การเรียน รู้ learning by doing

การเรียน รู้ learning by doing

การเรียน รู้ learning by doing
ทักษะชีวิต Learning by doing

การเรียน รู้ learning by doing

ติดต่อลงโฆษณา
Leaderboard in Content 1st
Fixed 1,000 baht/month
Slot 300 baht/month

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ คือ แนวคิดการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ผ่านการทำการทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ ไปจนถึงค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือถนัดด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจและมีความสุขในการเรียน การเรียนการสอนในรูปแบบนี้ผู้สอนจะลดบทบาทของตัวเองในการสอนและการให้ความรู้กับผู้เรียนโดยตรงลงแล้วเปลี่ยนมาสนับสนุน เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น

การเรียน รู้ learning by doing

บทนำ

การเรียน รู้ learning by doing

การลงมือทำหมายถึง ผู้เรียนได้กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติการจริงคือ ผู้เรียนได้ฝึกในสภาพสิ่งแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามวัยและได้ผลตามความคาดหวังของสังคมนั้น การจัดประสบการณ์จะให้ความสำคัญกับบทบาทการเรียนรู้ของเด็ก จึงได้มีการศึกษาแนว คิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ การใช้แนวคิดที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำหรือการปฏิบัติในสภาพจริง จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้ ดังที่ประเทศไทยได้กำหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 เน้นให้มีแนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกล่าวถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำ

การเรียนรู้โดยการลงมือทำคืออะไร?

การเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นแนวคิดหรือความเชื่อที่สนับสนุนให้คนเราปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าหากคนเราได้กระทำจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ผู้เรียนจะสนุกสนานที่จะสืบค้นหาความรู้ต่อไป มีความสุขที่จะเรียน

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีที่มาอย่างไร?

การเรียนรู้โดยลงมือกระทำมาจากปรัชญาหรือความเชื่อของปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) หรือบางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อ “การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้

นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือ

  • แนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา
  • มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ
  • ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ
    • ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง
    • และขั้นทุติยภูมิคือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของขั้นที่สอง

ปรัชญาของ จอห์น ดิวอี้ เป็นปรัชญาที่ยกย่องประสบการณ์ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการกระทำในสถานการณ์จริง การศึกษาตามทัศนะของจอห์น ดิวอี้คือ ความเจริญ งอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถาน การณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวน การต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ ปัญหา เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นและแก้ปัญหาเป็น โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ บางครั้งก็เรียนวิธีสอนนี้ว่าการสอนแบบวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีลักษณะอย่างไร?

การจัดการเรียนรู้โดยลงมือกระทำมีลักษณะสำคัญดังนี้

  • มีจุดมุ่งหมาย มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแก้ปัญหาไปใช้ในการตัดสินใจ
  • จัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นความถนัดและความสนใจ
  • ครูมีลักษณะของการเป็นผู้รอบรู้และมีประสบการณ์ ยอมรับความแตกต่างของผู้เรียน
  • ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรับประสบการณ์จากการกระทำของตนเอง ผู้เรียนได้ทดลอง ทำปฏิบัติ สืบเสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล หาข้อสรุป และหาวิธีการกระบวนการด้วยตนเอง
  • จัดหลักสูตรจะเน้นประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นหลักสูตรกิจกรรม

การเรียนรู้โดยการลงมือทำมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร? 

การเรียนรู้โดยการลงมือทำ มีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้

  • เด็กจะเรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง
  • เด็กจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ ลำตัว แขน ขา และกล้ามเนื้อเล็กซึ่งได้แก่ นิ้วมือ
  • เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสทำให้เกิดเป็นประสบการณ์
  • เด็กได้รู้จักการสืบค้นหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา
  • เด็กจะได้เข้าใจธรรมชาติ
  • เด็กจะเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
  • เด็กได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • เด็กจะได้พัฒนาวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ รวมทั้งรับรู้ลักษณะอารมณ์แต่ละชนิด เช่น ชอบกลิ่นหอม แต่ไม่ชอบกลิ่นเหม็น ไม่ชอบเดินเท้าเปล่าเหยียบก้อนหินที่แข็งหยาบ แต่จะรู้สึกชอบเดินบนพรมที่อ่อนนุ่นสบายฝ่าเท้า ไม่ชอบเสียงดนตรีที่แผดเสียงดัง แต่ชอบเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเบาๆ เป็นต้น
  • เด็กจะได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุผล

สถานศึกษาใดที่จัดการเรียนรู้โดยการลงมือทำ

โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (โรงเรียนรัฐบาล) ทั่วประเทศ ดำเนินการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนามาจาก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 เป็นหลักสูตรที่มีพัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ได้กำหนดหน่วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือหน่วยการเรียนรู้ เน้นการบูรณาการสาระการเรียนรู้ ผ่านการผสมผสานเนื้อหาสาระภายในศาสตร์หรือสาขาวิชาหรือผสมผสานเนื้อหาระหว่างศาสตร์ เน้นกระ บวนการเรียนรู้มากกว่าผลผลิต เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ และพัฒนาการคิด การตัดสินใจ การทำงานร่วมกับคนอื่น สนับสนุนให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการลงมือปฏิบัติหรือการกระทำ และโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเหล่านี้เปิดการสอนระดับประถมศึกษาปี่ที่ 1-6 การจัดกิจกรรมจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีการปฏิบัติ มุ่งให้เด็กได้คิดเป็น ทำเป็น ด้วยกระบวนการสืบค้น ฝึกทักษะการคิดตามความสนใจ มีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก มีผู้ปกครองและชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเป็นสำคัญ

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะนำการเรียนรู้โดยการลงมือทำ มาประยุกต์ใช้กับลูกได้อย่างไร

การกระทำของคนเราทำให้เกิดการรับรู้อย่างเป็นระบบโดยอาศัยประสาทสัมผัสทางกาย ด้วยการสัมผัสด้วยมือ การดมกลิ่น การดู การฟังเสียง และการชิมรส พ่อแม่สามารถนำการเรียนรู้โดยลงมือกระทำมาประยุกต์ใช้กับลูกโดยจัดกิจกรรมต่างๆที่ให้ลูกได้ทำ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของคนเรา กิจกรรมตัวอย่างที่ส่งเสริมให้ลูกระทำด้วยตนเอง เช่น

  • กิจกรรมการสัมผัสด้วยมือหรือผิวกาย
    • ให้ลูกสัมผัสผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเช็ดตัวที่มีขนอ่อนนุ่ม ผ้าแพรคลุมเตียง ผ้าใบ (รองเท้าผ้าใบ) ผ้ายีน ผ้าฝ้าย ผ้ากำมะหยี่ ผ้าสักหลาด
    • ให้ลูกได้สัมผัสวัสดุรอบตัวที่มีผิวแตกต่าง เช่น มุ้งลวด กระดาษ ไม้ พลาสติก ใบไม้ โลหะ จานเคลือบ เปลือกไม้ เป็นต้น
    • นำสิ่งต่างๆที่มีผิวเหมือนกันจัดไว้ที่เดียวกัน แล้วให้เด็กสัมผัส เช่น สิ่งที่ทำด้วยไม้ ผ้า พลาสติก โลหะ กระดาษ
    • อาบน้ำอุ่นให้ลูกเปรียบเทียบกับการอาบน้ำเย็นปกติ พ่อแม่เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีความรู้สึกกับการสอนใช้ภาษาเช่น อาบน้ำอุ่น เรารู้สึกอุ่น เราอาบน้ำเย็น เรารู้สึกเย็น
    • ลองชวนลูกเดินเล่นท่ามกลางแสงแดดอ่อนๆ และตอนเที่ยงวัน ถามความรู้สึกลูก
    • ให้ลูกรับประทานน้ำแข็งหวานเย็น หรือน้ำเย็น (น้ำแช่ในตู้เย็น หรือน้ำใส่น้ำแข็ง) เปรียบเทียบกับน้ำอุ่นๆ
    • เมื่อลูกเดินเล่นมามีเหงื่อออก รู้สึกค่อนข้างร้อน แล้วให้ลูกใช้พัดโบกลม
    • ลองใช้ผ้าห่มลูกหนาๆ ถามความรู้สึกลูกว่าเป็นอย่างไร
    • บีบครีมทาผิวให้ลูกลูบมือและผิวกาย
    • ให้ลูกเล่นทรายเปียกและสัมผัสทรายแห้ง หรือให้ลูกสัมผัสผ้าแห้งก่อนซักและผ้าเปียกที่ซักแล้ว
  • กิจกรรมการดมกลิ่น
    • ชวนลูกทำอาหาร ดมกลิ่นอาหารทอด ต้ม ปิ้ง ตุ๋น เช่น ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ตุ๋น ไข่ปิ้ง เปรียบเทียบกลิ่น อาหารที่ทำด้วยวิธีการแตกต่างกัน (เปลี่ยนชนิดอาหารเป็นเนื้อสัตว์บ้าง จะมีกลิ่นแตกต่างกันไป บางครั้งเราอาจจะทำวันละชนิดก็ได้ ) หรือบางครั้งเราอาจจะเคยมีเศษอาหารที่เน่าส่งกลิ่นเหม็นบูด เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของกลิ่นอาหารที่เรารับประทานได้และที่เน่าเสียแล้ว
    • หยดน้ำที่มีกลิ่นต่างๆลงถ้วยเล็กๆให้เด็กดม เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำสบู่ ครีมสระผม น้ำมันทอดอาหาร น้ำซอส น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำชา กาแฟ ฯลฯ ให้เปรียบเทียบกลิ่น หรือเมื่อใช้น้ำต่างๆดังกล่าวให้ลูกได้ดมกลิ่น แต่ต้องระวังกลิ่นที่มีอันตรายต่อเยื่อบุจมูกของเด็กด้วย เช่น น้ำยาฆ่าแมลง
    • ทดลองเผาของให้มีกลิ่นไหม้ ให้เด็กได้ดมและทราบความหมายถึงสิ่งนั้น เช่น กลิ่นไหม้หมายถึงอันตราย
    • ให้ลูกช่วยจัดแจกันหรือกระเช้าดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่น แนะนำชื่อดอกไม้ให้ลูกรู้จัก
    • หากมีสัตว์เลี้ยงน่ารักและเชื่อง เช่น ไก่แจ้ สุนัข แมว ให้ลูกมีส่วนร่วมเลี้ยงดู ให้อาหาร อาบน้ำ เล่นด้วย เด็กจะได้กลิ่นตามธรรมชาติของสัตว์แต่ชนิดไม่เหมือนกัน
    • ให้ลูกช่วยซักผ้า กลิ่นเสื้อผ้าก่อนซัก และหลังซักด้วยน้ำยา จะแตกต่างกันเรื่องหอม และไม่หอม และหากผ้าที่ตากแห้งด้วยแสงแดด จะมีกลิ่นผ้า เรียกภาษาชาวบ้านว่า หอมแดด
    • ทดลองทำปุ๋ยชีวภาพ หมักด้วยใบไม้ ผลไม้ (ผสมน้ำ) เมื่อเศษพืชย่อยสลาย จะมีกลิ่นเปรี้ยว นำไปรดต้นไม้ได้
    • กลิ่นตัวของเราก็มี ปากเรามีน้ำลาย หลังตื่นนอน มีกลิ่นน้ำลายบูด ลูกจึงต้องทำความสะอาด เราจึงมีกลิ่นหอม เช่นเดียวกับหลังรับประทานอาหาร เราควรล้างปากแปรงฟันเพื่อขจัดกลิ่นอาหารต่างๆที่เรารับประทานไป เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายเรามีเหงื่อไคล กลิ่นตัวเราทำให้เราไม่สดชื่น ผู้ที่อยู่ข้างเราได้กลิ่นเหม็นเหงื่อไคลของเรา ทำให้เขารังเกียจ เราทำความสะอาดร่างกายด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ เราจึงมีกลิ่นหอม เป็นต้น
    • อากาศรอบตัวเรามีกลิ่นเช่นกัน เพราะมีส่วนผสมจากสิ่งต่างๆรอบตัว หากเราเดินทางบนท้องถนน เราได้กลิ่นควันเสียที่ฟุ้งกระจายในอากาศ เราจะรู้สึกอึดอัด แต่เมื่อเราอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่มากๆหรือในสวน ในป่า อยู่ใกล้ๆน้ำตก เราจะได้รู้สึกสบาย หอมกลิ่นต้นไม้ ใบไม้ พ่อแม่อาจนำดินชนิดต่างๆมาให้ลูกดม เขาจะรู้ สึกได้ว่า ดินแต่ละชนิด จะมีกลิ่นแตกต่างกัน หรือบางครั้งเราอาจจะเคยได้กลิ่นเศษใบไม้แห้ง
    • ดมกลิ่นใบไม้หอมหลายชนิดซึ่งหอมแตกต่างกัน ได้แก่ กลิ่นใบตะไคร้ ใบมะกรูด ใบมะขาม ใบชมพู่ ใบกระถิน ใบมะยม ใบเตย ใบโหระพา ใบกระเพรา ใบแมงลัก
  • กิจกรรมการฟัง
    • ฟังเสียงดนตรีบรรเลงอย่างสงบ ลูกจะได้ยินเสียงสูงต่ำ เสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดบรรเลงแตกต่างกันหรือฟังเสียงวงดนตรีจากขบวนพาเหรด
    • ไปเที่ยวสวนนก ฟังนกส่งเสียง หรือไปเที่ยวสวนสัตว์ ลิง ช้าง ม้า ฯลฯ จะส่งเสียงแตกต่างกัน
    • ฟังเพลง คำคล้องจอง และร้องร่วมกัน
    • ฟังเสียงเครื่องยนต์หรือสิ่งของต่างๆที่ใช้พลังงานต่างๆทำงาน เช่น เสียงเร่งเครื่องยนต์ เสียงรถบดก้อนหิน เสียงใบพัดของพัดลม เครื่องปั่นอาหาร เสียงเครื่องบินผ่านศีรษะเราไปมาบนท้องฟ้า เสียงเครื่องดูดฝุ่น
    • ฟังเสียงวัตถุกระทบกัน เช่น ระฆัง กระดิ่ง ค้อนตอกตะปู เสียงย่ำรองเท้าหนักๆ
    • ไปเที่ยวชายทะเล น้ำตก ฟังเสียงคลื่นซัดน้ำทะเลกระทบชายฝั่ง เสียงน้ำตกกระทบโขดหิน
    • ทดลองเปล่งเสียงของเราเอง คนเราทำเสียงต่างๆได้หลายแบบ เสียงดัง เสียงเบา เสียงแหบ เสียงแหลม เสียงห้าว เสียงทุ้ม เสียงตะโกน หรือเลียนแบบเสียงของคนวัยต่างๆ เสียงเด็ก เสียงผู้ใหญ่ เสียงคนแก่ หรือเสียงผู้ ชาย เสียงผู้หญิง เสียงแสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น เสียงหัวเราะ เสียงร้องไห้ เสียงตกใจ เสียงดีใจ
  • กิจกรรมชิมรส
    • ชิมของที่มีรสชาติเฉพาะ ได้แก่
      • -รสหวาน เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง นมสด 
        -รสเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา 
        -รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำมะขาม
    • จัดอาหารที่มีส่วนผสมหลายรสให้ลูกทดลองรับประทาน และชวนสนทนาถึงรสอาหารเหล่านั้น เช่น ยำผล ไม้
    • รับประทานอาหารประจำวัน เปลี่ยนเมนูอาหารให้ลูกรู้จักรสชาติอาหารต่างๆที่มีรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม
  • กิจกรรมการดู
    • ดูรูปร่างของตัวเราเอง สีผิว สีผม สีตา สีฟัน สีเล็บ เปรียบเทียบกับของพ่อแม่ หรือส่องกระจกดูตัวเอง
    • เมื่อชวนลุกปรุงอาการ (นอกจากรู้จะได้กลิ่นแล้ว การดูจะเห็นรูปร่าง ลักษณะก่อนการปรุงและหลังปรุง เปลี่ยน แปลงอย่างไร) ดูเนื้อสัตว์ พืช ที่จะนำมาปรุงเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการปรุง (หรือได้รับความร้อน ) เช่น ข้าว สารกับข้าวสุก ข้าวสุกกับข้าวผัด (ปรุงสี และรสแล้ว) น้ำหวานก่อนและหลังจากที่แช่แข็งในตู้เย็นมีลักษณะอย่าง ไร
    • ชวนลูกสังเกตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น รูปร่างของดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่ รูปร่างดวงจันทร์ข้างขึ้นกับข้าง แรม ก้อนเมฆ ท้องฟ้าก่อนฝนตก ดินหลังฝนตกแตกต่างจากดินก่อนฝนตกอย่างไร ดอกไม้ ใบไม้ที่บ้านของเราหรือที่ต่างๆมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สัตว์เลี้ยงของเรามีรูปร่าง อย่างไร(ขา ขน หน้าตา ฟัน เสียง)
    • ชวนลูกเก็บดอกไม้ ใบไม้ ดอกหญ้า กิ่งไม้ มาอัดแห้ง สังเกตลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป
    • ปลูกต้นไม้ล้มลุกร่วมกับลูก เช่น ต้นคุณนายตื่นสาย ต้นผกากรองฯ ให้ลูกสังเกตการเปลี่ยนแปลง

เกร็ดความรู้เพื่อครู

การจัดการเรียนรู้โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำนั้น สิ่งที่เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่บังเกิดผลได้ตามความคาดหวังของหลัก สูตรการศึกษาปฐมวัยคือ เด็กเป็นผู้มีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญานั้น ครูจะต้องสนใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก และลักษณะของกิจกรรมซึ่งควรสอดคล้องกัน และพร้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือกระทำ เช่น การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ดังนั้น ครูควรจัดกิจกรรมที่มีสื่อวัตถุให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายๆส่วน ได้เล่น ทดลอง บทบาทสมมติ เพลง เกม งานศิลปะ เป็นต้น