ประจำเดือนมาเป็นก้อนปกติไหม

ประจำเดือนมาเป็นก้อนปกติไหม

Show

ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย และสีของประจำเดือนสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ประจำเดือน คือ

เลือดและเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน แต่ละรอบจะอยู่นาน 3-7 วัน การที่เราต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อโพรงมดลูกใหม่เสมอก็เพื่อให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จึงทำให้เกิดวงโคจรของประจำเดือนแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งก็จะขึ้นๆ ลงๆ ตามระดับของฮอร์โมนเพศด้วย

หลายคนจะเข้าใจว่าการที่มีประจำเดือน คือ การมีเลือดเสีย

และเมื่อตอนไหนประจำเดือนออกมาน้อย หรือว่านานๆ มีที ก็จะเกิดความกังวลว่าเราจะมีเลือดเสียคั่งในร่างกายหรือปล่าว ซึ่งตรงนี้แพทย์ย้ำมาว่าเป็นเรื่องที่ “ไม่จริง” ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย ประจำเดือน คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้ใช้งานของรอบที่แล้ว เลยลอกหลุดออกมาพร้อมเลือดเท่านั้นเอง

สำหรับบทความของสีประจำเดือนบอกโรคที่เผยแพร่ออกมาในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ต้องบอกว่าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง

เพราะโดยปกติสีประจำเดือนก็จะเปลี่ยนไปไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งแต่ละเดือนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความเก่าใหม่ของเลือดมากกว่า ถ้าหากเลือดออกมาในช่วงต้นๆ ที่จะออกมาเยอะเลือดก็จะเป็นสีแดงสด หากเข้าสู่ช่วงท้ายของประจำเดือนสีก็จะเข้มขึ้น เพราะว่าการไหลของเลือดจะลดลง รวมถึงมีเลือดค้างอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเลือดสัมผัสกับอากาศก็จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้นได้

เพราะฉะนั้นช่วงท้ายๆ ของประจำเดือนก็จะมีสีที่เข้มขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า สีของประจำเดือนขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดและเยื่อบุที่หลุดลอกออกมามากกว่าที่จะไปสัมพันธ์กับโรคอะไรต่างๆ นานาเหล่านั้น

สิ่งที่เราควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือน คือ

  1. ปริมาณเลือดที่ออก ตามปกติเลือดที่ออกมาจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่หากท่านใดพบว่าต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชม. อันนี้คือปริมาณเลือดออกมาเยอะจนเกินไปอาจมีความผิดปกติแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
  2. เลือดที่ออกมามีลักษณะเป็นก้อนเลือด เป็นลิ่มๆ สีแดงสด แดงเข้ม แดงคล้ำ อันนี้อาจเกิดความผิดปกติเช่นกันแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
  3. ความสม่ำเสมอของรอบเดือน ที่ต้องมาทุก 21-35 วัน ไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน

สาเหตุของประจำเดือนที่ผิดปกติอาจเกิดจาก

  1. ความเครียด ความวิตกกังวล
  2. อาหาร การอดอาหาร น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดลงเร็วเกินไป
  3. การรับประทานยาคุมกำเนิด
  4. การเจ็บป่วยทางนรีเวช เช่น เนื้องอกในมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก โรคถุงน้ำในรังไข่ การตั้งครรภ์ ภาวะไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร

เลือดออกผิดปกติแบบไหนที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ

  1. เลือดออกมากหลังมีเพศสัมพันธ์ เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
  2. ประจำเดือนขาดเกิน 3 เดือน(ไม่ท้อง) เสี่ยงเป็นไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไทรอยด์
  3. เลือดออกกระปริดกระปรอย ไม่เป็นรอบ เสี่ยงเป็น มะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลจาก
อ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update สีของ “ประจำเดือน” บอกโรคได้ ชัวร์หรือมั่ว” ได้ที่นี่

ประจำเดือนมาเป็นก้อนปกติไหม

การมีสุขภาพดี

Share:

ประจำเดือนหรือรอบเดือน คือ เลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอดผู้หญิงในแต่ละเดือนอันเป็นผลมาจากการตกไข่ที่ไม่ได้รับการผสม แม้แต่ละเดือนจะมีรอบเดือนตามปกติ แต่อาจมีบางอาการที่เป็นสัญญาณการเจ็บป่วยที่ไม่ปกติซ่อนอยู่

ประจำเดือนมาเป็นก้อนปกติไหม

ในแต่ละเดือน ร่างกายของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมีฮอร์โมนจากสมองควบคุมกระบวนการเกิดประจำเดือนทำให้มีการตกไข่ และมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน กับโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศ เพื่อเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ อย่างการสร้างเนื้อเยื่อที่ผนังมดลูกให้หนาขึ้น แต่หากไข่ที่ตกไม่ได้รับการปฏิสนธิกับสเปิร์มของเพศชาย เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ก็จะหลุดลอกออกและไหลออกมาจากช่องคลอดในรูปของเลือด โดยกระบวนการนี้ใช้รอบเวลาในการเกิดโดยเฉลี่ยประมาณ 28 วัน อาจมาก่อนหรือหลังเล็กน้อย โดยทั่วไปรอบประจำเดือนของผู้หญิงจึงอยู่ในช่วง 21-35 วัน

ประจำเดือนมาปกติ

ผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยช่วงเวลาที่มีประจำเดือนในแต่ละครั้ง คือ ประมาณ 3-8 วัน ประจำเดือนจะมามากที่สุดภายใน 2 วันแรก เลือดประจำเดือนอาจมีสีแดงเข้ม สีน้ำตาล หรือสีดำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะประจำเดือนที่มีสีคล้ำ คือ เยื่อบุโพรงมดลูกเก่าที่ถูกขับออกมาเท่านั้น

โดยทั่วไป สามารถเตรียมตัวรับมือและรู้ถึงวันที่จะมีประจำเดือนโดยคร่าว ๆ ได้ด้วยการจดบันทึกวันแรกที่ประจำเดือนมา หากประจำเดือนมาตามปกติ จะมาในวันเดียวกันของเดือนถัดไป หรืออาจคลาดเคลื่อนจากวันเดิมเพียงเล็กน้อย

ก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงสามารถสังเกตสัญญาณบางอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มอาการอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงวันที่มีการตกไข่ได้ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ เจ็บหน้าอก หน้าอกขยาย หิวง่าย อยากอาหาร รับประทานมากกว่าปกติ น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ความต้องการทางเพศลดลง ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน

ประจำเดือนมาไม่ปกติ

หลายคนอาจเคยมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ มามาก มาน้อย มาช้า หรือมีอาการก่อนประจำเดือนมาที่ผิดปกติ อย่างปวดท้องมาก ปวดหัว หรือมีเลือดไหลที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือน

อาการบางอย่างอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน แต่อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณสำคัญของโรคหรืออาการเจ็บป่วยอย่างอื่น ซึ่งควรไปปรึกษาแพทย์หากพบอาการดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลียมาก แม้ทำกิจกรรมธรรมดา
  • วิงเวียนศีรษะ
  • หน้าซีด ตัวซีด
  • มีประจำเดือนที่ผิดไปจากปกติ เช่น
    • ปวดท้องมากกว่าปกติที่เคยเป็นในแต่ละเดือน
    • ปวดบริเวณท้องช่วงล่างลงมา
    • ประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน
    • ประจำเดือนมาบ่อยกว่าเดือนละครั้ง
    • ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อนเลือดหนา
    • ประจำเดือนมามากจนเลอะที่นอนหรือเสื้อผ้า และต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง
    • ประจำเดือนไม่มานานกว่า 2 รอบเดือนโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ประจำเดือนไม่มานานกว่า 2 รอบเดือน ทั้ง ๆ ที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง
    • มีเลือดไหลก่อนถึงกำหนดการมีประจำเดือน หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • อายุ 14 ปี แต่ไม่มีทรวงอกหรือขนอวัยวะเพศ
  • อายุ 16 ปี แต่ประจำเดือนยังไม่มา

วิธีรับมือเมื่อประจำเดือนมาไม่ปกติ

ด้วยสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน กลุ่มอาการจากประจำเดือนของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน นั่นคือเหตุผลที่บางครั้งบางอาการก็ไม่ใช่สัญญาณที่เป็นอันตรายของโรคอื่นเสมอไป และสามารถรักษาดูแลให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง แต่หากอาการยังคงอยู่เช่นเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

ช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป ประจำเดือนมาก่อนกำหนด มาหลังกำหนด หรือจำนวนวันที่มีประจำเดือนเปลี่ยนไป อาจมาจากหลายปัจจัย วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วย เช่น ความเครียด น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง และการออกกำลังกายอย่างหนักจนเกินพอดีล้วนส่งผลต่อระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย ฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะกระทบต่อกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งการมีประจำเดือนด้วย ดังนั้น ปัญหาประจำเดือนที่เกี่ยวกับช่วงเวลาสามารถรักษาได้ด้วยการจัดการความเสี่ยง ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ กลับมาทำงานได้ตามปกติ และกลับมามีประจำเดือนตามกำหนดอย่างที่ควรจะเป็น

ปวดประจำเดือนมาก อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการที่มดลูกขับเลือดประจำเดือนออกมา เป็นอาการปกติที่พบได้ หากรู้สึกปวดมากกว่าที่เคยเป็น ในเบื้องต้นสามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ใช้ถุงน้ำร้อนประคบ นวดเบา ๆ บริเวณท้องช่วงล่าง หรืออาบน้ำแช่น้ำอุ่นเพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวด แต่หากเวลาผ่านไปแล้วอาการยังไม่ทุเลาควรไปพบแพทย์

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีอาการปวดมากกว่าปกติแต่ไม่ได้เป็นอาการปวดจากโรคและความผิดปกติอย่างอื่น แพทย์จะให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ที่นอกจากจะมีผลต่อการคุมกำเนิด ยังสามารถบรรเทาอาการปวดในแต่ละเดือน และส่งผลให้ประจำเดือนมาตรงตามกำหนดได้ด้วย โดยต้องรับประทานตามวิธีการที่ถูกต้องตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น

ประจำเดือนมามากกว่าปกติ แม้ทุกเดือนผู้หญิงต้องเสียเลือดจากการมีประจำเดือน แต่ในบางรายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกินกว่าที่คิด อย่างในผู้ที่เป็นโลหิตจาง หรือผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ การเสียเลือดในปริมาณมาก ๆ อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ยาที่มีผลรักษาอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งต้องรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์และมีใบสั่งจากแพทย์เท่านั้น คือ

  • ยาคุมกำเนิดทั้งแบบยาเม็ดรับประทานและยาฉีดคุมกำเนิด
  • ยากรดทราเนซามิก (Tranexamic acid) ที่ใช้ต้านกลไกการสลายลิ่มเลือด ลดอาการเลือดออกมาก ส่วนประจำเดือนที่มามากผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของเนื้องอกภายในมดลูก ควรสังเกตบันทึกอาการและความบ่อยในการเปลี่ยนผ้าอนามัยก่อนไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจทำการรักษาด้วยการจ่ายยา หรือทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาจากมดลูกต่อไป

ประจำเดือนไม่มา ปกติประจำเดือนอาจจะคลาดเคลื่อนจากกำหนดไม่กี่วัน แต่หากประจำเดือนขาดเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ควรใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์ตรวจดูผล แต่หากไม่ปรากฏการตั้งครรภ์ และประจำเดือนขาดเกินกว่า 2 เดือน อาจมีสาเหตุสำคัญทางร่างกาย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

ในกรณีวัยรุ่นที่ยังไม่มีประจำเดือนแม้จะมีอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหน้าอกไม่ขยายใหญ่ขึ้นหรือไม่มีขนในที่ลับ อาจเป็นสัญญาณของการเจริญเติบโตตามวัยที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์และไม่ควรรับประทานยาหรือฮอร์โมนเพื่อเร่งให้มีประจำเดือนโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์

นอกเหนือจากการรักษาทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ตามวัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานตามปกติ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

งดสูบบุหรี่ ออกกำลังอย่างพอดี เสริมด้วยกิจกรรมสันทนาการสร้างความผ่อนคลายแก่ร่างกายและจิตใจ เช่น การเล่นโยคะหรือพิลาทิส เป็นต้น

Share:

หัวข้อสนนทนาที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่ระบบ

หรือใช้บัญชี Facebook ของคุณเพื่อเข้าสู่ระบบใน Pobpad.com,กดลิ้งค์ด้านล่าง:

ประจำเดือนมาเป็นก้อนปกติไหม

×

ประจำเดือนมาเป็นก้อนๆอันตรายไหม

ภาวะประจำเดือนเป็นก้อนเหมือนตับขนาดเล็ก สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงวัยมีประจำเดือนทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่หากมีประจำเดือนเป็นก้อนเหมือนตับขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรออกมาทางปากมดลูก อาจส่งผลให้มีอาการ ดังนี้ ปวดและเป็นตะคริวที่กระดูเชิงกราน หรือหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือน

ก้อนที่ออกมาพร้อมประจำเดือนคืออะไร

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกและจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อหยุดไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป ภาวะนี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงมีประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนที่จับตัวกันเป็นก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรเร่งหาสาเหตุและเข้า ...

ทำไมประจำเดือนเป็นลิ่ม

ลองไปถามสาเหตุของลิ่มเลือดในประจำเดือนของสาวๆกันมาพบว่า ทางสูตินารีแพทย์ การมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่อาจเป็นไปได้ว่า มีเนื้องอก ซีสต์ หรือพังผืดในมดลูก ส่วนขนาดเล็กอาจเกิดจากความเครียดหรือพักผ่อนน้อย ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก ทางแพทย์แผนจีน และแผนไทย จะบอกว่า ลิ่มเลือดเกิดจากพิษเย็น ทำให้เลือดคั่งค้างในร่างกายขับออกได้ยาก

ลิ่มเลือดประจำเดือนแบบไหนผิดปกติ

สิ่งที่เราควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือน คือ เลือดที่ออกมามีลักษณะเป็นก้อนเลือด เป็นลิ่มๆ สีแดงสด แดงเข้ม แดงคล้ำ อันนี้อาจเกิดความผิดปกติเช่นกันแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช ความสม่ำเสมอของรอบเดือน ที่ต้องมาทุก 21-35 วัน ไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน