วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการปฏิบัติตนที่ส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ให้มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

Outline

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

- การสร้างเสริมสุขภาพ
      -วัยเด็กปฐมวัย
      -วัยผู้ใหญ่
      -วัยสูงอายุ
-คุณค่าของการสร้างเสริมสุขภาพ
      -ของการออกกำลังกาย
      -ผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว


การสร้างเสริมสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในเด็กปฐมวัย

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

               

​สุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัย (Health and Safety for Early Childhood Children) มีความสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาของเด็กเป็นอย่างยิ่ง ครูและผู้ปกครองจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพอนามัย รวมถึงเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตของเด็ก เพื่อขจัดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและพัฒนาเด็กตั้งแต่ต้น เพราะเด็กปฐมวัย หรือช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบบริบูรณ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตช่วงหนึ่งของเด็ก เนื่องจากในระยะนี้ เด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเด็กมิได้มีพัฒนาการที่เด่นชัดทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยในชีวิตประจำวันที่อาจขัดขวางพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า เด็กกว่า 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มสมรรถภาพ อันเนื่องมา จากความต้องการของเด็กเหล่านี้ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก อันจะเป็นรากฐานไปสู่การมีชีวิตที่มั่นคง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงอันตรายรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้
การดูแลเรื่องสุขภาพของเด็กนั้น หากเด็กได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเพียงพอในช่วงขวบปีแรกๆ นอก จากจะทำให้ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาทางด้านสุขภาพของเด็กแล้ว ยังอาจมีส่วนยับยั้ง หรือแก้ไขความผิดปกติทางด้านร่างกายของเด็ก ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ในส่วนของความปลอดภัย เด็กจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถเรียนรู้และเติบโตได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เด็กจำนวนมากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในแต่ละปี โดย The Center for Disease Control ระบุว่าสาเหตุอันดับ 1 ของการบาดเจ็บและอุบัติเหตุในเด็ก เกิดจากการหกล้มและอุบัติเหตุบนท้องถนนตามลำดับ ในขณะที่ไม่มีผู้ปกครองคนใดที่จะสามารถเนรมิตโลกของลูกให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยที่สุดผู้ปกครองก็สามารถสร้างเสริมความปลอดภัยให้กับลูกได้ ด้วยการพยายามลดปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ และที่สำคัญที่สุด ผู้ปกครองควรใส่ใจกับเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงจัดการสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย และเอื้อประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุดอย่างเต็มกำลัง

 การช่วยเหลือและแก้ไขเด็กที่มีปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร?
อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง “ทั้งชีวิตของเด็ก” ดังนั้นหากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบ ตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิต อาทิเช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย
แต่ในทางกลับกัน หากเด็กที่มีปัญหาสุขภาพหลังคลอด ได้รับการช่วยเหลือหรือรักษา ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมมีแนวโน้มที่เด็กจะหายขาดจากความผิดปกติได้มากขึ้นตามไปด้วย
ดังนั้น การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกครอบครัวประสงค์ให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอก จากจะมีปัญหาสุขภาพแล้ว พวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น

 พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยได้อย่างไร?
บ้านคือหัวใจสำคัญสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย ผู้ปกครองย่อมประสงค์ให้บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีของลูก ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถทำบ้านให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกได้ และยังสามารถสนับ สนุนการมีสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่ลูกได้อย่างเต็มที่ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ประกอบอาหารที่สะอาดและมีสารอาหารครบถ้วนให้แก่ลูก
  • ฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ เพราะหากลูกสามารถรับประทานผักและผลไม้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ย่อมเป็นหลักประกันว่าลูกจะไม่เลือกทานเฉพาะเนื้อสัตว์ และจะได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ต่อไปในอนาคต
  • หากครอบครัวมีข้อจำกัดทางการเงิน และไม่สามารถให้ลูกรับประทานเนื้อสัตว์ได้บ่อยเท่าที่ควร ควรหาอาหารโปรตีนสูงประเภทอื่น เพื่อทดแทนสารอาหารที่ร่างกายเด็กต้องการ ในกรณีนี้ “โปรตีนเกษตร” ถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำ คัญแหล่งหนึ่งได้เช่นกัน
  • ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของทุกคนในครอบครัว โดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน รวมถึงไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • สมาชิกในครอบครัวไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ใกล้เด็ก เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายในตัวเด็ก รวมถึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ขาดสติ และก่อความรุนแรงแก่เด็กได้
  • สร้างสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้านให้ปลอดภัย โดยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ กล่าวคือ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก อันได้แก่ อุปกรณ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย มีดและของมีคมให้พ้นจากมือเด็ก หรือปิดประตูห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน สำหรับภายนอกบ้านนั้น ผู้ปกครองควรจัดให้โล่ง เพื่อป้องกันการมาอยู่อาศัยของสัตว์ร้าย รวมถึงเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากสิ่งกีดขวางทางในสนามเล่น เป็นต้น
  • ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเพียงลำพังหรืออยู่นอกสายตาโดยไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย ผู้ปกครองควรให้การดูแลลูกอย่างเหมาะสมและใกล้ชิดตลอดเวลา
  • สอนหลักในการประพฤติตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมสร้างเสริมความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่เหมาะสมให้กับลูก
  • ทำความเข้าใจกับพัฒนาการ ความสามารถ และความต้องการของลูก
  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกในขณะประกอบกิจวัตรประจำวันว่า มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด กล่าวคือ มีความปลอดภัยหรือถูกสุขลักษณะหรือไม่
  • เลือกเครื่องมือเครื่องใช้ให้เหมาะสมกับอายุและช่วงของการเจริญเติบโตของลูก
  • เลือกสิ่งที่มีมาตรฐานและปลอดภัยให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์สำหรับทำกิจ กรรมกลางแจ้ง เป็นต้น
  • ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และสร้างกิจวัตรที่ส่งเสริมความสะอาดและปลอดภัยให้กับลูก เช่น เลือกใช้ถุงมือหรือผ้ากันเปื้อนแบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เลือกใช้ถังขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะอันตราย และแยกให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูก ต้องดำเนินไปควบคู่กับการมอบอิสระในการเรียนรู้ และการทด ลองสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งมักเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม สมดุลของทั้งสองส่วน ย่อมเกิดขึ้นได้ หากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมีความปลอดภัย อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการมอบโอกาสให้เด็กประสบความสำเร็จ และมีความมั่นใจจากการได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ดังนั้น จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปกครองจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นและยอมรับในตัวลูก และในขณะเดียวกัน ก็ควรถือโอกาสเรียนรู้วิธีการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยไปพร้อมกับทุกก้าวย่างของการเจริญเติบโตของลูกเช่นกัน

หลักของการออกกำลังกายในวัยเด็ก

​1. กิจกรรมการออกกำลังกาย  ได้แก่  วิ่ง  เล่นกีฬาต่างๆ  เช่น  ฟุตบอล  บาสเกตบอล  เทนนิส  แบดมินตัน  ว่ายน้ำ  เป็นต้น
2.  ความหนักของการออกกำลังกาย  โดยให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 60-80 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด
3. ความนานของการออกกำลังกาย  ใช้เวลา  20-60 นาที
4. ความบ่อยของการออกกำลังกาย  3-5  วันต่อสัปดาห์
     ข้อแนะนำในการออกกำลังกาย
1. กิจกรรมการออกกำลังกาย  ควรเน้นความสนุกสนาน  รูปแบบที่ง่ายๆ
2. ควรคำนึงถึงความปลอดภัย  ไม่หนักเกินไป
3. ควรจัดกิจกรรมในลักษณะค่อยๆ  เพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายจนถึงระดับหนักปานกลาง
4. ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย  และผ่อนร่างกายหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง
5. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  ควรใช้กิจกรรมลุกนั่ง  ดันพื้น  โหนบาร์  ยกลูกน้ำหนักที่ไม่หนักมาก
     ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
1. เมื่อเด็กไม่สบายมีไข้  ตัวร้อน  ไม่ควรออกกำลังกาย
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการปะทะกระทบกระเทือนหรือใช้ความอดทนมากเกิดไป
3. สภาพอากาศร้อน  มีแสดงแดดมาก  ควรหลีกเลี่ยงหรือต้องให้เด็กดื่มน้ำเป็นระยะๆ

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

ที่มา:

  1. Child Health and Safety - http://www.nemcsa.org/headstart/ECDHS_C.aspx 
  2. Early Childhood Experiences - http://www.commissiononhealth.org/PDF/ 
  3. Health and Safety Practice in Early Years Settings –http://www.collinseducation.com/resources/BTECNationalCPLDF.pdfhttp://www.collinseducation.com/resources/BTECNationalCPLDF.pdf 
  4. Issues That Affect Children in Early Childhood Development -http://everydaylife.globalpost.com/issues-affect-children-early-childhood-development-1605.html
  5. http://www.del.wa.gov/development/safety/home.aspx
  6. การออกกำลังกายในวัยต่างๆ - http://www.thaihealth.or.th/Content/25238-การออกกำลังกายในวัยต่างๆ.html

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในผู้ใหญ่

​วัยผู้ใหญ่คือวัยที่รับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตน โดยนำประสบการณ์ต่าง ๆที่ได้สะสมมาตั้งแต่วัยเด็กมาใช้ในการปรับตัวและแก้ปัญหาชีวิต ผู้ที่ปรับตัวได้ดีในวัยผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่ได้ผ่านพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยต่าง ๆมาตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น มีวุฒิภาวะ คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา สามารถเผชิญชีวิตและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยามปกติและยามคับขัน มีความรับผิดชอบ กระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผลตามทำนองคลองธรรม
                การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวัยผู้ใหญ่ จะช่วยให้สามารถสร้างเสริมสุขภาพของวัยผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้นอกจากจะทำให้บุคคลมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังทำให้บุคคลวัยผู้ใหญ่สามารถกระทำบทบาทหน้าที่อื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งการประกอบอาชีพการงาน การเป็นบิดามารดา การดูแลบุพการี การทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อันจะส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่

1. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย

  • สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
  • คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
    • การออกกำลังกาย
    • การรับประทานอาหาร
    • สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี
  • สร้างเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การกดจุด การฝังเข็ม การใช้น้ำมันหอมระเหย การบำบัดด้วยโภชนาการและอาหาร ดนตรีบำบัด เป็นต้น

  1. สร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
    1. ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น สาเหตุ อาการและอาการแสดง เช่น ปัญหาความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ปัญหาหมดประจำเดือน หรือชายวัยทอง
    2. ควรแนะนำการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น และวิธีการชะลอความเสื่อมถอยของร่างกาย โดยเลือกอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่อนคลายความตึงเครียด
  2. คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
    1. การออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ
    2. การรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารโคเลสเตอรอลให้น้อยลง เช่น ไข่นกกระทา ไข่แดง อาหารทะเล พวกกุ้ง หอย ปลาหมึก อาหารมัน เช่น หมู เนื้อ ของทอด ควรเปลี่ยนมาเป็นรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายแทน เช่น รับประทานปลาให้ย่อยขึ้น และปรับเปลี่ยนกระบวนการปรุงอาหาร จากการทอด มาเป็นการปิ้ง ย่าง ต้ม นึ่งตุ๋น แทน รับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้น ทั้งผักใบเขียว และผลไม้ เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย น้ำตัมกระดูก นม เพื่อป้องกันกระดูกเปราะบาง หักง่าย โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดประจำเดือน
    3. สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี
      1. อายุ 35-59 ปี ได้แก่ วัดความดันโลหิต วัดส่วนสูง-น้ำหนักเพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ (BMI) ตรวจไขมันในเลือด
      2. ในชายอายุ 35 ปี หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป  ตรวจน้ำตาลในเลือด
      3. ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในหญิงต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยทำ Pap smear และตรวจมะเร็งเต้านม
    4. การให้วัคซีนที่จำเป็น
      1. วัคซีนป้องกันบาดทะยักและคอตีบ ควรได้รับการฉีดเริ่มต้น 3 เข็ม และรับการกระตุ้น 1 เข็ม ทุก 10 ปี
      2. วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน สำหรับหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ (ให้ก่อนตั้งครรภ์)
      3. วัคซีนอื่นๆ เช่น
        1. วัคซีนตับอักเสบบี ในผู้ที่มีคู่สมรสเป็นพาหะตับอักเสบบี และได้รับการตรวจแล้วว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน
        2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรได้รับในผู้ที่ต้องสัมผัสโรคบ่อยๆ เช่น พยาบาล  ผู้ที่สุขภาพอ่อนแอ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในเมืองหนาว ที่มีการระบาดรุนแรง
        3. วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น ควรให้กับผู้ที่จะไปยังแหล่งที่มีโรคระบาด เช่น ไปแสวงบุญที่เมกกะ เป็นต้น

2.  แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตอารมณ์

  1. พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับตน และในส่วนที่สัมพันธ์กับผู้อื่น
  2. สร้างเสริมเทคนิคการจัดการความเครียด
  3. สร้างเสริมสุขภาพจิตหญิงวัยหมดประจำเดือนและชายวัยทอง
  4. ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา

3. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านสังคม

  1. ส่งเสริมการปรับตัวเข้ากับแบบแผนชีวิตแบบใหม่และบทบาทในสังคม เช่น การเตรียมตัวมีคู่ชีวิต การปรับตัวเข้ากับคู่ครอง
  2. ส่งเสริมความผูกพันของพ่อแม่กับลูกวัยทารก
  3. ส่งเสริมการบริหารเวลาที่เหมาะสม

4. แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ

  1. ส่งเสริมการมีที่พึ่งทางจิตวิญญาณ
  2. ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา

แนวทางในการป้องกันโรค
  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน
  • การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะหรือแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค เช่น เรื่องน้ำดื่ม อาหาร อากาศ สารเคมี และการกำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย แมลงนำโรค
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

สรุป
        วัยผู้ใหญ่ตอนต้นร่างกายมีความสามารถสูงสุด  มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น  กลุ่มเพื่อนลดน้อยลง  มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมากมาย   ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยนี้ที่สำคัญคือ  ความผิดหวังในความรัก  การไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทใหม่  ในวัยกลางคน  ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง  เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะในเพศหญิงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน  อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ ในวัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและอารมณ์มั่นคง  มีความพึงพอใจกับชีวิตที่ผ่านมา   และควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป


ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/320419

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุ

​                     ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทางหนึ่งทางใดมาก่อน มีพลังสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ดี ลูกหลานควรคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของผู้สูงอายุ โดยทั่วไป ผู้สูงอายุก็มีความยินดีและเต็มใจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่อ่อนวัยกว่าอยู่แล้ว ในอดีตที่ผ่านมา ผู้สูงอายุยังให้ชีวิตที่เป็นสุขตามสมควร ซึ่งจะให้ประโยชน์จากการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ในเวลาเดียวกันด้วย

การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยครอบครัว

                     เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี สมาชิกในครอบครัว อันประกอบด้วย ลูกหลาน ฯลฯ ควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

  • ช่วยนำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า มีความสำคัญและมีความหวังในชีวิต เช่น ขอคำแนะนำต่าง ๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุให้ควบคุมดูแลบ้านเรือน เป็นที่ปรึกษาอบรมเลี้ยงดูลูกหลาน
  • ควรระมัดระวังคำพูด หรือการกระทำที่แสดงออกต่อผู้สูงอายุ เน้นความสำคัญของผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ยกตัวอย่างเช่น เวลารับประทานอาหารเชิญชวนให้รับประทานอาหารก่อนและตักข้าวให้
  • ชวนผู้สูงอายุเล่าเรื่องเหตุการณ์ประทับใจในอดีตของท่านให้ฟัง และรับฟังอย่างตั้งใจ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ยังมีคนชื่นชมในบางส่วนของชีวิตของตนอยู่
  • อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น เมื่อผู้สูงอายุต้องการไปวัดหรือศาสนสถานต่าง ๆ ลูกหลาน ควรจัดเตรียมข้าวของต่าง ๆ ให้ และจัดการรับส่งหรือเป็นเพื่อน
  • เอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายหรือทำงานตามความถนัดให้เหมาะสมกับวัย

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

  • ที่พักอาศัย หากผู้สูงอายุต้องการแยกบ้านอยู่ หรือต้องการไปอยู่สถานที่ที่รัฐจัดให้ก็ควรตามใจ และพาลูกหลานไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส ถ้าหากผู้สูงอายุรู้สึกเป็นสุข และต้องการอยู่ร่วมกับลูกหลาน ก็ให้อยู่บ้านเดียวกัน เพื่อเกิดความรู้สึกอบอุ่น
  • ช่วยให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กับญาติสนิท และเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน โดยการพาไปเยี่ยมเยียน หรือเชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้านเป็นที่คลายเหงา พาไปสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมของผู้สูงอายุ เช่น วัด หรือชมรมผู้สูงอายุในชุมชน

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

  • ให้ความสำคัญเห็นคุณค่า และเคารพยกย่องนับถือ ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งสอนและข้อแนะนำจากผู้สูงอายุ ร่วมมือกันรักษาฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมของไทย เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ เป็นต้น

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

  • ให้อภัยในความหลงลืม และความผิดพลาดที่ผู้สูงอายุกระทำ และยิ่งกว่านั้น ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจที่เหมาะสมด้วย
  • ช่วยเหลือดูแลรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปตรวจสุขภาพให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยหนัก เรื้อรัง

​                 การส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุ มีชีวิตเป็นสุข ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ในการปฏิบัติอย่างจริงจัง จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เริ่มต้นตั้งแต่ตัวผู้สูงอายุเอง บุคคลในครอบครัว สังคม ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันครอบครัวจะได้ตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญ ที่จะทำให้ผู้สูงอายุ รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า และมีความสำคัญต่อครอบครัว และสังคม

การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน

                การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชน จะเป็นรูปธรรมได้นั้น ทุกคนในชุมชนจะต้องได้รับการปลูกฝัง ให้มีพื้นฐานจิตสำนึก ความคิด และการปฏิบัติของทุกคนในชุมชน (ผู้สูงอายุ ลูกหลาน และผู้อยู่อาศัยในชุมชนทุกคน) ต้องตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของผู้สูงอายุ (โดยเฉพาะลูกหลาน) เสมอเหมือนปูชนียบุคคล ที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ล้มเหลว และดีงาม ซึ่งเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของลูกหลาน ชุมชนในปัจจุบัน โดยลูกหลาน และผู้อาศัยในชุมชน ต้องแสดงความเคารพยกย่อง ให้เกียรติเป็นแบบอย่างที่ดีงาม ในการให้คำปรึกษา แนะแนวการดำเนินชีวิต, การงานอาชีพ, ครอบครัว, การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และบทบาทหน้าที่ของภาครัฐ และเอกชน เพื่อเป็นรากฐานชีวิตในชุมชนที่จะเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อการช่วยเหลือดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ร่างการแข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างปกติ และมีความสุขอย่างต่อเนื่องตลอดไป เช่น สมัยปัจจุบัน โดยนับถือผู้สูงอายุดุจดั่งร่มโพธิ์ร่มไทร สร้างสายใยในครอบครัว สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชน

  • ชุมชนรวมจัดตั้ง “สวนรวมแรง ร่วมใจ ร่วมรัก พิทักษ์สุขภาพ” ร่วมกันทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน โดยชมรมเป็นแกนร่วมสร้างสวนสุขภาพ ประกอบด้วย สนามออกกำลังกาย, สนามเด็กเล่น, ลานกิจกรรม และร่วมปลูกต้นไม้ดอกไม้ให้ร่มรื่น สวยงาม เป็นรากฐานการปลูกฝังการดู แลสุขภาพ รักธรรมชาติแกลูกหลาน เป็นการสร้างสายใยสัมพันธ์ ร่วมกันทุกกลุ่มอายุให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยชุมชนและเพื่อชุมชน
  • การประสานงานรวมกันระหว่างชมรมผู้สูงอายุ ในชุมชนกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อการส่งเสริมงบประมาณดำเนินกิจกรรมรณรงค์ การช่วยเหลือดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี โดยจัดสัปดาห์ตรวจสุขภาพประจำปี จัดนิทรรศการเรื่องที่ชุมชนสนใจ การทัศนาจรใน และนอกสถานที่ของจังหวัด จัดฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมทุกวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา
  • ชุมชนจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ในชุมชนนั้น ให้มีการสืบทอดการปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อถ่ายทอดถึงลูกหลาน และเป็นวัฒนธรรมในชุมชนตลอดไป เช่น กลุ่มจัดทำสิ่งของเครื่องใช้ อาหารพื้นบ้านที่มีประโยชน์ เพื่อจำหน่ายในร้านค้าของชุมชน และกลุ่มการนวดแผนไทยให้แพร่หลายตลอดไป
  • ชุมชนประกาศเกียรติคุณลูกหลาน หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุดีเด่นในชุมชน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีงาม ให้ลูกหลานมีจิตสำนึก ในความรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องสืบไป
  • ชุมชนสร้างเสริมสื่อการดูแลรักษาสุขภาพ และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม ของชมรมผู้สูงอายุ ให้ดำรงอยู่ตลอดไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ชุมชนให้ความสำคัญ และจัดเตรียมความพร้อมบุคคล ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ (อายุ 55-60 ปี) เพื่อการยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งร่างกาย จิตใจ ได้อย่างมีความสุข โดยการดำเนินโครงการฝึกทักษะชีวิต แบบมีส่วนร่วมในการปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุอย่างเหมาะสม
  • ชุมชนจัดตั้งศูนย์ดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเตาะแตะ (เด็กอายุ 0-3 ปี) โดยผู้อยู่ในวัยก่อนสูงอายุ หรือผู้สูงอายุที่มีความพร้อม และสมัครใจ เพื่อการแสดงถึงคุณค่า และมีการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ของทรัพยากรบุคคลในชุมชน อย่างเป็นรูปแบบสมัยก่อนที่งดงามวิธีหนึ่ง

คุณค่าของการสร้างเสริมสุขภาพ

คุณค่าของการออกกำลังกาย

  1. ช่วยทำให้ระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายมีการเคลื่อนไหว แข็งแรง คงทน และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และอดทนยิ่งขึ้น
    1. การฝึกซ้อมจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวเพิ่มความสามารถมากขึ้น ซึ่งการปรับตัวจะเป็นไปทั้งทางด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงานโดยจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ใช้แรงพยายามสูงในการปฏิบัติการเคลื่อนไหวจะเป็นการปรับปรุงทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายที่ใช้แรงพยายามปฏิบัติการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วจะเป็นการปรับปรุงทางด้านความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ขณะที่การออกกำลังกายที่ใช้แรงพยายามปฏิบัติการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องยาวนานจะเป็นการปรับปรุงทางด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ
    2. ระหว่างออกกำลังกาย การหายใจจะเพิ่มมากกว่าตอนพักมากมาย แก๊สทั้ง 2 ชนิดจะถ่ายเท แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างอากาศและเลือด ผ่านทางผนังของถุงลม ฮีโมโกลบินจะนำออกซิเจนซึ่งไม่ ค่อยละลายในนํ้าเหลืองไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งละลายง่ายในนํ้า  เหลืองในรูปไบคาร์บอเนตในขณะออกกำลังหนัก การหายใจและการไหลเวียนของเลือดจะต้อง ทำงานเกือบเต็มที่ สาเหตุหรือกลไกที่ทำให้การหายใจเพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกายยังไม่เป็นที่ทราบชัด
  2. ทำให้ร่างกายมีการพัฒนาการตามวัยและแข็งแรง
    1.  ในอายุต่ำกว่า 10 ปี การออกกำลังกายในวัยนี้ ควรมุ่งให้เด็กมีความเพลิดเพลินและให้เด็กได้ฝึก      หรือเล่นด้วยความสมัครใจพร้อมอธิบายถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับจากการฝึก ไม่ควรใช้วิธีบังคับ ควร จัดให้เท่าที่เด็กต้องการ โดยเน้นที่ความสนุกสนานของเด็กเป็นใหญ่
    2.  ในอายุ 11-14 ปี การออกกำลังกายในวัยนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องแคล่ว ปลูกฝังให้มีน้ำใจนักกีฬา และให้มีการแสดงออกถึงความสามารถเฉพาะตัว ส่งเสริมให้เด็กเล่นกีฬาที่หลากหลาย
    3.  ในอายุ 15-17 ปี การออกกำลังกายวัยนี้จะมีความแตกต่างระหว่างเพศ ผู้ชายจะออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดกำลัง ความแข็งแรง รวดเร็ว และความอดทน
    4. การออกกำลังกายที่เหมาะสมส่งผลให้ร่างการเจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นจะมีเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (growth spurt)
  3. ช่วยผ่อนคลายความเครียด ไม่ซึมเศร้า ไม่วิตกกังวล สุขภาพจิตดีขึ้น และนอนหลับสบาย
                   ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก (โดยพบว่ามีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินอย่างมากในช่วง orgasm) ดังนั้นกิจกรรมใดก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขย่อมมีส่วนส่งเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เสมอ เอ็นดอร์ฟินเป็นอาวุธที่ธรรมชาติได้มอบให้มนุษย์นำไปใช้ทลายกำแพงความเครียด ความทุกข์ เราจึงควรหากิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขเพื่อเป็นอาวุธประจำกายของตัวเราเอง

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

4. ควบคุมน้ำหนักตัว
                 การออกกํลังกายทำให้ร่างกายนำเอาพลังงานที่ถูกกักเก็บใว้มาใช้ลดอาการของผู้ป่วยโรคอ้วน เมื่อน้ำหนักลดคนอ้วนจะรู้สึกแข็งแรงขึ้น แจ่มใสขึ้น อาการเหนื่อยง่ายจะดีขึ้น อาการแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ ประจำเดือนผิดปกติก็ดีขึ้น

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

           ครอบครัว เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมที่มีส่วนเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับบุคคล กล่าวคือ ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจซึ่งกันละกัน เอื้ออาทร ห่วงใยดูแล   ซึ่งกันและกัน ก็จะส่งผลให้ครอบครัวมีความสุขและปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ แต่ในขณะเดียวกันถ้าสมาชิกในครอบครัวทะละวิวาทกัน มีความขัดแย้ง ไม่เข้าใจกัน ครอบครัวก็จะไม่มีความสุข และอาจส่งผลให้เด็กก้าวร้าว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นได้

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น
ครอบครัวที่อบอุ่นเป็นครอบครัวที่มีความสุขมีความพอใจในครอบครัวตนเอง ซึ่งมีลักษณะดังนี้

  1. หัวหน้าครอบครัวมีความรักความเข้าใจในสมาชิก มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ เสียสละให้อภัยและเอื้ออาทรต่อสมาชิกในครอบครัวทุกคน ไม่ลงโทษต่อสมาชิกในครอบครัวโดยวิธีที่รุนแรงไม่แสดงกิริยาข่มขู่ หรือทำให้บุคคลในครอบครัวอับอาย
  2. หัวหน้าครอบครัวไม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู ให้ความรักความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ไม่ลำเอียงรักลูกคนเล็กมากที่สุดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงกิริยารักเฉพาะบุตรตนเองกับผู้อื่น รักษาดูแลสมาชิกในครอบครัวเมื่อเจ็บป่วย
  3. ระบบการปกครองมีความเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ โดยรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เช่น ไม่รื้อค้นสิ่งของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต ไม่เปิดจดหมายผู้อื่น เป็นต้น
  4. สมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง  หรืออาฆาตพยาบาทต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  5. สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง มีสัมมาคารวะมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ไม่ลักขโมย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

ผลกระทบต่อครอบครัว
           การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัว ของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต
ผลดีต่อครอบครัว
           คำว่า “สุขภาพดี” ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคมหรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกันแต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึงความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่าง ๆที่สำคัญของร่างกายการที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัวไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญหากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้
1.สามารถที่จะกำหนดวิธีการ หรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็นก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้เหมาะสม
3. เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆนับว่าเป็นการสร้างสุขภาพซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง 
4. ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล                         
5. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว
​6. ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น

วิธีสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง

ที่มา:

  1. https://sites.google.com/site/jakkrit111111/hnwy-thi-2-kar-wangphaen-dulae-sukhphaph-khxng-tnxeng-laea-khrxbkhraw/2-2-khunkha-ni-kar-wangphaen-kar-dulae-sukhphaph-khxng-tnxeng-laea-khrxbkhraw
  2. http://guru.sanook.com/9426/ 
  3. https://pradtana123.wordpress.com/about/history/

Group Members

MWITS24/5 : #4,5,8,16,17
นภัสสร กุลสยุมพร
ปริชญา จันทร์ผ่อง
ยลรดี มะโนจันทร์
ธฤต ปิยะวรรณรัตน์
นภัทร บุญญานิชยกุล