ส่งเสริมการขายเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไหม

  • หน้าแรก

  • Blog

  • ข้อหารือภาษีอากร

  • เลขที่หนังสือ กค 0702/3314 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย

เลขที่หนังสือ : กค 0702/3314
วันที่ : 11 พฤษภาคม 2553
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13 และมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ           บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทกิจการจัดการลงทุน บริษัทฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือน ภาษีสิงหาคม 2535 เป็นต้นมา บริษัทฯ จะจัดโครงการส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการตาม เงื่อนไขที่กำหนด
          บริษัทฯ จะจัดส่งของกำนัลให้กับลูกค้าเมื่อสิ้นสุดระยะ เวลาจัดโครงการ บริษัทฯ จึงขอทราว่า
          1. บริษัทฯ มีสิทธิบันทึกค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปในโครงการ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ใช่หรือไม่
          2. บริษัทฯ ต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่ อย่างไร
          3. บริษัทฯ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร
          4. ลูกค้าผู้รับของกำนัลจะต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับมา รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้หรือไม่ อย่างไร
แนววินิจฉัย           1. กรณีบริษัทฯ มีรายจ่ายจากการให้ของกำนัลแก่ลูกค้าที่ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนที่บริษัทฯ จัดการ ตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมการขาย รายจ่ายดังกล่าว ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหา กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
          2. กรณีการให้รางวัล หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่ง เสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการ ของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรม สรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และของกำนัลดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากของ กำนัลที่ได้รับตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6) และ (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล รัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
          3. กรณีของกำนัลที่ลูกค้าได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลูกค้าต้องนำมูลค่าของกำนัลที่ได้รับดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ : 73/37281

ขอบคุณบทความจาก ::www.rd.go.th

วันที่เอกสาร

4 พฤษภาคม 2547

เลขที่หนังสือ

กค 0706(กม.07)/451-x

ข้อกฎหมาย

มาตรา 65, มาตรา 79(1), มาตรา 79/3(1)

ข้อหารือ

กรณีบริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมการขายเป็นการทั่วไปโดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ
เช่น ค่าบริการติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ ค่าโอน ค่าย้าย ค่าบริการเลขหมาย หรือค่าบริการอื่น ๆ ที่มี
ลักษณะทำนองเดียวกันรวมถึงการลด แลก แจก แถมฟรีบริการ เช่น บัตรโทรศัพท์ เพื่อจูงใจและ
ส่งเสริมให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. กรณีบริษัทฯ ไม่เรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ข้างต้นรวมทั้งการลด แลก แจก แถม
เนื่องจากการส่งเสริมการขาย บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของค่าบริการดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ
ฐานภาษีและนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่
2. กรณีบริษัทฯ ไม่เรียกเก็บค่าบริการตาม 1.1 บริษัทฯ จะต้องระบุมูลค่าของค่าบริการที่
ยกเว้นไม่เรียกเก็บไว้ในใบกำกับภาษี หรือไม่
3. กรณีบริษัทฯ แจกสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นเองหรือแจกบริการ (บัตรโทรศัพท์)เนื่องในพิธี
หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น งานประเพณีประจำจังหวัด งานวันเด็ก วันครบรอบ
จัดตั้งบริษัทฯ การแนะนำบริการใหม่หรือเปิดสำนักงานแห่งใหม่โดยมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แจก
ไม่เกินสมควร บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แจกดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของ
ฐานภาษี และนำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือไม่

แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์แก่ประชาชนทั่วไป และบริษัทฯ ได้จัดรายการ
เพื่อส่งเสริมการขายเป็นการทั่วไปโดยยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ รวมทั้งมีการลด แลก แจก
แถมฟรี เพื่อจูงใจและส่งเสริมให้ลูกค้ามาใช้บริการของบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น รายการส่งเสริมการขาย
ต่าง ๆ ที่บริษัทฯ จัดขึ้น สามารถพิจารณาภาระภาษีได้ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. กรณีบริษัทฯ ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าบริการบางส่วนหรือให้ส่วนลดในขณะ
ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นการทั่วไป ค่าบริการที่ยกเว้นไม่เรียกเก็บบางส่วนหรือส่วนลดค่าบริการนี้ไม่
ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการโทรศัพท์ ตามมาตรา
79(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีซึ่งระบุส่วนลดดังกล่าวไว้ให้เห็นชัดแจ้งใน
ใบกำกับภาษีและคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการหลังจากหักส่วนลดดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้
ตามมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร เทียบเคียงได้ตามข้อ 14 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.
86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
2. กรณีบริษัทฯ ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ทั้งจำนวนให้แก่ลูกค้าถือเป็นการ
ให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทน หากกรณีเป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุอันสมควรบริษัทฯต้องนำมูลค่าของ
ฐานภาษีที่ถือตามราคาตลาดของราคาค่าบริการในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นตามมาตรา
79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อได้มีการใช้บริการนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีบริษัทฯ แจกหรือแถมบัตรโทรศัพท์ หากเป็นการแจกหรือแถมบริการไปพร้อมกับ
การขายสินค้าหรือการให้บริการของบริษัท และมูลค่าของบริการที่แถมไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือ
มูลค่าของค่าบริการปกติ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนโดย
มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ ไม่ต้องนำมูลค่าของบัตรโทรศัพท์ซึ่งเป็นของแถมมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี
สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 79/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ต้อง
จัดทำใบกำกับภาษีโดยระบุชนิดและประเภทของบริการไว้ในใบกำกับภาษีฉบับเดียวกับการขายสินค้าหรือ
การให้บริการปกติของบริษัทฯ ด้วย แต่ไม่ต้องนำมูลค่าของบริการที่แจกหรือแถมมารวมคำนวณเป็นมูลค่า
ของฐานภาษี เทียบเคียงข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม
พ.ศ. 2542
4. กรณีบริษัทฯ ได้แจกสินค้าตัวอย่างเนื่องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย บริษัทฯ
ไม่ต้องนำมูลค่าสินค้าตัวอย่างมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
5. กรณีการแจกสินค้าหรือให้ของขวัญเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
เฉพาะมูลค่าของสินค้าที่เป็นปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
หรือของขวัญของชำร่วยที่มีชื่อบริษัทฯ ปรากฏอยู่ โดยของขวัญหรือของชำร่วยดังกล่าวต้องเป็นสิ่งของที่พึง
ให้กันตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร บริษัทฯ ไม่ต้องนำมารวม
คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(6)ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2535
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1. กรณีบริษัทฯ โอนทรัพย์สินหรือให้บริการโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าบริการ หรือมี
ค่าตอบแทน ค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ ต้องนำค่าตอบแทน ค่าบริการ
ตามราคาตลาดในวันที่โอนหรือให้บริการดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการให้ส่วนลดในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ บริษัทฯ ไม่ต้องนำส่วนลดดังกล่าว
มารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
กรณีการให้ส่วนลดภายหลังการขายสินค้าหรือให้บริการ หากการให้ส่วนลดดังกล่าวเป็นการให้กับบุคคล
โดยทั่ว ๆ ไป เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมการขายหรือการให้บริการส่วนลดดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายเพื่อหา
กำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ รายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

29 มีนาคม 2560

ค่าส่งเสริมการขายหักค่าใช้จ่ายได้ไหม

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นใบลดหนี้ คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะใบลดหนี้ เพื่อลดยอดมูลค่าลูกหนี้ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น

ค่าส่งเสริมการขาย คืออะไร

บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ในความหมายของกรมสรรพากร คือ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง 1. เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน 2. เงินช่วยเหลือ 3. เงินส่วนลด หรือ

เงินสนับสนุน มีภาษีไหม

อุดหนุนหรือเงินสนับสนุนเป็นการตอบแทน กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการตาม มาตรา 77/1(8) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

แจกของ ต้องเสียภาษีไหม

การแจกหรือให้สินค้าเป็นของรางวัลไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นมีเงื่อนไขดังนี้ ต้องเป็นการแจกให้ผู้รับบริการในแต่ละวัน มูลค่าของสินค้าที่แจกหรือให้เป็นรางวัลต้องมีมูลค่าไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ