การปรับปรุงบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่4-6

สนธิสัญญาเบาริงกับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ : ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) อังกฤษมีสิทธิตั้งกงสุลคอยดูแลผลประโยชน์ และตั้งศาลกงสุลเพื่อชำระความคนในบังคับอังกฤษได้ 2) ให้สิทธิการค้าโดยเสรีแก่คนในบังคับอังกฤษทั่วทุกเมืองท่าของไทย และอาจจะเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ในเขต 4 ไมล์ จากกำแพงเมือง ถ้าเข้ามาอยู่เมืองไทย 10 ปีแล้ว 3) ยกเลิกการเก็บค่าระวางปากเรือ แต่กำหนดภาษีขาเข้าตามราคาสินค้า ในอัตราร้อยชัก 3 ส่วนภาษีขาออกให้เก็บเพียงครั้งเดียว 4) ไม่เก็บภาษีฝิ่น แต่ต้องนำมาขายให้แก่เจ้าหน้าที่เท่านั้น และถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อ นำออกไป 5) รัฐบาลไทยมีสิทธิจะห้ามส่งข้าว เกลือ และปลาออกนอกประเทศได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องแจ้งให้กงสุลทราบข่าวล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือน 6) ถ้าไทยทำสัญญายกประโยชน์ให้ชาติหนึ่งชาติใดในวันข้างหน้า ซึ่งนอกเหนือที่อังกฤษได้รับในครั้งนี้ อังกฤษจะต้องได้รับในครั้งต่อๆ ไปด้วย (Most Favored nation) 7) เมื่อสัญญาพ้นกำหนด 10 ปีแล้ว ฝ่ายไทย ฝ่ายอังกฤษ จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ โดยบอกให้
คู่สัญญารู้ล่วงหน้า 1 ปี เพื่อให้มีการตกลงแก้ไขจากการยินยอมของทั้งสองฝ่าย

Advertisement

ภายหลังจากที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 แล้ว หลังจากนั้นได้มีประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันตกของโลก ได้ส่งผู้แทนเข้ามาเจรจาเพื่อทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้ากับไทย โดยยึดแบบอย่างที่ได้ทำกับอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงต้อนรับและทรงยินดีที่จะติดต่อมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับประเทศเหล่านี้เป็นอย่างดี โดยทรงใช้สนธิสัญญาเบาริงเป็นแบบฉบับในการทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้ากับประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา กล่าวคือ ได้ทำสัญญากับฝรั่งเศสใน พ.ศ.2399 สหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2399 เดนมาร์กใน พ.ศ.2401 โปรตุเกสใน พ.ศ.2402 ฮอลันดาใน พ.ศ.2403 รัสเซียใน พ.ศ.2405 สวีเดนและนอร์เวย์ใน พ.ศ.2411 ตามลำดับ

สำหรับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากสนธิสัญญาเบาริงมีดังนี้

1.ทำให้ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้ว่าภายใน 19 เดือนนับตั้งแต่วันลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษ มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯ ถึง 103 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าต่างประเทศถึง 37 ลำ

Advertisement

2.ก่อให้เกิดระบบการค้าเสรี และมีการยกเลิกการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้าไปในที่สุด ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการค้าของไทยให้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง

3.เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างสินค้าออกและสินค้าเข้า กล่าวคือ สินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป เช่น ผ้านุ่ง ผ้าฝ้าย เครื่องแก้ว ใบชา กระจก เป็นต้น ส่วนสินค้าออกในสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆ ชนิด ก็ได้เปลี่ยนเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว ไม้สัก ดีบุก เป็นต้น

4.หลังสนธิสัญญาเบาริง การส่งออกข้าวได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนไป และความต้องการของตลาดโลกมีเพิ่มมากขึ้น หลัง พ.ศ.2398 เป็นต้นมา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ทำให้การปลูกพืชชนิดอื่นที่เลี้ยงตัวเองได้ เช่น อ้อย ฝ้าย และพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆ ลดน้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงไปด้วย หรือบางทีก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน

5.สืบเนื่องจากการขยายตัวในการผลิตข้าว ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานในการทำนาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความจำเป็น จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อเกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น งานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดเกล้าฯ ให้จ้างคนจีนมาทำ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้คนไทยมีอิสระที่จะประกอบอาชีพของตนมากกว่าแต่ก่อน เพราะไม่ต้องกังวลกับการถูกเกณฑ์แรงงาน โดยอาจจะใช้วิธีจ่ายเงิน “ค่าราชการ” แทนการเกณฑ์แรงงานได้

การผลิตเงินตราโดยเครื่องจักร : ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว ได้มีการค้าขายกันอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ระบบเงินตราจึงได้เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยจากการที่การค้าได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางนี้เอง ทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศมีจำนวนไม่เพียงพอ เป็นผลให้พระคลังมหาสมบัติผลิตเงินได้ไม่ทันกับความต้องการ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นใน พ.ศ.2403 และสั่งซื้อเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้แทนเงินพดด้วงเดิมซึ่งผลิตด้วยมือ

การส่งเสริมการทำนาของชาวนา : ทางด้านการส่งเสริมการทำนาผลิตข้าวของชาวนานั้น รัชกาลที่ 4 ได้ทรงยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินทำนา ซึ่งชาวนาได้บุกเบิกใหม่ใน พ.ศ.2400 พระองค์ทรงประกาศว่า “จะไม่เก็บภาษีที่ดินบุกเบิกเพื่อใช้ทำนาปีแรก” และในอีก 2-3 ปีต่อมาจะเก็บภาษีแต่เพียงอย่างต่ำ นอกจากนี้ยังทรงส่งเสริมให้ชาวนาขยายเนื้อที่ทำนาให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีการลดหย่อนการเกณฑ์คนทำงานหลวงอันเป็นประเพณีดั้งเดิมลง งดเว้นการเกณฑ์แรงงานในฤดูทำนา เพื่อให้ราษฎรมีเวลาใช้ประกอบอาชีพทำนามากขึ้น

การปรับปรุงภาษีอากร : การทำสนธิสัญญาเบาริงเป็นความสำเร็จที่นำไปสู่การปฏิรูปครั้งใหญ่ เกี่ยวกับกลไกการบริหารทางด้านการคลัง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบภาษีอากรทั้งมวล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งภาษีอากรขึ้นใหม่ ซึ่งมี 14 ประเภท เช่น ภาษีสุกร ภาษีปลาสด ภาษีปลาทู ภาษีหม้อหวด ภาษีเตาหล่อ อากรมหรสพ อากรการพนัน ภาษีผัก ภาษีฝิ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขระบบการเก็บภาษีบางประเภท เช่น ลดอากรต้นทุเรียนซึ่งเคยเก็บต้นละ 1 บาท เป็นต้นละสลึงเฟื้อง นอกจากนี้ ก็มีการยกเลิกและเปลี่ยนภาษีอากรบางอย่างที่ทำให้ราษฎรเดือนร้อน เช่น ให้เลิกภาษีเกวียน ภาษีเรือจ้างและภาษีฟัก ยกเลิกการประมูลภาษีพลู ยกเลิกภาษีผลมะพร้าว แต่ให้เก็บภาษีน้ำมันมะพร้าวแทน เป็นต้น

สภาพการณ์เศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มต้นพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง อันเป็นผลมาจากการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้การค้ากับต่างประเทศที่ขยายตัวออกไป ประกอบกับความจำเป็นในการปรับตัวของไทยให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่างก็มีส่วนเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของไทยในระยะนั้น

ปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันให้มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ

การปฏิรูปเศรษฐกิจในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีปัจจัยที่เป็นแรงผลักดัน คือ

1) การปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกนั้น จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนเป็นจำนวนมหาศาล มิฉะนั้นการปฏิรูปจะดำเนินต่อไปไม่ได้ ดังนั้น การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐมีรายได้พอเพียงต่อการปฏิรูปแผ่นดินครั้งใหญ่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

2) ปัญหาระบบการคลังที่ล้าสมัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประสบอยู่ในขณะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะไม่สนองตอบต่อนโยบายปฏิรูปแผ่นดินในทุกๆ ด้าน เพราะรัฐมีรายได้ไม่พอเพียง เนื่องจากระบบการคลังขาดประสิทธิภาพ รายได้ของรัฐมีทางรั่วไหลมาก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน 4 ด้าน คือ…

(1) การปฏิรูปทางด้านการคลัง สืบเนื่องจากระบบการบริหารการคลังในระบบเดิมที่เป็นมายังสับสน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบและควบคุมการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปการคลัง ดังต่อไปนี้

1.1 จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ.2416 โดยมุ่งหมายจะให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์

1.2 ประกาศใช้ พ.ร.บ.กรมพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ.2418 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดระเบียบราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดวิธีการส่งเงิน รับเงิน ตรวจเงิน และการจัดลำดับตำแหน่งข้าราชการรับผิดชอบงานในระดับต่างๆ ตลอดจนกำหนดระเบียบปฏิบัติของเจ้าภาษีอากร และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเงินต่อพระคลังมหาสมบัติ

1.3 โปรดให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เพราะแต่เดิมไม่มีการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายล่วงหน้าและต่อมาใน พ.ศ.2434 โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการจัดทำงบประมาณขึ้นเพื่อเป็นหลักในการจัดสรรเงินให้แก่กระทรวงต่างๆ ให้เป็นสัดส่วนกัน การจัดระเบียบการจัดทำงบประมาณดังกล่าว ทำให้รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2444

1.4 โปรดให้แยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการจัดระเบียบการคลังและจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ ได้มีการแยกรายจ่ายส่วนพระองค์ออกจากรายจ่ายของแผ่นดินหรือรายจ่ายของสาธารณะ และใน พ.ศ.2441 ได้มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของประเทศ แล้วมอบให้พระคลังข้างที่เป็นฝ่ายบริหารพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ต่อไป

(2) การปฏิรูประบบเงินตรา เนื่องจากการค้าขายได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางรัชกาลที่ 5 จึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบเงินตราให้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายที่ทันสมัย ดังเช่นที่ประเทศตะวันตกปฏิบัติกันอยู่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการซื้อขายยิ่งขึ้นการปฏิรูประบบเงินตราในสมัยรัชกาลที่ 5 มี 3 ประเด็น คือ

2.1 ใน พ.ศ.2422 โปรดให้สร้างหน่วยเงินที่เรียกว่า “สตางค์” ขึ้นใช้ โดยกำหนดให้ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท พร้อมทั้งผลิตเหรียญสตางค์ขึ้น 4 ราคา คือ 20 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 2 1/2 สตางค์ ใช้ปนกับเงิน ซีก เสี้ยว อัฐ ฯลฯ ต่อมาในตอนปลายรัชกาล โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกเงินเฟื้อง เสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งเป็นเงินตราแบบเดิม

2.2 ใน พ.ศ.2445 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.121 และจัดตั้งกรมธนบัตรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการออกธนบัตรให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

2.3 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงดำริที่จะจัดตั้งธนาคารของคนไทยเพื่อช่วยสนับสนุนการค้าและเศรษฐกิจของคนไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับชาวต่างประเทศ จึงได้ทรงเริ่มต้นด้วยการจัดตั้ง “บุคคลัภย์” (Book Club) ขึ้นก่อนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2447 และทดลองดำเนินกิจการภายในประเทศเท่านั้น โปรดติดตามฉบับหน้าว่าจาก Book Club เปลี่ยนมาเป็น Bank ใช้ชื่อว่า “แบงก์สยามกัมมาจล” (Siam Commercial Co.) ซึ่งก็คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด เกิดขึ้นครั้งแรกอย่างไรในฉบับหน้านะครับ

การปรับปรุงประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 มีอะไรบ้าง

มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การ บริหารงานแบบกระทรวงตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรม ต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม ต่อมา เปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดีมี12 กระทรวง

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๗๕) เป็นช่วงเวลาในสมัยรัชกาลที่ ๔-๗ (ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕) สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นช่วงเริ่มปรับปรุงประเทศ เปิดการติดต่อกับชาติตะวันตกอย่างเป็นทางการ ปรับปรุงการคมนาคม มีการตัดถนน ขุดคลอง

ไทยเริ่มเข้าสู่สมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลใด

ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่

การปกครองสมัยปฏิรูปบ้านเมืองเริ่มตั้งเเต่รัชสมัยใด

การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ.2435. สาเหตุ