ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

  • การให้เหตุผล, การให้เหตุผลแบบอุปนัย, คณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์ ม.4, ม.4, ม.4 พื้นฐาน

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

สารบัญ

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

ตัวอย่างเช่น

เหตุ

  1. เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน
  2. วันนี้แป้งตั้วใจเรียน

ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน

การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ตัวอย่าง การให้เหตุผลแบบอุปนัย

1.) หาค่า n โดยใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย

1.1) 1, 3, 5, 7, 9, n

วิธีคิด จากโจทย์จะเห็นว่า ตัวเลขแต่ละตัวเพิ่มขึ้นทีละ 2  เราก็พอจะรู้แล้วว่าตัวเลขที่ถัดจาก 9 คือ 9 + 2 = 11

ดังนั้น n = 11

1.2)

(9 × 9) + 7         = 88
(98 × 9) + 6      = 888
(987 × 9) + 5    = 8,888
(n × 9) + 4        = 88,888

วิธีคิด จากโจทย์ลองสังเกต ตัวเลขที่คูณกับ 9 จะเห็นว่าค่อยๆเพิ่มตัวเลข โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมานั้นมีค่าน้อยกว่าตัวข้างหน้าอยู่ 1 เช่น  9 เพิ่ม 8 ขึ้นมาเป็น 98 และเพิ่ม 7 ขึ้นมา 987  ดังนั้น ตัวเลขต่อไปก็ควรจะเป็น 9876 ซึ่งเมื่อลองคำนวณ (9876 × 9) + 4 เท่ากับ 88,888

ดังนั้น  n = 9,876

2.) พิจารณารูปแบบที่กำหนดให้ และหารูปแบบลำดับถัดไป

11 × 11 = 121

111 × 111 = 12321

1111 × 1111 = 1234321

___×____=__________

แนวคำตอบ ลำดับถัดไปคือ 11111 × 11111 = 123454321

สรุป

  1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การสรุปแบบย่อย ไปหา ใหญ่
  2. อาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ เนื่องจากเป็นการสรุปจากเล็กไปหาใหญ่ ทำให้ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
  3. ผลสรุปของเรา จะน่าเชื่อถือหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนประสบการณ์ ซึ่งไม่ควรน้อยเกินไป เพราะอาจจะทำให้สรุปผิดพลาดได้

วีดีโอเพิ่มเติม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

รอบรู้เรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ วรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มาของหลักมงคล 38

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจอีกเช่นเคย สำหรับเนื้อหาวันนี้เราจะขอหยิบยกวรรณคดีพระพุทธศาสนามาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันบ้าง ซึ่งวรรณคดีที่เราได้เลือกมานั่นก็คือเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ เชื่อว่าน้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนคงจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นวรรณคดี ที่สอนบรรทัดฐานของการกระทำความดีตามวิถีของชาวพุทธ และเป็นที่มาของหลักมงคล 38 ประการด้วย ดีงนั้น เดี๋ยววันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้ให้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย     ประวัติความเป็นมา เรื่อง

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

ตัวอย่างการอนุมานแบบอุปนัย

เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การใช้คำ     การใช้คำกำกวม   คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด