์ (16%) เวียดนาม  (15%) ไทย (12%) รวมประชากรของ 4 ประเทศนี้แล้วจะเท่ากับ 83% และบรูไนเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดคือราว  4 แสนคนเท่านั้น

แผนที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย
ร้อยละของประชากรประเทศต่างๆ  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2553

ภูมิประเทศ : แบ่งเป็น 3 เขตใหญ่ๆ คือ เขตเทือกเขาในคาบสมุทรอินโดนจีน เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำในคาบสมุทรอินโดจีน และเขตกลุ่มเกาะมลายู

ภูมิอากาศ : เป็นภูมิอากาศเขตร้อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภูมิอากาศร้อนชิ้น และภูมิอากาศร้อนชื้นสลับแล้ง

เพื่อนบ้านของไทยคือประเทศอะไร

ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ...

ประเทศเพื่อนบ้านมีกี่ประเทศอะไรบ้าง

ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ มีระยะทางรวม 5,656 กม. ดังนี้ 1. สหภาพพม่า 2,401 กม. 2. สปป.ลาว 1,810 กม. 3. กัมพูชา 798 กม.

ประเทศที่อยู่ด้านบนประเทศไทยได้แก่ประเทศอะไรบ้าง

ได้คำตอบจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ว่า ประ เทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ คือ ทิศเหนือ ได้แก่ พม่า และลาว, ทิศตะวันตก ได้แก่ พม่า, ทิศตะวันออก ได้แก่ ลาว และกัมพูชา และทิศใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ทั้งนี้โดยรวมแล้วประเทศไทยมีพรม แดนติดต่อประเทศพม่าเป็นระยะทางยาวที่สุด คือ 2,400 กิโลเมตร ...

แผนที่ประเทศไทยใกล้ประเทศอะไร

แผนที่ประเทศไทยแสดงอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศเมียนมาร์ ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศมาเลเซีย Page 2 ขั้นตอนในการสืบค้นประวัติความเป็นมาของตัวเอง โรงเรียน และชุมชน ดังนี้