ข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับผลประโยชน์

    

ข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับผลประโยชน์

        เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทแรงงานจะดําเนินการไปหาขั้นตอน เพื่อยุติข้อพิพาทแรงงาน เป็น 3 ขั้นตอน คือ

        1. การเจรจา 

        2. การไกล่เกลี่ย 

        3. การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน

        การเจรจา

        การเจรจาจะเริ่มต้นด้วยการเสนอข้อเรียกร้องก่อน จะเริ่มจากฝ่ายใดก็ได้ ด้วยการทําเป็นหนังสือ แจ้งชื่อตนเองหรือผู้แทนให้อีกฝ่ายรับทราบ แล้วทําการเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่อีกฝ่ายได้รับข้อเรียกร้อง โดยมีตัวแทนเข้าร่วมเจรจาไม่เกินฝ่ายละ 7 คน ในการเจรจาอาจตั้งที่ปรึกษาฝ่ายละไม่เกิน 2 คน เข้าร่วมเจรจาด้วยก็ได้

        กรณีไม่มีการเจรจากัน ภายในกําหนด 3 วัน นับตั้งแต่วันที่อีกฝ่ายได้รับข้อเรียกร้องแล้ว หรือได้มีการเจรจากันแล้ว ภายในเวลาที่กําหนด แต่การเจรจานั้นตกลงกันไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด กฎหมายให้ถือว่า มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นแล้ว คือ มีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนี้แล้ว กฎหมายกําหนดให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องทําหนังสือแจ้งเบา พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน รับทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่มีการเจรจา แล้วตกลงกันไม่ได้

        การไกล่เกลี่ย

        การไกล่เกลี่ย เป็นวิธีการเรียกให้นายจ้างและลูกจ้างมาประชุมร่วมกัน แล้วพูดคุยไกลเกลอ โดยเจ้าพนักงานของรัฐ คือ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรี เพื่อให้ทั้งสอง ว่ายเข้าใจ และตกลงกันได้วิธีปฏิบัติ คือ เมื่อมีการเสนอข้อเรียกร้องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วให้มีการเจรจา กันเองระหว่างคู่กรณีภายใน 3 วัน แต่ตกลงกันไม่ได้ตามข้อเรียกร้องนั้น เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาท แรงงาน ได้รับแจ้งว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น จะเข้ามาไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างมาประชุมรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกันพร้อมไกล่เกลี่ย หาข้อยุติให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับข้อเสนอ ซึ่งกันและกัน ภายในกําหนด 5 วัน นับตั้งแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง ข้อพิพาทนั้น

ข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับผลประโยชน์


เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น ผู้ทําหน้าที่เข้ามาไกล่เกลี่ยคือ พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน

        ถ้าการไกล่เกลี่ยเป็นผลให้ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างยอมรับตกลงกันได้ ปัญหาข้อพิพาทก็หมา พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจะให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันทําบันทึกข้อตกลงสภาพการจ้าง เป็นหนัง ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย แล้วให้ฝ่ายนายจ้างนําข้อตกลงนั้นทําเป็นหนังสือประกาศเกี่ยวกับสภาพการ ไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทํางานของลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องทํางานอยู่อย่างน้อย 30 โดยให้เริ่มประกาศภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ตกลงกัน และให้นายจ้างนําข้อตกลงนี้ไปจดทะเบียน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการตกลงกัน

        การขี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน

        เมื่อมีการเจรจา และได้มีการไกล่เกลี่ยโดยพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว ผลคือ ไม่ย ในข้อเรียกร้องต่อกัน หมายความว่าไม่อาจตกลงกันได้ เมื่อพ้นกําหนด 5 วัน นับตั้งแต่วันที่มีก ไกล่เกลี่ยแล้ว กฎหมายให้ถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ กรณีเช่นนี้ นายจ้างและลูกจ้ ยังมีทางออกโดยตกลงกัน ตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานขึ้นมาคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อชี้ขาดข้อพิพา แรงงานก็ได้ หรือนายจ้างจะปิดงาน คือการที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทํางาน เนื่องจากข้อพิพา แรงงาน หรือฝ่ายลูกจ้าง นัดหยุดงาน คือลูกจ้างร่วมกันไม่ทํางานให้นายจ้าง โดยที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญ แรงงานนี้ก็ได้ 

        ข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ หากเป็นกิจการธรรมดา คือไม่ใช่กิจการเกี่ยวกับความเป็นอ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีคือทั้งฝ่ายนายจ้ และฝ่ายลูกจ้างอาจตัดสินใจร่วมกัน ตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานขึ้น โดยจัดตั้งบุคคลภายนอกคนหนี หรือหลายคนก็ได้ เพื่อให้ชี้ขาดว่าฝ่ายใดควรปฏิบัติอย่างไรในข้อเรียกร้องนั้น ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะ วิธีหนึ่ง อันจะทําให้ข้อพิพาทแรงงานยุติได้ทันที ตามความประสงค์ของทั้งสองฝ่าย 

        ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน จะแจ้งให้ทั้งสองฝ่ายส่งคําชี้แจงเกี่ยวกับข้อพิพาท และให้ทั้งสองฝ่า แถลงเหตุผล แล้วนําพยานเข้าสืบ หลังพิจารณาแล้วจะออกคําสั่งให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามคําชี้ขาดข้อพิพา แรงงานนั้น การที่ฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามคําชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ย่อมเป็นความผิดและมีโทษทั้งจําศ และปรับ หรือทั้งจําและปรับตามกฎหมาย 

        อนึ่งการตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน จะนํามาใช้กับข้อพิพาทแรงงานอันเป็นกิจการสําคัญในทา เศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศมิได้ จะต้องให้คณะกรรมการแรงงานสัมพัน วินิจฉัยชี้ขาดเท่านั้น

     การใช้มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์

        การใช้มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์ เป็นมาตรการหนึ่ง ที่ลูกจ้างนายจ้างอาจนํามาใช้ หลังจาก ผ่านขั้นตอนการพิจารณาระงับข้อพิพาทแรงงานคือการเจรจา การไกล่เกลี่ย จากพนักงานประนอมข้อพิพาท แรงงานมาแล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างและลูกจ้างไม่มีความประสงค์จะตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงาน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะใช้มาตรการทางแรงงานสัมพันธ์ อันได้แก่ ฝ่ายลูกจ้างจะนัดหยุดงาน ประท้วงนายจ้าง ฝ่ายนายจ้างก็จะปิดงาน คือ หยุดการจ้างลูกจ้าง อันเป็นวิธีการบังคับในทางเศรษฐกิจ การกระทําเช่นนี้เป็นการปฏิบัติที่รุนแรงต่อกันมีผลกระทบและเสียหายทั้งในทางการทํามาหากินของบุคคล เศรษฐกิจของชาติ และความมั่นคงของชาติ กฎหมายจึงกําหนดให้ทําได้เฉพาะกิจการที่นายจ้างประกอบ กิจการทั่วๆ ไป เมื่อฝ่ายใดประสงค์จะปิด หรือหยุดงานต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและ อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเป็นกิจการประเภท มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นกิจการเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชน แล้วจะทํามิได้ กิจการสําคัญทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ได้แก่

        • การรถไฟ 

        • การท่าเรือ

        • การโทรศัพท์หรือการโทรคมนาคม 

        • การผลิตหรือการจําหน่ายพลังงาน หรือกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชน

        • การประปา 

        • การผลิตหรือการกลั่นน้ํามันเชื้อเพลิง 

        • กิจการโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล 

        • กิจการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

        เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันมิได้เป็นกิจการสําคัญทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ส่งข้อพิพาทแรงงานดังกล่าวให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ สํานักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย แล้วแจ้งให้ทั้งสองฝ่าย คือ นายจ้างและ ลูกจ้างทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับข้อพิพาทแรงงานมาวินิจฉัย หากทั้งสองฝ่ายไม่พอใจอีก ก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําวินิจฉัย ให้รัฐมนตรีมีคําวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว แล้วแจ้งผลให้ทั้งสองฝ่ายทราบภายใน 10 วัน นับแต่รับคําอุทธรณ์ คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็น ที่สุด 

        อย่างไรก็ตาม คําวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุดนั้น ไม่ตัดสิทธิคู่กรณีที่จะนําคดีนี้ไปฟ้องร้องต่อ 1 ศาลแรงงานได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 (4)

สรุปขั้นตอนเรียกร้องและระงับข้อพิพาท ขั้นตอนที่ 1 : การเจรจา

         แจ้งข้อเรียกร้อง 

        • รับข้อเรียกร้อง แจ้งชื่อผู้แทนในการเจรจา 

        • เจรจาภายใน 3 วัน นับแต่วันรับข้อเรียกร้อง 

        • ตกลงกันได้และทําข้อตกลง 

        • ตกลงกันไม่ได้ให้แจ้งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่มีข้อพิพาท

เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 2 : การไกล่เกลี่ย

        • พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้ามาไกล่เกลี่ยให้เสร็จภายใน 5 วัน 

        • ตกลงกันได้ให้ฝ่ายนายจ้างนําข้อตกลงไปประกาศให้ลูกจ้างทราบ แล้วนําไปจดทะเบียน 

        • ถ้าตกลงกันไม่ได้ ข้อพิพาทนั้นกลายเป็น “ข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้” พิจารณาดําเนินการ

ในขั้นตอนที่ 3 ดังนี้ ขั้นตอนที่ 3 : พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน พิจารณาข้อพิพาทที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งฝ่ายลูกจ้าง อาจนัดหยุดงาน และฝ่ายนายจ้างอาจปิดงาน โดยพิจารณาว่า

        1. เป็นข้อพิพาทในกิจการธรรมดา อาจดําเนินการให้นายจ้าง และลูกจ้างจัดตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาท แรงงานขึ้นมา เพื่อชี้ขาดข้อพิพาทนั้น

        2. เป็นข้อพิพาทในกิจการสําคัญทางเศรษฐกิจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ให้พนักงาน ประนอมข้อพิพาทแรงงานส่งข้อพิพาทให้กับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ฝ่ายใดไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับคําวินิจฉัย คําวินิจฉัยอุทธรณ์ของ รัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ข้อพิพาทแรงงานเกี่ยวกับผลประโยชน์