สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2563

ข้อมูลสถิติการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ที่มา: https://opendata.etda.or.th/dataset/0e8f275d-15e9-4be0-8157-8c26b1d10c1a
ลงทะเบียนวันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2565

สถิติพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จัดเก็บโดยการสำรวจออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ข้อมูลและทรัพยากร

  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต...XLS 9 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น...XLS 3 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น...XLSX 1 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น...XLS 1 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่ต่าง ๆ...XLS 3 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น...XLS 1 downloads
  • ร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต รายเจนเนอเรชั่น...XLS 2 downloads
  • ข้อมูลดิบจากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2563XLSX 4 downloads
  • Behavior
  • IUB
  • Internet
  • Survey
  • การสำรวจ
  • พฤติกรรมผู้ใช้อินเท...

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ค่า
* ประเภทชุดข้อมูลข้อมูลสถิติ
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalogยินยอม
* ชื่อผู้ติดต่อศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล
* อีเมลผู้ติดต่อ
* วัตถุประสงค์
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
  • แผนปฏิรูปประเทศ
  • เพื่อการให้บริการประชาชน
  • พันธกิจหน่วยงาน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูลปี
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)1
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ประเทศ
* แหล่งที่มาสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
* รูปแบบการเก็บข้อมูลXML
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูลLicense not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
URL ข้อมูลเพิ่มเติมhttps://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/documents-for-download.aspx
ภาษาที่ใช้
  • ไทย
  • อังกฤษ
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด
วันที่กำหนดเผยแพร่ข้อมูล
ปีข้อมูลที่เริ่มต้นจัดทำ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)2556
ปีข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)2563
การจัดจำแนก (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
  • เพศ
  • อายุ/กลุ่มอายุ
  • อาชีพ
หน่วยวัด (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
หน่วยตัวคูณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
วิธีการคำนวณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
มาตรฐานการจัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ)
สถิติทางการ
สร้างในระบบเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 24 พฤษภาคม 2565

เผยแพร่: 12 เม.ย. 2564 06:24   ปรับปรุง: 12 เม.ย. 2564 06:24   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประจำปี 2563 พบระยะเวลาการใช้งานเพิ่มสูงเกินวันละ 11 ชม. กลุ่ม Gen Z, Gen Y ใช้งานมากที่สุด ผลจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องใช้เน็ตเรียน/ทำงาน เบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างเกือบ 100% รับเคยพบเห็นข่าวปลอมบนอินเทอร์เน็ต ขณะที่กิจกรรมท่องโซเชียลยังครองแชมป์กิจกรรมฮิต โดยเฟซบุ๊ก (Facebook) นั่งแชมป์นาน 9 ปีต่อเนื่อง

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส เปิดเผยว่า ETDA ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 11 ชั่วโมง 25 นาที เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1 ชั่วโมง 3 นาที โดยล่าสุดได้ปล่อยแบบสอบถามปีที่ 10 แล้วใน Theme “วิถีใหม่ (New Normal) วิถีไทย”

ETDA ระบุว่า ปีแรกที่เริ่มทำผลสำรวจ คือปี 2556 คนไทยใช้เน็ตเฉลี่ยเพียงวันละ 4 ชั่วโมง 36 นาทีเท่านั้น คิดเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่ถามถึงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตจากปีที่ผ่านมา โดย 78.3% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่า มีการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น จากเหตุผลหลักคือ การที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และมีเครือข่ายที่ครอบคลุม

ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ มีความจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวันสามารถทำผ่านออนไลน์มากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน ผลกระทบจาก COVID-19 ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมาเลือกทำกิจกรรมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แทนการเดินทางจากบ้านเรือน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องพบปะผู้คนโดยเฉพาะในที่สาธารณะอีกด้วย

สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2563

ทั้งนี้ หากดูในรายละเอียดจะพบว่า ในวันธรรมดาจะมีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยอยู่ที่ 11 ชั่วโมง 23 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 ชั่วโมง 31 นาที ส่วนในวันหยุดจะมีการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 11 ชั่วโมง 29 นาทีต่อวัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 6 นาที

และเมื่อแบ่งตามเจเนอเรชัน พบว่า กลุ่ม Gen Y (อายุ 20-39 ปี) มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดอยู่ที่ 12 ชั่วโมง 26 นาที รองลงมาคือ Gen Z (อายุน้อยกว่า 20 ปี) จำนวน 12 ชั่วโมง 8 นาที ขณะที่กลุ่ม Gen X (อายุ 40-55 ปี) จำนวน 10 ชั่วโมง 20 นาที ส่วน Baby Boomer (อายุ 56-74 ปี) มีการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 8 ชั่วโมง 41 นาที ตามลำดับ

“สาเหตุที่ภาพรวมจำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตในวันธรรมดาเพิ่มมากขึ้น และกลุ่ม Gen Z และ Gen Y ที่อยู่ในวัยเรียน/วัยทำงานเป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีมาตรการปิดสถานศึกษาให้ทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และที่ทำงานส่วนใหญ่มีนโยบายการทำงานแบบ Work from Home ทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการทำงานมาเป็นแบบออนไลน์มากขึ้น” นายชัยชนะ กล่าว

สำหรับกิจกรรมออนไลน์ยอดนิยม 10 อันดับแรก ได้แก่ ใช้ Social Media เช่น Facebook, LINE, Instagram คิดเป็น 95.3% รองลงมาคือ ดูโทรทัศน์/ดูคลิป/ดูหนัง/ฟังเพลงออนไลน์ คิดเป็น 85.0% การค้นหาข้อมูล คิดเป็น 82.2% การติดต่อสื่อสารออนไลน์ทั้งการโทรศัพท์ และพูดคุย (Chat) คิดเป็น 77.8% และการรับ-ส่งอีเมล คิดเป็น 69.0%

ขณะที่การซื้อสินค้าออนไลน์ คิดเป็น 67.3% การอ่านข่าว/บทความ/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) คิดเป็น 64.2% การเรียนออนไลน์ (e-Learning) คิดเป็น 57.5% การเล่นเกมออนไลน์ คิดเป็น56.8% และการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ คิดเป็น 56.5%


ส่วนการใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า Facebook, YouTube และ LINE ยังคงเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ครองใจคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ Facebook เป็นอันดับที่หนึ่ง คิดเป็น 98.29 % รองลงมาคือ YouTube คิดเป็น 97.5% และ LINE คิดเป็น 96.0% ขณะเดียวกัน สื่อสังคมออนไลน์ที่มาแรงในปีนี้อย่าง TikTok ก็ยังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วโดยมีผู้ใช้บริการคิดเป็น 35.8% จากผู้ตอบแบบสำรวจด้วย

สำหรับประเด็น Hot Issue ในเรื่องข่าวปลอม จากผลการสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า มีเพียง 50.2% ของข้อมูลข่าวสารที่พบเห็นบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นข้อมูลจริง สามารถเชื่อถือได้โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบ แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังมีความเคลือบแคลง ลังเล และสงสัยถึงความน่าเชื่อของข้อมูลข่าวสารที่พบ และยังไม่ได้เชื่อข่าวที่พบเห็นบนโลกออนไลน์ทุกข่าวในทันที หากสอบถามถึงการเคยพบเห็นข่าวปลอม (Fake News) บนอินเทอร์เน็ต พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ถึง 94.7% ตอบว่า เคยพบเห็นข่าวปลอมบนอินเทอร์เน็ต

ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวอาจไม่ได้หมายถึงจำนวนผู้ตอบแบบสำรวจที่พบเห็นข่าวปลอมเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการพบเจอข่าวที่มีการแชร์กันว่าเป็นข่าวปลอมทั้งที่ผ่านการตรวจสอบและยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอีกด้วย