บทบาทและหน้าที่ของกษัตริย์ สรุป

“สถาบันพระมหากษัตริย์” หนึ่งในสามเสาหลักสำคัญของประเทศไทยที่ยืนหยัดมานับพันปีจนถึงปัจจุบัน โดยมีบทบาทมีคุณูปการนำพาคนไทยสร้างชาติ  รักษาเอกราช วัฒนธรรม ความเป็นไทยให้คงอยู่รอด ท่ามกลางการรุกคืบขยายอิทธิพลทางความคิดของชาติตะวันตก ทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ  ขณะเดียวกัน ได้นำพาประเทศให้พัฒนาเติบโตก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกแทรกซึมไปทั่วซึ่งไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรักษาเอกลักษณ์ความเป็นชาติไว้ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

บทบาทและหน้าที่ของกษัตริย์ สรุป

“พระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย” ผลงานเขียนที่ออกมาไม่นานมานี้ของ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของโลกและของไทยจนตกผลึกทางความคิดในเรื่องพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย จึงต้องการถ่ายทอดให้คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันนี้ แม้บริบทโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป แต่สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นจิตวิญญาณนำพาคนไทย ประเทศชาติก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพ เช่นที่เป็นมาในอดีต

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก ตั้งใจชี้ให้เห็นด้วยว่า สถาบันกษัตริย์ไม่ใช่คู่ขัดแย้งของความเปลี่ยนแปลง แต่เป็นหัวขบวนที่นำพาการเปลี่ยนแปลงประเทศ  และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะพัฒนาได้ดี ต้องนำพลังของสถาบันที่เรามีมาดั้งเดิมใช้เป็นแรงหนุนในการพัฒนาประเทศต่อไป  อีกทั้งต้องการย้ำเตือนคนยุคใหม่อย่าดูแคลนสิ่งที่มีมาแต่อดีต ของเก่าหรือสถาบันดั้งเดิมไม่ใช่ของล้าสมัย และของใหม่หรือสถาบันใหม่ ไม่ใช่เป็นสิ่งนำสมัยและใช้ได้ดีเสมอไป

สำหรับเนื้อหาในหนังสือเล่มดังกล่าว นำเสนอเป็นสองส่วน เริ่มจากการอธิบายความชอบธรรมของพระมหากษัตริย์ไทย พระมหากษัตริย์ไทยกับความเป็นไทย 7 ประการ  ส่วนที่ 2 จะพูดถึงความพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยยุคราชวงศ์จักรี ที่ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยมาตลอด  พาให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้า รับสิ่งใหม่ โดยที่ยังรักษาของดีของเดิมไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พิเศษที่ถึงแม้จะพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องแต่ก็ยังสามารถรักษาจิตวิญญาณแห่งอดีตไว้ได้อย่างสมดุล ดังจะเห็นได้ในตลอดระยะเวลา 70 ปีแห่งครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” ที่ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก

“พระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ หนังสือดีมีคุณค่าอีกเล่มที่คนไทยควรได้อ่าน

บทบาทและหน้าที่ของกษัตริย์ สรุป

1. บทบาทและหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ด้านการเมือง

 [บทบาท]

1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน  พระ
มหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
แม้ว่าสถาบันการเมืองการปกครองจะแยกสถาบันนิติบัญญัติ  บริหาร  ตุลาการ
แต่ต้องให้อำนาจของตนภายใต้พระปรมาภิไธย ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมกัน 
อำนาจที่ได้มาจากแหล่งเดียวกัน คือ พระมหากษัตริย์
นอกจากนี้พระมหากษัตริย์ยังทำให้เกิดความสำนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ระหว่างหมู่ชนภายในชาติ
โดยที่ต่างเคารพสักการะและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ร่วมกัน
แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  ศาสนา 
ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในปวงชนทั้งหลาย 
ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและเป็นพลังที่สำคัญยิ่งของชาติ   กล่าวได้ว่า
พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ก่อให้เกิดความสมานสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ 
เกิดเอกภาพทั้งในทางการเมืองการปกครองในหมู่ประชาชนอย่างดียิ่ง 
พระมหากษัตริย์ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชนอย่างยิ่ง
ทรงโปรดประชาชนและทรงให้เข้าเฝ้าฯอย่างใกล้ชิด 
ทำให้เกิดความจงรักภักดีแน่นแฟ้นมากขึ้นไม่เสื่อมคลายพระองค์เสด้จพระราช
ดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงไร 
เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน 
และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์อย่างกว้างขวางโดยไม่จำกัด ฐานะ เพศ วัย
ประชาชนก็มีความผูกพันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้งกว้างขวางแน่นแฟ้นมั่น
คง  จนยากที่จะมีอำนาจใดมาทำให้สั่นคลอนได้

                        2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ  สถาบัน
พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันประมุขของชาติสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายขาดตอนตลอด
เวลา  ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงไปกี่ชุดกี่สมัยก็ตาม 
แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงอยู่เป็นความต่อเนื่องของประเทศชาติ
ช่วยให้การปกครองไม่มีช่องว่างแต่มีความต่อเนื่องตลอดเวลา 
เพราะสาเหตุที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาล
ด้วย

                        3. พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ทำ
ให้เกิดความสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างคนในชาติแม้จะมีศาสนาต่างกัน
เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นพุทธมามกะ 
จึงก่อให้เกิดพลังความสามัคคีในชาติ ไม่บาดหมางกันด้วยการมีศาสนาต่างกัน

                        4. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติยศทั้งปวง  ก่อให้เกิดความภาคภูมิ 
ปีติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดี 
มานะพยายามกระทำความดี 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระองค์ทรงไว้ซึ่งความดีงานตลอดเวลา 
ทำให้ประชาชนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีกำลังใจที่จะทำงานเสียสละต่อไป 
จึงเสมือนแรงดลใจผลักดันให้ผู้มีเจตนาดี 
ประกอบคุณงามความดีมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ทั้งในส่วนประชาชน
ส่วนราชการหรือรัฐบาล

                        5. พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและทำให้การบริหารงานประเทศเป็นไปด้วยดี พระ
มหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน 
โดยมีรัฐสภาทำหน้าที่แทนพระองค์จึงได้รับการเทิดทูนยกย่องเสมือนผู้แทน 
อันอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนด้วย
การที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะยับยั้งพระราชบัญญัติ 
หรือพระราชทานคำแนะนำตักเตือน  คำปรึกษา และการสนับสนุนในกิจการต่างๆ
ทั้งของรัฐบาล  รัฐสภา และศาล 
ตามรัฐธรรมนูญจัดได้ว่าพระองค์ทรงมีส่วนร่วมอันสำคัญในการรักษาผลประโยชน์
ของประชาชนและก่อให้เกิดผลดีในการบริหารการปกครองประเทศ 
อย่างน้อยก็ช่วยให้ฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ทั้งหลายเกิดความสำนึก 
เกิดความระมัดระวัง รอบคอบมิให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมมากพอสมควร 
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงเป็นกลางทางการเมืองการกำหนดหลักการสืบ
สันตติวงศ์ไว้อย่างชัดเจนโดยกฎมรเทียรบาลและรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องประกันว่า
จะทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง  และทำให้สามารถยับยั้ง  ท้วงติง
ให้การปกครองประเทศเป็นไปโดยสุจริตยุติธรรมเพื่อประชาชนโดยส่วนรวม
ซึ่งต่างจากประมุขของประเทศที่มาจากการเลือกตั้งที่จะต้องยึดนโยบายของกลุ่ม
หรือพรรคการเมืองเป็นหลัก

                        6. พระมหากษัตริย์ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบัน
พระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงในประเทศ
ได้ 
ไม่ทำให้เกิดความแตกแยกภายในชาติอย่างรุนแรงจนถึงต้องต่อสู้กันเป็นสงคราม
กลางเมือง  หรือแบ่งแยกกันเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย 
ขจัดปัดเป่ามิให้เหตุการณ์ลุกลามและทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะปกติได้ 
เพราะพระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นด้านประชาชน 
รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต-นักศึกษา  ปัญญาชนทั้งหลาย 
หรือกลุ่มต่างๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ อันได้แก่ ชาวไทยภูเขา
ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น

                        7. พระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ โดย
การยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนและกองทัพ 
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยจึงทรงใส่พระทัยในการพัฒนากองทัพทั้ง
ทางวัตถุและจิตใจ  ทรงเยี่ยมเยียนปลอบขวัญทหาร  พระราชทายของใช้ที่จำเป็น
ทรงช่วยเหลืออนุเคราะห์  ผู้เสียสละเพื่อชาติ
ทำให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่ทหาร
ข้าราชการอย่างดียิ่งพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติอย่างแน่น
แฟ้น

                        8. พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ  พระ
มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้
ได้  โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ
เข้าใจอันดี  ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย 
โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31
ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น
นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ  ผู้นำประเทศ
เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย

                        9. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ   การ
พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย
โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส
ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ
ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม
ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม
เพื่อชาวนา  ชาวไร่
และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ  เช่น 
โครงการฝนหลวง  ชลประทาน พัฒนาที่ดิน  พัฒนาชาวเขา  เป็นต้น

                        10. พระมหากษัตริย์ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย บทบาท
ของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากที่ทำให้ประชาชนบังเกิดความเชื่อ
มั่นในระบอบประชาธิปไตย
เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์
จึงมีผลส่งให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขด้วย
เนื่องจาเห็นว่าเป็นระบอบที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพ
สักการะของประชาชนนั่นเอง

 [หน้าที่ด้านการเมือง]

สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ  การสร้างเอกราช  การวางรากฐานการเมืองการปกครอง
การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง 
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา
กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก 
คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก
ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน 
การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร
หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี 
มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง 
พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก

 2. บทบาทและหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ ด้านการปกครอง

สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ  การสร้างเอกราช  การวางรากฐานการเมืองการปกครอง
การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง 
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา
กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก 
คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก
ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน 
การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร
หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี 
มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง 
พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก 

พระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก
และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น
แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก
แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ
จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี
เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า
ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง
ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม

 3. บทบาทและหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ ด้านการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ

[ ด้านเศรษฐกิจ]

การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ
ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย
โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส
ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ
ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม
ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม
เพื่อชาวนา ชาวไร่
และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น
โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น
 

 4. บทบาทและหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ ด้านการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

พระ
มหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ
เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ
ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนาชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่
โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ
โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์
ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก
นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ
การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ส่งใหม่ค่ะ