ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

บริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม 2536 ดำเนินกิจการ ผลิตพืชผักและผลไม้ แช่เยือกแข็ง เพื่อการส่งออก บริษัทได้พัฒนาธุรกิจขยายเข้าสู่ ตลาดอุตสาหกรรมอาหารอย่างครบวงจรในฐานะเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้จัดจำหน่าย ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนของบริษัทที่มีประสบการณ์อันยาวนาน ในด้านการเกษตรแผนใหม่ งานแปรรูปอาหารและการผลิตอาหารแช่แข็ง

คณะกรรมการบริษัทฯ ทั้ง 12 ท่าน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ สามารถอุทิศเวลาและความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้ด้วยความระมัดระวังและซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายวันชัย โตสมบุญ

ประธานกรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายไกรสีห์ ศิริรังษี

รองประธานกรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายพอล ไฮนซ์ ฮูเกนโทเบลอร์

กรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายศิวะ มหาสันทนะ

กรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายมาร์ก อนาโตล ชมิดต์

กรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายอนันต์ เล้าหเรณู

กรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายวิสิฐ ตันติสุนทร

กรรมการ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายธนญ ตันติสุนทร

กรรมการอิสระ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายอดุลย์ ตัณฑรัตน์

กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นางดวงกมล สุชาโต

กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายราล์ฟโรเบิรต ไทย์

กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ

ประวัติกรรมการ

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

นายสีหศักดิ์ อารีราชการัณย์

กรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ประวัติกรรมการ

Our factory is the world leader in Edamame export. Each and every step of production is meticulously performed under the highest required standards. By applying state-of-the-art technology along with a team of experts to operate them, we are able to ensure that our customers receive only the best products, just as if we were to make them for our own family members.

เราให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นอย่างยิ่ง เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีกับผู้ใช้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว

ข้อมูลล่าสุด 17 ธ.ค. 2565 03:19:48

ลานนา เกษตรอุตสาหกรรม หุ้น

 

มีบางคนบอกว่าโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์มที่ผมเล่นอยู่กำลังกลายเป็น “บ้านพักคนชรา” หรือมีบางคนบอกว่า Facebook กำลังจะหมดยุคและคนจะเลิกเล่นกันแล้ว
.
[บทความโดย: ธนชาติ นุ่มนนท์]
.
ผมเริ่มเล่นโซเชียลมีเดียมาสิบกว่าปี โดยมีแพลตฟอร์มหลักๆ คือ Facebook ส่วนแพลตฟอร์มอื่นที่เล่นก็มีเพียง Twitter, Line และ LinkedIn บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนฝูง โพสต์ข้อมูลต่างๆ หรือบางครั้งก็ใช้ในการติดตามข่าวสาร แต่โซเชียลมีเดียตัวใหม่ๆ อย่าง TikTok หรือ Instagram ผมแทบไม่ได้เล่น ที่มีเล่นบ่อยก็คือ Discord ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกับเด็กรุ่นใหม่ในที่ทำงาน
.
ระยะหลังมานี้ผมเริ่มรู้สึกว่า เพื่อนในโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์มเดิมๆ เริ่มเข้ามาเล่นน้อยลง โดยเฉพาะ Facebook ยิ่งถ้าเป็นเด็กรุ่นใหม่แทบไม่ค่อยได้เล่น มีบางคนบอกว่าโซเชียลมีเดียบางแพลตฟอร์มที่ผมเล่นอยู่กำลังกลายเป็น “บ้านพักคนชรา” หรือมีบางคนบอกว่า Facebook กำลังจะหมดยุคและคนจะเลิกเล่นกันแล้ว
.
ผมจึงทำการศึกษาดูรายงานสถิติจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียล่าสุดของบริษัทวิจัย Kepios ที่รายงานบนเว็บไซต์ datareportal.com เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่าแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้ทั่วโลกเป็นอันดับหนึ่งก็ยังเป็น Facebook เช่นเดิม โดยมีจำนวนผู้ใช้ 2,934 ล้านราย ตามมาด้วย YouTube มีจำนวน 2,476 ล้านราย Whatsapp มีจำนวน 2,000 ล้านราย และ Instagram มีจำนวน 1,440 ล้านราย ส่วน TikTok อยู่อันดับที่ 6 ด้วยจำนวน 1,023 ล้านราย และ Twitter อยู่อันดับที่ 14 ด้วยจำนวน 486 ล้านราย
.
ถ้าเราจะแบ่งตามอายุของผู้ใช้จะเห็นได้ชัดเจนว่า คนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 16-24 ปี มักนิยมใช้ Instagram เป็นอันดับแรก คือโดยเฉลี่ย 22%-23% ในขณะที่จะนิยมใช้ Facebook เพียง 7%-10% แต่คนที่มีช่วงอายุระหว่าง 25-34 ปี ถ้าเป็นเพศชายจะนิยมใช้ Facebook มากกว่า แต่ถ้าเป็นเพศหญิงจะสนใจ Instagram มากกว่า โดยทั้งสองแพลตฟอร์มมีความนิยมเฉลี่ยใกล้กันระหว่าง 14%-17%
.
นอกจากนี้ถ้าเป็นคนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ก็พบว่าจะนิยมใช้ Facebook มากกว่าระหว่าง 15%-19% ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ในขณะที่ Instagram มีความนิยมระหว่าง 5%-12% และที่น่าสนใจคือ ผู้คนทั่วโลกที่อายุ 45 ปี ขึ้นไป จะนิยมใช้แพลตฟอร์ม Whatsapp เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนแพลตฟอร์ม TikTok กลุ่มคนอายุระหว่าง 16-24 ปี จะนิยมใช้มากเป็นอันดับสาม รองจาก Instagram และWhatsapp แพลตฟอร์ม Line เด็กวัยนี้จะนิยมใช้น้อยมากเพียง 0.9%
.
ความนิยมการใช้ Facebook ของคนรุ่นใหม่ที่ลดลง ก็สอดคล้องกับผลการสำรวจของวัยรุ่นอายุระหว่าง 13-17 ปีในสหรัฐอเมริกาที่พบว่า ในการสำรวจปีล่าสุด TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เด็กใช้เป็นส่วนใหญ่คือ 67% ตามมาด้วย Instagram 65% ส่วน Facebook มีเพียง 32% ถ้าเทียบกับการสำรวจปี 2015 ที่เคยครองอันดับหนึ่งที่ 71%
.
สำหรับประเทศไทยข้อมูลของบริษัทวิจัย Kepios เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ระบุว่า Facebook ยังเป็นแพลตฟอร์มที่มีความนิยมมากสุดคือ 40.8% ตามด้วย Line และ TikTok ที่ 15.8% และ 15.7% ตามลำดับ ส่วน Instagram อยู่อันดับที่ 4 ที่จำนวน 10.4% แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทก็ไม่ได้แสดงสถิติความนิยมแบ่งตามอายุผู้ใช้
.
ทางบริษัทวิจัย Kepios ก็ยังยืนยันว่า แม้การใช้ Facebook ของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกาและบางประเทศอาจลดลง แต่แนวโน้มการใช้ Facebook ของวัยรุ่นทั่วโลกยังมีจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น
.
แล้วทำไมคนจึงรู้สึกว่า Facebook กำลังถดถอย ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากข่าวที่แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ใช้ลดลงมาเป็นครั้งแรกจากจำนวน 2,936 ล้านรายเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ เหลือเป็น 2,934 ล้านรายในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้จำนวนผู้ใช้ที่เข้าถึงการโฆษณาก็ลดลงไปถึง 4.1% ในช่วงเวลาเดียวกัน คือจากจำนวน 2,168 ล้านราย เหลือเพียง 2,079 ล้านราย และที่สำคัญยิ่งคือ รายได้ของบริษัท Meta ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของ Facebook ในไตรมาสที่สามที่ผ่านมา ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วไป 4% คือจาก 29,010 ล้านดอลลาร์ เหลือ 27,714ล้านดอลลาร์ และกำไรสุทธิลดลงไปถึง 52% คือจาก 9,194 ล้านดอลลาร์ เหลือ 4,395 ล้านดอลลาร์
.
แต่ทั้งนี้นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งกลับมองว่า การที่จำนวนผู้ใช้ลดลงน่าจะมาจากผลกระทบที่ทางบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาออกมาตรการแซงชั่นรัสเซีย ส่วนเรื่องรายได้ก็น่าจะมาจากปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจที่บริษัทด้านเทคโนโลยีต่างๆ กำลังประสบอยู่ ประกอบกับการลงทุนทำโครงการทางด้าน Metaverse ของบริษัท Meta ก็ยังไม่เห็นผลเท่าที่ควร
.
จากข้อมูลตัวเลขที่แสดงมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า Facebook ยังครองความเป็นผู้นำแพลตฟอร์มทางด้านโซเชียลมีเดียอยู่ และคงไม่มีทางที่จะหมดความนิยมในเวลาอันใกล้นี้ แม้ในปัจจุบันลูกเล่นบางอย่างอาจดูไม่น่าดึงดูดเท่ากับบางแพลตฟอร์ม และคนรุ่นใหม่บางกลุ่มอาจไม่อยากเข้ามาเล่นมากเหมือนเดิม แต่เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้าจะทำการตลาดโฆษณาในโซเชียลมีเดีย เราคงยังต้องให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์ม Facebook เหมือนเช่นเดิม เพราะอย่างไรเสียคนกลุ่มใหญ่ก็ยังใช้แพลตฟอร์มนี้อยู่
.
.
#กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ #กรุงเทพธุรกิจTech
-------------------------------
ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Line: https://line.me/R/ti/p/@rvb8351i
Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
Website: http://www.bangkokbiznews.com
Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
Blockdit: https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews
Tiktok: https://www.tiktok.com/@bangkokbiznews
Soundcloud: https://soundcloud.com/bangkokbiznews
Spotify: https://qrgo.page.link/CHpWR

 

แฟนเพลงทั่วโลกช็อก! “เซลีน ดิออน” เจ้าของเพลงฮิต “My Heart Will Go On” ประกาศยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ต และเลื่อนบางส่วนเป็นปี 2567 หลังป่วยเป็น “โรคคนแข็ง” หรือ “SPS” (Stiff Person Syndrome) ที่มีโอกาสพบเพียง 1 ในล้าน
.
เมื่อค่ำคืนวันที่ 8 ธ.ค. ตามเวลาประเทศไทย “เซลีน ดิออน” นักร้องดีว่าตัวแม่ของโลก ได้ประกาศผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเธอว่า จำเป็นต้องยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ตช่วงซัมเมอร์ในปีหน้าทั้งหมด และเลื่อนคอนเสิร์ตช่วงสปริง 2566 ไปเป็นปี 2567 แทน เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพที่เธอพบเจอมาอย่างยาวนานกับโรค “โรคคนแข็ง” หรือ “SPS” (Stiff Person Syndrome) โรคหายากที่มีโอกาสพบเพียง 1 ในล้าน
.
ด้วยอาการกล้ามเนื้อกระตุกของดิออนส่งผลให้เธอใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก และจำเป็นต้องยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ตในสหราชอาณาจักรและยุโรปในปีหน้าทั้งหมดเพื่อเข้ารับการรักษา โดยบางช่วงของวิดีโอ นักร้องชื่อดังกล่าวว่า
.
“ฉันมีปัญหาสุขภาพมานานแล้ว แต่มันไม่ง่ายเลยที่จะบอกทุกคนว่าฉันกำลังเผชิญอะไรอยู่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ฉันพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางระบบประสาทที่เรียกว่า โรคคนแข็ง เรายังคงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ต่อไป แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายของฉันเกิดอาการกระตุก มันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของฉันอย่างมาก บางครั้งทำให้ฉันเดินลำบาก และไม่สามารถร้องเพลงได้ในแบบที่ฉันคุ้นเคย”
.
ดิออนระบุว่า เธออยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ชั้นนำ แต่เธอยังคงคิดถึงการร้องเพลง
.
“สิ่งเดียวที่ฉันรู้คือฉันรักการร้องเพลง มันเป็นสิ่งที่ฉันทำมาตลอดชีวิต และเป็นสิ่งที่ฉันชอบทำมากที่สุด ฉันคิดถึงคุณ (ผู้ชม) มาก ฉันอยากไปแสดงคอนเสิร์ตให้ทุกคนได้ชมมาก แต่ตอนนี้ฉันไม่สามารถทำได้จริง ๆ” ดิออนกล่าวผ่านคลิปวิดีโอทั้งน้ำตา
.
โอกาสพบ 1 ในล้านคน
.
ข้อมูลของมูลนิธิวิจัยโรคคนแข็ง (Stiff Person Syndrome Research Foundation) ระบุว่า โรคคนแข็งเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบไม่บ่อย โดยอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดเรื้อรัง และส่งผลให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากขึ้น โดยอาการกล้ามเนื้อกระตุก อาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ “ข้อต่อหลุด” และ “กระดูกหัก” ได้
.
เนื่องด้วยโรคคนแข็งนั้นสามารถเกิดได้แบบตลอดเวลา โดยไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า หากอาการเกิดในช่วงที่ทำกิจการต่าง ๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็นตอนเดินหรือทำงาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยมักเกิดบริเวณกล้ามเนื้อลำคอ และแขน ขา
.
ผู้ป่วยอาการนี้จะไวต่อการรับรู้สิ่งเร้า เช่น เสียงรบกวน การสัมผัส และความทุกข์ที่มีอารมณ์ ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการทำให้ผู้ป่วยไม่อยากจะออกไปทำกิจกรรมอะไร เพราะกลัวเสียงรบกวนและอาการกำเริบขณะทำกิจกรรม โดยสถาบันโรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติสหรัฐ หรือ NINDS ระบุว่า ผู้ป่วยอาจสูญเสียปฏิกิริยาตอบสนองตามปกติในป้องกันตัวเองจากการล้ม ซึ่งอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสได้ และอาจจะรุนแรงถึงขั้นพิการ
.
ไม่ทราบสาเหตุ-ไม่มีวิธีรักษาหายขาด
.
อย่างไรก็ตาม NINDS ยอมรับว่า นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเกิดโรคคนแข็งที่แน่ชัด แต่การวิจัยระบุว่าเป็นผลมาจากการตอบสนองของภูมิต้านทานผิดปกติในสมองและไขสันหลัง ซึ่งสามารถพบได้ 1 ในล้านคน และพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
.
มูลนิธิวิจัยโรคคนแข็งเปิดเผยว่า ต้องใช้เวลาในการวินิจฉัยโรคนี้โดยเฉลี่ย 5-7 ปี เนื่องจากในช่วงแรกโรคนี้มักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคไฟโบรไมอัลเจีย โรคทางจิต หรือโรควิตกกังวลและความหวาดกลัว โดยการวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคนี้ได้คือ การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับแอนติบอดีของกรดกลูตามิกดีคาร์บอกซิเลส
.
สอดคล้องกับอาการของดิออนที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว เธอจำเป็นต้องประกาศเลื่อนการแสดงในลาสเวกัสของสหรัฐ และเมื่อ ม.ค. ที่ผ่านต้องยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ต
.
โรคคนแข็งนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่มีวิธีบรรเทาอาการให้ทุเลาและใช้ชีวิตได้ปรกติ ข้อมูลของ มูลนิธิวิจัยโรคคนแข็ง และ NINDS ระบุว่า ในตอนนี้สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านอาการชัก รวมถึงรักษาด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด ตลอดจนโยคะ การนวดบำบัด การฝังเข็ม และการบำบัดด้วยความร้อน อาจช่วยจัดการกับอาการกระตุกของกล้ามเนื้อและความเจ็บปวดได้เช่นกัน
.
ดิออนกล่าวในช่วงท้ายของวิดีโอว่า “ในทุกวัน ฉันให้ความร่วมมือกับนักกายภาพบำบัด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแสดงอีกครั้ง” ก่อนจะทิ้งท้ายด้วยการขอบคุณแฟน ๆ สำหรับการสนับสนุน และย้ำว่าเธอไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากให้ความสำคัญกับสุขภาพของเธอในตอนนี้ และหวังที่จะรักษาให้หายดีได้ในเร็ววัน
.
.
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/entertainment/1042163?anm=
.
.
#กรุงเทพธุรกิจHealth #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
-------------------------------
ติดตาม "กรุงเทพธุรกิจ" ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Line: https://line.me/R/ti/p/@rvb8351i
Twitter: https://twitter.com/ktnewsonline
Website : http://www.bangkokbiznews.com
Youtube: https://www.youtube.com/user/KrungthepTurakij
Blockdit : https://www.blockdit.com/bangkokbiznews
Instagram: https://www.instagram.com/bangkokbiznews
Tiktok : https://www.tiktok.com/@bangkokbiznews
Soundcloud: https://soundcloud.com/bangkokbiznews
Spotify: https://qrgo.page.link/CHpWR

 

ประวัติเพลง "เทียนมี้มี"

คิดว่าหลายท่านคงเคยฟังเพลงนี้มาก่อน

甜蜜蜜เทียนมี้มี ชื่อนี้อาจแปลว่า “หวานปานน้ำผึ้ง”

ฟังเพลง



คนที่พึ่งเรียนภาษาจีนหลายคนถ้าจะต้องฟังเพลงจีนเพื่อลองฝึกหรือลองร้อง หลายต่อหลายคนคงได้ฟังเพลง “เทียนมี้มี” (甜蜜蜜:tian mi mi):ซึ่งเป็นนักร้องนามอุโฆษชาวจีน (ไม่รู้จะบอกว่าแผ่นดินใหญ่ หรือไต้หวั่นดี) คือคุณ เติ้งลี้จุน (邓丽君:deng li jun) เพลงนี้เคยถูกนำมาสร้างเป็นหนังเรื่องหนึ่ง โดยใช้ชื่อเดียวกันในปี ๑๙๙๖ ภาพยนตร์เรื่องนี้ชื่อภาษาอังกฤษนามว่า Almost a Love Story และกลายเป็นภาพยนตร์ระดับตำนานของจีนอีกเรื่องหนึ่ง


เพลงดังกล่าวได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี ๑๙๗๙ เดือน ๑๑ ขับร้องโดยเติ้งลี่จูน ซึ่งในอัลบบั้มนี้ ค่ายเพลงเป่าลี้จิน (宝丽金公司:bao li jin gong si) ได้จัดให้เป็นเพลงแรกในอัลบั้ม ไม่คิดไม่ฝันว่าเพลงนี้จะติดหูประชาชนภายในปีเดียวสามารถขายเทปได้ถึง ๑ ล้านแผ่น และนี้คงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปีนั้นเองคุณเติ้งลี่จุนผู้ขับร้องได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว


นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนบัดนี้ผ่านไปกี่ปีแล้วความดังและอมตะของเพลงดังกล่าวก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง มีนักร้องมากมายนิยมนำมาร้องใหม่ หรือนำมาดัดแปลง

แล้วใครคือคนแต่งเพลงนี้

ผู้แต่งคำร้องเพลงนี้คือท่าน จ่วงนู่ (庄奴:zhuang nu) ปรมาจารย์นั่งแต่งเพลงชาวจีนซึ่งลี้ภัยไต้หวั่นตั้งแต่ปี ๑๙๖๙ ท่านผู้นี้นามจริงคือ หวางจิ่งซี(王景羲:wang jing xi) เกิดเมื่อปี ๑๙๒๒ ในเมืองปักกิ่ง
ท่านผู้นี้เป็นนักประพันธ์มีงานเขียนทั้งหนังสือ บทกวี บทละครโทรทัศน์และเนื้อเพลง แต่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากการเขียนเพลงมากกว่าสิ่งอื่น โดยเฉพาะแนวเพลงฟังสบายๆ ฟังแล้วชื่นใจ งานประพันธ์ของท่านมีมากกว่า ๓๐๐๐ ชิ้น และงานทุกชิ้นโดยเฉพาะบทเพลง ตราบจนทุกวันนี้ก็มิได้ล้าสมัยเลยแม้แต่น้อยได้รับสมญานามว่า “ท่านผู้เฒ่าผู้ไม่เคยตกยุค” (与时间赛跑的老人) เพลงดังของท่านเติ้งลี่จุนหลายเพลงมีท่านจ่วงนู่ประพันธ์คำร้องให้

ส่วนทำนองเชื่อหรือไม่ นำมาจากเพลงพื้นบ้านของอินโดนีเซีย ไม่แน่ใจว่าผู้ใดประพันธ์ แต่ที่แน่ๆเติ้งลี้จูนเคยขับร้องเป็นภาษาอินโดนิเซียมาก่อนแล้ว โดยใช้ชื่อว่าเพลง Dayung Sampan



เนื้อเพลงมีความดังนี้

甜蜜蜜你笑得甜蜜蜜

หวานเหลือแสนยิ้มของเธอช่างหวานแสน

好象花儿开在春风里

หวานประหนึ่งดอกไม้ที่ผลิบานในฤดูใบไม้ผลิ

开在春风里

ผลิบานในฤดูใบไม้ผลิ

在哪里在哪里见过你

ที่ใดหนาที่ฉันเคยพบพานเจอเธอมาก่อน

你的笑容这样熟悉

ยิ้มของเธอช่างคุ้นเคยยิ่งนัก

我一时想不起

ทำไมฉันนึกไม่ออกไปชั่วอึดใจ

啊~~在梦里

อ้า...ใช่แล้วในฝันนั้นเอง

梦里梦里见过你

ในฝันนั้นเองที่ฉันได้พบเจอเธอ

甜蜜笑得多甜蜜

ยิ้มอันแสนหวานนี้

是你~是你~梦见的就是你

คือเธอนั้นเอง คือเธอ ที่ฉันได้พบเจอในฝัน

在哪里在哪里见过你

ที่ใดหนาที่ฉันเคยพบพานเจอเธอมาก่อน

你的笑容这样熟悉

ยิ้มของเธอช่างคุ้นเคยยิ่งนัก

我一时想不起

ทำไมฉันนึกไม่ออกไปชั่วอึดใจ

啊~~在梦里

อ้า...ใช่แล้วในฝันนั้นเอง

(音乐演奏)
在哪里在哪里见过你
你的笑容这样熟悉
我一时想不起
啊~~在梦里
梦里梦里见过你
甜蜜笑得多甜蜜
是你~是你~梦见的就是你
在哪里在哪里见过你
你的笑容这样熟悉
我一时想不起
啊~~在梦里

หากจะแปลแบบไทยๆคงได้เป็นกลอนดังนี้

หวานเหลือแสนยิ้มเธอช่างหวานแสน

หวานยิ่งแม้นบุปผาที่หวานหอม

ยามฤดูใบไม้ผลิพวงพะยอม

ชวนให้น้อมฤทัยชื่นใจครัน

ฉันให้นึกสงสัยนี้ใครหนอ

เพียงได้พอพบพักตร์ก็ชื่นสันต์

ยิ้มนี้คุ้นประหนึ่งเคยพบกัน

ที่ใดนั้นที่ฉันพานพบนา

โอ้ใช้แล้วใช่แน่ที่ในฝัน

เราพบกันในฝันนั้นแหละหนา

ฉันยังจำได้อยู่ในอุรา

คือพักตราเธอในฝันฉันพบเอย

 

‘ฝรั่งเศส’ ใช้ ‘สิงคโปร์’ เป็นฐานขยายการลงทุนสู่ ‘อาเซียน’

***************************

ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนยิ่งผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกมองว่าเป็นภูมิภาคที่เติบโตได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ของโลก และคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนอนาคตของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากที่ธนาคารพัฒนาเอเชียได้ปรับการเติบโตของ GDP ของภูมิภาคนี้สูงขึ้นจาก 4.9% สู่ 5.1% ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ และการปรับลดความเติบโตของ GDP ในภูมิภาคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, เยอรมนี และอังกฤษ ให้ความสนใจและขยายธุรกิจสู่ประเทศสมาชิก ‘อาเซียน’ เพิ่มมากขึ้น
.

‘สิงคโปร์’ เป็นประเทศอันดับต้นๆ ที่อยู่ในใจของนักลงทุนต่างชาติซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส โดยปัจจุบันสิงคโปร์กลายเป็นฐานที่สำคัญ ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ก่อตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคของบริษัทสัญชาติฝรั่งเศส แต่ยังถูกมองว่าเป็นฐานเพื่อขยายการลงทุนไปสู่ตลาดอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มีบริษัทสัญชาติฝรั่งเศสจำนวนกว่า 1,900 บริษัทตั้งอยู่ในสิงคโปร์ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรม นับตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์จนไปถึงการเงินและด้านอวกาศ
.

ในปี 2564 สิงคโปร์เป็นพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของฝรั่งเศส โดยมูลค่าการส่งออกของฝรั่งเศสไปยังสิงคโปร์อยู่ที่ราว 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย น้ำหอมและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (1,510 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เครื่องนุ่งห่ม (1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มสายชู (1,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (1,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เครื่องบินและยานอวกาศ (841 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
.

ขณะที่ สิงคโปร์ส่งออกสินค้ามูลค่ากว่า 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไปยังฝรั่งเศส ในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (1,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยา (473 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เครื่องจักร เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และหม้อน้ำ (390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
.

สำหรับโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฝรั่งเศสในสิงคโปร์มีหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัลและสีเขียว, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร
.

สิงคโปร์ต้องการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และเพิ่งออกแผน ‘Green Plan 2030’ เพื่อสร้างความก้าวหน้าของวาระแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและเสริมสร้างพันธสัญญาของประเทศให้แข็งแกร่งภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2030 และความตกลงปารีส
.

โดยในช่วงวันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา ฝรั่งเศสและสิงคโปร์ได้ลงนามความเป็นหุ้นส่วนทางดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม หรือ “DGP” พร้อมมุ่งเป้าที่จะพัฒนาแผนดำเนินงานที่ประกอบด้วยโครงการความร่วมมือต่างๆ ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ระบบขนส่งอัจฉริยะ, เมืองอัจฉริยะ, นวัตกรรมทางการเงิน, เทคโนโลยีด้านเกษตร-อาหาร, ไซเบอร์, เทคโนโลยีทางการแพทย์ และเทคโนโลยีด้านการศึกษา ซึ่ง “DGP” ช่วยสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และวิธีการต่างๆ ที่นำโดยภาคเอกชนในกิจกรรมด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของทั้งสิงคโปร์และฝรั่งเศส
.

ภาคโลจิสติกส์นับเป็น 1 ในเสาหลักของเศรษฐกิจสิงคโปร์และแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญอย่างมากสำหรับบริษัทของฝรั่งเศส ยิ่งกว่านั้น การนำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP มาใช้จะทำให้ความร่วมมือด้านการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการผลักดันอุปสงค์ด้านพื้นที่และระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
.

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร ยังเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่เป็นความหวังของนักลงทุนชาวฝรั่งเศสในสิงคโปร์ โดยในปี 2562 สิงคโปร์ได้เปิดเผยเป้าหมาย ’30 by 30’ ซึ่งเป็นเป้าหมายด้านความมั่นคงทางอาหารเพื่อลดการพึ่งพาโลกเกี่ยวกับความต้องการทางอาหาร ซึ่งปัจจุบันอาหารของสิงคโปร์กว่า 90% มาจากการนำเข้า และด้วยเป้าหมายดังกล่าว สิงคโปร์มุ่งจะผลิตอาหารที่จำเป็นราว 30% ภายในประเทศอย่างยั่งยืนภายในปี 2030
.

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางบริษัทด้านนวัตกรรมที่เข้ามาตั้งบริษัทในสิงคโปร์มากขึ้นและสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้ผลผลิตดีขึ้นและมีโซลูชันด้านอาหารที่ยั่งยืน
.

อย่างไรก็ดี ด้วยปัจจัยหลักอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำธุรกิจ, สัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน, ข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุม, กระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ยืดหยุ่น รวมถึงมีแรงงานที่มีทักษะสูง ล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติที่ไม่ใช่เพียงแค่ ‘ฝรั่งเศส’ ให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ด้วย

ผู้เรียบเรียง: ศิริอาภา คำจันทร์