พระมหากัสสปะยึดถือธุดงค์ 3 ข้ออย่างเคร่งครัดแสดงถึงลักษณะนิสัยของท่านในด้านใด

พระมหากัสสปะ
เอตทัคคะ
(ได้รับยกย่อง)ในทางผู้ทรงธุดงค์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว ทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจาหอุปสมบทได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม ” พระมหากัสสปะ” ท่านๆด้ช่วยรับภาระธุระอบรมสั่งสอนพระภิกษุและพุทะบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทานธุดงค์ ๓ ประการอย่างเคร่งครัด คือ ๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสกุลเป็นวัตร (หาเศษผ้ามาทำจีวรไม่รับผ้าที่ทายกถวาย)

๒. ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

๓. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งลหาย ในทางผู้ทรงธุดงค์

นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ

ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง ท่านได้พับผ้าสังฆาฏิ ของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

” กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี ”

” ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช่สอยเถิด พระเจ้าข้า ”

” กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำอะไรสังฆาฏิเล่า ? ”

” ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า ”

ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่านแล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการ คือ

๑. กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้งหลายควรคือเป็นแบบอย่าง

๒. กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า ” ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็มีในเป็นฉันนั้น ”

๓. กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น

๔ . ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช่สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง

พระมหากัสสปเถระเป็นประธานปฐม

ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าพระบรม ศาสดา ได้ทราบข่าวจากอาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว

ภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็นั่งสงบปลงธรรมสังเวช ฝ่ายที่เป็นปุถุชนก็ร้องให้อาลัยอาวรณ์ในพระองค์ แต่มีภิกษุชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าวว่า ” ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระพุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำอะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว ”

มหากัสสปเถระเกิดความสังเวสสลดใจว่า ” พระพุทธองค์ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้า ก็คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้อยากยิ่ง”

สาระสำคัญของปฐมสังคายนา

๑. พระมหากัสสปเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย

พระมหากัสสปะยึดถือธุดงค์ 3 ข้ออย่างเคร่งครัดแสดงถึงลักษณะนิสัยของท่านในด้านใด

๒ . พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย

๓. พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวพระสูตร และพระอภิธรรม

๔. กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวรบรรพต กรุงราชคฤห์

๕. พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์

๖ . กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ

ธุดงค์ 3 ข้อที่พระมหากัสสปะยึดถืออย่างเคร่งครัดมีอะไรบ้าง

พระมหากัสสปะยึดถือธุดงค์ 3 ข้อ อย่างเคร่งครัด คือ ถือผ้าบังสุกุลเป็น วัตร เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และอยู่ป่าเป็นวัตร แสดงถึงลักษณะนิสัย ของท่านในด้านสันโดษ เคร่งครัดในข้อปฏิบัติมากๆเลยจ้า ประวัติและผลงาน

พระมหากัสสปะมีผลงานที่โดดเด่นอย่างไร

พระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ปิปผลิมาณพ 3 ข้อ คืออะไร

4. ปิปผลิได้บวชโดยรับพุทธโอวาท 3 ประการ ได้แก่อะไรบ้าง 1) ให้มีหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลาย หมายถึง ให้ยำเกรงต่อพระสงฆ์ทุกระดับ 2) ให้ตั้งใจฟังธรรม พิจารณาเนื้อหาของธรรมจนเข้าใจแจ่มแจ้ง 3) ให้เจริญกายคตาสติอยู่เสมอ

พระมหากัสสปะเป็นใครมีนิสัยอย่างไร

2. เป็นผู้มีชีวิตเรียบง่าย พระมหากัสสปะ ได้รับการสรรเสริญจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในการปฏิบัติมักน้อยสันโดษ ท่านมีนิสัยชอบสงบ อยู่ในป่า ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร