เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

ข้าวติดก้นหม้อได้อย่างไร ได้วิธีการแก้ไข

ปัญหาหนึ่งที่สร้างความยุ่งยากให้แม่บ้านเป็นประจำคือ ข้าวติดก้นหม้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่บ้านที่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ไม่ได้เคลือบเทฟลอน จะไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ทันทีหลังจากทานอาหารเสร็จ ต้องแช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน

ผู้ที่ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบธรรมดา สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ทันทีที่ดึงปลั๊กไฟฟ้าออกให้นำหม้อชั้นในแช่ลงในน้ำเย็นหรือน้ำก๊อก ธรรมดานี่เอง ปริมาณน้ำก็พอที่จะให้หม้อจมลงไปสัก 1 นิ้ว ทิ้งไว้ประมาณ 2–3 นาที เพียงเท่านี้ก็สามารถตักเสริฟได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้าวติดก้นหม้ออีกต่อ ไป เหมือนมีหม้อเคลือบเทฟลอนประจำบ้าน

หลักการง่ายๆที่ช่วยแก้ปัญหาข้าวติดกันหม้อนี้ได้จากความเข้าใจในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของแป้งเมื่อได้รับความร้อนและสูญเสียความร้อน เมื่อแป้งได้รับความร้อนและมีน้ำมากเกินพอก็จะพองตัวเกิดเป็นเจล มีความหนืดสูง หรือการเกิด เจลาติไนเซชั่น (Gelatinization) แต่เมื่อแป้งถูกทำให้เย็นตัวลงจะเกิดรีโทรกาเดชั่น (Retro gradation) หรือการเรียงตัวใหม่กลับเป็นผลึกและดันเอา น้ำออกจากโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหม้อชั้นในที่ทำจากอลูมิเนียมจะถ่ายเทความร้อนได้ดี ทำให้สามารถเกิดรีโทรกาเดชั่นได้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ น้ำที่ถูกดันออกมาจากโครงสร้างแป้งจะเป็นตัวกั้นระหว่างข้าวกับ ก้นหม้อ

เพียงเท่านี้คุณแม่บ้านก็ไม่ต้องเผชิญปัญหาข้าวติดก้นหม้ออีกต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง

  1. “หม้อหุงข้าว”. ฉลาดบริโภค. เมษายน, 2528, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 44–46.
  2. “หม้อหุงข้าวไฟฟ้า”. หมอชาวบ้าน. กุมภาพันธ์, 2537, ปีที่ 15, ฉบับที่ 178 , หน้า 38 – 39.
  3. Rao M. A. and Martel R. W. Phase/state transitions in foods: chemical, structural, and rheological changes. USA: Marcel Dekker Inc., 1998. (pp.95–110)

คำแนะนำวิธีช่วยประหยัดพลังงานจากการใช้หม้อหุงข้าว

  • ใส่น้ำเพื่อหุงข้าวในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน การเติมน้ำมากเกินไปนอกจากจะทำให้ข้าวแฉะแล้ว ตัวหม้อยังหุงอยู่จนกว่าน้ำจะแห้งหมด ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
  • ควรเลือกใช้หม้อหุงข้าวที่มีขนาดเหมาะสมกับครอบครัว การที่เลือกหม้อหุงข้าวที่มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟโดยไม่จำเป็น
  • การเปิดฝาหม้อในขณะที่ข้าวยังไม่สุก ทำให้สูญเสียความร้อน หม้อหุงข้าวจะทำงานนานยิ่งขึ้น

คำแนะนำสำหรับหม้อนึ่งข้าวเหนียว รุ่น ไอน้ำ

หลังจากนึ่งข้าวเหนียวด้วยหม้อนึ่งข้าวเหนียวรุ่น ไอน้ำ เสร็จแล้ว ไม่แนะนำให้เสียบปลั๊กทิ้งไว้ เมื่อข้าวเหนียวสุก ไฟแสดงขณะอุ่น (warm) สว่างขึ้น ให้ถอดปลั๊กเสียบและยกภาชนะนึ่งออก เพราะน้ำในหม้อในจะแห้ง ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ จะทำให้หม้อในเป็นคราบเหลืองไหม้ ได้ แต่ถ้าลูกค้าต้องการเสียบปลั๊กไว้ ควรเติมน้ำลงในหม้อใน

หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้าชาร์ป เชิงพาณิชย์ ข้าวสุกไม่ทั่วหม้อจะทำอย่างไร

หม้อหุงข้าวชาร์ป เชิงพาณิชย์ มีความจุตั้งแต่ 5 - 10 ลิตร ถ้าท่านพบปัญหาหุงข้าวสุกไม่ทั่วหม้อ แก้ปัญหาโดยให้ท่านคนข้าวให้ทั่ว หลังจากหุงข้าวไปแล้วประมาณ 20 นาที จะทำให้ข้าวหุงขึ้นหม้อ สุกได้ทั่วถึงทั้งหม้อ

LifeStyle

หม้อหุงข้าว/กาต้มน้ำ ไม่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ ช่วยประหยัดไฟแลพป้องกันการเกิดไฟไหม้ได้

เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

คนเข้าครัวตัวจริงต้องรู้!

การไม่เสียบปลั๊กหม้อข้าวทิ้งไว้ และถอดปลั๊กกาต้มน้ำเมื่อน้ำเดือดทันที

นอกจากประหยัดไฟแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดไฟไหม้ได้อีกด้วยนะฮะ

เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

เสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เป็นไรไหม

Related Posts

หม้อหุงข้าวเสียบปลั๊กทิ้งไว้ได้ไหม

และคำถามที่ว่าเสียบหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ กินไฟไหม? คำตอบคือกินและกินหนักมาก แถมการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ยังมาพร้อมกับความอันตรายอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดและลดความเสี่ยง ควรดึงปลั๊กหม้อหุงข้าวออกทุกครั้งหลังการใช้งานเสร็จทันที

หม้อหุงข้าว อุ่นทั้งคืนได้ไหม

แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวพัฒนาและมีมาตรฐานมากขึ้น บางรุ่นก็สามารถอุ่นข้าวทิ้งไว้ข้ามคืนได้เลย มีข้าวอุ่นๆ กินตลอด แต่อาจจะต้องระวังไว้หน่อย เพราะถ้าใช้งานหนักไม่พัก อาจจะทำให้หม้อหุงข้าวเสื่อมคุณภาพได้เร็ว

ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้หลังข้าวสุกและอุ่นข้าวเกินกี่นาที

3.1 การบำรุงรักษาทำความสะอาด จะช่วยยืดอายุการใช้งาน ไม่ให้อุปกรณ์ชิ้นส่วนหมดอายุหรือชำรุดก่อนเวลา ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่เกิดปัญหาทิ้งเศษวัสดุให้เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม 3.2 ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้หลังข้าวสุกและอุ่นข้าวเกิน 10 – 15 นาที ควรดึงปลั๊กออกเพื่อประหยัดไฟ

ข้าวที่หุงแล้วอยู่ได้กี่ชั่วโมง

ข้าวที่หุงแล้ว? เมื่อเราไม่รับประทานข้าวในทันที เราอาจอุ่นไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 60˚ C (140˚ F) หรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 21º C (70º F) หรือต่ำกว่า ภายใน 2 ชั่วโมงแล้วเก็บที่อุณหภูมิ 4º C (40º F) หรือต่ำกว่าภายใน 4 ชั่วโมง ข้าวที่หุงแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น 3 - 5 วัน หรือ แช่แข็งไว้ได้นานถึง 6 เดือน