ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 40 กี่เดือนถึงหมดสิทธิ์

สำนักงานประกันสังคม เตือน ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

ถ้าไม่อยากเสียสิทธิ์ สามารถลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ประกันตนทาง Line สำนักงานประกันสังคม เพื่อรับการแจ้งเตือนกรณีค้างชำระการนำส่งเงินสมทบมาตรา 39 หรือ สะดวกกว่านั้น เพียงแค่สมัครนำส่งเงินสมทบโดยหักผ่านบัญชีธนาคาร แค่นี้ก็เซฟสิทธิ์ได้แล้ว

โดยธนาคารที่เข้าร่วมการหักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารทหารไทยธนชาต , ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกรุงเทพ เพียงเตรียมสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และหนังสือยินยอมให้หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร (ถ้ามี) ติดต่อ สปส. ใกล้บ้านได้

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 432 บาท/เดือน คุ้มครอง 6 กรณี แต่เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติ ลดอัตราเงินสมทบ ติดต่อกันถึง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. - ก.ค. 65 โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 1.9 จากปกติจ่าย 432 บาท ลดเหลือเพียง 91 บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- เคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน

- ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน มาตรา 39

จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

2. กรณีคลอดบุตร

3. กรณีทุพพลภาพ

4. กรณีเสียชีวิต

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

6. กรณีชราภาพ

วิธีการสมัครผู้ประกันตน มาตรา 39 สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

20 เม.ย. 2565 เวลา 4:55 น. 21.4k

ประกันสังคม "มาตรา 40" ที่จ่ายเงินสมทบเกิน ๆม่ต้องกังวล ขอเงินคืนได้แล้ว เช็คขั้นตอนขอรับเงินคืนต้องทำอย่างไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวนในอัตราเดิม งวดกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2565 ที่มีความกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืน หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบไปแล้วนั้น

ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลหากจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิม คือทางเลือกที่ 1 จำนวน 70 บาท ทางเลือกที่ 2 จำนวน 100 บาท และทางเลือกที่ 3 จำนวน 300 บาท

  • หากจ่ายในอัตราเดิมเช่นนี้ในงวดเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2565 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้ โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7)  ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เเล้วกรอกแบบฟอร์ม
  • พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ยื่นเอกสารไปยังสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาได้ทุกแห่ง เพื่อความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยื่นที่ประกันสังคม
  • นำส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงสำนักงานประกันสังคมได้เช่นกัน หลังจากนั้นเมื่อตรวจอนุมัติแล้วสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามที่แจ้งไว้
  • กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบจะกี่เดือนก็ตาม ยังคงสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 อยู่
  • หากขาดส่งเงินสมทบยังคงสามารถกลับมานำส่งสมทบต่อได้ โดยจ่ายล่วงหน้าได้ 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายย้อนหลัง
  • การขาดส่งเงินสมทบอาจกระทบการเกิดสิทธิ์ความคุ้มครอง เช่น หากเจ็บป่วยต้องหยุดพักรักษาตัว ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ แต่ต้องดูว่าส่งเงินสมทบ 3 เดือน ใน 4 เดือนก่อนเจ็บป่วยหรือไม่
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการ ตลอด 24 ชั่วโมง

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ

สำนักงานประกันสังคมถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของสมาชิกที่เข้าเป็นผู้ประกันตน เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกันตนควรรู้ เพราะหากต้องเข้าโรงพยาบาลหรือเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ประกันสังคมสามารถช่วยเหลือได้ในหลาย ๆ เรื่อง แต่หากขาดส่งประกันสังคมขึ้นมาจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง และขาดส่งกี่เดือนถึงจะโดนตัดสิทธิ จะทำอย่างไรหากขาดส่งประกันสังคม วันนี้ TNN มีคำตอบมาให้คุณค่ะ

ใครที่อาจขาดสิทธิประกันสังคม

- ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่เป็นสมาชิกของสำนักงานประกันสังคม

เมื่อไหร่ถึงขาดสิทธิประกันสังคม

- ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน

- เสียชีวิต

- กลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

- ลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนจากการแสดงความจำนงที่สำนักงาน

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยไม่สามารถส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 ต่อได้อีก

ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างใหม่จึงจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจะมีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องจากของเดิม และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน โดยติดต่อ สปส.กทม.พื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้ที่พักอาศัย

ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม

ที่มาภาพ : TNN

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

ประกันสังคมมาตรา 40 สามารถขาดส่งได้กี่เดือน

โฆษกสำนักงานประกันสังคม เน้นย้ำว่า กรณีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ไว้ และไม่ได้จ่ายเงินสมทบอีกเลย สถานะยังคงเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อยู่ แต่ขาดสิทธิรับเงินกรณีต่างๆ กรณีเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องส่งย้อนหลัง แต่สามารถส่งเงินสมทบล่วงหน้าได้ 12 เดือน ส่วนวิธีป้องกันการลืมจ่ายเงินสมทบสามารถดำเนินการขอหักบัญชีธนาคารที่เข้าร่วม ...

ประกันสังคมกี่เดือนถึงจะขาด

สำนักงานประกันสังคม ระบุ ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์ เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1 ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ทันที

ม.40 ต้องส่งกี่ปี

เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)

เช็คสิทธิประกันสังคมว่าขึ้นที่ไหน

เช็กสิทธิประกันสังคม ขั้นตอนแรกคือ เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือคลิกที่นี่ www.sso.go.th. ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ กรณีที่ผู้ใช้งานเป็นสมาชิกอยู่แล้ว กรอกรหัสผู้ใช้งาน รหัสผู้ใช้งานเป็นหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสผ่าน และสามารถใช้งานได้ทันที กรณีที่ผู้ใช้งานยังไม่เคยสมัคร ให้คลิก "สมัครสมาชิก"