กด ไล ค์ กด แชร์ ใน facebook ผิด กฎหมาย หรือ ไม่

ประเด็นการกดไลค์ข้อความแล้วอาจโดนหมายเรียก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ยืนยันแล้วว่ากดไลค์เป็นการแสดงสิทธิ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เว้นแต่เรื่องสถาบัน ที่มีความผิดตามมาตรา 112 เป็นเรื่องเดียวที่กดไลค์แล้วอาจจะผิดกฎหมาย

จากกรณีโลกโซเชียลมีการเเชร์หมายเรียกพยาน เป็นการดำเนินคดีอาญาระหว่าง พล.ต.ต.กฤษกร พลีธัญญวงศ์ กับ ร.ต.อ.วัชรินทร์ เบญจทศวรรษ โดยหมายเรียก ส.ต.อ.จักรพงษ์ วงษ์วิจิตร ให้มาพบพนักงานสอบสวน สภ.เมือง จ.ชลบุรี ฐานะพยานคดีดังกล่าว

ทางไทยรัฐออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เป็นอดีตกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 และที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ถึงเรื่องการกดไลค์เพื่อแสดงความเห็น ซึ่งนายไพบูลย์ กล่าวว่า การกดไลค์ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ยืนยันหลายครั้งแล้วกับปัญหานี้ เพราะว่ากดไลค์เป็นการแสดงสิทธิหรือแสดงความคิดเห็นตามหลักรัฐธรรมนูญ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ยกเว้นความผิดเรื่องสถาบัน เป็นความผิดเรื่องมาตรา 112 เรื่องสถาบันเป็นเรื่องเดียวที่กดไลค์อาจจะผิดกฎหมาย แต่ถ้าเป็น  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ล้วนไม่ผิดกฎหมาย

นายไพบูลย์ กล่าวว่า อย่างกรณีถ้าถูกดำเนินคดี เราอาจจะต้องตั้งทนายและหาพยานผู้เชี่ยวชาญ หรือกรรมาธิการที่ร่าง ให้มาช่วยเปิดความในเรื่องที่มาของตัวกฎหมาย หรือไปขอคัดรายงานของกรรมาธิการที่สภา ตอนที่ร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 กับ 2560 ว่าเจตนารมณ์ในการร่างเป็นยังไง เพราะการกดไลค์ปกติเป็นการแสดงความคิดเห็น ให้เพื่อนได้รู้ว่าความรู้สึกเราที่เกี่ยวข้องเป็นยังไง กรณีกดไลค์ก็เหมือนเรายกมือ เพื่อนก็เห็นว่ายกมือ ถ้าการไปตีความว่าการกดไลค์เป็นการทำให้แพร่หลาย การกดร้องไห้หรือว่าหัวเราะก็ผิดหมด กลายเป็นว่ากฎหมายจะไปตีความว่า ข้อความในโซเชียลมีเดียห้ามเราแสดงความรู้สึกใดๆ ทั้งสิ้น ตรงนี้ไม่ใช่แน่นอน เพราะมันขัดกับเสรีภาพรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นการกดไลค์โดยหลักปกติคือไม่ผิดกฎหมาย


อย่างไรก็ตาม จากเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การกดไลค์ไม่ผิดกฎหมาย  เป็นการแสดงความคิดเห็นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ผิดกฎหมายตามหลัก  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์.

แสร้งไม่เก็ทเพื่อรักษาชีวิต

เรื่องนี้ผมไม่หาร

กดโกรธไว้ก่อน ยังไงก็รอด

ประโยคยอดฮิตจากโลกโซเชียลที่มักปรากฏให้เห็น เมื่อมีประเด็นสังคมใดๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถพูดถึงตรงๆ ได้ และแสดงให้เห็นถึง การไร้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกของสังคมไทย

แต่เท่าไหนถึงเรียกระยะปลอดภัย? เรามีขอบเขตในการแสดงออกมากน้อยแค่ไหน?

The MATTER ขอเชิญทุกคนมาร่วมสำรวจความคลุมเครือของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมฯ) พ.ศ.2550 และฉบับแก้ไข พ.ศ.2560 เพื่อไขความกระจ่างว่า สรุปแล้ว เรื่องไหนทำได้ เรื่องไหนทำไม่ได้กันแน่

สุ่มเสี่ยงแค่ไหน แค่ไหนเรียกสุ่มเสี่ยง?

ทุกวันนี้จะใช้สื่อโซเชี่ยลโพสต์ข้อความอะไรก็ต้องคอยระแวดระวัง เพราะในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 บัญญัติถึงการนำข้อมูลใดๆ อันเป็นเท็จ (ที่ไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาท) เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่ามีความผิดทั้งนั้น

แต่ถึงอย่างนั้น หลายคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า แล้วข้อความที่เราโพสต์ๆ กันตามเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ แบบไหนกันแน่ถึงจะไม่เรียกว่าสุ่มเสี่ยง

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำงานกับภาคประชาสังคมและคนทั่วไปในสังคม จะมาช่วยแถลงความสงสัยนี้

“ตอบไม่ได้ ช่วยเขียนแบบนี้เลยครับ นักกฎหมายตอบไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ.คอมฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ถูกเขียนขึ้นโดยตั้งใจให้ประชาชนอ่านไม่เข้าใจ ใช้ถ้อยคำกว้างขวาง และไม่รู้ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน”

“อย่างมาตรา 14(2) (ในพ.ร.บ.คอมฯ) ก็มีแต่คำใหญ่ๆ กว้างๆ ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจว่า โพสต์แบบไหนจะถูกจับ? โพสต์แบบไหนจะเป็นภัย? แล้วปัจจุบัน การจับกุม การดำเนินคดี มีลักษณะตามอำเภอใจผู้บังคับใช้กฎหมาย แถมตัวกฎหมายเองก็เขียนไว้กว้าง จนเปิดช่องให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ได้”

ยิ่งชีพเล่าต่อว่า ความกว้างขวางของกฎหมาย ทำให้เกิดการดำเนินคดี หรือการจับกุมที่ดูจะไม่เข้าข่ายข้อกฎหมายเอาเสียเลย อย่างกรณีของ ‘กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์’ นักกิจกรรมการเมืองที่เพิ่งถูกคุมตัวไป เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 ตุลาคม 2562) ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ถูกจับไป โดย พ.ร.บ.คอมฯ ที่กระทบต่อความมั่นคงต่อประเทศ ทั้งๆ ที่กาณฑ์โพสต์ถึงนั้น เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  ยังมีองค์ประกอบสำคัญที่ยึดถือเป็นข้อมูลหลักในการดำเนินการทางกฎหมายอยู่ นั่นคือ ต้องเป็นข้อมูลเท็จ หากไม่ใช่ความเท็จแล้ว ก็ไม่สามารถเอาผิดได้

“แต่ก็จะเห็นว่าการจับกุม ดำเนินคดีหลายๆ ครั้ง ไม่ได้เอาผิดข้อมูลเท็จเลย หลายครั้งเป็นข้อความแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่ละคนเห็นต่างกันไปได้ แต่ก็มีการจับกุม การดำเนินคดีกัน โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลเท็จ”

“สำหรับทุกคนที่จะแสดงความคิดเห็น ก็ขอให้แยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ดี อะไรที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลถูกต้อง ยืนยันได้ น่าเชื่อถือ ก็ขอให้ตรวจสอบ และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ดี ส่วนอะไรที่เป็นการแสดงความคิดเห็น.. ก็ขอให้แสดงความคิดเห็นต่อไปเถอะครับ”

กด ไล ค์ กด แชร์ ใน facebook ผิด กฎหมาย หรือ ไม่

กดไลก์ กดแชร์ หรือรีทวีตยังไงถึงปลอดภัย?

หนึ่งในคอมเมนต์ยอดฮิตที่ชาวโซเชียลนิยมใช้ในโพสต์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสังคม เพื่อกันตัวเองออกจากการถูกหางเลขไปด้วย คือ “กดโกรธไว้ก่อน” หรือ “กดโกรธเท่ากับรอด” แต่คำถามที่ตามมาคือ กดโกรธ = รอดจริงหรือ?

“การกดไลก์ กดอิโมติคอนต่างๆ ไม่มีความผิดครับ จบ” ยิ่งชีพยืนยัน “ไม่มีกฎหมายไหนเขียนว่าการกดไลก์เป็นความผิด (กดโกรธก็เช่นกัน)”

ดังนั้น ก็ตีความได้ว่า

กดโกรธเท่ากับรอดจริงๆ ด้วย!

แต่ยิ่งชีพก็แสดงถึงความกังวลบางอย่าง เพราะกฎหมายถูกเขียนให้เข้าใจยาก และการตีความก็ขึ้นอยู่กับผู้บังคับใช้กฎหมายอีกทีหนึ่ง ส่วนการกดไลก์แล้วข้อมูลชุดนั้น ดันไปโผล่บนหน้าไทม์ไลน์ของคนอื่น ยิ่งชีพมองว่า (ถ้ามีการเอาผิด) ต้องสู้ด้วยเจตนาของคนกดไลก์ว่ามีเจตนาอะไร

“ถ้าในทางกฎหมายก็ต้องพิสูจน์กันว่า เฮ้ย คุณกดไลก์เพราะอะไร คุณเจตนาเผยแพร่ต่อ หรือว่าคุณกดไลก์เพราะว่าคุณชอบ?”

ถึงอย่างนั้น ก็ไม่มีกฎหมายข้อไหน บัญญัติว่า ผู้ใดกดไลก์ หรือแสดงความชื่นชอบ มีความผิดแต่อย่างใด

ประเด็นต่อมา คือ เรื่องของการแชร์ หรือรีทวิต ข้อมูลที่มีความสุ่มเสี่ยง อย่างคดีดังที่หลายคนรู้จักกันดีก็คือ การแชร์ข่าว BBC เรื่อง พระราชประวัติในหลวง ร.10 ของไผ่ ดาวดิน ที่ทำให้เขาต้องพักจากการเรียน และกลายเป็นนักโทษการเมือง

ดังนั้น การแชร์ หรือรีทวิตข้อมูลที่สุ่มเสี่ยง จึงเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(5) ระบุว่า การแผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลตามมาตรา 14(1) 14(2) 14(3) และ 14(4) จะถือว่ามีความผิด เทียบเท่ากับผู้นำเข้าข้อมูล หรือผู้เผยแพร่

ส่วนเรื่องของการคอมเมนต์ข้อความ อาจจะต้องแยกแพลตฟอร์ม ระหว่างเฟซบุ๊ก กับทวิตเตอร์

“ถ้าเป็นเฟซบุ๊ก คนโพสต์ตัดสินใจได้ว่าจะลบหรือไม่ลบ ดังนั้น คุณจึงเป็นคนที่มีอำนาจดูแลรับผิดชอบเฟซบุ๊กของตัวเอง และถือเป็นผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 15 จะมีความผิดต่อเมื่อ ‘รู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด’ หรือ ‘ยินยอม’ ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และถ้าเกิดคุณได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการว่าให้ลบ แล้วลบออกภายในเวลาที่กำหนดก็จะไม่มีความผิด”

แต่ถ้าเป็นทวิตเตอร์ ผู้ใช้บริการไม่มีอำนาจในการลบข้อความตอบกลับ ดังนั้น ก็คงรับผิดชอบไม่ได้

นอกจากเรื่อง กดไลก์กับคอมเมนต์แล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่กำลังเป็นกระแสในโลกโซเชี่ยล ก็คือ ‘การติดแฮชแท็ก’

จากคำแถลงล่าสุดของ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) ต่อกรณีของกาณฑ์ ระบุไว้ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ไม่หวังดีได้ก่อกระแสข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ (แฮชแท็ก) ที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีนี้โพสต์ข้อความเนื้อหาไม่เหมาะสมผ่านเฟซบุ๊ก และสร้างความเกลียดชัง

แล้วอะไรคือการใช้ แฮชแท็กที่ไม่เหมาะสม?

“ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาหมายความว่าอะไร (หัวเราะ) เข้าใจว่าหมายถึง #ขบวนเสด็จ #แบนเมเจอร์ หรืออะไรก็ตามในช่วงนี้ เราก็ได้แต่คาดเดากันไป แต่การติดแฮชแท็ก ไม่ได้มีข้อห้ามทางกฎหมายนะครับ”

กด ไล ค์ กด แชร์ ใน facebook ผิด กฎหมาย หรือ ไม่

พ.ร.บ.คอมฯ ห่วงใยประชาชน

การบัญญัติกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ที่ผู้คนต้องยึดถือ เพื่อดำรงอยู่ในสังคมได้ ดังนั้นการมีอยู่ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ยิ่งชีพมองว่า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับยุคที่อินเทอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ มีบทบาทสำคัญในสังคม

ยิ่งชีพแบ่งความจำเป็นของสิ่งที่กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควรจะมีออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่

1) ต้องมีกฎหมายเรื่องความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การแฮค การขโมยข้อมูล และการใช้งานคอมพิวเตอร์

2) ควรมีกฎหมายที่บัญญัติ เรื่องการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ว่าเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน

3) เรื่องของการปิดกั้นเว็บไซต์ เว็บไหนปิดได้ เว็บไหนปิดไม่ได้

“แต่ที่ผ่านมา พ.ร.บ.คอมฯ ถูกใช้งานผิดวัตถุประสงค์มานานกว่า 10 ปี เพราะเป็นการพยายามเอา พ.ร.บ.คอมฯ มาเป็นเครื่องมือในการจำกัดความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดเห็นที่เป็นผลร้ายต่อผู้มีอำนาจ ทำให้ประชาชนหวาดกลัว”

“หลายคดี ก็มีการดำเนินคดีกันจริงๆ และอาจนำไปสู่การเจรจาถอนฟ้อง ยอมความกัน หรือศาลพิพากษายกฟ้อง ส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การลงโทษ แต่มันสร้างบรรยากาศความหวาดกลัว ทำให้สังคมต้องระแวดระวังว่าโพสต์อะไร โพสต์แบบไหนจะเข้าข่ายว่ามีความผิด”

ยิ่งชีพมองว่า กฎหมายฉบับนี้ถูกเขียนโดยจงใจเปิดช่องไว้ให้ตีความได้หลากหลาย แล้วคนบังคับใช้กฎหมาย ก็จงใจใช้เพื่อขู่ หรือเตือนสังคมว่า บนโลกออนไลน์ ไม่ใช่ว่าจะพูดอะไรก็ได้

“อย่างกรณีของกาณฑ์ ก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนที่ค่อนข้างชัดเจนว่า ประชาชนมีโอกาสจะถูกดำเนินคดีได้ แต่จะได้ผลหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรู้สึกหวาดกลัวตามที่รัฐบาลส่งสัญญาณออกมาหรือเปล่า?”

นอกจากนี้ ยิ่งชีพยังเห็นว่า ในละแวกประเทศเพื่อนบ้านของเรา ก็มีกฎหมายที่คล้ายกับ พ.ร.บ.คอมฯ อยู่ และมีลักษณะคล้ายกัน เช่น มีข้อห้าม มีโทษหนัก อ่านไม่รู้เรื่องจนต้องอ่านแล้วอ่านอีก และกฎหมายดังกล่าว ก็ถูกนำไปใช้ในการวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าใช้เพื่อคุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์ หรือสร้างระบบอินเทอร์เน็ตที่มั่นคง และเสถียร

“จุดร่วมที่เหมือนกันของการใช้กฎหมายนี้ในแถบอาเซียน ก็คือ นำมาใช้เพื่อเอาผิด หรือดำเนินคดีจากคนที่วิจารณ์รัฐบาล”

สรุปได้ว่า การกดแชร์ หรือรีทวิต ข้อมูลที่มีความสุ่มเสี่ยง เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง ส่วนการคอมเมนต์ใต้โพสต์ที่สุ่มเสี่ยง ขึ้นอยู่กับตัวข้อความ ถ้าข้อความที่คอมเมนต์สุ่มเสี่ยง ในเฟซบุ๊ก ก็มีความผิดทั้งเจ้าของโพสต์ และเจ้าของคอมเมนต์ แต่ถ้าเป็นทวิตเตอร์ เจ้าของทวิตไม่ถือว่ามีความผิด

ส่วนการกดไลก์ ไม่มีความผิด!

Illustration by Kodchakorn Thammachart

You might also like

Share this article