ในการ สื่อสาร ทาง อินเทอร์เน็ต กับผู้ที่มี อาวุโส กว่า ควรใช้ภาษา อย่างไร

    จากปัญหาการล่อลวงที่เกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีของสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือจากความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้ควรยึดถือไว้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ ดังนี้

1.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.  ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.  ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.  ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.  ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

                    อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น ประเด็น คือ1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย

·                     ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ

·                     ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

·                     ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา

·                     เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง

·                     ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ

ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย

·                     เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ

·                     เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

·                     ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย

·                     ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

·                     ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย

·                     ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

·                     หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น

·                     ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย

·                     ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย

·                     ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง

·                     ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น

2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย

·                     ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง

·                     ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

·                     ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

·                     ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

·                     ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน

·                     ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น

·                     ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย

·                     ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

ในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตนักเรียนควรใช้ภาษาอย่างไร

ภาษาที่ใช้ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นภาษาทางการหรือภาษาเขียนเท่านั้น ยกเว้นถ้าเป็นการพูดคุยกับเพื่อนสนิทที่เป็นการส่วนตัว ก็อาจใช้ภาษาพูดได้ ภาษาที่ใช้ในการคุยกับเพื่อนสนิท หรือใช้ภายในกลุ่มเฉพาะ มักใช้ภาษาปาก คำแสลง คำที่แผลงไปจากภาษาปกติ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร เช่น

การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตควรใช้ภาษาอย่างไร

เหมาะกับกาลเทศะ หากเขียนถึงเพื่อนสนิท นักเรียนอาจใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการได้ เขียนถึงผู้ใหญ่ เช่น ญาติผู้ใหญ่ พ่อ แม่ ครู ก็อาจใช้ภาษากึ่งทางการ แต่หากเขียนเพื่อกิจธุระ เช่นเขียนจดหมายลากิจ ลาป่วย หรือขออนุญาตต่างๆถึงโรงเรียน หรือขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ สุภาพ

เพราะเหตุใดเราจึงควรใช้ภาษาสุภาพในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต

4.ควรจะใช้ภาษาที่สุภาพเพราะอินเทอร์เน็ตเป็นที่ที่ไม่ปลอดภัยและอาจมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นได้ เคารพในสิทธิ์และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น

มารยาทในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

มารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต.
1. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น.
2. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม.
3. ไม่เจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตนเองและผู้อื่น.
4. ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่นและไม่ใช้เครือข่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต.

ในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตนักเรียนควรใช้ภาษาอย่างไร การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตควรใช้ภาษาอย่างไร เพราะเหตุใดเราจึงควรใช้ภาษาสุภาพในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต มารยาทในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต 10 ข้อ ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต 10 ข้อ ในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต นักเรียนควรใช้ภาษาเช่นใดจึงจะเหมาะสม โปสเตอร์ ข้อปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต ข้อควรปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างมีมารยาท การใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไรยกตัวอย่างมา 3 ข้อ การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม ข้อปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ต 8 ข้อ