พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สรุป

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง  พ.ศ.2562

องค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก  อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี

     พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย 13 มีนาคม 2562 วันเริ่มการจัดเก็บภาษี 1 มกราคม 2563

     ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษี ประเภทใหม่ ที่จะนำมาใช้จัดเก็บภาษีแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาลส่วนกลาง 

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สรุป

หลักการจัดเก็บภาษี

  1. บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมีหน้าที่เสียภาษี
  2. ผู้จัดเก็บภาษีนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น
  3. ฐานภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มตามฐานภาษี
  4. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ผู้ครองครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
  5. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
  6. ฐานภาษี คิดจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ตามประมวลกฎหมายที่ดินกรมธนารักษ์ โดยสิ่งปลูกสร้างในแต่ละประเภทจะมีราคาประเมินกลางที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ราคาประเมินกลางของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการปรับตามรอบบัญชีการประเมินราคาทุก ๔ ปี
  7. อัตราภาษี ได้มีการแบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็น ๔ กลุ่ม ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ได้แก่ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจะเป็นรูปแบบขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี
  8. ถ้าที่ดินเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ไม่ว่าภาระภาษีจะสูงขึ้นหรือลดลง ผู้เสียภาษีต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใน ๖๐ วัน นับตั้งแต่รู้เหตุว่ามีการเปลี่ยนแปลง
  9. มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้คิดเป็นฐานภาษี (มาตรา ๓๕)
  10. ที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
  11. สิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
  12. สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
  13. กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ การคำนวณมูลค่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ประเภทและมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับยกเว้นภาษี

ประเภท

เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา

เจ้าของเป็นนิติบุคคล

1)  การประกอบเกษตรกรรม (ม.40)

เกษตรกรรม (ม.40) 

-  ยกเว้น  50  ล้านบาทแรก  ต่อเขต อปท.

ไม่ยกเว้น

2)  เป็นที่อยู่อาศัย

 (ม.41)

- เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีชื่อในทะเบียนบ้าน  ยกเว้น  50  ล้านบาทแรก

-  เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง  ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน  มีชื่อในทะเบียนบ้าน  ยกเว้น  10  ล้านบาทแรก

(1  คน  มีชื่ออยู่ได้แค่  1  บ้าน  จึงได้ยกเว้นแค่แห่งเดียวที่มีชื่ออยู่)

ไม่ยกเว้น

3)  ใช้ประโยชน์อื่น ๆ

ไม่ยกเว้น

ไม่ยกเว้น

4)  ทิ้งไว้ว่างเปล่า

ไม่ยกเว้น

ไม่ยกเว้น

อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษี อัตราภาษีใน 2 ปีแรก

(เริ่ม 1 มกราคม 2563)

1. กรณี ประกอบเกษตรกรรม ของบุคคลธรรมดา 

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป(ม.94(1))

50  ล้านบาทแรก  ยกเว้น

-

ส่วนที่ไม่เกิน  75  ล้าน

0.01 % (ล้านละ  100)

ส่วนที่เกิน  75  ล้าน  แต่ไม่เกิน  100  ล้าน

0.03 % (ล้านละ  300)

ส่วนที่เกิน  100  ล้าน  แต่ไม่เกิน  500  ล้าน

0.05 % (ล้านละ  500)

ส่วนที่เกิน 500  ล้าน  แต่ไม่เกิน  1,000  ล้าน

0.07 % (ล้านละ  700)

ส่วนที่เกิน  1,000  ล้าน

0.1 %(ล้านละ  1,000)

๒.  กรณี  ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของบุคคลธรรมดา  เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป  (ม.๙๔(๒))

50  ล้านบาทแรก  ยกเว้น (ม.41)

-

ส่วนที่ไม่เกิน  25  ล้าน

0.03 % (ล้านละ 300)

ส่วนที่เกิน 25  ล้าน แต่ไม่เกิน  50  ล้าน

0.05 % (ล้านละ 500)

ส่วนที่เกิน  50  ล้าน

0.10 % (ล้านละ 1,000)

การคำนวณ  เอามูลค่าทรัพย์สิน  50  ล้านบาทแรก  มาหักก่อน  แล้วจึงนำส่วนที่เกินมาคำนวณ  ตามมาตรา  (ม.41  และ มาตรา  95)

3. กรณี สิ่งปลูกสร้าง (ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)  ของบุคคลธรรมดา  เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่อในทะเบียนบ้าน

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป  (ม.94(3))

10  ล้านบาทแรก  ยกเว้น  (ม.41)

-

ส่วนที่ไม่เกิน  40  ล้าน

0.02 %  (ล้านละ  200)

ส่วนที่เกิน 40 ล้าน  แต่ไม่เกิน  65  ล้าน

0.03 %  (ล้านละ  300)

ส่วนที่เกิน 65  ล้าน แต่ไม่เกิน  90  ล้าน

0.05 %  (ล้านละ  500)

ส่วนที่เกิน  90  ล้าน

0.10 %  (ล้านละ  1,000)

การคำนวณ  เอามูลค่าทรัพย์สิน  10  ล้านบาทแรก  มาหักก่อน  แล้วจึงนำส่วนที่เกินมาคำนวณ  ตามมาตรา  (ม.41 และ มาตรา  95)          

4. กรณี  ใช้ประโยชน์อื่น ๆ  ใช้อยู่อาศัยแบบอื่น ๆ

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป  (ม.94(4))

0  ถึง  50  ล้าน

0.02 %  (ล้านละ  200)

ส่วนที่เกิน  50  ล้า แต่ไม่เกิน  75  ล้าน

0.03 %  (ล้านละ  300)

ส่วนที่เกิน 75 ล้าน แต่ไม่เกิน 100  ล้าน

0.05 %  (ล้านละ  500)

ส่วนที่เกิน  100  ล้าน

0.10 %  (ล้านละ  1,000)

5.  กรณี  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น  นอกจากประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป  (ม.94(5))

0  ถึง  50  ล้าน

0.30 %  (ล้านละ  3,000)

ส่วนที่เกิน  50 ล้าน แต่ไม่เกิน  200  ล้าน

0.40 %  (ล้านละ  4,000)

ส่วนที่เกิน 200 ล้าน แต่ไม่เกิน 1,000  ล้าน

0.50 %  (ล้านละ  5,000)

ส่วนที่เกิน 1,000 ล้าน แต่ไม่เกิน 5,000  ล้าน

0.60 %  (ล้านละ  6,000)

ส่วนที่เกิน  5,000  ล้าน

0.70 %  (ล้านละ  7,000)

 

6.  กรณี  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

มูลค่าทรัพย์สิน (ล้านบาท)

อัตราภาษีต่อไป  (ม.94(6))

0  ถึง  50  ล้าน

0.30 %  (ล้านละ  3,000)

ส่วนที่เกิน  50  ล้าน  แต่ไม่เกิน  200  ล้าน

0.40 %  (ล้านละ  4,000)

ส่วนที่เกิน 200  ล้าน  แต่ไม่เกิน  1,000  ล้าน

0.50 %  (ล้านละ  5,000)

ส่วนที่เกิน 1,000 ล้าน แต่ไม่เกิน 5,000  ล้าน

0.60 %  (ล้านละ  6,000)

ส่วนที่เกิน  5,000  ล้าน

0.70 %  (ล้านละ  7,000)

อัตราภาษีในเวลาปกติ  (หลัง 2 ปีแรก)

ประเภทที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

อัตราสูงสุดที่กำหนด

ข้อยกเว้นกรณีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา

1)  ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้แก่  ทำนา  ทำไร่  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  เลี้ยงสัตว์น้ำ (ม.37)

0.15 % ( 2 ปีแรก  อัตราสูงสุด  คือ  0.10 %)

ยกเว้นมูลค่า  50 ล้านบาทแรก  ต่อ  เขต อปท.

2)  เป็นที่อยู่อาศัย

0.30 %  ( 2 ปีแรก  อัตราสูงสุด  คือ  0.10 %

- เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  มีชื่อในทะเบียนบ้าน  ยกเว้น  50  ล้านบาทแรก

- เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน  มีชื่อในทะเบียนบ้าน  ยกเว้น  10  ล้านบาทแรก

3)  ใช้ประโยชน์อื่น ๆ  นอกจากเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย

1.20 %

ไม่ยกเว้น

4)  ทิ้งไว้ว่างเปล่า

1.20 %

ไม่ยกเว้น

มาตรา  96  เพื่อเป็นการบรรเทาการชำระภาษีใน  3  ปีแรกของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ. นี้  ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับเจ้าของ  ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบ เกษตรกรรม

มาตรา  97  ผู้ที่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่และต้องเสียเพิ่มขึ้นจากเดิม  เนื่องจากกฎหมายนี้  ส่วนต่างเมื่อเทียบกับแบบเดิมจะได้บรรเทาภาระ  ดังนี้

1)  ปีที่  1  จ่ายแบบเดิม  + 25 %  ของส่วนต่าง

2)  ปีที่  2  จ่ายแบบเดิม  + 50 % ของส่วนต่าง

3)  ปีที่  3  จ่ายแบบเดิม  + 75 % ของส่วนต่าง

ผู้จ่ายภาษี

-  ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง  ณ  วันที่  1  มกราคม  ของปีนั้น

-  ผู้จ่ายภาษี  ต้องจ่ายทุกปี  (มาตรา 9)

-  ชำระภาษี  ภายในเดือน  เมษายน  ของปีนั้น  (มาตรา  46)

เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

-  ในกรณีผู้เสียภาษีมิได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 40 ของภาษีที่ค้างชำระ   (มาตรา 68)  เว้นแต่ผู้เสียภาษีได้ชำระก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน  ให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ  10

-  มิได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด  ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของ  ภาษีที่ค้างชำระ  นอกเหนือจากเบี้ยปรับ  40% (มาตรา  70)

สรุปเกณฑ์สำหรับคนมีบ้าน

1.  ที่อยู่หลัก  ของบุคคลธรรมดา  คือเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน  หรือคอนโด  พร้อมมีชื่อในทะเบียนบ้านนั้นด้วย  ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่า  50 ล้านบาทแรก  ส่วนเกินคิดตามอัตราภาษี

2.  ที่อยู่รอง  ของบุคคลธรรมดา  คือ  เป็นเจ้าของแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก

3.  ที่อยู่หลัก ของบุคคลธรรมดา  คือ  เป็นเจ้าของบ้าน  มีชื่อในทะเบียนบ้านแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน  ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่า 10 ล้านบาทแรก

**********************************************************************

โบรชัวร์ (ไฟล์ jpg)

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สรุป

พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สรุป

ดาวน์โหลดโบรชัวร์ (pdf) 

land_building_tax_brochure.pdf

กองคลัง  งานเจ็ดเก็บและพัฒนารายได้

239  หมู่ที่  11  ตำบลวังลึก  อำเภอสามชุก 

จังหวัดสุพรรณบุรี  72130

โทรศัพท์  0-3568-1278  ต่อ  104

โทรสาร  0-3568-1309