บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด

สินเชื่อ
บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด
 สินเชื่อส่วนบุคคล เจมันนี่

ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของบริษัทฯ เป็นการให้กู้ยืมเงินโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่ลูกค้าที่ต้องการเงินสดไปใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ลูกค้าสามารถเบิกถอนเงินสดไปใช้ตามจำนวนสินเชื่อที่ได้รับ โดยลูกค้าสามารถเลือกผ่อนชำระเป็นรายงวดๆ ละเท่าๆ กัน ได้สูงสุดถึง 60 เดือน

  • วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ หรือ 500,000 บาท
  •  อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) เริ่มต้น 18% ต่อปี
  • โอนเงินสดเข้าบัญชีที่ระบุไว้ในเอกสารการสมัคร
  • ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันหรือหลักประกัน

สำหรับพนักงานประจำ

  • บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
  • เอกสารแสดงรายได้
    • สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือน (ตัวจริงหรือสำเนา) พร้อม สำเนาบัญชีเงินฝาก/รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3 เดือน หรือ สำเนาบัญชีเงินฝาก/รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด
 สินเชื่อเจมันนี่ มีรถ มีเงิน

เจมันนี่ มีรถ มีเงิน สินเชื่อสำหรับคนมีรถยนต์ รถกระบะ รถตู้ หรือรถบรรทุก ที่ต้องการใช้เงินยามฉุกเฉิน หรือเพื่อเสริมสภาพคล่องต่างๆ เพียงคุณมีเล่มทะเบียนรถที่ปลอดภาระหนี้ หรือแม้แต่รถที่ยังผ่อนชำระอยู่ ก็สามารถมีเงินใช้ รถก็ยังมีขับ อนุมัติง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องโอนเล่ม

ข้อเสนอดี ๆ จากทางเจ มันนี่ รถแลกเงิน

  • ไม่โอนเล่ม
  • ไม่ต้องมีบุคคลค้ำประกัน
  • อนุมัติเร็ว ได้รับเงินไว
    รถยังมีใช้ ไม่ต้องจอด เป็นหลักประกัน

สมัครสินเชื่อ และเอกสารครบภายในงาน รับของสมนาคุณ ฟรี!!

หมายเหตุเพิ่มเติม

  • เงื่อนไขขึ้นอยู่กับบริษัทกำหนด

JK กับคำถามทำไม KBank จึงอยากลงเล่นธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

เคแบงก์ หรือธนาคารกสิกรไทย จับมือกับ JMT หรือ บมจ. เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) เพื่อดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ซื้อหนี้เสียทั้งที่มีหลักประกัน (Secure) และไม่มีหลักประกัน (Unsecure) จากธนาคารกสิกรไทย สถาบันการเงิน หรือบริษัทอื่น ๆ มาบริหารจัดการ 

การร่วมทุนจัดตั้งสินทรัพย์ เจเค จำกัด

ในส่วนของเคแบงก์ลงทุนผ่านบริษัทย่อยที่ชื่อว่า บริษัทกสิกร วิชั่น จำกัด (KVISION) ในสัดส่วน 50%

และ JMT ลงทุนในสัดส่วน 50% เป็นการลงทุนผ่านบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด (JAM) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ JMT เช่นกัน

และบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค ใช้เงินทุนเริ่มต้นจัดตั้งบริษัท 10,000 ล้านบาท เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเมื่อเคแบงก์มีหน่วยธุรกิจปล่อยกู้และติดตามหนี้สินอยู่แล้ว และทำไมถึงต้องร่วมมือกับ JMT จัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอีก

เหตุผลที่เคแบงก์จับมือกับ JMT เข้าลงเล่นในธุรกิจบริหารสินทรัพย์มาจาก

1. เคแบงก์ต้องการนำเงินที่จมอยู่กับหนี้เสียมาใช้เสริมสภาพคล่องในการปล่อยกู้

ในปีนี้เคแบงก์วางเป้าหมายเติบโตด้านสินเชื่อพอร์ตโฟลิโอ 6-8% การเติบโตนี้อ้างอิงจากข้อมูลนำเสนอไตรมาส 1/2565 ของธนาคารกสิกรไทย

การเติบโตด้านพอร์ตโฟลิโอ จึงจำเป็นต้องบริหารสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อ นำเงินจากลูกค้าที่ขอสินเชื่อไปก่อนหน้านั้น มาปล่อยให้กับลูกค้าใหม่

เราขอเล่าสักนิดว่าตาม Stage ของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน จะมีอยู่ 4 Stage หลัก ประกอบด้วย

Stage 1 ลูกค้าชั้นดี คือ Good Loan รับสินเชื่อไปพร้อมนำดอกเบี้ยและเงินต้นมาคืนตามกำหนด

Stage 2 ลูกค้าที่เริ่มมีปัญหาในการจ่ายต้นและดอก

ส่วนStage 3 ลูกค้า NPL หรือ Non-Performing Loan ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ค้างชำระเงินต้นเกิน 90 วัน

และStage 4 NPA หรือ Non-Performing Asset นำสินทรัพย์ที่ลูกค้านำมาค้ำประกันและไม่สามารถนำเงินมาไถ่ถอนได้ตามกำหนด ปล่อยขายทอดตลาด เพื่อนำเงินกลับมาในธุรกิจเพื่อปล่อยกู้ให้กับลูกค้าคนอื่น ๆ ต่อไป

ซึ่งลูกค้าในกลุ่ม Stage 3 และ 4 เป็นกลุ่มที่ทำให้ธุรกิจสินเชื่อขาดสภาพคล่องด้านเงินปล่อยกู้ได้ ถ้ามีลูกค้ากลุ่มนี้จำนวนมาก ๆ

และการที่สถาบันการเงินต้องการนำเงินที่ปล่อยให้ลูกค้ากลุ่ม NPL และ NPA กลับมาจะสามารถทำได้ 3 รูปแบบได้แก่

-ติดตามหนี้ หรือนำสินทรัพย์ขายทอดตลาดเอง

-ขายหนี้ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

-เปิดประมูลขายหนี้ในรูปแบบต่าง ๆ

ซึ่งการขายหนี้และเปิดประมูล แม้จะได้เงินก้อนมาในทันที แต่ส่วนใหญ่จะแลกด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าจำนวนเงินที่เสียไปให้กับลูกหนี้

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด

2. เมื่อเสียรายได้จากการขายหนี้ แต่ก็ได้รับรายได้กลับมา

การขายหนี้ NPL ให้กับบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ถ้าขายให้กับบริษัทอื่น ๆ เคแบงก์ก็จะได้รับเพียงเงินจากหนี้ที่ขายได้ เนื่องจากเป็นบริษัทที่เคแบงก์ไม่ได้ลงทุนอยู่ในนั้น

และเคแบงก์ไม่สามารถเปิดบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้วยตัวเองได้ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการจากธนาคารแห่งประเทศไทย

การจับมือกับ JMT ซึ่งมีใบอนุญาตประกอบกิจการ เปิดบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค ทำให้เคแบงก์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ทันที

ซึ่งบริษัทบริหารสินทรัพย์ เจเค จะทำธุรกิจด้วยการรับซื้อหนี้เสียจากเคแบงก์และสถาบันการเงินอื่น ๆ มาบริหารและติดตามหนี้สินต่อ

โดยเริ่มต้นเดือนมิถุนายนนี้ เคแบงก์จะนำหนี้เสียหรือหนี้ NPL ของลูกค้าบุคคลในกลุ่มหนี้บ้านและหนี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันมาขายให้กับบริหารสินทรัพย์ เจเค จำนวน 30,000 ล้านบาท และเพิ่มอีก 20,000 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้

เรามองว่าการจับมือกับ JMT ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เคแบงก์สร้างรายได้เพิ่มเติมจากหนี้เสียที่ขายออกไป และยังได้รายได้จากหนี้เสียของสถาบันการเงินอื่น ๆ อีกด้วย

เพราะการจับมือเปิดบริษัทเป็นการลงทุนระหว่างเคแบงก์และ JMT ฝั่งละ 50% เมื่อเกิดผลกำไรจากธุรกิจ เคแบงก์จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากผลกำไรด้วยเช่นกัน

แต่ถ้าบริหารสินทรัพย์ เจเค บริหารขาดทุน เคแบงก์จะต้องรับในผลขาดทุนด้วยเช่นกัน

3. NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจถดถอย

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าในไตรมาส 1/2565 ธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อรวม 18,207,457 ล้านบาท และเกิดหนี้ NPL 531,894 ล้านบาท คิดเป็น 2.92% ของสินเชื่อทั้งหมดที่ปล่อยไป

ส่วนไตรมาส 4/2564 หนี้ NPL 530,736 ล้านบาท คิดเป็น 2.97% ของสินเชื่อทั้งหมดที่ปล่อยไป

ไตรมาส 3/2564 หนี้ NPL 546,299 ล้านบาท คิดเป็น 3.14% ของสินเชื่อทั้งหมดที่ปล่อยไป

ไตรมาส 2/2564 หนี้ NPL 544,460 ล้านบาท คิดเป็น 3.09%ของสินเชื่อทั้งหมดที่ปล่อยไป

และไตรมาส 1/2564 หนี้ NPL 537,138 ล้านบาท คิดเป็น 3.09% ของสินเชื่อทั้งหมดที่ปล่อยไป

แม้สัดส่วน NPL จะลดลงเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมาแต่ผู้บริหารบริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค บอกกับเราว่า NPL มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2565 จากเศรษฐกิจที่ถดถอย

ซึ่งเรามองว่าการเพิ่มขึ้นของ NPL เป็นโอกาสที่ทำให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีผลงานจากการติดตามหนี้เพิ่มขึ้น

เพราะอย่างน้อยเมื่อหนี้ NPL เพิ่มสูง โอกาสที่สถาบันการเงินจะปล่อยหนี้ออกมาขายก็มีมากขึ้นตามมา และเมื่อ เจเค สามารถติดตามสินทรัพย์ที่ซื้อมาได้ เท่ากับว่าสามารถทำผลกำไรในธุรกิจก็มากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดี การที่เคแบงก์จับมือกับ JMT เปิดบริษัทบริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด นอกเหนือจากมุมของเคแบงก์แล้ว ในมุมของ JMT ก็ได้รับผลประโยชน์ที่สามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในองค์รวมด้วยเช่นกัน

เพราะเมื่อเคแบงก์มาหุ้นกับ JMT ในธุรกิจนี้ หนี้เสียที่เคแบงก์ปล่อยออกขายจึงเป็นหนี้เสียที่มีคุณภาพที่อาจจะเกิดปัญหาในการติดตามหนี้ไม่มากนัก

ซึ่งทำให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค ได้ประโยชน์จากการติดตามหนี้ที่มากกว่าบริษัท บริหารสินทรัพย์อื่นๆ

เพราะในบางครั้งเมื่อสถาบันการเงินนำหนี้เสียออกมาขายให้กับบริษัท บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ จะสอดไส้หนี้เสียที่มีปัญหามาก ๆ เข้ามาด้วย และทำให้บริษัทบริหารหนี้เสียดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้นจากการติดตามหนี้กลุ่มนี้

และบริหารสินทรัพย์ JK ยังสามารถใช้ช่องทางของเคแบงก์ในการประชาสัมพันธ์ทรัพย์ NPA ไปสู่ลูกค้าที่สนใจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้ซื้อทรัพย์ NPA ทั่วประเทศได้อีกทางหนึ่ง

เพราะเป้าหมายของการก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพภายใน 3 ปีนี้

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด
บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด


บริษัท บริหาร สินทรัพย์ เจ จํากัด คืออะไร

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จํากัด เป็นบริษัทที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทั้งในส่วนของงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ งานบริหารจัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย เรามุ่งเน้นให้มีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เป็นอันดับแรก คำนึงถึงความสามารถ ในการชำระหนี้ของลูกหนี้ รวมถึงร่วม ...

บริษัทบริหารสินทรัพย์ทำเกี่ยวกับอะไร

บริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นกลไกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน ทำหน้าที่รับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาบริหารจัดการและจำหน่ายต่อไป เพื่อให้สถาบันการเงินทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

บริษัทJamคืออะไร

บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด

กสิกรขายหนี้ให้บริษัทอะไร

เริ่มต้น ก่อนหน้า