ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป eec เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องใด

สหภาพยุโรป (อังกฤษ: European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,233,255 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 447 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า[6] เกษตรกรรม[7] การประมงและการพัฒนาภูมิภาค[8] การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร

สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล[9][10][11] องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป

สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป[12] การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552

สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก[13] ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ[14] นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ[15] สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก กลุ่ม 7 และกลุ่ม 20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต

เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2558 16:51   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์

http://twitter.com/indexthai2


ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community-EEC หรือ EU) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community-AEC) เป็นการรวมตัวเป็นประชาคมในรูปแบบคล้ายๆ กัน

AEC จะแย่งเป็น 3 เสาร์หลัก ได้แก่ 1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

“AEC หรือ ASEAN Economic Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี

โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN Summit ครั้งที่ 8 เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี

การตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ( ค.ศ. 2015) ..” (kapook.com)

EU รวม 19 สกุลเงินยุโรป เป็นสกุลเงิน EUR เดียวกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม1999 (บางประเทศเข้าร่วมในภายหลัง)

AEC จะเปิดตัวเป็นทางการวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2015

AEC ไม่มีการรวมสกุลเงิน

ผู้เขียนจะไม่นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ของการรวมตัวกันของ EU และ AEC เชื่อว่าผู้สนใจคงหารายละเอียดมาศึกษาเองได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันนี้เป็นโลกของอินเทอร์เน็ต เป็นโลกของการสื่อสารที่ทันสมัย สามารถหาข่าวสารมาศึกษาได้โดยไม่ยาก

แต่จะนำเสนอ ในส่วนที่แตกต่างจากที่เป็นกระแสของโลก เช่น ความสัมพันธ์ต่อกันในระบบเศรษฐกิจโลกความสัมพันธ์ของตลาดทุน ตลาดเงินตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ของภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น EEC(EU) AEC (America Japan China ฯลฯ)

ตลาดทุน-ตลาดเงินมีความสัมพันธ์ต่อกันเวลาขึ้นก็ขึ้นด้วยกัน เวลาตกก็ตกด้วยกัน

ยกตัวอย่างการขึ้นและตกของตลาดทุนตลาดเงินประเทศไทย

ครั้งแรกของประเทศไทย ประเทศไทยเปิดตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน1975 ในช่วงเวลา 3 ปีแรก ตลาดหุ้นถูกลากขึ้นจากระดับ 100 จุด ขึ้นไปสูงสุดในช่วงปลายปี 1978 ที่ประมาณ 270 จุด จากนั้นก็มีการทุบขายทำกำไร ทำให้ราคาหุ้นตกมาอย่างรุนแรง ตกลงมา 62 เปอร์เซ็นต์จากจุดสูงสุด ลงไปต่ำสุดในปี 1982

การตกลงของตลาดหุ้น ทำค่าเงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินไหลออกจากระบบตลอดเวลา ช่วงนั้นมีการผูกค่าเงินบาทไว้ การผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินไม่สามารถสะท้อนค่าที่แท้จริงได้ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าความเป็นจริง ยิ่งทำให้เงินบาทไหลออกจากระบบมากขึ้น จึงทำให้มีการลดค่าเงินบาทหลายครั้ง ค่าเงินบาทตกลงไป 27 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 1985

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทุนสำรองทางการเงินของประเทศลดลง จนต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก

ครั้งที่สองของประเทศไทย มีการนำระบบ Maintenance margin และ Force sale มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 1993 ทำให้มีการลากตลาดหุ้นจากระดับประมาณ 1,000 จุดขึ้นไปสูงสุดที่ 1,750 จุด ในต้นปี 1994 แค่ 3 เดือน SET Index ขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็มีการทุบทำกำไร ทำให้ราคาหุ้นตกมาอย่างรุนแรง ตกลงมา 88 เปอร์เซ็นต์จากจุดสูงสุด ตกลงไปต่ำสุดในปี 1998

สาเหตุที่ตลาดหุ้นตกแรง เนื่องจากมีการบังคับขายหุ้นของนักลงทุนไทย จากการที่นำระบบ Maintenance Margin และ Force Sale มาใช้ในตลาดหุ้นในเดือนตุลาคม 1993 นั่นเอง

การตกลงของตลาดหุ้นที่รุนแรง ทำค่าเงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้นไปอีก ทำให้เงินไหลออกจากระบบมากขึ้น ช่วงนั้นเงินบาทยังคงมีการผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินไม่สามารถสะท้อนค่าที่แท้จริง หรือทำให้ช่วงดังกล่าวค่าเงินบาทแข็งกว่าความเป็นจริง ทำให้เงินไหลออกจากระบบมากขึ้น

เงินไหลออก ก็คือการไม่ถือเงินบาท หรือเอาเงินบาทไปถือหรือไปซื้อสกุลเงินตราต่างประเทศที่มีความแข็งแกร่ง หรือทิ้งเงินบาทนั่นเอง ทำให้บาทมีราคาน้อยลงตลอดเวลา

ทำให้ทุนสำรองทางการเงินที่มีอยู่ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทำให้ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 2 และมีการลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1987 หลังการลอยค่าเงิน เงินบาทตกลงไป 55 เปอร์เซ็นต์จากนั้นจึงฟื้นตัวขึ้นมา

ช่วงของการเกิดวิกฤต สภาพคล่องจะตึงตัว หรือขาดสภาพคล่องอัตราดอกเบี้ยของระบบสูงขึ้นจาก 8 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปที่ระดับ 25-30 เปอร์เซ็นต์ มีผลให้ทำระบบเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย เอกชนล้มลงและล้มละลายจำนวนมาก สถาบันการเงินก็ล้มลงและล้มละลาย ที่ไม่ล้มลงก็ถูกเปลี่ยนเจ้าของธนาคารเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่งตกเป็นของต่างชาติ

ตลาดทุน คือสิ่งที่เกินความพอเพียงในระบบเศรษฐกิจ คือสิ่งที่ถูกเบี่ยงเบนได้ง่าย คือสิ่งที่ผิดปกติของโลกทุนนิยม ประเทศใดมีตลาดหุ้น ก็จะพบกับความเสียหายและความเสื่อมทางเศรษฐกิจตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐอเมริกา และอียู

ความเสียหายของตลาดทุนเกิดที่ประเทศไหน ภูมิภาคใด ก็เป็นแบบเดียวกันทุกประการ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เคยประสบกับความเสียหายที่รุนแรงจากตลาดหุ้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดในปี 1929 ที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี 2000 ซึ่งผู้เขียนกำลังจะนำเสนอนี้

การพังทลายของตลาด NASDAQ ในปี 2000 ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น และไหลออกจากระบบค่าเงินเหรียญสหรัฐได้รับความเสียหายรุนแรง

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป eec เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องใด

ชาร์ต 1 NASDAQ Index เป็นดัชนีมูลค่าตลาด (Market Capitalization Weighted Index) ช่วงกลางปี 1999 ได้มีการนำหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงเข้ามาคำนวณดัชนี (Index Reform) เช่นหุ้นไมโครซอฟท์ทำให้ดัชนีมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงขึ้น

ดัชนีตลาดหุ้นก็คือค่าตัวกลางอย่างหนึ่ง (Mean) ดัชนีที่มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงจะอ่อนแอสูง จะถูกควบคุมหรือถูกปั่นได้ง่าย

NASDAQ Index ถูกลากจากระดับประมาณ 2,500 จุดในกลางปี 1999 ขึ้นไปสูงสุดที่ประมาณ 5,000 จุด หรือขึ้นมาประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ ในต้นปี 2000 จากนั้นก็มีการถล่มทุบขายทำกำไร ดัชนีได้ตกต่ำลงไปถึง 78 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปลายปี 2002 นับเป็นการตกที่แรงแรงมาก

การที่ดัชนีตกแรง ไม่ใช่เพราะมีการโจมตีตึกคู่แฝด (Word Trade Center-WTC) แต่อย่างใดไม่ ทั้งนี้เพราะตลาด NASDAQ ได้ตกลงรุนแรงก่อนที่ WTC ถูกโจมตีแล้ว

เช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ตลาดหุ้นเสียหาย จะทำให้ตลาดเงินเสียหายด้วยการตกลงของตลาด NASDAQ ที่รุนแรง ทำค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหายเช่นกัน ทำให้เงินไหลออกจากระบบไม่เฉพาะ Subprime ที่ล้มลง เอกชนขนาดใหญ่ก็ล้มลงจำนวนมาก เช่น Enron, WorldCom, Bear Stern Ban, Fannei Mae, Frannei Mac, Lehman Brother, Merrill Lynch, AIG ฯลฯ

คนตกงานเพิ่ม อัตราการว่างงานสูงถึง 8-9 เปอร์เซ็นต์ คงจำกันได้ คนอเมริกันออกมาเดินตามท้องถนน (Occupy Wall Street)

จากปี 2000-2014 เพดานหนี้เพิ่มจากระดับ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ระหว่างปี 2008 - 2014 ยังมีการพิมพ์เงินออกมาใช้ รวมกันถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Quantitative Easing - QE)

ที่สหรัฐไม่ได้เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ (IMF) เนื่องจากมูลค่าความเสียหายมากเกินกว่าที่ IMF จะให้ความช่วยเหลือได้

ชาร์ตที่ 2 &3 แสดงถึงความเสียหายของค่าเงินเหรียญสหรัฐ

ให้สังเกตว่า ตลาดหุ้น NADAQ เริ่มเสียหายในปี 2000 ค่าเงินเหรียญก็เริ่มเสียหายในปี 2000 เช่นเดียวกัน

ชาร์ต 2 DOLLAR eur ระหว่างปี 2000-2008 ค่าเงินเหรียญสหรัฐตกลงเป็นเวลาถึง 7-8 ปี ตกลงไปถึง 48 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร

ชาร์ต3 EUR dollar ช่วงเวลาเดียวกัน เงิน EUR แข็งค่าขึ้น 93 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ

ชาร์ตที่ 2 และ 3 เป็นข้อมูลอันเดียวกัน เป็นแต่เพียงชาร์ตที่ 3 นำมากลับหัวกลับหาง (Invert Scale) ทำให้เห็นเป็นภาพของเงิน EUR ที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับเงิน USD

คือ USD ตก EUR จะขึ้น หรือ USD ขึ้น EUR จะตก

เงินเหรียญสหรัฐเป็นเงินสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เงินยูโรเป็นเงินสกุลเงินที่ใหญ่ลำดับที่ 2 ของโลกการเปรียบเทียบของเงิน 2 สกุลนี้มีนัยสำคัญ

ยืนยันว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐได้พังทลาย มีต้นเหตุมาจากการพังทลายของตลาด NASDAQ จริง

บังเอิญมีการรวมสกุลเงินของ EEC หรือ EU ในปี 1999 เป็น EUR หลังการรวมตัวเป็นสกุลเงินเดียว แล้วค่าเงิน EUR แข็งต่อเนื่องเป็นเวลา 7-8 ปี (2000-2008) ทำให้เข้าใจว่าการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นเรื่องดี เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ว่าไว้ คือเงินยูโรก็สูงขึ้น ตลาดหุ้นอียูก็สูงขึ้น

แต่แล้วตลาดหุ้นของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้พังทลายลงอย่างรุนแรงในปี 2008 รู้จักกันในชื่อว่า Hamburger Crisis

กรณี Hamburger Crisis ปี 2000 ไม่ได้เกิดเฉพาะกับ EU เท่านั้น แต่เกิดกับทุกภูมิภาคของโลก รวมทั้ง ASEAN และไทย

ต้นเหตุความผันผวนรุนแรงของโลกครั้งนี้ มาจากเรื่องเดียวกัน คือการพังทลายของตลาด NASDAQ และ USD ในปี 2000 นั่นเอง เงินทุนโลกสลับการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างสกุลเงินดอลลาร์และไม่ใช่สกุลเงินดอลลาร์ ส่งผลให้ตลาดทุนโลกก็ปั่นป่วนไปตามๆ กันทั้งโลก

ชาร์ต 4 EUROPE39 Stock Index เป็นค่าเฉลี่ยของดัชนีชี้นำตลาดหุ้นของอียู 39 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นของยุโรปสูงขึ้น หลังการพังทลายลงของตลาด NASDAQ และ USDในปี 2000

เงินไหลเข้าอียูทำให้ EUR แข็งค่าขึ้น 93 เปอร์เซ็นต์ (ชาร์ต 3) และตลาดหุ้นEUROPE39 Index สูงขึ้น 356 เปอร์เซ็นต์ (ชาร์ต 4)

หลังจากนั้นจึงมีการพังทลายลงในปี 2008 EUROPE39 Stock Index ตกลงรวดเร็วรุนแรงถึง 71 เปอร์เซ็นต์

ชาร์ต 5 แสดงให้เห็นถึงอัตราการตกลงของดัชนีตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ ในยุโรป ในช่วง Hamburger Crisis เมื่อปี 2008 (2007-2009)

ปี 2008 และหลังปี 2008

ตลาดหุ้นอียูพังทลาย (ชาร์ต 4) ทำให้เงิน EUR เสียหาย พังทลายตามมา (ชาร์ต 3) ทำให้สภาพคล่องทางการเงินเสียหาย เอกชนล้มละลาย คนตกงานมาก หลายประเทศประชาชนออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน ไม่ว่ากรีซ สเปน อิตาลี ฯลฯ

ดัชนีตลาดหุ้น Iceland ตกมากที่สุด ลบ 97.65 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศอังกฤษตกน้อยที่สุด ลบ 46.14 เปอร์เซ็นต์

หลายประเทศ(*) ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางของยูโร (ECB) และไอเอ็มเอฟ (IMF) เช่น Iceland, Ukraine, Ireland, Greece, Italy, Hungary, Turkey, Spain และ Portugal

ชาร์ต 6 ข้อมูลการว่างงานของหลายประเทศในอียูหลังปี 2008 ซึ่งในภาพนี้มีอัตราการว่างงานที่สูง

ข้อมูลเหล่านี้ บอกให้ทราบว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนของโลก ทำให้ตลาดทุนตลาดเงินของโลกผันผวน ปั่นป่วน กระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั้งโลกในปี 2008 (Hamburger Crisis) เริ่มจากการพังทลายของตลาด NASDAQ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000 ทำให้เงินทุนไหลออกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ไหลออกมาท่วมโลกแล้วทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ ของโลก ตลาดหุ้นของประเทศต่างๆ สูงขึ้นไปสูงสุดในปลายปี 2007 แล้วพังทลายลงในปี 2008 อาเซียนและประเทศไทยก็อยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย

หลังปี 2008 เงินทุนไหลกลับสหรัฐฯ ทำให้ตลาดทุนและค่าเงินเหรียญสหรัฐดีขึ้น อัตราการจ้างงานดีขึ้น ตรงกันข้ามตลาดทุนโลกและสกุลเงินต่างๆ ทั่วโลกมีการปรับตัว

รอบของปัญหามีระยะเวลา 8 ปี

ปี 2000-2008 เป็นการตกลงของตลาดทุน ตลาดเงินสหรัฐฯ แต่เป็นการฟื้นตัวของตลาดทุนโลก และตลาดเงินโลก

ปี 2008-2015 เป็นปีของการฟื้นตัวตลาดทุน ตลาดเงินสหรัฐฯ แต่เป็นการปรับตัวของตลาดทุนโลก และตลาดเงินโลก

ปี 2015-2022 จะเป็นการตกลงของตลาดทุน ตลาดเงินสหรัฐฯ และจะเป็นการฟื้นตัวของตลาดทุนโลก และตลาดเงินโลก

คนอาจจะสงสัยว่าทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นไปตามกลไกอย่างที่นำเสนอหรือไม่ เรื่องที่เกิดขึ้นก็คงมีข้อปลีกย่อยของแต่ละประเทศแตกต่างกันไป เช่นบางประเทศก็ไม่มีตลาดหุ้น เช่น อิหร่านและบรูไน แต่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงระยะเวลานี้ เศรษฐกิจของโลกและระบบเศรษฐกิจของโลกเป็นไปตามที่นำเสนอนี้อนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป

โลกของทุนเป็นเรื่องที่แตกต่างจากเรื่องของธรรม

โลกของธรรมคือโลกของบุญ โลกของทุนคือโลกของบาป

ทุนและศักดินา ยังปกครองโลกเหมือนเดิมทุกวันนี้อบายมุขต่างๆ (บาป) เบ่งบานได้ง่ายผ่านการสื่อสารความเร็วสูงทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ดูชมผ่านจอได้ตลอด 24 ชั่วโมง อาชีพบันเทิง เช่น ละคร เกมโชว์ กีฬาลีก ฟุตบอลอาชีพ กีฬาอาชีพ แข่งรถ แข่งเรือ ประกวดคน ฯลฯ สร้างรายได้ในผู้ที่อยู่ในระบบได้สูง ทำให้ผู้คนอยากมีอาชีพทางบันเทิงมากขึ้น “แมนนี ปาเกียว” นักชกชื่อดังของฟิลิปปินส์ ชกไฟต์เดียวได้ค่าตัว 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,200 ล้านบาท

แต่ที่มีรายได้สูงจะมีเพียงไม่กี่คน เป็นเพียงคนส่วนน้อย อาชีพของอบายมุขจึงไม่น่าเป็นสาระของระบบเศรษฐกิจที่ดีได้เป็นอาชีพที่ไม่สามารถให้ความมั่นคงร่มเย็นแก่ระบบได้

สิ่งบันเทิง พุทธศาสนา ว่าเป็นอบายมุข อบายมุขคือทางของความเสื่อม นั่นคือโลกเดินหน้าเสื่อมลงง่ายกว่าเดิม ผู้คนและทางการควรควบคุมตัวเองและระบบให้สนใจบันเทิงเพียงพอประมาณ

ยุโรป เป็นประเทศที่เสื่อมอย่างต่อเนื่อง บางประเทศมีตู้แทงพนันแทบทุกมุมถนน เป็นอบายมุขที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้คนรุ่นใหม่เดือดร้อนอัตราการว่างงานวัยรุ่นสูงพวกเขาอยู่กันด้วยความลำบาก และวิตกกังวลกับอนาคตของตนเอง

ประเทศไทยกำลังส่งเสริมให้มีฟุตบอลอาชีพ ฟุตบอลลีกตามจังหวัดต่างๆ บางจังหวัดสร้างสนามแข่งรถเลียนแบบยุโรป อเมริกา ประเทศไทยกำลังจะส่งเสริมอาชีพทางอบายมุขเพิ่มขึ้นจะเกิดความแต่บันเทิง แต่ไม่เกิดความร่มเย็น

ตลาดหุ้น ตลาดเงิน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นตลาดซื้อขายตัวเลขในกระดาษ การซื้อขายหวยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก็คือการซื้อขายตัวเลขในกระดาษ เมื่อหวยหรือสลากกินแบ่งเป็นอบายมุข ตลาดหุ้นก็คือตลาดอบายมุขเช่นเดียวกัน

ตลาดอนุพันธ์หรือตลาดซื้อขายล่วงหน้า ยิ่งเป็นอบายมุขเด่นชัด เนื่องจากเป็นการซื้อขายตัวเลขโดยไม่มีตัวสินค้า สามารถซื้อขายได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ซื้อขายได้ทุกวันทำการของตลาด ขณะที่สลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินมีการออกรางวันเดือนละ 2 ครั้ง

การซื้อขายตัวเลขในตลาดหุ้น ทุกวันนี้ไม่ต้องใช้โทรศัพท์ ไม่ต้องไปที่ตลาดหลักทรัพย์ หรือไม่ต้องไปที่ทำการของโบรกเกอร์เหมือนในอดีต แต่สามารถสั่งซื้อสั่งขายได้ด้วยตัวเองทางอินเทอร์เน็ต ซื้อขายได้ในทุกประเทศ

มาถึงเรื่องที่จั่วหัวเรื่องไว้

เกินความพอเพียงของ AEC จะซ้ำรอย EEC (EU)

เรื่องที่เกิดกับสหรัฐอเมริกา เรื่องที่เกิดกับยุโรปเป็นเรื่องมหภาคเศรษฐกิจโลก เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งไม่ใช่สัมพันธ์กันเฉพาะสหรัฐอเมริกากับอียูเท่านั้น แต่สัมพันธ์กันทั้งโลก รวมทั้งอาเซียนด้วย

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community-AEC) จะเปิดตัวที่เป็นทางการวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้

ผู้เขียนได้พัฒนาดัชนีตลาดทุนของอาเซียน (ASEAN7 Stock Index) และตลาดเงินของอาเซียน (ASEAN Dollar) ไว้หลายปี ที่นำมาแสดงนี้เป็นข้อมูลย้อนหลังจากปี 2007 จนถึงปลายปี 2015 ว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร มีภาพของปี 2008 ด้วย

ชาร์ต 7 ASEAN7 Stock Index เป็นดัชนีค่าเฉลี่ยตลาดหุ้นของอาเซียน 7 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว ที่มีข่าวว่ามีตลาดหุ้นแล้ว และยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการได้แก่พม่าและกัมพูชา ส่วนบรูไนไม่มีข่าวว่าจะเปิดตลาดหุ้น

ASEAN 7 Stock Index จากที่ปี 2007 ที่เคยมีจุดสูงสุดไว้ ยังเกิดจุดสูงสุดใหม่ในปี 2015 ด้วย ตลาดหุ้นดีต่อเนื่อง แสดงว่าเศรษฐกิจของอาเซียนดี

ชาร์ต 8 ASEAN Dollar เป็นค่าเฉลี่ยค่าเงินดอลลาร์ของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ASEAN Dollar เคยมีจุดสูงสุดไว้เมื่อต้นปี 2008 (Hamburger Crisis) แล้วก็มีการปรับตัวที่รวดเร็วรุนแรง ค่าเงินตกลงไปถึง 19 เปอร์เซ็นต์

แต่จากจุดสูงสุดเดิมในต้นปี 2008 ถึงปลายปี 2015 ASEAN Dollar ได้ปรับตัวลงถึง 34 เปอร์เซ็นต์

ตลาดหุ้นคือตลาดอบายมุข เป็นตลาดมิจฉาทิฐิ เป็นมิจฉาอาชีวะคือตลาดที่เกินความพอเพียงของระบบเศรษฐกิจ นำความเสียหายและความเสื่อมมาสู่ระบบตลอดเวลา เกิดกับทุกประเทศที่มีตลาดหุ้น ไม่ว่าประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออียูที่เป็นไปตามที่นำเสนอไว้ในช่วงต้นของบทความนั่นเอง

หลังการมีตลาดหุ้นทำให้ประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟมาแล้วถึงสองครั้ง ครั้งแรกมีการลดค่าเงินบาท ครั้งที่สองมีการลอยค่าเงินบาท เศรษฐกิจล้มลงและล้มละลายจำนวนมาก เกิดหนี้เสียกองโต คนตกงานมาก ธนาคารขนาดใหญ่ก็ตกไปเป็นของต่างชาติ เงินบาทเสียหาย ทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นมาก การสูงขึ้นของสินค้าและบริการไม่ได้มีต้นเหตุมาจากตลาดหุ้นและความผิดปกติของโครงสร้างกิจการพลังงานเท่านั้น แต่มีต้นเหตุมาจากการคอร์รัปชันประเทศด้วย

ทำให้ความเดือดร้อนรัดคอประเทศชาติและประชาชนแน่นขึ้นตลอดเวลา

หากแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เช่น ความผิดปกติของระบบจากตลาดหุ้น ความผิดปกติจากโครงสร้างราคาพลังงาน ราคาสินค้าและบริการก็จะไม่สูง ต้นทุนของประเทศก็จะไม่สูง ทุกวันนี้ต้นทุนของประเทศสูงมาก ทำให้การบริหารจัดการระบบของประเทศเบี่ยงเบนไปด้วย ยิ่งมีคอร์รัปชันด้วย ยิ่งทำให้ประเทศเสื่อมมากขึ้น

การคอร์รัปชัน การขึ้นค่าแรง การขึ้นเงินเดือนขึ้นเงินบำนาญข้าราชการ ในทุกรัฐบาลหลังปี 2001 คือการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ยิ่งทำให้งบประมาณมีปัญหามากขึ้น

เมื่องบประมาณมีปัญหา ก็จัดการด้วยการขึ้นภาษีวีเอที ขึ้นค่าธรรมเนียมเรียกเก็บต่างๆ ขึ้นราคาพลังงาน ขึ้นค่าน้ำ ค่าไฟ ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม เพื่อจะทำให้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

ยิ่งทำให้ต้นทุนของประเทศสูงขึ้นไปอีก

หาทางตัดรัฐสวัสดิการออก เช่น การเอาสถาบันการศึกษาออกนอกระบบ ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

เป็นไปได้ว่าหลังการเปิดอาเซียนอย่างเป็นทางการวันที่ 31 ธันวาคม 2015 นี้ ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจอาเซียน อาจจะซ้ำรอยแบบที่เกิดกับอียูหลังการรวมสกุลเงินในปี 1999 ได้คือมีการขึ้นในช่วงแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยการตกลงของตลาดเงินตลาดทุน ทำให้เกิดปัญหาเหมือนที่เคยเกิดกับอียูในปี 2008 ได้

แม้จะไม่ได้มีการรวมสกุลเงินแบบอียูก็ตาม สิ่งที่คล้ายกันคือการมีตลาดหุ้นนั่นเอง ตลาดหุ้นคือปัญหาของประเทศ ของภูมิภาคและของโลก

วิกฤตในอนาคตของอาเซียนและของไทยรออยู่ ที่เห็นว่าทุกวันนี้เดือดร้อนอยู่ วันข้างหน้าจะเดือดร้อนมากกว่านี้อีก

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (The European Economic Community : EEC) มีวัตถุประสงค์อย่างไรในการจัดตั้ง

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อังกฤษ: European Economic Community, EEC; บ้างเรียกสั้นเพียง ประชาคมยุโรป (European Community)) เป็นองค์การระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นด้วยทรรศนะที่จะทำให้เกิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ (รวมทั้งตลาดร่วม) ในบรรดาหกสมาชิกดั้งเดิมหกประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์

ประชาคมสังคมเศรษฐกิจยุโรป EEC ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกกี่ประเทศ

| 419,328 view. ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง ประเทศในทวีปยุโรป 27 ประเทศ (ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส

สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มในรูปแบบใด

สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคยุโรปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในลักษณะสถาบันแบบเหนือรัฐ (Supranational Institution) ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพเป็นการถาวรระหว่างประเทศในภูมิภาคยุโรปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง ...

แนวคิดใดที่นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป (EU)

แนวคิดในการก่อตั้งสหภาพยุโรปเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะสร้างสันติภาพในทวีปยุโรป ไม่ให้ประเทศในยุโรปใช้ทรัพยากรในประเทศของตนทำสงครามระหว่างกัน ดังนั้น ในปี 1951 ประเทศในทวีปยุโรป 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เยอรมันตะวันตก ลักเซมเบอร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ จึงรวมตัวกันก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กยุโรป (The ...