ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

1.วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสังคมที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ลักษณะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จึงมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือใช้วัสดุที่เป็นไม้สร้างบ้านยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นบ้านปูด้วยไม้กระดาน ฝาบ้านใช้ไม้กระดานตีสูงขึ้น และมีช่องลมเพื่อระบายอากาศในบ้าน ส่วนหลังคามีความลาดชัน และมีชายคายาวยื่นออกมาเพื่อป้องกันแดดและฝนได้ดี มีการกั้นเป็นห้องๆโดยการต่อเรือนออกไป บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงมีลักษณะสูงโปร่ง มีหน้าต่างหลายบาน ส่วนใต้ถุนบ้านก็จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ หรือเลี้ยงสัตว์

2.วัฒนธรรมด้านการนับถือศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแพร่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือจากชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไ ด้แก่ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชานับถือ ดังนั้น ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา ลัทธิความเชื่อต่างๆ ของเมียนมา ลาว กัมพูชา ก็จะคล้ายคลึงกับไทย เช่น ทำบุญตักบาตร เป็นต้น
สำหรับประเทศมาเลซีย บรูไน อินโดนีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ ประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม นับถือหลายศาสนาแต่นับถือลัทธิธรรมเนียมตามแบบจีนเป็นหลัก

3.วัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธีกรรม หากชาติใดมีการนับถือศาสนาเป็นพระพุทธศาสนา ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ก็จะคล้ายคลึงกับไทย เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นต้น สำหรับประเพณีอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาพบว่าหากเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย เช่น เมียนมา ลาว กัมพูชา ก็จะมีประเพณีหลายอย่างคล้ายคลึงกับไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เพียงแต่รายละเอีดของการจัดพิธีอาจจะแตกต่างกันออกไป ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ของคนไทย ชาติเหล่านี้ก็จะมีธรรมเนียมการไหว้เช่นเดียวกัน
สำหรับชาติอื่นๆ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบอิสลาม เวียดนามกับสิงคโปร์จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบจีนและมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน ส่วนชาติที่มีแบบแผนประเพณี พิธีกรรมเหมือนอย่างตะวันตก คือ ฟิลิปปินส์

4.วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย การแต่งกายของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติก็จะแต่งกายไม่แตกต่างกัน คือ ในสังคมเมืองผู้ชายนิยมสวมเสื้อกับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อกับกางเกงหรือกระโปรง แต่ในชนบทผู้หญิงจำนวนมากก้ยังสวมเสื้อกับผ้าซิ่นกันอยู่
ทั้งนี้ชุดประจำชาติของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เมื่อดูแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าชุดแต่งกายนั้นๆเป็นของชนชาติใด

5.วัฒนธรรมด้านภาษา ประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาพูดและเขียนคล้ายคลึงกับไทยก็คือลาวเพียงชาติเดียว ส่วนชาติอื่นใช้ภาษาของตน ไม่ว่าจะเป็นเมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีนจะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภูมิภาค

6.วัฒนธรรมด้านอาหาร อาหารของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว พืชผัก และเนื้อสัตว์ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การปรุงอาหาร โดยมากใช้กะทิและเครื่องเทศเป็นเครื่องปรุงรส รสชาติของอาหารจะจัดจ้าน โดยอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอยู่หลากหลาย สีสันดูน่ารับประทาน มีรสชาติเผ็ดร้อน ประเทศที่รับประทานอาหารไม่แตกต่างจากคนไทยก็ยังคงเป็นเมียนมา ลาว กัมพูชา ขณะเดียวกันก็มีอาหารจากชาติอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี ที่ได้เข้ามาเผยแพร่ด้วย
ผู้เขียน : ด.ญ.ขัญชนก  พันธู์สบาย ม.1/2  เลขที่ 18

ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย
วัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีความน่าสนใจหลายอย่าง
ซึ่งมีทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากวัฒนธรรมไทย ซึ่งการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
จะช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึงวันนี้พวกเราก็จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านเเละความคล้ายเเละเเตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปดูกันเลยดีกว่าครับ
ลักษณะของวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน
ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ ดังนี้
1.เป็นวัฒนธรรมสังคมเกษตรกรรม ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ถ้าไม่นับรวมสิงคโปร์ ทั้งหมดจะมีวัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะทำการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก
2.เป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้จะมีแก่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน ประเทศเพื่อนบ้านได้รับเอาวัฒนธรรมภายนอกจากแหล่งเดียวกันเข้ามาใช้ วัฒนธรรมของประเทศก็จะคล้ายคลึงกัน
3.เป็นวัฒนธรรมที่มีศาสนาและลัทธิความเชื่อเป็นรากฐาน วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านมีรากฐานสำคัญมาจากศาสนาและลัทธิความเชื่อที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเคารพนับถือติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีต โดยศาสนาที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ ได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
 4.เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านของไทยเกือบทุกประเทศมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ซึ่งการที่ไทยเป็นชาติเก่าแก่ย่อมจะส่งผลให้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาก ดังนั้น แม้จะมีพรมแดนติดต่อกันแต่หลายประเทศก็จะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตน ไม่เหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียงดังจะเห็นได้จากหลายประเทศที่มีภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย อาหารการกิน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งเมื่อพบเห็นสามารถจะบอกได้ทันทีว่าเป็นของประเทศใด
ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีลักษณะของวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ลักษณะทางวัฒนธรรมเหล่านี้แม้จะมีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ แต่ก็จะมีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีการแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างลงตัว

ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม

ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันเป็นผลมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์รากฐานทางวัฒนธรรมและการนับถือศาสนา  ซึ่งจะสรุปให้เห็นเป็นภาพรวมได้  ดังนี้
 1.ศาสนา ศาสนาสำคัญที่เผยแผ่เข้ามาและได้รับการยอมรับนับถือจากชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้แก่  พระพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย  พม่า  ลาว  กัมพูชา  ล้วนนับถือ  ดังนั้นประเพณี  พิธีกรรมทางศาสนา  ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ของพม่า  ลาว  กัมพูชา  ก็จะคล้ายคลึงกับคนไทย  เช่น  การทำบุญตักบาตร  การสวดมนตร์ไหว้พระ  การให้ความเคารพพระสงฆ์  การนิยมให้บุตรหลานเข้ารับการอุปสมบท  เป็นต้น

ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

สำหรับประเทศมาเลเซีย  บรูไน  อินโดนีเซีย  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม  จึงมีวัฒนธรรมแบบอิสลาม  ประเทศฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนา  ประเทศสิงคโปร์และเวียดนาม  นับถือหลายศาสนา  โดยนับถือลัทธิธรรมเนียมตามแบบจีนเป็นหลัก
 2.  ภาษา  ประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพูด  เขียน  คล้ายคลึงกับไทยก็คือ  ลาวเพียงชาติเดียวเท่านั้น  ส่วนชาติอื่น ๆ ก็จะใช้ภาษาของตน  ไม่ว่าจะเป็นพม่า  เวียดนาม  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  โดยที่ภาษาอังกฤษและภาษาจีนจะเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันได้ทั่วทั้งภุมิภาค
ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

3.  ประเพณี  พิธีกรรม  หากชาติใดที่มีรากฐานการนับถือศาสนาเป็นพระพุทธศาสนา  ประเพณี  พิธีกรรมต่าง ๆ ก็จะคล้ายคลึงกับของไทย  เช่น  การทำบุญเลี้ยงพระ  การเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา  ประเพณีเข้าพรรษา  เป็นต้น  ส่วนประเพณีอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา  พบว่าหากเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย  เช่น  พม่า  ลาว  กัมพูชา  ก็จะมีประเพณีหลายอย่างคล้ายคลึงกับไทย  เช่น  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีลอยกระทง  เพียงแต่รายละเอียดของการจัดพิธีจะแตกต่างกันออกไป
ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

ขณะเดียวกันวัฒนธรรมไทยในการแสดงความเคารพ  โดยการไหว้ของคนไทย  ชาติเหล่านี้ก็จะมีธรรมเนียมการไหว้เช่นเดียวกัน
สำหรับชาติอื่น ๆ ได้แก่  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  บรุไน  จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบอิสลาม  เวียดนามกับสิงคโปร์จะมีประเพณีพิธีกรรมตามแบบจีน  และมีวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน  ส่วนชาติที่มีแบบแผนประเพณี  พิธีกรรมเหมือนอย่างตะวันตก  คือ  ฟิลิปปินส์
4.  อาหาร  อาหารของประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยข้าว  พืชผัก  และเนื้อสัตว์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น  การปรุงอาหารโดยมากจะใช้เครื่องเทศประเภท  กะทิ  น้ำมันรสชาติจัดจ้าน  โดยอาหารของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอยู่อย่างหลากหลาย  สีสันดูน่ารับประทาน  รสชาติเผ็ดร้อน  ประเทศที่รับประทานอาหารไม่แตกต่างจากคนไทยก็ยังคงเป็นพม่า  ลาว  กัมพูชา  ขณะเดียวกันก็มีอาหารจากชาติอื่น ๆ เช่น  ยุโรป  ญี่ปุ่น  เกาหลี  เข้ามาเผยแพร่ด้วย
ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

 5.  การแต่งกาย  ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หากไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติแล้ว  จะแต่งกายไม่แตกต่างกัน  กล่าวคือสังคมเมืองในปัจจุบัน  ผู้ชายสวมเสื้อ  กางเกง  ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อ  กางเกง  หรือกระโปรง  แต่ในชนบทผู้หญิงจำนวนมากก็ยังคงสวมใส่ผ้าซิ่นกันอยู่  ทั้งนี้ชุดประจำชาติของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน  ทำให้เมื่อดูแล้วสามารถบอกได้ทันทีว่าชุดแต่งกายนั้น ๆ เป็นของชนชาติใด
ประเพณีของลาวและพม่าที่คล้ายคลึงกับไทย

กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมไทย  เป็นสิ่งดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมและสืบทอดต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย  อย่างไรก็ตามประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและมีดินแดนติดต่อกัน  เช่น  ลาว  พม่า  กัมพูชา  และมาเลเซีย  จะมีวัฒนธรรมบางส่วนที่คล้ายคลึงกันหรือมีมติความเชื่อและประเพณีที่เหมือนหรือคล้ายกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศาสนา  เช่น  พระพุทธศาสนา  เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดประเพณีที่คล้ายคลึงกัน  ส่วนศาสนาอิสลามในมาเลเซีย  ก็จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกับจังหวัดชายแดนทางภาคใต้แต่กลับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ห่างออกไป  เช่น  สิงคโปร์  บรูไน  ก็จะทำให้มีวัฒนธรรมบางอย่างที่แตกต่างกับของไทย  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรม  นอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ  ความเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติแล้ว  วัฒนธรรมยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  ความรู้สึกเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ผู้เขียน

ด.ช.บวร มาเผือก ม.1/1 เลขที่ 8

ด.ช.ยุทธพงศ์ สมสกุล ม.1/1 เลขที่ 12

ประเพณีสงกรานต์ของประเทศเพื่อนบ้านประเทศใดที่มีความคล้ายคลึงกับไทย

Songkran Festival in ASEAN (เทศกาลสงกรานต์ในอาเซียน) เทศกาลสงกรานต์ คือการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นประเพณีร่วมกันของชาวพุทธศาสนา และอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใช่แค่ประเพณีของประเทศไทยแห่งเดียวอย่างที่เราเข้าใจผิดกันมา โดยประเทศในเขตอาเซียนที่มีการจัดเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา

ประเทศใดในเอเชียที่มีลักษณะประเพณีคล้ายประเทศไทย

ประเทศลาว” หรือ“สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสวรรค์ของนักท่องเที่ยวอีกแห่ง เทศกาลสงกรานต์ ของที่นี่อยู่ในช่วงใกล้ๆ กันกับของประเทศไทย คือ 14-16 เมษายน ซึ่งวันที่ 16 ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีหลายกิจกรรมที่คล้ายกับ ของไทยเรา เช่น มีการทำบุญ และสรงน้ำพระพุทธรูป

ประเทศใดต่อไปนี้ที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทยมากที่สุด

ประเทศกัมพูชาเพื่อนบ้านของเรา ที่มีความคล้ายกับไทยอยู่หลายด้าน เช่น โบราณสถาน สถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นตัวปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทนครวัด ที่บ่งบอกถึงความเป็น "รากวัฒนธรรม" เดียวกันมาก่อน ที่มาของคำว่า "เขมร" หรือ "กัมพูชา" ศิลาจารึกเมืองพระนคร เมื่อราว 1,200 ปีมาแล้ว มีคำเอ่ยถึงชื่อชนชาติหนึ่งว่า "เกมร" ( ...

ผู้หญิงลาวและไทยแต่งกายคล้ายคลึงกันอย่างไร

ผู้หญิง ลาวจะนุ่งผ้าซิ่น หรือ Patoi มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย ที่ทอเป็นลวดลาย เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ห่มสไบเฉียงพาดไหล่ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้ สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้มี ...