วิธี รับมือ กับ ฝุ่น pm2 5

สธ. แนะ เตรียมตัวดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงให้ป้องกันและดูแลตัวเองมากกว่าปกติ

วันนี้( 9 ธ.ค.64) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งเป็นลมอ่อน ทำให้สภาพอากาศนิ่ง การกระจายตัวของฝุ่นละอองไม่ดี และมีโอกาสสะสมในพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นละอองสูงเกินค่ามาตรฐานทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจากข้อมูลศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) คาดการณ์ปริมาณ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงนี้การมีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนเดินทางมากขึ้นด้วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ค่า PM2.5 เกินมาตรฐานได้

ดังนั้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงขอแนะนำให้ประชาชนเตรียมตัวดูแลสุขภาพตนเอง และบุคคลในครอบครัวเพื่อรับมือกับฝุ่น PM2.5 ด้วยวิธี ดังนี้

1) ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศอย่างใกล้ชิดก่อนออกจากบ้าน ได้ที่เว็บไซต์ air4thai.pcd.go.th หรือแอปพลิเคชัน “Air4Thai” ของกรมควบคุมมลพิษ และปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

2) สำรองหน้ากากป้องกันฝุ่น เช่น หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N95

3) ดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ

4) กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แกงจืดตำลึง ผัดผักบุ้ง ฟักทองผัดไข่ ผัดบรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก แครอทลวก บรอกโคลีลวกจิ้มน้ำพริก เป็นต้น

5) ทำความสะอาดบ้าน และอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยเฉพาะจุดที่สะสมฝุ่น เช่น แอร์ พัดลม มุ้งลวด เครื่องนอน และเน้นการทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำ

6) หมั่นตรวจเช็กบ้านปิดช่องหรือรู ตามขอบประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 จากภายนอกไม่ให้เข้ามาในอาคารในช่วงฝุ่นสูง

7) วันที่ฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรหลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้งให้เปลี่ยนมาออกกำลังกายภายในอาคารแทน

8) สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรสำรองยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

9) สังเกตตนเองและบุคคลในครอบครัว หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์

10) ช่วยกันลดฝุ่น PM2.5 เช่น ลดการปิ้งย่างที่ใช้เตาถ่าน งดจุดธูปเทียนทั้งภายในและภายนอกอาคาร งดการเผาในที่โล่ง ลดการใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ รวมถึงร่วมปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดักฝุ่นละออง

ทั้งนี้ ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก แต่ให้ตื่นตัวและติดตามข่าวสาร เพราะปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่ได้เกิดทุกพื้นที่ ทุกเวลา หากเราใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

ภาพจาก TNN Online

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

คุณภาพชีวิต-สังคม

11 เม.ย. 2565 เวลา 15:00 น.114

เมื่อฝุ่น PM 2.5 กลับมาเป็นปัญหาของประชาชนอีกครั้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ การกำจัดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันอันตรายจากฝุ่นได้ด้วยตนเอง

ปัญหาของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือฝุ่น PM 2.5 กลับมาส่งผลกระทบต่อประชาชนอีกครั้งหลังหลายพื้นที่ใน กทม. และปริมณฑล มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานทำให้ส่งผลต่อระบบการหายใจของมนุษย์

แต่เนื่องจากฝุ่น P.M. 2.5 มีขนาดเล็กมากและแพร่กระจายอยู่ทุกที่ทั้งภายของและภายในบริเวณบ้าน  ดังนั้น ถึงจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการอยู่แต่ในบ้านก็ไม่รอดพ้นจากฝุ่นจิ๋วเหล่านี้

แม้ว่าสภาพอากาศภายในบ้านพักอาศัยที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดตลอดเวลา อาจจะมีปริมาณฝุ่นน้อยกว่านอกบ้าน แต่ผู้อยู่อาศัยก็อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงเกินไปแทน เนื่องจากบ้านพักอาศัยและห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียมไม่มีระบบเติมอากาศจากภายนอกเหมือนอาคารสาธารณะ เพราะมักใช้การรั่วของอากาศตามช่องประตูหน้าต่าง หรือการเปิดประตูหน้าต่างในการใช้งานปกติช่วยนำอากาศใหม่เข้ามาเติมในห้องเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก็เป็นจุดที่ฝุ่นอันตรายไหลเข้ามาในบ้านพักอาศัยได้

รวม 6 วิธีช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ในบ้านพักอาศัย

  • งดเผาขยะ งดจุดธูป เปลี่ยนมาใช้ธูปไฟฟ้า การเผาขยะจะทำให้เกิดการเผาไหม้ซึ่งจะเป็นการเพิ่มควัน และฝุ่นพิษให้อากาศ นอกจากนี้ควรปรับเปลี่ยนการจุดธูป ซึ่งปกติจะทำให้เกิดฝุ่นจากธูป และควัน มาใช้ธูปและเทียนแบบไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณควัน
  • ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ เครื่องกรองอากาศ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีอนุภาคเพียง 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กมากจนเครื่องปรับอากาศไม่สามารถดักจับได้ ตัวช่วยในการดักจับฝุ่นด้วยเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นทางเลือกที่คนหันมาใช้กันมากขึ้น และยังมีให้เลือกมากมายหลายรุ่นและหลายราคา
  • ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ ต้นไม้ที่มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศเป็นอีกหนึ่งความนิยมสำหรับการนำมาปลูก และวางตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน มีหลากหลายพรรณไม้ ยกตัวอย่างเช่น ต้นยางอินเดีย พลูด่าง เศรษฐีเรือนใน เศรษฐีพันล้าน ลิ้นมังกร เขียวหมื่นปี เดหลี ไทรใบสัก กวักมรกต และยังมีอีกมาก แต่ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและการดูแลที่แตกต่างกัน ผู้เลี้ยงควรศึกษารายละเอียดก่อนนำมาปลูก
  • เช็คสภาพรถเป็นประจำ เพื่อลดควันดำ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์ของทั้งรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดควันดำ และมลพิษทางอากาศ จึงควรตรวจเช็คเครื่องยนต์ให้เพื่อให้อยู่ในสภาพปกติเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ การทำความสะอาดบ้าน เช็ดถูเฟอร์นิเจอร์ด้วยผ้าชุบน้ำเพื่อป้องกันการกระจายของฝุ่น รวมถึงการล้างอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องปรับอากาศ พัดลม แผ่นกรองอากาศ มุ้งลวด และเช็ดทุกซอกมุมของบ้าน เพื่อช่วยลดแหล่งสะสมของฝุ่นได้ค่อนข้างดี นอกจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องเสียรายจ่ายจำนวนมาก
  • ปิดประตูหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กและลอยอยู่ในอากาศ ทำให้ฝุ่นสามารถเข้ามาภายในบ้านได้ตลอดเวลา การปิดประตูหน้าต่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่ค่อยได้ใช้ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและสามารถทำได้ทันที