สัมภาษณ์ งาน เตรียม อะไร ไป บ้าง

ไม่ว่าจะผ่านการสัมภาษณ์งานมากี่ครั้งก็ตาม หลายคนมักไม่ค่อยมีความพร้อมในการสัมภาษณ์งาน แล้วควรเตรียมตัวอย่างไรดี?

Gary Burnison ซีอีโอบริษัท Recruiting ได้ใช้เวลาในการสัมภาษณ์แคนดิเดตมาหลาย 10 ปี และได้พบแคนดิเดตที่มีประสบการณ์มากที่สุดที่มาพร้อมกับเรซูเม่ที่น่าประทับใจ แต่เขากลับทำลายการสร้างความประทับใจแรกพบไปอย่างง่ายดาย

สัมภาษณ์ งาน เตรียม อะไร ไป บ้าง

Burnison พบว่า 5 สิ่งที่แคนดิเดตหลายคนมักลืมทำและควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการสัมภาษณ์งาน มีดังนี้

1. หาข้อมูลเรื่องราว ผลิตภัณฑ์ และบริการของบริษัท

หลายคนไปสัมภาษณ์โดยไม่เข้าใจสิ่งที่บริษัททำ การรู้แค่ข้อมูลพื้นฐานของบริษัทไม่เพียงพอต่อการไปสัมภาษณ์ 

สิ่งที่คุณควรทำคือ การเรียนรู้ทุกสิ่งที่สามารถทำได้เกี่ยวกับบริษัทที่คุณจะไปสัมภาษณ์ เช่น ประวัติ ทีมผู้บริหาร ความสำเร็จ และความท้าทายในปัจจุบัน ถ้าเป็นไปได้ควรลองซื้อและใช้บริการของบริษัทเพื่อทำความเข้าใจบริษัทให้มากขึ้น

นอกจากนี้ การมีความรู้เกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทจะทำให้คุณสามารถนำเสนอทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทได้มากขึ้น ยิ่งมีความเกี่ยวข้องเท่าไหร่ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้สัมภาษณ์ก็จะดียิ่งขึ้น

2. หาข้อมูลว่าสัมภาษณ์งานกับใคร

เมื่อเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเรียบร้อยแล้ว ให้หาชื่อและตำแหน่งของคนที่จะมาสัมภาษณ์คุณ นอกจากนี้ยังสามารถถามผู้จัดการสัมภาษณ์ได้ว่า มีอะไรที่คุณควรรู้เกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์คนนั้นหรือไม่

เป้าหมายไม่ใช่แค่การหาว่าเขาเป็นใคร แต่เป็นการหาข้อมูลเพื่อหาจุดร่วม เช่น คุณอาจเคยทำงานบริษัทเดียวกับเขามาก่อน วิธีนี้จะช่วยละลายพฤติกรรมระหว่างคุณกับผู้สัมภาษณ์ได้ 

ถ้าไม่พบจุดร่วมระหว่างคุณกับผู้กับภาษณ์ คุณอาจหาข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข่าวเชิงบวกของบริษัท เพื่อนำมาพูดคุยในการละลายพฤติกรรม เช่น การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท โดยคุณสามารถเป็นผู้เปิดประเด็นและเริ่มต้นบทสนทนาที่มีประสิทธิภาพได้

3. เตรียมคำถาม

เมื่อคุณถูกถามด้วยคำถามว่า “มีอะไรจะถามไหม?” การตอบกลับไปว่า “ไม่มี” จะแสดงให้เห็นว่าคุณไม่มีความพร้อมและไม่มีความสนใจในการสัมภาษณ์งานครั้งนี้

คำถามควรเป็นคำถามที่ดูฉลาดและมีกลยุทธ์ เช่น การถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบและเป้าหมายของงาน หรือวิธีการทำงานของฝ่ายนั้นๆ เพราะคำถามจะแสดงให้เห็นได้ว่าคุณมีความคิดอย่างไร

  • 4 คำถามสัมภาษณ์งานสุดหิน ที่ควรถามในการสัมภาษณ์งาน

ในตอนสุดท้ายของการสัมภาษณ์ อย่าถามเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไป เพราะถ้าคุณตอบสัมภาษณ์ได้ดี Hiring Manager จะเป็นคนแจ้งให้คุณทราบโดยเร็ว

สิ่งที่ควรพูดในตอนสุดท้ายคือ การบอกว่าคุณรู้สึกรักบริษัท สนุกกับการพูดคุยระหว่างสัมภาษณ์ และสนใจในตำแหน่งนั้นมากขนาดไหน 

4. ปิดเสียงโทรศัพท์

จากมุมมองของ Hiring Manager การลืมปิดเสียงโทรศัพท์แสดงให้เห็นถึงความสะเพร่าและไม่มีความเคารพต่อผู้สัมภาษณ์ 

ดังนั้น จึงควรปิดเครื่องหรือปิดเสียงโทรศัพท์ก่อนจะเข้าห้องสัมภาษณ์ แต่ถ้าลืมปิดเสียงโทรศัพท์ แล้วมีคนโทรเข้าหรือส่งข้อความมา ห้ามรับสายหรือตอบข้อความเด็ดขาด

อย่าผัดวันประกันพรุ่งในการลองเสื้อผ้าก่อนการไปสัมภาษณ์งาน ควรเช็กให้แน่ใจว่าเสื้อผ้าที่จะใส่มีความสะอาดและพอดีกับตัวหรือไม่

ไม่ใช่ทุกการสัมภาษณ์ที่จะต้องแต่งตัวแบบมืออาชีพ แต่คุณก็ต้องนำเสนอตัวเองให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเป็นคนสะอาดเรียบร้อย หากไม่รู้ว่าจะแต่งตัวแบบไหน ให้ลองถามคนที่ทำงานหรือเคยทำงานที่นั่นว่าใส่อะไรถึงเหมาะสม หรือบางครั้งผู้จัดสัมภาษณ์จะเป็นคนบอกเองว่าควรแต่งตัวอย่างไร

ในวันที่จะไปสัมภาษณ์ ให้เช็กตัวเองในกระจกก่อนออกจากบ้านว่า มีอะไรติดฟันไหม? หวีผมหรือยัง? รองเท้าสะอาดไหม? และอย่าซื้อหรือนำอะไรที่อาจหกใส่ตัวเองไป

  • แต่งตัวไปสัมภาษณ์งานอย่างไรให้ปัง? โดยไม่ต้องง้อตารางสีเสื้อมงคล

การสร้างความประทับใจแรกพบเป็นเหมือนการสร้างโอกาสในการได้รับข้อเสนองานให้กับตัวเองไปอีกหนึ่งขั้น ดังนั้นใครที่กำลังจะสัมภาษณ์งานควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไม่ให้โอกาสในมือหลุดลอยไปง่ายๆ

ที่มา - CNBC

  • ไม่ใช่แค่ไปตรงเวลา แต่ต้องไปถึงก่อนเวลา เพื่อที่จะได้มีเวลาเตรียมตัว และถ้ามีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไปไม่ทัน ต้องรีบโทรศัพท์ไปแจ้ง
  • อย่าพาพ่อ แม่ หรือเพื่อนไปด้วย เพราะจะทำให้ดูไม่เป็นผู้ใหญ่ ดูแลตัวเองไม่ได้
  • การไหว้ กล่าวสวัสดี ขอบคุณ รวมไปถึงการปิดโทรศัพท์มือถือ เป็นมารยาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สำคัญมาก
  • อย่าพูดเรื่องโกหกเด็ดขาด การเตรียมคำตอบสำหรับคำถามสัมภาษณ์ที่มักเจอบ่อย ๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง และเป็นตัวของตัวเอง
  • สบตาผู้สัมภาษณ์เสมอ และอย่าแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือสร้างความรำคาญให้กับผู้สัมภาษณ์ เช่น เขย่าขา หรือเคาะโต๊ะ
  • ตอบคำถามอย่างชัดเจน ฉะฉาน และไม่พูดเสียงดังหรือเบาเกินไป
     

ถ้าคิดว่าแค่เตรียมเอกสารครบ ศึกษาข้อมูลบริษัทมาอย่างดี และเตรียมคำตอบสำหรับคำถามสัมภาษณ์เรียบร้อย ก็จะทำให้การสัมภาษณ์ของเราราบรื่นแล้วล่ะก็ คุณอาจจะต้องคิดใหม่ เพราะไม่ใช่แค่เตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะถึงวันสัมภาษณ์งานเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราต้องระวังในวันสัมภาษณ์งาน ซึ่งมีเรื่องอะไรบ้างที่เรามักจะพลาด JobThai มีคำตอบ

นัดเวลาไหน ก็ไปถึงเวลานั้นแบบพอดิบพอดี

เป็นคนตรงเวลามันก็ดีอยู่หรอก แต่จะดีกว่าถ้าวันที่มีนัดสัมภาษณ์งาน เราไปถึงก่อนเวลาสักครึ่งชั่วโมง เพราะนอกจากจะทำให้เราดูเป็นคนมีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาแล้ว เรายังมีเวลาที่จะได้สำรวจความเรียบร้อยของตัวเองอีกรอบด้วย 

อยากวางแผนการเดินทาง ทั้งวิธีการ ค่าใช้จ่าย ระยะทาง และเวลาที่ใช้

JobThai Mobile Application ช่วยได้ ดาวน์โหลดเลย

iOS

Android

Huawei AppGallery

แต่ถ้าวันที่สัมภาษณ์ดันเกิดเรื่องสุดวิสัยจนทำให้เราไม่สามารถไปถึงที่นัดได้ตรงเวลาจริง ๆ ก็ต้องโทรศัพท์ไปแจ้งบริษัทเพื่อขอเลื่อนเวลาด้วย อย่าเงียบหายไปเฉย ๆ เด็ดขาด

พาพ่อแม่เพื่อนฝูงไปให้กำลังใจหน้าห้องสัมภาษณ์

เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็หมายความว่าเราไม่ใช่เด็กที่จะต้องมีผู้ปกครอง หรือเพื่อนไปไหนมาไหนด้วยตลอดเวลาอีกแล้ว ในวันสัมภาษณ์ก็เช่นกัน การพาคนอื่น ๆ ไปนั่งรอที่บริษัทด้วยจึงเป็นอะไรที่ไม่ควรทำเอามาก ๆ เพราะมันจะทำให้เราดูไม่เป็นผู้ใหญ่ และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองหรือรับผิดชอบชีวิตของตัวเองได้ถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องพาคนอื่นไปด้วย ก็ควรให้พวกเขารออยู่นอกบริษัท เช่น ร้านกาแฟ หรือ ห้างสรรพสินค้าบริเวณนั้นแทน

ไม่ใส่ใจกับมารยาทเล็ก ๆ น้อย ๆ 

ตั้งแต่ก้าวเข้ามาถึงบริษัท สิ่งแรกที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องมารยาท ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ การกล่าวสวัสดี และการขอบคุณ แม้ในเรื่องเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่คนที่สัมภาษณ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงคนที่เจอตั้งแต่เข้ามาในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงานต้อนรับ หรือฝ่ายบุคคล

อีกเรื่องที่หลายคนมักจะทำพลาดก็คือ เรื่องโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะระหว่างสัมภาษณ์ เราควรที่จะปิดเครื่องให้เรียบร้อย เพราะการเปิดระบบสั่นอาจยังไม่พอ และการมีเสียงรบกวนที่เกิดจากโทรศัพท์ดังขึ้นนอกจากจะทำให้ทั้งตัวเราเองและผู้สัมภาษณ์เสียสมาธิแล้ว ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้สัมภาษณ์ด้วย

คิดว่าโกหกไป ก็ไม่มีใครจับได้

ความซื่อสัตย์คือสิ่งที่ทุกคนควรจะมี การศึกษาคำถามที่มักพบบ่อยในการสัมภาษณ์งาน และลองคิดคำตอบเอาไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างคำตอบที่ดูดีให้กับตัวเองโดยไม่ตรงกับความจริง อย่าชะล่าใจคิดว่าโกหกไปก็จับไม่ได้ เพราะคนที่มาสัมภาษณ์ต่างเป็นคนที่มีประสบการณ์ผ่านการสัมภาษณ์มาเป็นจำนวนมากแล้วทั้งนั้น พวกเขาจึงมักจะดูออกทันทีว่าคนไหนพูดความจริง หรือคนไหนกำลังโกหก

นอกจากนั้นก็แสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาระหว่างการสัมภาษณ์ด้วย เพราะบางครั้งคนสัมภาษณ์ก็ไม่ได้ต้องการจะรู้แค่ว่าเรามีความสามารถอะไร แต่พวกเขาก็อยากจะรู้ด้วยว่าเรามีนิสัยยังไง เข้ากับทีมได้หรือไม่

พูดถึงบริษัทเดิมแบบไม่ดี

ไม่ใช่ทุกคนที่จะออกจากงานเก่าแบบสวย ๆ แต่การพูดไม่ดีถึงบริษัทเก่า หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานที่บริษัทเดิม ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะพูดออกไป เพราะมันจะทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ และเอาแต่โยนความผิดให้คนอื่น ที่สำคัญอาจจะทำให้คนที่สัมภาษณ์รู้สึกว่าวันนึงเราอาจจะเอาเขาไปพูดเสีย ๆ หาย ๆ ให้คนอื่นฟังเหมือนกัน

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้โกหกเมื่อถูกถามถึงสาเหตุที่เปลี่ยนงาน เพียงแค่เราเลือกที่จะปรับคำพูด และตอบโดยไม่โยนความผิดให้คนอื่นได้ เช่น ถ้าลาออกเพราะหัวหน้าเอาแต่สั่งโดยไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร แทนที่จะบอกไปว่าลาออกเพราะหัวหน้าเป็นคนไม่ฟังใคร เราก็เลี่ยงไปอธิบายว่ารูปแบบ และทัศนคติในการทำงานของเรากับหัวหน้าไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แค่นี้เราก็ไม่ต้องโกหก หรือพูดถึงหัวหน้าเก่าแบบไม่ดีแล้ว

ถามคำถามไม่สร้างสรรค์

เวลาที่คนสัมภาษณ์ถามว่า “มีคำถามอะไรเพิ่มเติมไหม” เขาไม่ได้ถามตามมารยาทเพื่อจบการสัมภาษณ์เฉย ๆ แต่เขาอยากดูความกระตือรือร้นและความสนใจของเราด้วย ดังนั้นอย่าตอบว่า “ไม่มี” เด็ดขาด เราควรจะถามคำถามที่เกี่ยวกับเนื้องาน หน้าที่ความรับผิดชอบ รูปแบบการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร หรือเรื่องที่สงสัยซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งาน อย่าเริ่มด้วยคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องเงิน หรือการเลื่อนขั้น โดยที่บริษัทยังไม่ได้บอกว่าจะรับเราเข้าทำงาน 

การถามคำถามเหล่านี้จะทำให้เราได้ข้อมูลเพื่อมาประเมินด้วยว่าเราเหมาะที่จะทำงานในตำแหน่งงานและองค์กรนี้จริง ๆ รึเปล่า 

พูดมากหรือน้อยเกินไป

เวลาที่คนสัมภาษณ์ถามคำถามจบ ไม่ต้องรีบตอบออกไปทันที ตั้งสติสักแป๊บนึง เพื่อนึกและเรียบเรียงคำตอบคร่าว ๆ ก่อนค่อยตอบออกไป หรือหากต้องใช้เวลาในการคิดจริง ๆ ก็บอกคนสัมภาษณ์ไปตรง ๆ เลยก็ได้ว่าขอเวลาคิดสักครู่

นอกจากนั้นอย่าลืมว่าการสัมภาษณ์งานคือการพูดคุยกัน ไม่ใช่การพูดโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราควรจะพูดและตอบคำถามให้พอดี กระชับและตรงประเด็น อย่าครองบทสนทนาอยู่ฝ่่ายเดียว ถ้าเป็นการตอบคำถามที่ต้องใช้การอธิบาย ก็ให้เล่าเฉพาะจุดที่สำคัญจริง ๆ ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ถามคำตอบคำ ไม่อธิบายอะไรเลยทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นที่ควรให้รายละเอียด

ตื่นเต้นและไม่ระวังจนเผลอทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม

เป็นเรื่องปกติที่เราอาจจะรู้สึกประหม่าหรือตื่นเต้นเวลาสัมภาษณ์งาน แต่เราต้องควบคุมมันให้ได้ อย่าเผลอทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา ไม่ว่าจะเป็น เคาะโต๊ะ เขย่าขา หรือขยับตัวไปมา เพราะการกระทำพวกนี้จะสร้างความรำคาญ และทำลายสมาธิคนสัมภาษณ์

อีกอย่างก็คืออย่าลืมมองตาคนสัมภาษณ์เราเสมอ การหลบตาขณะกำลังตอบคำถามสัมภาษณ์นอกจากจะเสียมารยาทแล้ว ยังอาจทำให้ผู้สัมภาษณ์คิดว่าเรากำลังโกหกอยู่ก็ได้ และนอกจากสายตาแล้วน้ำเสียงที่ใช้ตอนสัมภาษณ์ก็สำคัญ เราควรพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดังหรือเบาเกินไป ตอบคำถามทุกอย่างด้วยความมั่นใจ ชัดเจน และมีหางเสียงทุกครั้ง รวมทั้งต้องระวังคำพูดประเภท “เอ่อ...” หรือ “อืม...” ขณะกำลังคิดด้วย

 
สัมภาษณ์ งาน เตรียม อะไร ไป บ้าง
JobThai Official Group
Public group · 200,000 members
 

ที่มา:
quintcareers.com
businessnewsdaily.com
allbusiness.com