การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีของไทย

       

๑.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย
       มี ๒ ประเภท คือประเภทเครื่องดีด เช่น กระจับปี่  ซึง  พิณอีสาน  พิณเปี๊ยะ เป็นต้น และประเภทเครื่องสี เช่น ซอสามสาย  ซออู้  ซอด้วง ตรัว  สะล้อ รือบับ โกร (ซอมอญ) เตหน่า (หน่าเตย)  และประเภทเครื่องตี ได้แก่ ขิม    ก่อนนำไปใช้ทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย  ปรับเสียง และ ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี  และเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
     ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆ ให้สะอาด
     ๒) ปลดเลื่อนหมอนหรือหย่อง เพื่อคลายสายของเครื่องดนตรีหรือคลายลูกบิดให้สายหย่อนเล็กน้อย
     ๓) เก็บคันชักเข้ากับคันซอหรือในกล่อง เก็บไม้ดีดให้เรียบร้อย

      ๒.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง
      เช่น ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ฆ้องมอญ  โปงลาง  เป็นต้น  ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งให้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยก่อนก่อนการนำมาฝึกซ้อมหรือบรรเลงจริง  ตรวจสอบระดับเสียงให้ถูกต้อง  เพื่อป้องกันความเพี้ยนที่เกิดจากตะกั่วถ่วงเสียงหลุด  ตั้งวาง  และจัดลูกระนาด  ลูกฆ้อง  ลูกโปปงลาง  ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง  ตรวจสอบสภาพไม้ตีให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมใช้  รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง  และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้
     ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
     ๒) ระนาดเอก และระนาดทุ้ม ให้ปลดเชือกจากตะขอแขวนทางด้านซ้าย ๑ อัน เพราะส่วนนี้ต้องรับน้ำ           หนักผืนระนาดจึงต้องปลดเชือก  เพื่อป้องกันเชือกขาดหรือตะขอหักหรือหลุด
     ๓) ตั้งวางเครื่องดนตรีไว้อย่างเป็นระเบียบโดยมิให้ถูกแสงแดด  เพื่อป้องกันมิให้ตะกั่วถ่วงเสียง                   ละลายหรือส่วนประกอบที่เป็นไม้แตกหัก บิดเบี้ยว

     ๓. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกำกับจังหวะ
     ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก  ฉาบใหญ่  กรับ  โหม่ง  แตระ  กับแก๊บ  รวมทั้งเครื่องตี  และเครตื่องเคาะที่ใช้ตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะ  ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย  และปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง  เมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
     ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
     ๒) เก็บวางหรือใส่ไว้กล่องเก็บเครื่องดนตรีให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

    ๔. หลักการใช้  และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง
    เช่น กลองทัด   ตะโพนไทย  ตะโพนมอญ  กลองแขก  กลองมลายู  กลองสองหน้า  กลองยาวกลางหาง โทน  รำมะนา  ทับ  เป็นต้น  เครื่องดนตรีลักษณะนี้มักจะนำหนังสัตว์มาขึ้นหน้าหุ้มกลอง  ตรึงด้วยหมุดบางชนิดโยงด้วยสายที่ทำจากหนังสัตว์  สายหวาย  เป็นต้น
    ดังนั้น  ก่อนนำมาใช้ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย  ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง  ก่อนใช้งานบางชนิดที่มีไม้ตีก็ให้ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้
    รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้องและเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
   ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
   ๒) ล้างหรือเช็ดทำความสะอาดหน้ากลองที่ติดจ่ากลองหรือข้าวบดสำหรับถ่วงหน้ากลองให้สะอาดเพราะข้าวบดถ่วงหรือจ่ากลองที่มีส่วนผสมของขี้เถ้า  หากไม่ทำความสะอาดให้ดีแล้ว  ความเค็มของขี้เถ้าจะกัดแผ่นหนังกลองให้เกิดความเสียหายได้

   ๕. หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
   เช่น ปี่ใน  ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ ขลุ่ยชนิดต่างๆ  แคน  เค่ง (แคนม้ง)  ปี่อ้อ  ปี่ผู้ไท  ปี่ล้านนา เป็นต้น  ลักษณะโดยทั่วไปของปี่มักมักจะทำด้วยไม้  แต่บางชนิดจะแทรกด้วยกำพวด  ลิ้นโลหะหรือลิ้นใบตาล  ก่อนนำมาใช้งานควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยเสียก่อน  รวมทั้งให้ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้ถูกต้อง  และเมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอน  ดังต่อไปนี้
   ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆให้สะอาด
   ๒) แช่ลิ้นปี่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  เก็บกำพวดปี่  และลิ้นปี่ไว้ในกรักปี่ให้เรียบร้อย
   ๓) ตั้งวางในที่มีอากาศโปร่ง  เพื่อป้องกันเชื้อราที่อาจเกิดขึ้นได้  และห้ามนำเลา  ตัวแคนหรือเลาขลุ่ยไปตากแดด  หรือตั้งไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง  เพราะจะทำให้เครื่องดนตรีปริแตก  หรือโครงสร้างภายในเสียหาย ส่งผลกระทบต่อระบบเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆได้

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี
กำพวดปี่และลิ้นปี่

WINKWHITE

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้       1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff)             บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่        ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด       วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้         นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)           2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด               1) ตัวโน้ต   คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสด

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การสร้างสรรค์บทเพลง  หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง  เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น  โคลง  ฉันท์  กาพย์   กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน  มีสัมผัสใน  สัมผัสนอก  แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้         ๑) ธรรมชาติ   เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย  การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา  นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น   ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน  หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น  เกิดจิน

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สุโขทัยและอยุธยา)

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทตี

การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง  มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ดังต่อไปนี้           1. สมัยสุโขทัย            สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์  แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก  และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  ภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ  และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี  เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก  เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ"

เครื่องดนตรีที่ทําจากไม้ควรดูแลรักษาด้วยวิธีใด

การดูแลรักษาเครื่องดนตรีทำมาจากไม้ ไม่ควรทำสิ่งใด ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ใช้ผ้าแห้งเช็ด เก็บไว้ในที่ร่ม เก็บไว้ในที่แห้ง

ข้อใดอธิบายวิธีการบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย

1.เครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส พิณ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลิน บาลาไลกา ดูแลรักษาโดยใช้ผ้าสะอาดเช็ดที่ตัวเครื่องและคันชัก ระวังอย่าให้เป็นรอยขีดข่วนที่คันชักอาจปรับให้สายหย่อนก่อนเล็กน้อย จะได้ไม่ขาด จากนั้นก็เก็บเครื่องดนตรีเข้ากล่องให้เรียบร้อย

ข้อใดคือการดูแลรักษาเครื่องดนตรีได้ถูกวิธี

หลังเลิกเล่นทุกครั้งต้องลดสายปลดเชือกหรือทำอย่างอื่นตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้อยู่ในสภาพที่จะเก็บหรือไม่ใช้งาน.
ทำความสะอาดเครื่องดนตรีแต่ละชนิดด้วยน้ำยาและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด.
เก็บใส่ภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด.
เก็บไว้ในที่ที่มีความเหมาะสม Comments..

สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดในการดูแลรักษาเครื่องดนตรีประเภทกลองได้แก่ข้อใด

ไม่ควรสาวกลองเวลาแดดจัดเพราะอากาศที่ร้อนมากอาจทำให้หนังปริหรือฉีกขาดง่าย หากหน้ากลองเปียกน้ำควรแก้ไขทันทีด้วยการนำพัดลมเป่าหน้ากลองหรือใช้เครื่องเป่าความร้อนทำให้แห้ง ไม่ควรนำไปผึ่งแดด การยืดอายุใช้งานหน้ากลองทำได้ด้วยการนำรักผสมน้ำมันก๊าดทาบาง ๆ บริเวณกลางหน้ากลองหรือเคลือบเงาผิวชั้นนอก วัสดุตกแต่งเสียงกลองหรือข้าวติด ...