วิธีเปลี่ยนเกียร์ ออ โต้ ขณะขับ

ไทยรัฐ สำนักข่าวอันดับ 1 ของไทย | ไทยรัฐออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์

  • ข่าว

    • พระราชสำนัก
    • ทั่วไทย
    • ในกระแส
    • การเมือง
    • เศรษฐกิจ
    • ต่างประเทศ
    • อาชญากรรม
    • ยานยนต์
    • เทคโนโลยี
    • ราคาทองคำ
    • รายงานพิเศษ

  • วิดีโอ
  • หนังสือพิมพ์
  • ไทยรัฐทีวี

    • ดูย้อนหลัง
    • ผังรายการ
    • Live

  • ไลฟ์สไตล์
  • กีฬา

    • ฟุตบอลต่างประเทศ
    • ฟุตบอลไทย
    • Sport insider
    • ไฟต์สปอร์ต
    • กีฬาโลก
    • วิดีโอ
    • แกลเลอรี่
    • ซีเกมส์ 2021

  • บันเทิง
  • ดวง
  • หวย
  • นิยาย
  • โปรโมชั่น

    • ซื้อ-ขาย
    • ส่วนลด
    • เช็คราคา

  • ThairathPlus

เกียร์ออโต้ ขับยังไงไม่ให้เกียร์พังเร็ว!

LiveLive

วิธีการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ

การขับรถเกียร์ Auto

ตำแหน่งของเกียร์ออโต้

    1. P ( Parking ) ใช้สำหรับจอดรถ ซึ่งจะล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราจะเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อจอดรถนิ่งสนิทแล้ว และต้องการดับเครื่อง เลิกใช้งาน หรือเมื่อต้องการจอดรถบนทางลาดชัน (ข้อแนะนำ : ควรดึงเบรกมือ เสริมด้วย เพื่อป้องกันเกียร์เสียหาย ถ้าถูกชนท้าย) นอกจากนั้น ก่อนสตาร์ทรถตำแหน่งเกียร์ควรจะอยู่ที่ P เช่นเดียวกัน

    2. R ( Reverse ) คือ เกียร์ถอยหลัง โดยเมื่อเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R นี้แล้ว รถจะถอยหลังไปได้เองอย่างช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย (ข้อแนะนำ : ขณะกำลังถอยหลัง ไม่ควรเหยียบคันเร่ง เพราะจะทำให้รถถอยหลังไปอย่างรวดเร็ว อาจจะชนคนได้ ดังนั้นควรวางเท้าไว้ที่บนแป้นเบรค เพื่อเตรียมพร้อมในการเหยียบเบรคขณะทำการถอยหลัง)

วิธีเปลี่ยนเกียร์ ออ โต้ ขณะขับ

อ้างอิงรูปภาพ www.hugger-thai.com/wizContent.asp?wizConID=134&txtmMenu_ID=7

    3. N ( Neutra ) คือ เกียร์ว่างใช้เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น ขณะจอดรถติดไฟแดง และเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถจะสามารถถูกเข็นไปได้ (เวลาที่เราจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ ตามห้างควรใส่เกียร์ว่างและปลดเบรคมือออกด้วย)

    4. D ( Drive ) เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้าและใช้ในการขับขี่ตามปกติ โดยตำแหน่งเกียร์จะปรับเปลี่ยนเองตามคำสั่งของสมองกลที่ควบคุม ยกเว้นรถยนต์บางรุ่นที่มีสวิทช์ปรับเปลี่ยนระบบเกียร์และผู้ใช้เปิดสวิทช์เพื่อใช้งานในการปรับตำแหน่งเกียร์ด้วยตัวเอง

วิธีเปลี่ยนเกียร์ ออ โต้ ขณะขับ

อ้างอิงรูปภาพ http://fhamazda.blogspot.com/2015/02/n-d_73.html

    5. 3 หรือ D3 คือ เกียร์เดินหน้า 3 Speed ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 จนถึงสูงสุด นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว

    6. 2 หรือ D2 คือ เกียร์เดินหน้า 2 Speed ใช้เมื่อต้องการขับรถขึ้น-ลงเนิน หรือเขาที่ค่อนข้างชัน หรือ ขับขึ้น-ลงตามห้าง โดยรถจะเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 2

    7. L ( Low ) คือ เกียร์ 1 ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลงเขาที่สูงชันมากๆ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค เพื่อลดการเหยียบเบรค เพราะอาจจะทำให้ผ้าเบรคหมดเร็วได้

ขั้นตอนวิธีการขับรถเกียร์อัตโนมัติ

1. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท

2. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ

    3. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ

    4. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็วแล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ

วิธีเปลี่ยนเกียร์ ออ โต้ ขณะขับ

อ้างอิงรูปภาพ www.emdadkhodrosaipa.com

    5. การจอดรถ ค่อยๆผ่อนความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือดับเครื่อง

    6. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้วแต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N

    7. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อเกียร์มาที่ตำแหน่ง N

    8. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆผ่อนเบรคเพราะรถจะได้ถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจจะเหยียบคันเร่งแบบค่อยเหยียบ

วิธีเปลี่ยนเกียร์ ออ โต้ ขณะขับ

อ้างอิงรูปภาพ http://siamcarweb.com

                                             อ้างอิงข้อมูลจาก Appication สอบใบขับขี่ 2559 Driving Licence