หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เลโอนาร์โด ดา วินชี
หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

ภาพเหมือนบุคคลที่คาดว่าฟรันเซสโก เมลซีเป็นผู้วาดใน ป. ค.ศ. 1515–1518 เป็นภาพเดียวในหลาย ๆ ภาพที่เชื่อได้ว่าเป็นภาพเลโอนาร์โด[1][2]

เกิดเลโอนาร์โด ดี แซร์ ปีเอโร ดา วินชี
15 เมษายน ค.ศ. 1452
(Anchiano?)[a] วินชี สาธารณรัฐฟลอเรนซ์
เสียชีวิต2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519 (67 ปี)
Clos Lucé อ็องบวซ ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
การศึกษาห้องศิลปะของอันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ
มีชื่อเสียงจาก

  • จิตรกรรม
  • ภาพวาด
  • วิศวกรรม
  • วิทยาศาสตร์
  • ประติมากรรม
  • สถาปัตยกรรม

ผลงานเด่น

  • พระแม่มารีแห่งภูผา (ป. 1483–1493)
  • สตรีกับเออร์มิน (ป. 1489–1491)
  • เดอะวิทรูเวียนแมน (ป. 1490)
  • พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย (ป. 1492–1498)
  • โมนาลิซา (ป. 1503–1516)

ขบวนการ

High Renaissance
ลายมือชื่อ
หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

เลโอนาร์โด ดี แซร์ ปีเอโร ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo di ser Piero da Vinci; 15 เมษายน ค.ศ. 1452 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นผู้รอบรู้ชาวอิตาลีแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชั้นสูงที่มีบทบาทเป็นทั้งจิตรกร, นักวาด, วิศวกร, นักวิทยาศาสตร์, นักทฤษฎี, ประติมากร และสถาปนิก[3] ในขณะที่ชื่อเสียงของเขาโดยทั่วไปขึ้นกับความสำเร็จในฐานะจิตรกร เขาเป็นที่รู้จักจากสมุดบันทึกของเขา ซึ่งเขาได้วาดภาพและจดบันทึกในหัวข้อต่างๆ มากมาย รวมถึงกายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ พฤกษศาสตร์ การทำแผนที่ ภาพวาด และซากดึกดำบรรพ์ ความอัจฉริยะเลโอนาร์โดแสดงให้เห็นถึงอุดมคติของมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[4]

เขาเป็นลูกนอกสมรสของทนายความที่ประสบความสำเร็จและแต่งงานกับผู้หญิงชั้นต่ำใน วินชี เขาได้รับการศึกษาในฟลอเรนซ์โดยจิตรกรและประติมากรชาวอิตาลีชื่อ อันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ เขาเริ่มอาชีพของเขาในเมือง แต่จากนั้นก็ใช้เวลามากในการรับใช้ ลูโดวีโก สฟอร์ซา ในมิลาน ต่อมาเขาทำงานในฟลอเรนซ์และกลับไปทมิลานอีกครั้ง เช่นเดียวกับช่วงสั้น ๆ ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้ลอกเลียนแบบและนักเรียนจำนวนมาก ตามคำเชิญของฟรานซิสที่ 1 เขาจึงได้ใช้เวลาสามปีสุดท้ายในฝรั่งเศสก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1519 นับตั้งแต่เขาเสียชีวิต ไม่เคยมีครั้งไหนที่ความสำเร็จ ความสนใจที่หลากหลาย ชีวิตส่วนตัว และความคิดเชิงประจักษ์ของเขาล้มเหลวในการปลุกเร้าความสนใจและความชื่นชม[3][4] ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่นิยมในการตั้งชื่อในยุคนั้นและกลายเป็นหัวข้อทางวัฒนธรรม

เลโอนาร์โดเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะและมักได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้ง ยุครุ่งเรื่องของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[3] แม้จะมีผลงานที่สูญหายไปมากมายและมีผลงานสำคัญไม่ถึง 25 ชิ้น รวมถึงผลงานที่ยังไม่เสร็จจำนวนมาก แต่เขาก็ได้สร้างภาพเขียนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในศิลปะตะวันตก[3] ผลงานชิ้นที่มีชื่อเสียงของเขา ประกอบด้วย โมนาลิซา เป็นผลงานที่รู้จักกันดีที่สุดของเขาและมักถูกมองว่าเป็นภาพวาดที่โด่งดังที่สุดในโลก พระกระยาหารมื้อสุดท้ายเป็นภาพวาดทางศาสนาที่มีการทำซ้ำมากที่สุดตลอดกาล รวมถึงภาพวาด วิทรูเวียนแมน ของเขาถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วย ในปี 2560 ซัลวาตอร์มุนดี ซึ่งเป็นรูปที่อาจวาดโดยเลโอนาร์โดทั้งรูปหรือเพียงบางส่วน

ประวัติ[แก้]

ชีวิตตอนต้น (ค.ศ. 1452 - 1472)[แก้]

ถือกำเนิดและภูมิหลัง[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

บ้านในวัยเด็กของเลโอนาร์โด ในหมู่บ้านแอนชิเอโน เมืองวินชี ประเทศอิตาลี

เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ที่แปลว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 ในบริเวณเมือง วินชี บนเนินเขาทัซแคน ที่แคว้นคอสตานา ตอนล่างของแม่น้ำอาร์โน ซึ่งอยู่ห่างจากฟลอเรนซ์ออกไป 20 ไมล์[5][6] เขาเป็นลูกนอกสมรสของ เมสแซร์ ปีเอโร ฟรูโอซีโน ดี อันโตนีโอ ดา วินชี (ค.ศ. 1426–1504)[7] ทนายความผู้ร่ำรวย[5]ในฟลอเรนซ์ กับสาวชาวนาชื่อ กาเตรีนา (ป. ค.ศ. 1434 – 1494)[8][9]

โดยมีการระบุชื่อว่าในตอนแรกว่า กาเตรีนา บูตี เดล วักกา และล่าสุดระบุชื่อว่า กาเตรีนา ดี เมโอ ลิปปี โดยมาร์ติน เคมป์ นักประวัติศาสตร์ ยังคงไม่แน่ใจว่าเลโอนาร์โดเกิดที่ใด บันทึกดั้งเดิมจากคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่น โดยนักประวัติศาสตร์เอ็มมานูเอล เรเป็ตตี[10] กล่าวว่าเขาเกิดที่ แอนชิอาโน หมู่บ้านเล็ก ๆ ในชนบทที่จะให้ความเป็นส่วนตัวเพียงพอสำหรับการกำเนิดนอกกฎหมาย แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่เขาเกิดในบ้านในเมืองฟลอเรนซ์[11][a] พ่อแม่ของเลโอนาร์โดแต่งงานแล้วแยกกันหลังจากปีที่เขาเกิด กาเตรีนา ซึ่งมักถูกระบุว่าเป็น กาเตรีนา บูตี เดล วักกา ผู้ที่ต่อมาแต่งงานกับช่างฝีมือท้องถิ่น อันโตนิโอ ดิ ปิเอโร บูติ เดล วัคกา[8][10] มีการเสนอทฤษฎีอื่น ๆ โดยเฉพาะทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์ทางศิลปะ มาร์ติน เคมพ์ โดยเขาสันนิษฐานว่าแม่ของเลโอนาร์โดคือ กาเตรีนา ดี เมโอ ลิปปี เป็นเด็กกำพร้าที่แต่งงานและได้รับความช่วยเหลือจาก เมสแซร์ ปีเอโรและครอบครัว[12][b] เมสแซร์ ปีเอโร ได้แต่งงานกับ อัลบิเอรา อามาโดริ และหลังจากที่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1462 เขาก็ได้แต่งงานอีกสามครั้ง[10][13][c] ทำให้เลโอนาร์โดมีพี่น้องต่างมารดา 12 คนซึ่งอายุน้อยกว่าเขามาก (คนสุดท้ายเกิดเมื่อเลโอนาร์โดอายุ 40 ปี) และเขาแทบไม่ได้ติดต่อกับบรรดาพี่น้องต่างมารดาของเขา[d]

ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับวัยเด็กของเลโอนาร์โดและส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวที่เป็นตำนาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชีวประวัติของเขาในหนังสือชีวิตศิลปิน (1550) จากจอร์โจ วาซาริ นักประวัติศาสตร์ด้านศิลปะในศตวรรษที่ 16[16][17] ตามบันทึกภาษีระบุว่าเขาอาศัยอยู่ที่บ้านของปู่ อันโตนิโอ ดาวินชี ตั้งแต่ใน ค.ศ. 1457 เท่าที่มีข้อมูลแน่ชัด[5] แต่มีความเป็นไปได้ว่าเขาใช้เวลาหลายปีก่อนหน้านั้นในการดูแลแม่ของเขาในวินชี[18][19] และมีการสันนิษฐานว่าเขาสนิทสนมกับอาของเขา ฟรันเชสโก ดา วินชี[3] โดยพ่อของเขาน่าจะอยู่ที่ฟลอเรนซ์เกือบตลอดเวลา[5] พ่อของเขาซึ่งมีครอบครัวเป็นทนายมาหลายช่วงอายุคน ได้ตั้งถื่นฐานอย่างเป็นทางการในฟลอเรนซ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1469 เท่าที่มีข้อมูล และประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน[5] เลโอนาร์โดได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้นในการเขียน (ภาษาพื้นถิ่น) การอ่าน และคณิตศาสตร์ อาจเป็นเพราะความสามารถทางศิลปะของเขาได้รับการยอมรับตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงตัดสินใจที่จะให้ความสนใจกับทางด้านนั้นมากกว่า[5]

ต่อมา เลโอนาร์โดได้บันทึกความทรงจำแรกสุดของเขา ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน โคเด็กซ์ แอตลานติคัส ว่าขณะที่เขียนเกี่ยวกับการบินของนก[20] เขาจำได้ว่าตอนยังเป็นทารกเมื่อมีว่าวมาที่เปลของเขาและอ้าปากของเขาด้วยหางของมัน ในปัจจุบันนักวิจารณ์ยังคงถกเถียงกันว่าเรื่องนี้เป็นความทรงจำจริงหรือเป็นเพียงจินตนาการ[21]

ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป แต่เลโอนาร์โดเองมักลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่าย ๆ ว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง

โรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอ[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

ในช่วงกลางทศวรรษ 1460 ครอบครัวของเลโอนาร์โดย้ายไปอยู่ที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของความคิดและวัฒนธรรมเกี่ยวกับมนุษยนิยมของชาวคริสต์[22] ขณะที่เขาอายุประมาณ 14 ปี[14] เขากลายเป็น การ์โซน (เด็กในสตูดิโอ) ในเโรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอของอันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอ จิตรกรและประติมากรชาวฟลอเรนซ์ชั้นนำในยุคนั้น[22] ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงที่โดนาเตลโล อาจารย์ของแวร์รอกกีโอ เสียชีวิต เลโอนาร์โด กลายเป็นเด็กฝึกงานเมื่ออายุ 17 ปีและได้ฝึกเป็นเวลา 7 ปี[23] จิตรกรชื่อดังคนอื่น ๆ ที่ฝึกงานในโรงปฏิบัติงานนี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรงปฏิบัติงานนี้ เช่น กีร์ลันดาโย, เปรูจีโน, บอตตีเชลลี และโลเรนโซ ดิ เครดิ[24][25] เลโอนาร์โดได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและทักษะทางเทคนิคที่หลากหลาย[26] ทั้งเคมี กลศาสตร์ โลหะวิทยา งานโลหะ การหล่อปูน งานเครื่องหนัง การร่างแบบ และงานไม้ ตลอดจนทักษะทางศิลปะในการวาดภาพ การลงสี การปั้น และการสร้างแบบจำลอง[27]

เลโอนาร์โด เคยได้พบกับกีร์ลันดาโย, เปรูจีโน, บอตตีเชลลี ซึ่งทั้งหมดมีอายุมากกว่าเขาเล็กน้อย[28] ที่โรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอหรือที่สถาบันเพลโตของตระกูลเมดีซี[24] ในเมืองฟลอเรนซ์ ณ ขณะนั้น ประดับไปด้วยผลงานของศิลปินต่างๆ เช่น มาซัชโช ซึ่งมีภาพเฟรสโกซึ่งเต็มไปด้วยความสมจริงและอารมณ์ กีแบร์ตี เจ้าของผลงานประตูแห่งสวรรค์ที่เปล่งประกายด้วยทองคำเปลว แสดงการผสมผสานองค์ประกอบรูปร่างที่ซับซ้อนเข้ากับภูมิหลังทางสถาปัตยกรรมที่มีรายละเอียด และมีผู้ที่ได้ทำการศึกษามุมมองโดยละเอียดคือ ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา[29] จิตรกรคนแรกที่ทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแสง การศึกษานี้และบทความ De pictura ของ เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี จะมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อศิลปินรุ่นต่อๆมา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อข้อมูลและงานศิลปะของ เลโอนาร์โด[30][31]

ภาพวาดส่วนใหญ่ในโรงปฏิบัติงานของแวร์รอกกีโอ สร้างโดยผู้ช่วยของเขา ตามที่วาซารีกล่าวไว้ว่า เลโอนาร์โดร่วมมือกับแวร์รอกกีโอในงาน พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง โดยเลโอนาร์โดได้วาดภาพเทวดาหนุ่มที่ถือเสื้อคลุมของพระเยซู ซึ่งมีความสวยงามที่เหนือกว่าอาจารย์ของเขามาก จนแวร์รอกกีโอไม่วาดภาพใด ๆอีกเลย[‡ 1] แม้ว่าเรื่องนี้จะเชื่อกันว่าเป็นเรื่องราวที่ไม่มีหลักฐาน[32] และมีการสันนิษฐานว่าเลโอนาร์โดอาจเป็นแบบให้กับผลงานสองชิ้นของแวร์รอกกีโอ ได้แก่ รูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของดาวิดในบาร์เจลโล และอัครทูตสวรรค์ราฟาเอลในภาพโทเบียสกับทูตสวรรค์[32]

วาซารีเล่าเรื่องของเลโอนาร์โดในวัยหนุ่มว่า ชาวนาในท้องถิ่นได้ทำโล่ทรงกลมรูปตนเองและขอให้เซอร์ ปิเอโรลงสีให้เขา เลโอนาร์โดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของเมดูซาได้วาดภาพวาดสัตว์ประหลาดพ่นไฟที่น่ากลัวมากจนพ่อของเขาซื้อโล่อีกกันหนึ่งเพื่อมอบให้ชาวนาและขายเลโอนาร์โดให้กับพ่อค้าศิลปะชาวฟลอเรนซ์ในราคา 100 ducats ซึ่งสุดท้ายผู้ซื้อคือดยุคแห่งมิลาน[‡ 2]

ฟลอเรนซ์ ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1472 - 1482)[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

เมื่อถึงปี ค.ศ. 1472 เมื่ออายุได้ 20 ปี เลโอนาร์โดได้เป็นอาจารย์ในสมาคมช่างนักบุญลูกา ซึ่งเป็นสมาคมศิลปินและแพทย์ แต่แม้พ่อของเขาตั้งโรงปฏิบัติงานให้กับเขา ความผูกพันของเขากับแวร์รอกกีโอทำให้เขายังคงทำงานร่วมกันและอยู่กับเขาต่อไป[24][33] ผลงานที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานของเลโอนาร์โดคือภาพวาดด้วยปากกาและหมึกของหุบเขาอาร์โนใน ค.ศ. 1473[25][34][e] ตามที่วาซารีกล่าวไว้ว่า ขณะที่เลโอนาร์โดยังหนุ่มเขาเป็นคนแรกที่แนะนำให้ทำให้แม่น้ำอาร์โนเป็นช่องทางเดินเรือระหว่างฟลอเรนซ์และปิซา[35]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1478 เลโอนาร์โดได้รับมอบหมายให้ลงสีแท่นบูชาสำหรับโบสถ์เซนต์เบอร์นาร์ดใน ปาลาซโซ เวคคิโอ[36] ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นอิสระของเขาจากสตูดิโอของ แวร์รอกกีโอ นักเขียนชีวประวัตินิรนามยุคแรกที่รู้จักกันในชื่อ แอโนมิโม แกดดิอาโน อ้างว่าในปี 1480 เลโอนาร์โดได้ไปอาศัยอยู่กับ ตระกูลเมดิซี และมักจะทำงานในสวนของ ปิแอซซ่า ซาน มาร์โค ในเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบัน นีโอเพลโตนิค ของศิลปิน กวี และนักปรัชญาที่ก่อตั้งโดยตระกูลเมดิซี[32][f] และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1481 เขาได้รับมอบหมายจากนักบวชแห่งซานโดนาโตในสโคเปโตเพื่อวาดภาพการนมัสการของโหราจารย์[37] งานเหล่านี้เป็นงานที่เลโอนาร์โดทำไม่เสร็จแลพถูกทิ้งไปเมื่อเลโอนาร์โดต้องรับงานของ ดยุคแห่งมิลาน ลูโดวีโก สฟอร์ซา เลโอนาร์โดได้เขียนจดหมายถึง สฟอร์ซา ซึ่งอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาสามารถทำได้ในด้านวิศวกรรมและการออกแบบอาวุธ และกล่าวว่าเขาสามารถวาดภาพได้[25][38] และเขาได้นำเครื่องสายเงินในรูปหัวม้า ไม่ว่าจะเป็นลูตหรือไลร์ติดตัวมาด้วย[38]

เลโอนาร์โดได้ไปยังบ้านของเมดิซีพร้อมกับอัลแบร์ตีและได้รู้จักนักปรัชญาด้านมนุษยนิยมที่มีอายุมากกว่าเขาเช่น มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน ผู้แสดงลัทธินีโอพลาโทผ่านพวกเขา คริสโตฟอโร ลันดีโน ผู้เขียนความเห็นเกี่ยวกับงานเขียนคลาสสิก และ จอห์น อาร์ไกโรปูรอส ครูสอนภาษากรีกและผู้ที่แปลงานของอริสโตเติล และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับ สถาบันเพลโตของตระกูลเมดีซี ก็คือปิโก เดลลา มิแรนโดลา กวีและปราชญ์หนุ่มผู้มีความเฉลียวฉลาด[28][31][39] และใน ค.ศ. 1482 โลเรนโซ เด เมดีซีได้ส่งเลโอนาร์โดไปเป็นเอกอัครราชทูต เพื่อสัมพันธไมตรีกับลูโดวีโก สฟอร์ซา ผู้ปกครองเมืองมิลานในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1479 ถึง 1499[28][32]

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    ทิวทัศน์ของหุบเขาอาร์โน (ค.ศ. 1473)

มิลาน ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1482 - 1499)[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

เลโอนาร์โดทำงานในมิลานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1482 ถึง ค.ศ. 1499 เขาได้รับมอบหมายให้วาดภาพ พระแม่มารีแห่งภูผา สำหรับภราดรภาพแห่งแม่พระปฏิสนธินิรมล และ อาหารค่ำมื้อสุดท้าย สำหรับซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ[40] ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1485 เลโอนาร์โดได้เดินทางไปฮังการีในนามของตระกูลสฟอร์ซาเพื่อพบกับพระเจ้าแมทเธียส คอร์วินัส และได้รับมอบหมายจากเขาให้วาดภาพแม่พระและพระกุมาร[41] เลโอนาร์โดเคยทำงานในโครงการอื่น ๆ มากมายสำหรับตระกูลสฟอร์ซา ทั้งการเตรียมขบวนแห่และการประกวดในโอกาสพิเศษ ทั้งภาพวาดและแบบจำลองไม้สำหรับการแข่งขันออกแบบหอหลังคาโดมของอาสนวิหารมิลาน (ซึ่งเขาได้ถอนตัวในภายหลัง)[42] และแบบจำลองสำหรับอนุสาวรีย์ขี่ม้าขนาดใหญ่สำหรับ ฟรานเชสโก สฟอร์ซา บรรพบุรุษของลูโดวิโก รูปปั้นนี้มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับรูปปั้นขี่ม้าขนาดใหญ่เพียงสองแห่งของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ อนุสาวรีย์กัตตาเมลาตา ของ โดนาเตลโล ในปาดัวและ อนุสาวรีย์บาร์โตโลมีโอ คอลลีโอนี ของ แวร์รอกกีโอ ในเมืองเวนิส ที่รู้จักกันในนาม กราน คาวาลโล[25] เลโอนาร์โดสร้างแบบจำลองสำหรับม้าและวางแผนอย่างละเอียดสำหรับการหล่อโลหะ แต่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ลูโดวิโกได้มอบเหรียญทองแดงให้กับพี่เขยเพื่อใช้เป็นปืนใหญ่เพื่อปกป้องเมืองจากพระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศส[25]

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

ฟลอเรนซ์ ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1500 - 1508)[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนาและยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ป. ค.ศ. 1499–1508) ณ หอศิลป์แห่งชาติ ลอนดอน

เมื่อลูโดวีโก สฟอร์ซาถูกโค่นล้มโดยฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1500 เลโอนาร์โดหนีจากมิลานไปเวนิส พร้อมด้วยซาไล ผู้ช่วยของเขา และเพื่อนของซาไล ลูกา ปาซิโอลิ นักคณิตศาสตร์[44] ณ เมืองเวนิส เลโอนาร์โดได้ทำงานเป็นสถาปนิกและวิศวกรด้านการทหาร โดยเขาได้คิดค้นวิธีการป้องกันเมืองจากการโจมตีทางเรือ[24] เมื่อเขากลับมาที่ฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1500 เขาและครอบครัวได้รับการต้อนรับโดยพระภิกษุสงฆ์ที่อาราม ซานติสสิมา อันนุนซีอาตา และได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับโรงปฏิบัติงานของเขา ตามบันทึกของวาซาริ เลโอนาร์โดได้วาดภาพพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนาและยอห์นผู้ให้บัพติศมา ผลงานที่ได้รับความชื่นชมจน "ชาย[และ]หญิง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่" แห่ชม "ราวกับว่าพวกเขากำลังไปงานรื่นเริง"[‡ 3][g]

ใน ค.ศ. 1502 ณ เมืองเชเซนา เลโอนาร์โดได้เข้าทำงานเป็นสถาปนิกและวิศวกรด้านการทหาร และเดินทางไปทั่วอิตาลีพร้อมกับผู้อุปถัมภ์ของเขาให้กับ ซีซาร์ บอร์เจีย ลูกของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6[44] เลโอนาร์โดได้สร้างแผนที่ฐานที่มั่นของซีซาร์ บอร์เจียซึ่งเป็นผังของเมืองอิโมลา เพื่อที่จะได้รับการอุปถัมภ์ของเขา เมื่อซีซาร์ได้เห็นผังเมืองนั้นแล้วก็ได้แต่งตั้งให้เลโอนาร์โดเป็นหัวหน้าวิศวกรและสถาปนิกทางทหารของเขา และในปีเดียวกัน เลโอนาร์โดได้จัดทำแผนที่หุบเขาเคียน่า แคว้นตอสคานา สำหรับผู้อุปถัมภ์ของเขา เพื่อให้มีภาพซ้อนทับที่ดีขึ้นของแผ่นดินและตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่มากขึ้น โดยเขาได้จัดทำแผนที่นี้พร้อมกับโครงการก่อสร้างเขื่อนจากทะเลไปยังเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อให้มีแหล่งน้ำในทุกฤดูกาล

เลโอร์นาโดได้ออกจากการทำงานกับบอร์เจียและกลับไปยังเมืองฟลอเรนซ์ในช่วงต้น ค.ศ. 1503[46] และได้กลับเขามาอยู่ในสมาคมช่างนักบุญลูกาในวันที่ 18 ตุลาคมปีเดียวกัน และในเดือนนั้นเขาก็ได้เริ่มสร้างผลงานภาพเหมือนของลีซา เดล โจกอนดา ผู้เป็นแบบให้กับภาพวาดโมนาลิซา[47][48] ซึ่งเขาได้ทำภาพนี้ต่อไปจนถึงช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1504 เขาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแนะนำว่าควรวางรูปปั้นดาวิดของมีเกลันเจโลไว้ที่ใด[49] จากนั้นเขาใช้เวลา 2 ปีในเมืองฟลอเรนซ์ในการออกแบบและวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังยุทธการอันเกียริ[44] โดยมีมีเกลันเจโลได้ออกแบบผลงานที่คู่กัน คือ ยุทธการคาชินา

ในปี ค.ศ. 1506 เลโอนาร์โดถูกเรียกตัวไปยังมิลานโดย ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอ็องบวซ ผู้รักษาการเมืองชาวฝรั่งเศส[50] โดยเลโอนาร์โดได้รับลูกศิษย์จากที่นั้นมาคนหนึ่ง คือเคาท์ฟรานเชสโก เมลซี ลูกชายของขุนนางลอมบาร์เดีย ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิษย์คนโปรดของเขา[24]

ความสัมพันธ์และแรงบันดาลใจ[แก้]

"ความอดทนและอดกลั้น ต่ออุปสรรคและการดูถูกเหยียดหยาม เป็นเสมือนเสื้อกันความหนาวให้กับเรา อากาศยิ่งเย็นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากยึ่งขึ้นเท่านั้น..."

ภาพวาด[แก้]

  • การประกาศของเทพ - หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1473)
  • พระแม่มารีแห่งภูผา (Virgin of the Rocks) - พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1483)
  • พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) - Convent of Santa Maria delle Grazie (Refectory), Milan (ค.ศ. 1495-1498)
  • โมนาลิซ่า หรือ Mona Lisa พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. 1503-1507)
  • ชุดภาพเหมือนล้อเลียน (ค.ศ. 1490-1505)
  • ยุทธการอันเกียริ (The Battle of Anghiari)- พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส วาดจากต้นฉบับของ รูเบ็นส์ และจิตรกรนิรนาม

แกลเลอรี[แก้]

  • ภาพเหมือนตัวเอง

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    นักบุญจอห์น/เทพบาคคัส(นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์) (Saint John in the Wilderness Bacchus)

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    ภาพเหมือนล้อเลียน

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    ศึกษาตัวอ่อนมนุษย์ (Studies of embryos) (v.1509-1514)

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    ภาพสเก็ตช์อาคาร

  • หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

    ภาพสเก็ตช์ทหารสามหมวกเกราะ (Profile of a warrior in helmet)

ผลงานในฐานะนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์[แก้]

ตำนานเลโอนาร์โด[แก้]

หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี
  • รหัสลับดาวินชี นวนิยายโดย แดน บราวน์

หมายเหตุ[แก้]

ทั่วไป

  1. ↑ 1.0 1.1 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในความขัดแย้งและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับบ้านเกิดที่แน่นอนของเลโอนาร์โด ดู Nicholl (2005, pp. 17–20) และ Bambach (2019, p. 24)
  2. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแม่ของเลโอนาร์โดกับอันโตนิโอ ดิ ปิเอโร บูติ เดล วัคกา ดู Nicholl (2005, pp. 26–30)
  3. สำหรับตารางรายละเอียดการแต่งงานของแซร์ ปีเอโร ดู Kemp & Pallanti (2017, pp. 65–66)
  4. เขาก็ไม่เคยเขียนถึงพ่อด้วย เว้นแต่บันทึกการตายของเขาที่ระบุว่าเขาติดต่อครั้งสุดท้ายตอนอายุสามขวบ[14] หลังจากที่พ่อเสียชีวิต เลโอนาร์โดต้องประสบปัญหาการสืบทอดมรดกให้กับพี่น้องของตน[15]
  5. เขาเขียนที่ด้านหลังภาพว่า: "ข้ามีความสุขที่ได้อยู่กับอันโตนี" น่าจะสื่อถึงพ่อของอันโตนี
  6. ภายหลังเลโอนาร์โดเขียนที่ขอบสมุดบันทึกว่า "ตระกูลเมดิซีสร้างข้าและตระกูลเมดิซีทำลายข้า"[24]
  7. ใน ค.ศ. 2005 มีการค้นพบห้องศิลปะอีกครั้งในช่วงที่มีการบูรณะส่วนของอาคารของกรมภูมิศาสตร์ทหารที่ถือครองเป็นเวลา 100 ปี[45]

วันผลิตผลงาน

  1. การนมัสการของโหราจารย์
    • Kemp (2019, p. 27): ป. 1481–1482
    • Marani (2003, p. 338): 1481
    • Syson et al. (2011, p. 56): ป. 1480–1482
    • Zöllner (2019, p. 222): 1481/1482
  2. พระแม่มารีแห่งภูผา (ฉบับลูฟวร์)
    • Kemp (2019, p. 41): ป. 1483–1493
    • Marani (2003, p. 339): ระหว่าง ค.ศ. 1483 ถึง 1486
    • Syson et al. (2011, p. 164): 1483–ป. 1485
    • Zöllner (2019, p. 223): 1483–1484/1485

อ้างอิง[แก้]

ช่วงแรก

  1. Vasari 1991, p. 287
  2. Vasari 1991, pp. 287–289
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ V265

สมัยใหม่

  1. "A portrait of Leonardo c.1515–18". Royal Collection Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  2. Zöllner 2019, p. 20.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Kemp 2003.
  4. ↑ 4.0 4.1 Heydenreich 2020.
  5. ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Brown 1998, p. 5.
  6. Nicholl 2005, p. 17.
  7. Bambach 2019, pp. 16, 24.
  8. ↑ 8.0 8.1 Marani 2003, p. 13.
  9. Bambach 2019, p. 16.
  10. ↑ 10.0 10.1 10.2 Bambach 2019, p. 24.
  11. Nicholl 2005, p. 18.
  12. Kemp & Pallanti 2017, p. 6.
  13. Kemp & Pallanti 2017, p. 65.
  14. ↑ 14.0 14.1 Wallace 1972, p. 11.
  15. Magnano 2007, p. 138.
  16. Brown 1998, pp. 1, 5.
  17. Marani 2003, p. 12.
  18. Brown 1998, p. 175.
  19. Nicholl 2005, p. 28.
  20. Nicholl 2005, p. 30, 506.
  21. Nicholl 2005, p. 30. See p. 506 for the original Italian.
  22. ↑ 22.0 22.1 Rosci 1977, p. 13.
  23. Bacci, Mina (1978) [1963]. The Great Artists: Da Vinci. แปลโดย Tanguy, J. New York: Funk & Wagnalls.
  24. ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 Bortolon 1967.
  25. ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 Arasse 1998.
  26. Rosci 1977, p. 27.
  27. Martindale 1972.
  28. ↑ 28.0 28.1 28.2 Rosci 1977, pp. 9–20.
  29. Piero della Francesca, On Perspective for Painting (De Prospectiva Pingendi)
  30. Hartt 1970, pp. 127–133.
  31. ↑ 31.0 31.1 Rachum, Ilan (1979). The Renaissance, an Illustrated Encyclopedia.
  32. ↑ 32.0 32.1 32.2 32.3 Ottino della Chiesa 1985, p. 83.
  33. Wallace 1972, p. 13.
  34. Polidoro, Massimo (2019). "The Mind of Leonardo da Vinci, Part 1". Skeptical Inquirer. Center for Inquiry. 43 (2): 30–31.
  35. Wallace 1972, p. 15.
  36. Clark, Kenneth; Kemp, Martin (26 November 2015). Leonardo da Vinci (Newition ed.). United Kingdom: Penguin. p. 45. ISBN 978-0-14-198237-3.
  37. Wasserman 1975, pp. 77–78.
  38. ↑ 38.0 38.1 Wallace 1972, pp. 53–54.
  39. Williamson 1974.
  40. Kemp 2011.
  41. Franz-Joachim Verspohl [de], Michelangelo Buonarroti und Leonardo Da Vinci: Republikanischer Alltag und Künstlerkonkurrenz in Florenz zwischen 1501 und 1505 (Wallstein Verlag, 2007), p. 151.
  42. Wallace 1972, p. 79.
  43. Wallace 1972, p. 65.
  44. ↑ 44.0 44.1 44.2 Ottino della Chiesa 1985, p. 85.
  45. Owen, Richard (12 January 2005). "Found: the studio where Leonardo met Mona Lisa". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 5 January 2010.
  46. Wallace 1972, p. 124.
  47. "Mona Lisa – Heidelberg discovery confirms identity". University of Heidelberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 July 2010.
  48. Delieuvin, Vincent (15 January 2008). "Télématin". Journal Télévisé. France 2 Télévision.
  49. Coughlan, Robert (1966). The World of Michelangelo: 1475–1564. et al. Time-Life Books. p. 90.
  50. Wallace 1972, p. 145.

ผลงานที่อ้างอิง[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

  • Anonimo Gaddiano (c. 1530). "Leonardo da Vinci". Codice Magliabechiano. in Lives of Leonardo da Vinci (Lives of the Artists). Los Angeles: J. Paul Getty Museum. 2019. pp. 103–114. ISBN 978-1-60606-621-8.
  • Giovio, Paolo (c. 1527). "The Life of Leonardo da Vinci". Elogia virorum illustrium. in Lives of Leonardo da Vinci (Lives of the Artists). Los Angeles: J. Paul Getty Museum. 2019. pp. 103–114. ISBN 978-1-60606-621-8.
  • Vasari, Giorgio (1965) [1568]. "The Life of Leonardo da Vinci". Lives of the Artists. แปลโดย George Bull. Penguin Classics. ISBN 978-0-14-044164-2.
  • —— (1991) [1568]. The Lives of the Artists. Oxford World's Classics (ภาษาอังกฤษ). แปลโดย Bondanella, Peter; Bondanella, Julia Conway. Oxford University Press. ISBN 0-19-283410-X.

สมัยใหม่[แก้]

หนังสือ

  • Arasse, Daniel [fr] (1998). Leonardo da Vinci. Old Saybrook: Konecky & Konecky. ISBN 978-1-56852-198-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Bambach, Carmen C., บ.ก. (2003). Leonardo da Vinci, Master Draftsman. New York: Metropolitan Museum of Art. ISBN 978-0-300-09878-5.
  • Bambach, Carmen C. (2019). Leonardo da Vinci Rediscovered. Vol. 1, The Making of an Artist: 1452–1500. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-19195-0.
  • Bortolon, Liana (1967). The Life and Times of Leonardo. London: Paul Hamlyn.
  • Brown, David Alan (1998). Leonardo Da Vinci: Origins of a Genius. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-07246-4.
  • Capra, Fritjof (2007). The Science of Leonardo. US: Doubleday. ISBN 978-0-385-51390-6.
  • Ottino della Chiesa, Angela (1985) [1967]. The Complete Paintings of Leonardo da Vinci. Penguin Classics of World Art. London: Penguin Books. ISBN 978-0-14-008649-2.
  • Clark, Kenneth (1961). Leonardo da Vinci. City of Westminster: Penguin Books. OCLC 187223.
  • Gasca, Ana Millàn; Nicolò, Fernando; Lucertini, Mario (2004). Technological Concepts and Mathematical Models in the Evolution of Modern Engineering Systems. Birkhauser. ISBN 978-3-7643-6940-8.
  • Hartt, Frederich (1970). A History of Italian Renaissance Art. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-23136-4.
  • Heaton, Mary Margaret (1874). Leonardo Da Vinci and His Works: Consisting of a Life of Leonardo Da Vinci. New York: Macmillan Publishers. OCLC 1706262.
  • Isaacson, Walter (2017). Leonardo da Vinci. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-1-5011-3915-4.
  • Kemp, Martin (2006) [1981]. Leonardo Da Vinci: The Marvellous Works of Nature and Man. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-920778-7.
  • Kemp, Martin (2011) [2004]. Leonardo (Revised ed.). Oxford, England: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280644-4.
  • Kemp, Martin; Pallanti, Giuseppe (2017). Mona Lisa: The People and the Painting. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-874990-5.
  • Kemp, Martin (2019). Leonardo da Vinci: The 100 Milestones. New York: Sterling. ISBN 978-1-4549-3042-6.
  • Magnano, Milena (2007). Leonardo, collana I Geni dell'arte. Mondadori Arte. ISBN 978-88-370-6432-7.
  • Marani, Pietro C. (2003) [2000]. Leonardo da Vinci: The Complete Paintings. New York: Harry N. Abrams. ISBN 978-0-8109-3581-5.
  • Martindale, Andrew (1972). The Rise of the Artist. Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-56006-8.
  • Nicholl, Charles (2005). Leonardo da Vinci: The Flights of the Mind. London: Penguin Books. ISBN 978-0-14-029681-5.
  • O'Malley, Charles D.; Sounders, J.B. de C.M. (1952). Leonardo on the Human Body: The Anatomical, Physiological, and Embryological Drawings of Leonardo da Vinci. With Translations, Emendations and a Biographical Introduction. New York: Henry Schuman.
  • Pedretti, Carlo (1982). Leonardo, a study in chronology and style. Cambridge: Johnson Reprint Corp. ISBN 978-0-384-45281-7.
  • Pedretti, Carlo (2006). Leonardo da Vinci. Surrey: Taj Books International. ISBN 978-1-84406-036-8.
  • Popham, A.E. (1946). The Drawings of Leonardo da Vinci. Jonathan Cape. ISBN 978-0-224-60462-8.
  • Richter, Jean Paul (1970). The Notebooks of Leonardo da Vinci. Dover. ISBN 978-0-486-22572-2. volume 2: ISBN 0-486-22573-9. A reprint of the original 1883 edition
  • Rosci, Marco (1977). Leonardo. Bay Books Pty Ltd. ISBN 978-0-85835-176-9.
  • Syson, Luke; Keith, Larry; Galansino, Arturo; Mazzotta, Antoni; Nethersole, Scott; Rumberg, Per (2011). Leonardo da Vinci: Painter at the Court of Milan. London: National Gallery. ISBN 978-1-85709-491-6.
  • Turner, A. Richard (1993). Inventing Leonardo. New York: Alfred A. Knopf. ISBN 978-0-520-08938-9.
  • Wallace, Robert (1972) [1966]. The World of Leonardo: 1452–1519. New York: Time-Life Books.
  • Wasserman, Jack (1975). Leonardo da Vinci. New York: Harry N. Abrams. ISBN 978-0-8109-0262-6.
  • Williamson, Hugh Ross (1974). Lorenzo the Magnificent. Michael Joseph. ISBN 978-0-7181-1204-2.
  • Vezzosi, Alessandro (1997). Leonardo da Vinci: Renaissance Man. 'New Horizons' series. แปลโดย Bonfante-Warren, Alexandra (English translation ed.). London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-30081-7.
  • Zöllner, Frank (2015). Leonardo (2nd ed.). Cologne: Taschen. ISBN 978-3-8365-0215-3.
  • Zöllner, Frank (2019) [2003]. Leonardo da Vinci: The Complete Paintings and Drawings (Anniversary ed.). Cologne: Taschen. ISBN 978-3-8365-7625-3.

วารสารและบทความสารานุกรม

  • Brown, David Alan (1983). "Leonardo and the Idealized Portrait in Milan". Arte Lombarda. 64 (4): 102–116. JSTOR 43105426. (ต้องสมัครสมาชิก)
  • Cremante, Simona (2005). Leonardo da Vinci: Artist, Scientist, Inventor. Giunti. ISBN 978-88-09-03891-2.
  • Giacomelli, Raffaele (1936). Gli scritti di Leonardo da Vinci sul volo. Roma: G. Bardi.
  • Heydenreich, Ludwig Heinrich (28 April 2020). "Leonardo da Vinci | Biography, Art & Facts | Britannica". Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica, Inc.
  • Kemp, Martin (2003). "Leonardo da Vinci". Grove Art Online. Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/gao/9781884446054.article.T050401. ISBN 978-1-884446-05-4. แม่แบบ:Grove Art subscription
  • Lupia, John N. (Summer 1994). "The Secret Revealed: How to Look at Italian Renaissance Painting". Medieval and Renaissance Times. 1 (2): 6–17. ISSN 1075-2110.

อ่านเพิ่ม[แก้]

See Kemp (2003) and Bambach (2019, pp. 442–579) for extensive bibliographies

  • Vanna, Arrighi; Bellinazzi, Anna; Villata, Edoardo, บ.ก. (2005). Leonardo da Vinci: la vera immagine: documenti e testimonianze sulla vita e sull'opera [Leonardo da Vinci: the true image: documents and testimonies on life and work] (ภาษาอิตาลี). Florence: Giunti Editore. ISBN 978-88-09-04519-4.
  • Vecce, Carlo (2006). Leonardo (ภาษาอิตาลี). Foreword by Carlo Pedretti. Rome: Salerno. ISBN 978-88-8402-548-7.
  • Winternitz, Emanuel (1982). Leonardo da Vinci As a Musician. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-02631-3.
  • Leonardo da Vinci: anatomical drawings from the Royal Library, Windsor Castle. New York: The Metropolitan Museum of Art. 1983. ISBN 978-0-87099-362-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ทั่วไป
  • Universal Leonardo, a database of Leonardo's life and works maintained by Martin Kemp and Marina Wallace
  • Leonardo da Vinci on the National Gallery website
ผลงาน
  • Biblioteca Leonardiana, online bibliography (in Italian)
  • e-Leo: Archivio digitale di storia della tecnica e della scienza, archive of drawings, notes and manuscripts
  • ผลงานของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่โครงการกูเทินแบร์ค
  • ผลงานโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี บนเว็บ LibriVox (หนังสือเสียง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ)
    หนัง เลโอ น่า ร์ โด ดา วิน ชี
  • Complete text and images of Richter's translation of the Notebooks
  • The Notebooks of Leonardo da Vinci