อัตราการเต้นของหัวใจ 69 ปกติไหม

อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ในคนปกติ ก็จะมีอัตราที่แปรเปลี่ยนไปตามการกระตุ้นของระบบ ประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)อยู่แล้ว เช่น เต้นเร็วขึ้นเวลา ตกใจ, ดีใจ, อดนอน หรือ มีไข้ , เต้นช้าลงเวลานอนหลับ หรือในบางครั้ง ผู้ป่วย ที่ได้รับ ยาลดความดันโลหิต ยาเหล่านี้บางตัวก็ทำให้หัวใจเต้นช้าได้ แล้วหัวใจเต้นช้าแค่ไหน จะอันตราย และควรได้รับการรักษา?

อัตราการเต้นของหัวใจ 69 ปกติไหม

หัวใจบีบตัวแต่ละครั้งใช้อะไรบ้าง? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งก่อนนะครับ การเต้นของหัวใจแต่ละครั้งก็คือ การบีบตัวของหัวใจ1ครั้ง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย ไฟฟ้าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจในแต่ละครั้ง โดยกระแสไฟฟ้านี้เริ่ม กำเนิดตรงที่ เนื้อเยื่อพิเศษ ในหัวใจ ห้องบนขวา (right atrium) ชื่อว่า SA node ซึ่งจะสร้างกระแสไฟฟ้า (หมายเลข1ในรูปบน) แล้วปล่อยลงมาตามทางเนื้อเยื่อพิเศษที่นำไฟฟ้า ลงมายังสถานีที่อยู่ระหว่าง หัวใจห้องบนกับห้องล่าง เรียกว่า AV node (หมายเลข2ในรูปบน) ก่อนที่จะส่งต่อลงไปยังหัวใจห้องล่าง (left and right bunble branch) แล้วแยกออกเป็นแขนงด้าน ซ้ายและขวา (หมายเลข3ในรูปบน) เมื่อกระแสไฟฟ้านี้เดินทางมาถึงจุดหมายก็จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว

กระแสไฟฟ้านี้ เราสามารถรวจจับได้ ด้วย เครื่องตรวจไฟฟ้าหัวใจ ที่เราคุ้นเคยกันคือ การตรวจECG (electrocardiogram)

อัตราการเต้นของหัวใจ 69 ปกติไหม

หัวใจปกติเต้นกี่ครั้งต่อนาที? ในภาวะปกติ หมายถึงในยามที่ร่างกายไม่ได้ถูกกระตุ้น เช่น ตกใจ ดีใจ ออกกำลัง อัตราการเต้นหัวใจ จะอยู่ในช่วง 60-100ครั้ง/นาที ถ้าช้ากว่า60ครั้ง/นาที แพทย์ ก็เรียกว่า หัวใจเต้นช้า(bradycardia) หรือเต้นเร็วมากกว่า100ครั้งต่อนาที ก็เรียกว่า หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) แต่มิได้หมายความว่า ถ้าเรา ไม่ได้มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงนี้แล้วจะถือว่าผิดปกติ การที่แพทย์ จะบอกว่า หัวใจเต้นช้าแบบไหน ที่อันตรายนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบ

อัตราการเต้นของหัวใจ 69 ปกติไหม

หัวใจเต้นช้า แบบไหนจึงจะอันตราย? โดยทั่วไป ภาวะหัวใจที่เต้นช้า นั้น อาจจะมิได้มีความผิดปกติที่หัวใจเอง แต่มักจะมีปัจจัยภายนอกบางอย่างที่กดให้หัวใจเต้นช้า เช่น ยาลดความดันโลหิต, ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง, หรือ นักกีฬาที่ฝึกซ้อมประจำ สำหรับภาวะหัวใจเต้นช้า ที่อาจเป็นอันตรายนั้น มักพบใน ผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการเต้น ที่ต่ำมาก เช่น น้อยกว่า40ครั้งต่อนาที หรือ มีอาการผิดปกติ ที่เกิดจาก ภาวะหัวใจเต้นช้า เช่น หน้ามืด, วิงเวียน, หมดสติ หรือ แน่นหน้าอก

นพ. วิโรจน์ ตันติโกสุม อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ชีวา

บางใหญ่ นนทบุรี

ติดต่อสอบถาม ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่เรียกว่า Atrial fibrillation ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงถึง 10 – 15 % ต่อปี เนื่องจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจจากการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหลุดลอยออกไปอุดหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหัวใจอ่อนกำลังอันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงขึ้น เมื่อพบร่วมกับโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน จึงเห็นได้ว่าในระยะยาวเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจะเป็นการยากที่จะรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีเหมือนเดิม

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โดยปกติหัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 – 100 ครั้ง / นาที ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน พบได้จากโรคหัวใจหลายชนิดทั้งที่พบพยาธิสภาพ เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และไม่พบพยาธิสภาพ เช่น ไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร

อาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจวาย ขึ้นกับอัตราเร็ว ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งพยาธิสภาพของหัวใจ อาการที่เกิดกับผู้ป่วยอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือกลัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำว่าอาการทั้งหมดเกิดจากความเครียดและได้รับยาคลายความวิตกกังวลหรือยานอนหลับมารับประทานเป็นระยะเวลานาน โดยอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น จนมีความรู้สึกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ ปัจจุบันการตรวจวินิจจัยทางการแพทย์ดีขึ้นสามารถค้นหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมได้ดีกว่าเดิมมาก

ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดใดและมีพยาธิสภาพของหัวใจร่วมด้วยหรือไม่  แพทย์มักจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การเดินบนสายพาน (โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย) การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจผ่านทางโทรศัพท์ และการกระตุ้นหัวใจในห้องปฏิบัติการการกระตุ้นหัวใจในห้องปฏิบัติการปัจจุบันนำมาใช้หาสาเหตุในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีความผิดปกติที่หัวใจห้องบน ความผิดปกติของการนำไฟฟ้าที่หัวใจห้องล่าง  หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ  ผู้ป่วยที่รอดจากการปฏิบัติการกู้ชีพ  และในผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้

เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ได้แก่

  • ความเครียด 
  • ความวิตกกังวล 
  • ความมุ่งมั่นจนเกินไป 
  • การพักผ่อนไม่พอเพียง 
  • การออกกำลังกายหักโหม 
  • การสูบบุหรี่ 
  • ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมที่มีสารคาเฟอีน  แอลกอฮอล์ 
  • การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ

รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นผิดปกติ อาจทำได้โดย

  • การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียว เริ่มด้วยยาคลายเครียด  แพทย์อาจให้ยาต้านการเต้นผิดปกติ หรือยากระตุ้นหัวใจ

  • การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ โดยใช้สายสวนพิเศษ (Radiofrequency Catheter Ablation)

วิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่ได้ผลดีถึงดีมาก (80 – 95%) โดยการสอดสายสวนไปวางที่ตำแหน่งต่าง ๆ ในหัวใจเพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจและใช้กระตุ้นหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะสอดสายสวนพิเศษเข้าไปอีก 1 เส้น เพื่อหาตำแหน่งที่หัวใจนำไฟฟ้าเร็วกว่าปกติ เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ แพทย์จะปล่อยกระแสไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ปลายสายสวนพิเศษนี้ ทำให้การนำไฟฟ้าที่จุดนั้นถูกทำลาย หัวใจก็จะไม่เต้นผิดปกติอีกต่อไป

อันตรายจากการจี้ด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุมีน้อยมาก เพราะคลื่นไฟฟ้าที่ใช้มีกระแสไฟฟ้าต่ำประมาณ 40 – 60 โวลต์ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่เนื้อเยื่อหัวใจอุณหภูมิ 55 – 60 องศาเซลเซียส พลังงานนี้จะไม่กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจหรือปลายประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกเพียงเล็กน้อย จึงสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องวางยาสลบ

  • การฝังเครื่องมือพิเศษ

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากจนความดันโลหิตต่ำ คลำชีพจรไม่ได้ หรือเกิดหลายรูปแบบสลับไปมา หรือหัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว ถ้าหัวใจไม่เต้นกลับเป็นปกติในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต  แพทย์จะแนะนำให้ฝังเครื่องช็อกหัวใจอัตโนมัติที่หน้าอกร่วมกับการรับประทานยาต้านการเต้นผิดจังหวะส่วนภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์จะฝังเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดกระตุ้นห้องเดียว และ สองห้อง การฝังเครื่องชนิดใดขึ้นกับพยาธิสภาพที่ผู้ป่วยเป็น

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวประสบปัญหายุ่งยากในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่อัมพาตจนถึงเสียชีวิต