ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง ประจําเดือน

“ลุกก็โอ๊ย นั่งก็โอ๊ย” เชื่อว่าใครหลายๆคน คงเคยมีประสบการณ์ปวดหลังด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปวดหลังส่วนล่างผู้หญิง ปวดหลังช่วงเอว ปวดหลังเรื้อรัง แม้กระทั่งการจุกกลางอกปวดหลัง หรือ กล้ามเนื้อหลังอักเสบก็ตาม

Show

อาการปวดหลังเป็นอาการที่สามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งแต่ละคนอาจมีรูปแบบการปวดหลังที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งบางรายอาจมีอาการปวดหลังรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

เพราะฉะนั้น น้องสรีจะมาบอกเล่าทุกเรื่องที่ชาวปวดหลังควรรู้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดหลังเกิดจากอะไร ปวดหลังช่วงเอวแก้ยังไง? ปวดหลังมากนอนไม่ได้ทำยังไงดี? มีวิธีแก้ปวดหลังที่สามารถทำด้วยตนเองไหม? เป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบให้สำหรับคุณ

อาการปวดหลัง เกิดจากอะไร


ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง ประจําเดือน


“อาการปวดหลังเกิดจากอะไร?” ในความเป็นจริงแล้ว การเกิดอาการปวดหลังแต่ละส่วน มาจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • อาการปวดหลังส่วนบน

อาการปวดหลังส่วนบน เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการสะพายหรือแบกของหนักๆ หรือแม้แต่การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน ก็สามารถมีอาการเช่นนี้ได้

  • ปวดหลังส่วนล่าง

การปวดหลังส่วนล่าง อาจมาจากสาเหตุของการนั่งหรือยืนนานๆ รวมไปจนถึงการที่บุคคลนั้นมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออยู่ในภาวะน้ำหนักตัวเกิน จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างขึ้น

  • ปวดหลังด้านซ้าย

หากคุณมีอาการปวดหลังด้านซ้ายบน อาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บบริเวณนั้น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ หรือการไม่สบาย มีไข้ ไอ ก็อาจทำให้เกิดการปวดหลังด้านซ้ายได้เช่นกัน

ส่วนปวดหลังด้านซ้ายล่าง มักจะมาจากการมีท่านั่ง ท่ายืนที่ไม่เหมาะสม ในบางรายอาจปวดหลังเนื่องจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามอายุ แม้แต่บุคคลที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคอ้วน ก็สามารถปวดหลังส่วนนี้ได้เช่นกัน

  • ปวดหลังข้างขวา

คนที่มีอาการปวดหลังด้านขวาบน มีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การเกิดความเจ็บป่วยขึ้นที่อวัยวะต่างๆ เช่น โรคตับ ซีสต์ในรังไข่ นิ่วในไต ฯลฯ หรือปอดมีความผิดปกติก็เป็นไปได้

ในส่วนของการปวดหลังด้านขวาล่าง บางรายอาจมีปัญหาเรื่องของปวดหลังช่วงเอวก้มไม่ได้ อาจมีสาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากจนเกินไป การทำกิจกรรมที่ไม่ถูกสรีระหรือมีท่าทางที่ไม่เหมาะสม การอยู่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือการเกิดความผิดปกติต่างๆขึ้นในร่างกาย เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

  • ปวดหลังยกของหนัก

หากคุณรู้สึกปวดหลัง หลังจากที่ยกของหนักมา เป็นไปได้ว่า อาการปวดหลังนั้นอาจเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ดังนั้นจึงไม่ควรยกของหนักจนเกินไป และหากมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้น ควรหยุดพักการใช้งานบริเวณนั้นซ้ำ


อาการปวดหลังจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักพบในช่วงวัยผู้สูงอายุที่เกิดความเสื่อมในส่วนต่างๆของร่างกาย และวัยผู้ใหญ่ที่มีการทำงานอย่างหนักหน่วงเป็นระยะเวลานาน โดยอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลัง ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนซ์กราฟิค นักกีฬายกน้ำหนัก ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ

สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในอาชีพกลุ่มเสี่ยง ก็มีโอกาสปวดหลังได้เช่นกัน จากพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • พฤติกรรมการนั่ง การเดิน การยืน หรือการนอนที่ไม่เหมาะสม

  • กลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

  • บุคคลที่มีภาวะน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป

  • ผู้ที่มีบุคลิกภาพหลังค่อม

  • การใช้วิธียกของหนักคนเดียว

  • การเล่นกีฬาผิดท่า

  • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณหลัง

  • มีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคทางกายที่มีผลต่อบริเวณหลัง

  • การนอนผิดท่าปวดหลัง

อาการปวดหลังบอกโรค อะไรได้บ้าง

ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง ประจําเดือน


“อาการปวดหลังบอกโรคอะไรได้บ้าง?” ในบางราย การปวดหลังอาจไม่ใช่อาการธรรมดา แต่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกโรคที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • อาการปวดหลังที่ระบุตำแหน่งไม่ได้

อาการปวดหลังที่ระบุตำแหน่งไม่ได้ จะมีความสัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน ที่อาจมาจากการที่ใช้งานกล้ามเนื้อหลังมากจนเกินไป หรือการเกิดอุบัติเหตุกระทบบริเวณหลัง

โดยอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดหลังเฉียบพลัน ไม่สามารถระบุได้ว่าปวดตรงไหน แต่ปวดหลังมากจนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา

  • การปวดหลังเรื้อรัง

อาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ที่มีสาเหตุมาจากลักษณะท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและเกร็งตัว จนมีอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง


  • ปวดหลังหายใจไม่สะดวก

การปวดหลังหายใจไม่สะดวก อาจมีความสัมพันธ์กับภาวะปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ ภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ หรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ เป็นต้น


  • ปวดหลังเหนือเอว

การปวดหลังเหนือเอว อาจสัมพันธ์กับความผิดปกติต่างๆ เช่น โรคไต การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ และหากในบางรายมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาจสัมพันธ์กับโรคกระเพาะ มดลูก รังไข่ เป็นต้น

ปวดหลังขนาดไหน จำเป็นต้องไปพบแพทย์


หลายๆคนคงสงสัยว่า แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่า อาการแบบไหนควรต้องไปพบแพทย์? อาการปวดหลังที่ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาอาการต่างๆ มีลักษณะดังนี้

  • ปวดหลังเฉียบพลัน หรืออาการปวดหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ยกของหนักปวดหลัง เพราะกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เป็นต้น

  • มีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง หรือปวดหลังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน

  • มีอาการปวดหลังมากนอนไม่ได้

  • ปวดหลังและมีอาการชา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับร่างกายได้เหมือนปกติร่วมด้วย

  • จุกกลางอกปวดหลัง

  • ปวดหลังหายใจไม่สะดวก หรือหายใจได้ไม่ลึก รวมไปจนถึงมีไข้ร่วมด้วย

วิธีแก้ปวดหลัง เบื้องต้น

หากใครก็ตามที่พบว่า ตนเองเริ่มมีอาการปวดหลังแล้ว น้องสรีมีวิธีแก้ปวดหลังเบื้องต้น ที่สามารถทำด้วยตนเองได้ง่ายๆ ไม่อันตราย มาฝากกัน ดังนี้

  • ทาครีมบรรเทาอาการปวด หรือ การรับประทานยาแก้ปวดหลัง ยาแก้อักเสบ

  • แก้อาการปวดหลังล่างง่ายๆ โดยการใช้แผ่นแปะบรรเทาปวด

  • ใช้การประคบเย็น ช่วยในการลดความอักเสบ หรือการบวม

  • ใช้การประคบร้อน หรือการลงไปแช่ในน้ำอุ่น ช่วยในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งทำงานนานจนเกินไป หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หลังงอ งดการแบกของหนักเกินกำลัง ใส่ส้นสูงเพียงแค่ยามจำเป็น

  • ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสม เช่น การใช้เก้าอี้ที่ซัพพอร์ตสรีระ ระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ที่ใช้ทำงานมีความสัมพันธ์กัน เป็นต้น

  • หันมาออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงส่วนหลัง เพื่อใช้เป็นวิธีแก้อาการปวดหลัง

  • วิธีการแก้ปวดหลังด้านซ้าย หรือด้านขวาแบบง่ายๆ อาจเป็นการทำท่าบริหารหลังเป็นประจำ ช่วยคุณได้

ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง ประจําเดือน

การ รักษาอาการปวดหลัง

วิธีรักษาอาการปวดหลัง มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือระดับอาการปวดหลังของแต่ละบุคคล โดยการรักษาอาการปวดหลัง มีดังนี้


1. การฉีดยา

ในบางรายอาจได้รับการพิจารณาให้ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรัง หรือเส้นประสาทที่มีการกดทับเกิดขึ้น เพื่อลดอาการปวดบวม การอักเสบที่เกิดขึ้น

หากแพทย์ทำการประเมินวินิจฉัยแล้วพบว่า มีจุดน่าสงสัยที่อาจเป็นสาเหตุของการปวดครั้งนี้ อาจมีการพิจารณาให้ฉีดผสมระหว่างยาชากับยาสเตียรอยด์ ไปยังบริเวณข้อต่อหรือเส้นประสาทนั้นๆ


2. การทำกายภาพบำบัด

การทำ กายภาพบำบัดปวดหลัง เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการดูแลรักษา รวมไปจนถึงการให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อที่คุณจะได้สามารถนำวิธีต่างๆที่ฝึกสอน กลับไปดูแลตนเองได้ ซึ่งวิธีการรักษาของแต่ละบุคคลอาจมีความแตกต่างกันออกไป


3. การผ่าตัด

การผ่าตัดเป็นวิธีที่แพทย์จะใช้ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น โดยผู้ที่ถูกพิจารณาเข้ารับการผ่าตัด จะเป็นบุคคลที่รักษาด้วยวิธีการฉีดยา หรือวิธีอื่นๆแล้วไม่ดีขึ้น อีกทั้งยังมีอาการปวดมากขึ้น เช่น มีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท เริ่มมีอาการชา หรืออ่อนแรง เป็นต้น

ท่าบริหารหลัง


ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง ประจําเดือน

เข้าสู่ช่วงสำคัญกับ “เคล็ดลับวิธีแก้ปวดหลังด้วยการทำท่าบริหารหลัง” หลายๆคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าความเป็นจริงแล้ว เราสามารถรักษาอาการปวดหลังในระยะแรกๆได้ด้วยท่าบริหารหลัง เพราะหากคุณทำท่าบริหารหลังเป็นประจำ ก็จะทำให้บริเวณหลังมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น จนโอกาสที่จะเกิดอาการปวดหลังลดน้อยลงนั่นเอง โดยท่าบริหารหลังที่คุณสามารถทำได้ มีดังนี้


  • ท่าที่ 1

วิธีรักษาอาการปวดหลังท่าแรก ให้คุณนอนหงายราบลงไปกับพื้น จากนั้นชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น ค่อยๆนำมือทั้งสองข้างของคุณ ดึงเข่าเข้ามาหาตัว จนคุณรู้สึกตึงที่สะโพกเล็กน้อย ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที และปล่อยลงกลับสู่ท่าเดิม ทำซ้ำอีกประมาณ 5 ครั้ง

  • ท่าที่ 2

ท่าที่ 2 มีความคล้ายคลึงกับท่าที่แล้ว คือ ให้คุณอยู่ในท่านอนหงาย จากนั้นยกเข่าขึ้นหนึ่งข้าง และนำมือทั้งสองดึงเข่านั้นให้เข้าหาตัว ให้ใกล้กับบริเวณหน้าอกมากที่สุด ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที และสลับข้างกัน โดยทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

  • ท่าที่ 3

ท่าที่ 3 ให้คุณนอนหงายอีกเช่นเคย แต่คราวนี้ ให้คุณเหยียดขาตรง และขยับข้อเท้าขึ้นลงทั้งสองข้างติดต่อกัน เป็นจำนวน 10 ครั้ง คุณจะรู้สึกตึงที่สะโพกเล็กน้อย

  • ท่าที่ 4

ในท่านี้ เป็นท่าที่สามารถแก้อาการปวดหลังล่างได้ โดยให้คุณนั่งขัดสมาธิ จากนั้นชันเข่าของขาด้านขวาขึ้น นำมือซ้ายจับไปที่ท้ายทอย นำมือขวาวางไว้พื้น และบิดตัวไปทางขวา ทำค้างไว้ประมาณ 8 วินาที คุณจะรู้สึกตึงเล็กน้อย จากนั้นบิดกลับมาสู่ตรงกลางเช่นเดิม และนำมือขวาขึ้นมาจับท้ายทอย มือซ้ายแตะพื้น บิดไปทางขวา ทำค้างเอาไว้เช่นเคย

รอบต่อไป ให้คุณสลับเปลี่ยนขา เป็นการชันเข่าขาด้านซ้ายขึ้น และทำการบิดตัวไปทางซ้ายบ้าง ทำค้างไว้ประมาณ 8 วินาที

  • ท่าที่ 5

ท่าที่ 6 เมื่อคุณมีอาการปวดหลัง คุณสามารถนอนหงายบนพื้นราบที่มีพื้นผิวไม่แข็งและไม่นุ่มจนเกินไป จากนั้นยืดเหยียดแขนทั้งสองข้าง ให้วางอยู่ข้างลำตัว เกร็งหน้าท้องค้างไว้ประมาณ 10 วินาที และพัก ทำต่ออีกประมาณ 2-3 ครั้ง เป็นอันเสร็จสิ้น

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับอาการปวดหลัง


ทางสรีรารัก คลินิกกายภาพบำบัด ได้ทำการรวบรวมปัญหา ข้อสงสัยยอดฮิตเกี่ยวกับการปวดหลังที่หลายๆคนมักให้ความสนใจกัน ดังนี้

นอนแล้วปวดหลังเกิดจากอะไร


“นอนแล้วปวดหลังเกิดจากอะไร?” ในบางครั้ง การนอนแล้วปวดหลังอาจเกิดจากที่นอนที่มีความนุ่มจนเกินไป ทำให้เวลาที่คุณนอนหลับจะต้องเกร็งตัวโดยไม่รู้ตัว เกิดเป็นอาการปวดหลังส่วนล่างขึ้น

อีกทั้ง นอกจากที่นอนแล้ว ยังเกิดได้จากหมอน และท่าทางการนอนของเรา ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หากนอนผิดท่า ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง และในบางรายมีอาการปวดคอร่วมด้วย


นอนแล้วปวดหลัง ทำไงดี

แล้วแบบนี้ “นอนแล้วปวดหลัง ทำไงดี?” ให้คุณกลับไปสังเกตทั้งสถานที่ว่า ที่นอนและหมอน เป็นอย่างไร ที่นอนนุ่มเกินไปจนไม่สามารถรองรับแผ่นหลังเราหรือไม่? หรือหมอนที่ใช้นอนมีความหนา หรือบางเกินไปรึเปล่า? หากใช่ ให้คุณทำการเปลี่ยนที่นอนและหมอนให้เข้ากับสรีระร่างกายของเรา จึงจะดีที่สุด และในขณะที่จะทำการนอนหลับ ให้คุณสังเกตท่าทางการนอนของตนเอง ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ยกของหนักปวดหลัง แก้ยังไง

การปวดหลังยกของหนัก เป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยๆ เนื่องจากหลายๆคนอาจมีการใช้แรงยกของหนักหลายอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งวิธีแก้ที่ดีที่สุด คือการยกของที่ถูกวิธี

การยกของที่ถูกวิธี เริ่มจากการที่คุณประเมินวัตถุสิ่งของที่ต้องการจะยกว่า น้ำหนักพอจะยกไหวหรือไม่ หลังจากนั้นย่อเข่าลง ลำตัวตั้งตรง ยกวัตถุโดยไม่กางแขนออก ต่อมา ตั้งศีรษะให้ตรง ใช้กล้ามเนื้อต้นขาในการดันตนเองให้ยืนขึ้นได้ และเคลื่อนย้ายวัตถุตามปกติ

เมื่อจะทำการวางวัตถุ ให้ทำแบบเดิม คือ ค่อยๆย่อตัวลง ลำตัวตั้งตรง และวางวัตถุลง เป็นอันเสร็จสิ้น

ทําไมเป็นประจําเดือนต้องปวดหลัง


“ทำไมเป็นประจำเดือนต้องปวดหลัง?” ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่ผู้หญิงหลายๆคนมักพบเจออยู่บ่อยๆ เพราะในกรณีนี้ อาการปวดหลังล่าง มีสาเหตุมาจากการที่มดลูกเกิดการบีบรัด จนมีการไปกดทับเส้นเลือดบริเวณข้างเคียง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงตามกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวได้ จนเกิดอาการปวดขึ้นนั่นเอง

นอนผิดท่าปวดหลัง แก้ยังไงดี


การนอนผิดท่าปวดหลัง แก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางการนอนให้ถูกต้อง โดยในขณะที่คุณกำลังจะเข้านอน ให้คุณจัดท่าทางตนเองตามลักษณะดังนี้

  • หากคุณต้องการนอนหงาย ให้นอนโดยการที่ศีรษะ คอ และหลังช่วงบนอยู่ในระนาบเดียวกัน และมีการนำหมอนหนุนไว้ที่บริเวณใต้ข้อพับเข่า ก็จะช่วยเรื่องอาการปวดหลังได้

  • หากคุณต้องการนอนตะแคงข้าง ให้นอนงอเข่าเล็กน้อย และมีการนำหมอนมาหนุนบริเวณระหว่างขา ก็จะสามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้

สรุป

การปวดหลัง เป็นอาการที่มีทั้งแบบไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ และแบบอาการปวดหลังรุนแรง ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา โดยการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการปวดหลังหรือสาเหตุของการปวดหลังที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น มีอาการปวดหลังส่วนล่างผู้หญิงที่มีประจำเดือน เกิดอุบัติเหตุกระทบกับบริเวณหลังจนทำให้เกิดการปวดหลังเฉียบพลัน การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จนมีอาการปวดหลังส่วนบน และการยกของหนักจนเกินไป ทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดหลังช่วงเอว กล้ามเนื้อหลังอักเสบ เป็นต้น

เป็นประจําเดือนปวดหลังเกิดจากอะไร

ปวดหลังช่วงล่าง อาการปวดแบบนี้ยังเกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandins) ซึ่งเป็นสารที่เยื่อบุโพรงมดลูกสร้างขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อในโพรงมดลูกหดตัวได้ด้วย ซึ่งผู้หญิงที่มีสารนี้สูงก็จะรู้สึกถึงการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกมากขึ้นไปด้วย ทำให้รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อยและหลังช่วงล่าง

ปวดหลังส่วนล่าง ผู้หญิง เกิดจากอะไร

โรคปวดหลังส่วนล่าง เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น 1. เกิดจากการใช้งาน อาทิ การนั่งนาน การยืนนาน หรือการก้มๆ เงยๆ หรือการก้มยกของหนัก 2. เกิดจากการเสื่อมของข้อต่อกระดูกหลังตามวัย หรือจากการทำงาน ทำให้ข้อต่อเสื่อม และอักเสบส่งผลให้เกิดอาการปวดได้ 3. เกิดจากเส้นประสาทบริเวณหลังถูกกดทับ ทำให้มีอาการปวดมาบริเวณหลังส่วนล่าง

ทํายังไงให้หายปวดหลังตอนเป็นประจําเดือน

วิธีแก้อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือนช่วยด้วยอีกทางก็ได้ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น หรืออาหารที่มีความเย็น อาบน้ำอุ่น หรืออาจใช้แผ่นแปะชนิดร้อนแปะไว้ที่หลัง เพื่อให้ความร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวด

ปวดประจําเดือน นวดได้ไหม

หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนขณะนั่งทำงาน ก็สามารถบรรเทาด้วยการนวดบริเวณท้องน้อยเบาๆ โดยนวดวนเป็นวงกลมเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องผ่อนคลายลง อาการปวดประจำเดือนจากการตึงของกล้ามเนื้อก็จะลดลงตามไปด้วย