มารู้จักคอมพิวเตอร์กันเถอะ ป 1

คำนำ

การปฏิรูปการศึกษามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนรู้วิธีการเรียนรู้

ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการจัดกระบวนการเรียนการสอน

ต้องเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนได้เป็นผู้ค้นพบองค์ความรู้เอง

ครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้ความสะดวก และให้กำลังใจ จนทำให้นักเรียน

ประสบความสำเร็จได้ ฉะนั้น ควรสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้/

แหล่งการเรียนรู้ ที่ตอบสนองหลักการดังกล่าว หนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้

จึงเป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ครูสามารถทำให้นักเรียนได้เรียนรู้

ด้วยตนเอง และครูยังสามารถใช้ในการประกอบการสอนในชั้นเรียน

และนักเรียนสามารถใช้ศึกษานอกเวลาเรียนได้อีกด้วย

ผู้จัดทำได้จดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ขึ้น เพื่อใช้เปนสื่อการเรียนรู้/


แหล่งการเรียนรู้ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มสาระ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชา เทคโนโลยีการออกแบบและการคำนวณ

(ว 21103) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนสูงขึ้น และบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดประสงค์การเรียนรู้ อีกทั้งสามารถ

นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์

ต่อนักเรียนและผู้ที่สนใจต่อไป

ธัณกนก คิ้วสุวรรณ

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ขั้นตอนการศึกษาหนังสืออ่านเพิ่มเติม 1

จุดประสงค์การเรียนรู้ 2

แบบทดสอบก่อนเรียน 3

เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์กันเถอะ 6

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ 8

ความหมายของคอมพิวเตอร์ 18

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ 20

แบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 1 24

แบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 2 25

เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 1 26

เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 2 27

แบบทดสอบหลังเรียน 28

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน 31

บรรณานุกรม 32

1

ขั้นตอนการศึกษาหนังสืออ่านเพิ่มเติม

หนังสืออ่านเพิ่มเติมเล่มนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นสื่อ

ในการเรียนรู้ นักเรียนจะได้รับประโยชน์อย่างมาก ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำ

อย่างเคร่งครัด ดังนี้

1. อ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนลงมือศึกษาหนังสืออ่านเพิ่มเติม

2. ห้ามขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสืออ่านเพิ่มเติม

ฉะนั้น นักเรียนต้องเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบที่เตรียมเอาไว้

3. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนของเล่มนี้

4. เมื่อศึกษาเนื้อหาในแต่ละหัวข้อแล้ว ไปตอบคำถามในแบบฝึก

เสริมทักษะแต่ละชุด ถ้าตอบถูกให้ศึกษาชุดต่อไป แต่ถ้าตอบผิดไม่ต้องหมด

กำลังใจ ให้กลับไปศึกษาซ้ำอีกครั้ง จนก
ว่าจะได้คำตอบที่ถูกต้อง จึงศึกษา

ชุดต่อไป ไม่ควรเปิดคำตอบเพื่อจะตอบคำถาม เพราะจะไม่ช่วยให้ได้รับ

ความรู้และความเข้าใจในหนังสืออ่านเพิ่มเติม จะเป็นการเรียนรู้ที่สูญเปล่า

5. ศึกษาหนังสืออ่านเพิ่มเติมไปตามความสามารถของตน เมื่อศึกษา

จบแล้ว จึงทำแบบทดสอบหลังเรียนในกระดาษคำตอบ

6. ส่งหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามเวลาที่กำหนด และให้อยู่ในสภาพ

เรียบร้อย

2

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้

1.1 นักเรียนสามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ได้อย่างถูกต้อง พร้อมให้เหตุผลประกอบ

1.2 นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์

ได้อย่างถูกต้อง พร้อมให้เหตุผลประกอบ
1.3 นักเรียนสามารถอธิบายความสำคัญของคอมพิวเตอร์

ได้อย่างถูกต้อง พร้อมให้เหตุผลประกอบ

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ

2.1 นักเรียนสามารถเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิด

ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

และเหมาะสมกับประเภทของการใช้งาน

3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.1 นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความตั้งใจ และมี
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้วยความเพียรพยายาม

เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

3

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้ คือ บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ก. Isaac Newton

ข. Charles Babbage

ค. Joseph Marie Jacquard

ง. Gottfriend von Leibnitz

2. “Lady Auqusta Ada Byron” ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญ

ในด้านอะไร

ก. บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ข. ผู้ริเริ่มประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์

ค. โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

ง. ผู้ริเริ่มออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์

3. เครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก มีชื่อว่าอะไร

ก. MARK 1

ข. Analytical Engine

ค. IBM Automatic Sequence Controlled Calculator

ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค

4
4. ข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ ENIAC คืออะไร

ก. ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขโปรแกรม

ข. การทำงานในแต่ละครั้งเกิดความร้อนสูงมาก

ค. ต้องติดตั้งไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเท่านั้น

ง. ถูกทุกข้อ
5. ภาษาไทยเรียก “คอมพิวเตอร์” ว่าอะไร

ก. สมองกล

ข. คณิตกรณ์

ค. เครื่องคำนวณ

ง. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

6. ภาษาอะไรต่อไปนี้ ใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า “Computare”

ก. ภาษาละติน

ข. ภาษาอาหรับ

ค. ภาษาอังกฤษ

ง. ภาษาฝรั่งเศส

7. ข้อใดต่อไปนี้ คือ ความหมายของคอมพิวเตอร์

ก. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล

ข. เครื่องมือใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธี

ทางคณิตศาสตร์

ค. เครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร

หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ

ง. ถูกทุกข้อ

5

8. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากกว่า

เครื่องคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร

ก. ไม่จำกัดปริมาณพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลทุกรุ่น

ข. ควบคุมระบบสั่งการทำงานของโปรแกรมด้วยเสียงพูด

ค. สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบในเวลาพร้อมกัน

ง. ไม่มีไวรัสที่เป็นอันตรายกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยถาวร
9. คอมพิวเตอร์มีความสำคัญกี่ประการ

ก. 6 ประการ

ข. 7 ประการ

ค. 8 ประการ

ง. 9 ประการ

10. เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสำคัญอย่างไร

ก. ประมวลผลช้า แต่ข้อมูลมีความถูกต้อง

ข. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และมีความเร็วสูง

ค. คอมพิวเตอร์ทุกรุ่นไม่จำกัดปริมาณพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล

ง. ถูกทุกข้อ

6

เรามารู้จัก

กับคอมพิวเตอร์กันเถอะ

(ที่มา: http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page11.htm)

7

สวัสดีค่ะนักเรียน

วันนี้คุณครูจะมาให้ความรู้

เรื่อง ความรู้ทั่วไป

เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เรามาเริ่มเรียนกันเลยนะคะ

มะนาวอยากรู้แล้วค่ะ


ว่า คอมพิวเตอร์ที่เราใชกัน

อยู่ปัจจุบันทำอะไรได้บ้างนะ

ถ้าอย่างนั้นส้มโอว่า เรามาเริ่ม

เรื่อง ประวัติความเป็นมาของ

คอมพิวเตอร์ กันดีกว่านะคะคุณครู

8

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

(ที่มา: http://www.kmbr2.org/?q=node/494)

ในระยะเวลา 5,000 ปี ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้า

ของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนามาใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่นลูกหิน โดยใช้

เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด

ต่อมาประมาณ 2,600 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือ

เพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ลูกคิด” ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์

ช่วยในการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ลูกคิด

ของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละ

แถวแบ่งเป็นครึ่งบนและครึ่งล่าง ครึ่งบนมีลูกปด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก

ในแต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข

9

พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ชื่อ John Napier ได้

ประดิษฐ์อุปกรณ์ขึ้นมาใช้เพื่อช่วยในการคำนวณ เรียกว่า “Napier’s

Bones” เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือ
ชนิดนี้ช่วยให้สามารถทำการคูณและหารได้ง่ายเหมือนกับทำการบวกหรือลบ

โดยตรง

พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ในขณะนั้น

มีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบเครื่องมือในการคำนวณ โดยใช้หลักการหมุนของ

ฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายจะ

ถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออก

สู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมี

ราคาแพงและเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้

ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เครื่องมือของปาสคาลใช้ได้ดี

ในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังใช้ไม่ดีเท่าที่ควร

พ.ศ. 2216 นักปรัชญาชาวเยอรมัน ชื่อ Gottfriend von Leibnitz

ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสคาลให้สามารถทำการคูณและหารได้โดยตรง

โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหารใช้หลักการลบกัน

หลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz อาศัยหลักการหมุนวงล้อของเครื่อง

โดยอัตโนมัติ ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดู

ยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น


พ.ศ. 2344 นักประดิษฐชาวฝรั่งเศส ชื่อ Joseph Marie Jacquard

ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้า โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุม

เครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมาสร้าง

ซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348

เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็นเครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก

10

พ.ศ. 2373 นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ชื่อ Charles Babbage เมื่อ พ.ศ.

2334 จบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับ

ตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมา

ก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่องหาผลต่าง

(Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณและพิมพ์ตาราง

ทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความ

ช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ

แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้

พัฒนาความคิดไปถึงเครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือ

เครื่องที่เรียกว่า “เครื่องวิเคราะห์” (Analytical Engine) และได้ยกเลิก

โครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลง เริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้าง

เครื่องวิเคราะห์ โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วนคือ

- ส่วนเก็บข้อมูล: เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์

ที่ได้จากการคำนวณ

- ส่วนประมวลผล: เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
- ส่วนควบคุม: เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บ

ข้อมูลและส่วนประมวลผล

- ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์: เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูล

จากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

ให้ผู้ใช้ได้รับทราบ

เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Analytical Engine

มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่น่า

เสียดายที่เครื่อง Analytical Engine ของ Babbage นั้น ไม่สามารถ สร้างให้

สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบ

ต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่ง คือ ในสมัยนั้นไม่มี
ความจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้น

11

ในปี พ.ศ. 2385 รัฐบาลอังกฤษจึงหยุดให้การสนับสนุนโครงการของ

Babbage ทำให้ไม่มีเงินทุนทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องมาจากแนวความคิด

ของ Analytical Engine เช่นนี้ จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับ

การยกย่องให้เป็น “บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์”

(ที่มา: http://comp-is-easy.blogspot.com/)

พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำ

การแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine จากภาษาฝรั่งเศส

เป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการ

ทำงานของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอน

ของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อนไว้ในหนังสือทาง

คณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรก

ของโลก และจากจุดนี้จึงถือได้ว่า “Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรก

ของโลก

12

” นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่า ชุดบตรเจาะรูที่บรรจุคำสั่งไว้ สามารถ

นำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือ หลักของการทำงานวนซ้ำ

หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19

นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่


20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้น จึงทำใหมีการเปลี่ยนแปลงมาใช ้

ื่
เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นผลสืบเนองมาจาก

หลักการของพีชคณิต

(ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=52653)

13
พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ George Boole ได้ใช ้

หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช ้

อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง “จริง” หรือ “เท็จ” เท่านั้น

สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้นนับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์

ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า เพราะมีเพียง

2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทนเลขฐานสิบ ซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ

0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่า เราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถอว่า

สิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2423 นักสถิติชาวอเมริกัน ชื่อ Dr. Herman Hollerith

ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ซึ่งใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับ

การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2433 นำมาใช้งานการสำรวจสำมะโนระชากร

ของสหรัฐอเมริกา และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายใน

ระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้

ว่า “บัตรฮอลเลอริธ” และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ คือ “บัตรไอบีเอ็ม หรือ

บัตร 80 คอลัมน์” ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัท
คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอสดิง ขึ้น เพื่อผลิตเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2467 จึงเปลี่ยนชื่อ

เป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine: IBM)

(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/IBM)

14

พ.ศ. 2480 ศาสตราจารย์ Howard Aiken แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ได้พัฒนาเครื่องคำนวณ ตามแนวคิดของ Babbage ร่วมกับวิศวกรของบริษัท

IBM สร้างเครื่องคำนวณได้สำเร็จ โดยเครื่องดังกล่าวทำงานแบบเครื่องจักรกล

กับระบบไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการนำเข้าข้อมูลสู่เครื่องเพื่อทำการ

ประมวลผล การพัฒนาดังกล่าวได้เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2487 โดยเครื่องมือนี้มีชื่อ

ว่า “MARK 1” ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและบุคลากรจากบริษัท

IBM ดังนั้น จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “IBM Automatic Sequence Controlled

Calculator” นับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก

(ที่มา: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Harvard_Mark_I_2.jpg)

15

พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบก

สหรัฐอเมริกามีความจำเป็นต้องคิดค้นเครื่องช่วยคำนวณ เพื่อใช้คำนวณ

หาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณที่มีอยู่

ในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมง ในการคำนวณต่อการยิง 1 ครั้ง ดังนั้น

กองทัพจึงให้เงินทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert
จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

ในการสร้างคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยนำหลอด

สุญญากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมี

ข้อดี คือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมาก

ขึ้นในด้านของความเร็วนั้นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์จะใช้อิเล็กตรอนเป็นตัว

เคลื่อนที่ ทำให้สามารถ ส่งข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าได้ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับ

ความเร็วของแสง ส่วนความถูกต้องแม่นยำในการทำงานของเครื่องจักรกลต้อง

อาศัยฟันเฟือง รอกและคานในการทำงาน ทำให้ทำงานได้ช้าและเกิดความ

ผิดพลาดได้ง่าย

พ.ศ. 2489 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ Mauchly และ Eckert คิดค้นขึ้น

ได้มีชื่อว่า “ENIAC” (Electronic Numerical Integrator and Calculator)

ถึงแม้ว่าจะไม่ทันใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ความเร็วในการคำนวณ
ของ ENIAC ทำให้วงการคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นยอมรับความสามารถ

ของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่ใช้งานกันทั่วไปเป็นเครื่องแรกของโลก อย่างไรก็ตาม ENIAC ทำงานด้วย

ไฟฟ้าทั้งหมด ทำให้การทำงานแต่ละครั้งเกิดความร้อนสูงมาก จำเป็นต้อง

ติดตั้งไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ ENIAC เก็บได้เฉพาะข้อมูลที่

เป็นตัวเลขขนาด 10 หลัก และเก็บได้เพียง 20 จำนวน เท่านั้น ส่วนชุดคำสั่งยัง

ไม่สามารถเก็บไว้ในเครื่องได้ การส่งชุดคำสั่งเข้าเครื่องจะต้องใช้วิธีการเดิน

สายไฟสร้างวงจร ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรมต้องเดินสายไฟใหม่และใช้เวลานาน

16

(ที่มา: http://www.rmutphysics.com/charud/invention/invention2/computer/1/1.htm)

ในการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้น คือ การค้นหาวิธีการ

เก็บโปรแกรมไว้ในเครื่อง เพื่อลดความยุ่งยากของขั้นตอนการป้อนคำสั่ง

เข้าเครื่อง นักคณิตศาสตร์เชื้อสายฮังกาเรียน ชื่อ Dr. John Von Neumann

ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับ

การเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้าสำหรับการคำนวณและการปฏิบัติการ

พื้นฐานไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง จากนั้น เรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัส

ตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้

ได้แก่ EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer)

สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 นับว่า

เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่องได้

และในระยะเวลาใกล้เคียงกัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EDVAC และให้ชื่อว่า

EDSAC (Electronic Delay Storage Automatic Calculator)

17

พ.ศ. 2497 Mauchly และ Eckert ได้ร่วมกันสร้างคอมพิวเตอร์

ขึ้นมาใหม่ ชื่อ “ยูนิแวค” (UNIVAC) ย่อมาจาก Universal Automatic

Computer นับว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีขายในท้องตลาด

สามารถใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อเก็บข้อมูลได้

(ที่มา: http://student.nu.ac.th/songsaijang/lesson1.htm)

18

ความหมายของคอมพิวเตอร์

(ที่มา: http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/system/sys_index.htm)

คอมพิวเตอร์ (Computer) มาจากภาษาละตินว่า “Computare”

หรือภาษาไทยเรียกว่า “คณิตกรณ์” หมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย

ของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่

เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธี
ทางคณิตศาสตร์”

19

คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานตามชุดคำสั่ง

อย่างอัตโนมัติ โดยจะทำการคำนวณเปรียบเทียบทางตรรกะกับข้อมูล

และให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ โดยมนุษย์ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง

ในการประมวลผล

คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก
และช่วยในการทำงานของมนุษย์ โดยมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป

คอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปัจจุบันคอมพิวเตอร์

เป็นที่นิยมและราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน อีกทั้งความสามารถ

และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านความเร็วในการ

ประมวลผลข้อมูล ความสามารถในการเก็บข้อมูลมากขึ้น และมีความ

ปลอดภัยมากขึ้น

คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic device)

ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร

หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของ

คอมพิวเตอร์ คือ สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้
(Programmable) นั่นคือ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลาย

รูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์

ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่

ของหัวใจ, การฝาก-ถอนเงินในธนาคาร, การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์

เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงาน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็วในการทำงาน

20

เพื่อนๆ ทราบความหมาย

ของคอมพิวเตอร์ไปแล้ว

ต่อไปเรามาศึกษาในหัวข้อ เรื่อง
“ความสำคัญของคอมพิวเตอร์”

กันต่อนะครับ

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์

(ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/mean.html)

21

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการ

ดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามี

บทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในคว้า

และการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กร

ต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

การทำธุรกิจ และการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือ

ช่วยในการทำงาน


ไม่เพียงแต่ในองค์กรตางๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน

ในปัจจุบันได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจาก

คอมพิวเตอร์มีราคาถูก มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่าย

กว่าในอดีตมาก

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับ
เบื้องต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

การทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความ

สะดวกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ 6 ประการ ดังน ี้

1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล

ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์

หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อให้

คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ เมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผล

เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบ
ที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

22

2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)

เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น

การดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งใน

หนึ่งวินาที)

3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and reliability)

คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือ

คำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จาก

การประมวลผลก็จะมีความถูกต้องและความน่าเชื่อถือได้

4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)

คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึก

เข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของ

คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บ

ข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)

คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถ

ทำงานได้หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบ

เดี่ยว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการสืบค้น

ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (Remote computer)

6. ทำงานซ้ำๆ ได้ (Repeatability)

ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน

นอกจากนี้ ยังลดความผิดพลาดต่างๆ ได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผล

แม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใด คอมพิวเตอร์จะสามารถคำนวณ

และหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว

จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงาน

หลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็น

จำนวนมากภายในเวลาจำกัด, การทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้งหรือ

การจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม

23

เพื่อนๆ ทราบกัน

แล้วนะครับว่า

คอมพิวเตอร์มีความสำคัญ

อย่างไรบ้างกับผู้ใช้งาน

มะนาวได้รับความรู้

มากมายเลยค่ะ

ต้นกล้าคิดว่า ปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ได้เข้ามา

มีบทบาทสำคัญในชีวิต
ของเราแล้วนะครับ

24

แบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ แล้วส่งตัวแทนไปรายงาน

หน้าชั้นเรียน

1. บุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์” ชื่อว่า

อะไร

2. “เครื่องยูนิแวค” (UNIVAC) คืออะไร

3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย

ของคอมพิวเตอร์ไว้ว่าอย่างไร

25

แบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 2


คำชี้แจง ใหนักเรียนอธิบาย “ความสำคัญของคอมพิวเตอร์”
มาอย่างละเอียดและพอสังเขป

26

เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 1

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ แล้วส่งตัวแทนไปรายงาน

หน้าชั้นเรียน

1. บุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์” ชื่อว่า

อะไร

Charles Babbage

2. “เครื่องยูนิแวค” (UNIVAC) คืออะไร

เปนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีขายในท้องตลาด สามารถใช้เทป

แม่เหล็กเป็นสื่อเก็บข้อมูลได้

3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย

ของคอมพิวเตอร์ไว้ว่าอย่างไร

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับ
แก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์

27

เฉลยแบบฝึกเสริมทักษะชุดที่ 2

คำชี้แจง ใหนักเรียนอธิบาย “ความสำคัญของคอมพิวเตอร์”

มาอย่างละเอียดและพอสังเขป

1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)

3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and reliability)

4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)

6. ทำงานซ้ำๆ ได้ (Repeatability)

28

แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. บุคคลในข้อใดต่อไปนี้ คือ บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ก. Isaac Newton

ข. Charles Babbage

ค. Joseph Marie Jacquard

ง. Gottfriend von Leibnitz

2. “Lady Auqusta Ada Byron” ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญ

ในด้านอะไร

ก. บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ข. ผู้ริเริ่มประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์

ค. โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

ง. ผู้ริเริ่มออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์

3. เครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก มีชื่อว่าอะไร

ก. MARK 1

ข. Analytical Engine

ค. IBM Automatic Sequence Controlled Calculator

ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค

4. ข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ ENIAC คืออะไร

ก. ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขโปรแกรม

ข. การทำงานในแต่ละครั้งเกิดความร้อนสูงมาก

ค. ต้องติดตั้งไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเท่านั้น

ง. ถูกทุกข้อ

29

5. ภาษาไทยเรียก “คอมพิวเตอร์” ว่าอะไร

ก. สมองกล

ข. คณิตกรณ์

ค. เครื่องคำนวณ

ง. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์

6. ภาษาอะไรต่อไปนี้ ใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ว่า “Computare”

ก. ภาษาละติน

ข. ภาษาอาหรับ

ค. ภาษาอังกฤษ

ง. ภาษาฝรั่งเศส

7. ข้อใดต่อไปนี้ คือ ความหมายของคอมพิวเตอร์

ก. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล

ข. เครื่องมือใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธี

ทางคณิตศาสตร์

ค. เครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร

หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ

ง. ถูกทุกข้อ

8. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากกว่า

เครื่องคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร

ก. ไม่จำกัดปริมาณพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลทุกรุ่น

ข. ควบคุมระบบสั่งการทำงานของโปรแกรมด้วยเสียงพูด

ค. สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบในเวลาพร้อมกัน

ง. ไม่มีไวรัสที่เป็นอันตรายกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยถาวร

30

9. คอมพิวเตอร์มีความสำคัญกี่ประการ

ก. 6 ประการ

ข. 7 ประการ

ค. 8 ประการ

ง. 9 ประการ

10. เครื่องคอมพิวเตอร์มีความสำคัญอย่างไร

ก. ประมวลผลช้า แต่ข้อมูลมีความถูกต้อง

ข. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และมีความเร็วสูง

ค. คอมพิวเตอร์ทุกรุ่นไม่จำกัดปริมาณพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล

ง. ถูกทุกข้อ

31

เฉลยแบบทดสอบ

ก่อนเรียน - หลังเรียน

1.) ข 6.) ก

2.) ค 7.) ง

3.) ง 8.) ค

4.) ง 9.) ก

5.) ข 10.) ข

ตอบถูก 8 ข้อ ถือว่าผ่านเกณฑ์นะคะ

บรรณานุกรม

ครรชิต มาลัยวงศ์ และ โกสันต์ เทพสิทธิทรากรณ์. (2542). ความรู้

พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

ธงชัย สิทธิกรณ์. (2547). ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. นนทบุรี: ไอดีซี 9.

นฤชิต แววศรีผ่อง และ รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์. (2542). คอมพิวเตอร์

เบื้องต้น (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นฤชิต แววศรีผ่อง และ รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์. (2543). คอมพิวเตอร์

เบื้องต้น (เล่ม 5). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ลอง, ลารี่. (2543). เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:

เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

วาสนา สุขกระสานติ. (2540). โลกของคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

(คู่มือเรียนรู้คอมพิวเตอร์ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้.

กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. (2544). เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ.

กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เสาวคนธ์ คงสุข. (2545). คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์ จำกัด.