สอบถาม หลังจาก ลา ออก จาก งาน แล้ว ประกัน จะ คุ้

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

27 พ.ค. 2565 เวลา 2:55 น. 8.9k

"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ออกจากงาน อยากรักษาสิทธิประกันสังคม รีบสมัคร ม.9 คุณสมบัติ ความคุ้มครอง สรุปที่นี่

เกาะติดข่าว"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ที่ลาออกจากงาน แต่ยังอยากรักษาสิทธิประกันสังคม ต้องรีบสมัคร ม.39  อัตราเงินสมทบ คุณสมบัติ ความคุ้มครอง มีดังนี้

ปรับลดอัตราเงินสมทบ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
 

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  • นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม


รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ
 

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีเสียชีวิต
  • กรณีสงเคราะห์บุตร
  • กรณีชราภาพ

สอบถาม หลังจาก ลา ออก จาก งาน แล้ว ประกัน จะ คุ้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

  • 11 ต.ค. 2564
  • 27.4k

ลาออกจากงาน ถูกเลิกจ้าง แต่ยังอยากได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประกันสังคมอยู่ สามารถส่งเงินสมทบเองได้! เพียงแค่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมมาตรา 39 ช่วงนี้จ่ายราคาลด 235 บาท ถึงสิ้นเดือน พ.ย.

อย่าลืมรักษาสิทธิ แม้จะลาออกจากงานมาแล้ว เพราะตอนที่เป็นลูกจ้างบริษัท เงินเดือนส่วนหนึ่งถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคมมาตรา 33 ทำให้ได้รับการคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมใน 7 กรณี คือ ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

เมื่อตัดสินใจลาออก ไปประกอบกิจการของตัวเอง หรือถูกเลิกจ้าง ว่างงาน ใช่ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นจะสิ้นสุดลงทันที แต่ยังสามารถใช้สิทธิ์ได้ครบทั้ง 7 กรณี ภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงาน และจากนั้น สามารถรักษาสิทธิต่อได้ ด้วยการสมัครมาตรา 39

มาตรา 39 คุ้มครองอะไรบ้าง

ได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ

สอบถาม หลังจาก ลา ออก จาก งาน แล้ว ประกัน จะ คุ้

มาตรา39 สมัครอย่างไร

  • เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • สามารถยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • โดยส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท แต่วันนี้ ถึง สิ้นเดือน พ.ย. 2564 จ่ายเพียง 235 บาท (ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน)

สามารถส่งเงินสมทบได้ 4 วิธี คือ

  1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด
  2. จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  3. ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารนครหลวงไทย
  4. เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารกรุงไทยธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารกสิกรไทย (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชี)

สอบถาม หลังจาก ลา ออก จาก งาน แล้ว ประกัน จะ คุ้

หากไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ถ้าเราไม่อยากเสียสิทธิดังกล่าว อย่าขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็น ผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออก จากมาตรา 39

ต้องการสมัครใช้สิทธิดังกล่าวสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506

ทั่วไป

24 ส.ค. 2565 เวลา 10:52 น.9.2k

กรณี "ผู้ประกันตน" มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า กรณี "ผู้ประกันตน" มาตรา 33 ลาออกจากงาน ยังคงได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน โดยสามารถใช้สิทธิการคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

ส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้สิทธิ ต้องส่งเงินสมทบครบก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายความว่า

  • กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีคลอดบุตร ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายใน 15 เดือน
  • กรณีเสียชีวิต ต้องเคยส่งเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ยกเว้นกรณีว่างงานเพียงกรณีเดียว

ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้

ผู้ประกันตนสัญชาติไทย

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคารโดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
    - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารออมสิน
    - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

ผู้ประกันตนต่างชาติ/คนต่างด้าว

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
  • ใบอนุญาตทำงาน (Work permit)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • ใบเสร็จรับเงินตัวจริง ถ้าขาดรายได้ไม่ใช้ใบเสร็จ
  • ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ดังนี้
    - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    - ธนาคารออมสิน
    - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

CR สำนักงานประกันสังคม