วิธีคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

รบกวนช่วยบอกวิธีคิดดอกเบี้ยให้หน่อยครับ

ผมจะต้องไปสอบใบอนุญาตว่าความ ทีนี้ปัญหาคือ ผมจำวิธีคิดดอกเบี้ยไม่ได้แล้ว (ลืมจริงๆ) คำถามมีดังนี้ครับ

1. (กฎหมาย) ตามกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยเป็นรายวันแล้วเอาไปคูณกับจำนวนวันที่คิดดอกเบี้ยใช่มั้ยครับ เช่น 1 มกรา-กุมภา(28วัน) เราก็ต้องเอา (ดอกเบี้ยต่อวัน x 59 (วัน) ) ใช่มั้ยครับ หรือยังไงครับ

2. วิธีการคิดดอกเบี้ยคิดยังไงครับ เช่น เงินจำนวน 1,200,000 บาท อัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ถ้าเราจะคิดว่า ปีนึงได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ แล้วคิดต่อเป็นต่อเดือน และต่อวัน แบบนี้เราจะคิดยังไงครับ (ขอแบบง่ายๆได้มั้ยครับ ผมไม่ค่อยเก่งเลข)

3. วิธีการคูณโดยมีทศนิยมนี่ คุณไปก่อน แล้วค่อยใส่ทศนิยมใช่มั้ยครับ? เช่นถ้า ทศนิยมหลักเดียว เราก็ใส่ทศนิยมที่หลังหลักสิบใช่มั้ยครับ

4. การหารยาว มีเทคนิคมั้ยครับ ให้มันง่ายขึ้น หรือเร็วขึ้น

ที่ Tag การเงินด้วยเพราะว่าคิดว่า น่าจะรู้เรื่องการคิดดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนศาลาก็เกี่ยวกับกฎหมาย และห้องสวยามกับห้องสมุดคิดว่าน่าจะเกี่ยวกับการเรียน คณิตศาสตร์หนะครับ ถ้าTag มั่วยังไง เดี๋ยวแก้ให้ครับ (หรือทางทีมงานแก้ให้เลยก็ได้ครับ)

ขอบคุณครับ

หลายท่านคงจะทราบดีอยู่แล้วว่า การคิดดอกเบี้ยโดยทั่วไป กฎหมายอนุญาตให้เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยลูกหนี้ได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ห้ามเกินร้อยละ 15 ต่อปี   และหากในสัญญากำหนดให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ว่าต้องคิดเท่าใด หรือเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิด ซึ่งหมายถึง การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือชื่อเสียง เป็นต้น มาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (เดิม) ให้เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 ได้มีการประกาศให้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ทำให้มีการแก้ไขการคิดอัตราดอกเบี้ยในสัญญาที่กำหนดให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ว่าต้องคิดเท่าใด และกำหนดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดในหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระเป็นงวดให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อลูกหนี้มากยิ่งขึ้น   โดยกำหนดว่าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้สามารถคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น

การคิดดอกเบี้ยกรณีสัญญากำหนดให้ลูกหนี้ต้องชำระดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย มาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกแก้ไขใหม่ตามพระราชกำหนดดังกล่าว ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี   การแก้ไขอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับหนี้ที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ คือวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2564   ดังนั้น สัญญาที่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งซึ่งได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2564 สามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ได้ถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2564  และตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยในสัญญาดังกล่าวจะลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อปี

อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการแก้ไขตามพระราชกำหนดดังกล่าวไม่กระทบถึงอัตราดอกเบี้ยที่คู่สัญญากำหนดไว้ชัดเจนในสัญญา และไม่กระทบถึงคดีที่มีการยื่นฟ้องและศาลมีคำพิพากษาไปแล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ   แต่หากคดียังไม่ถึงที่สุด ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่ถูกแก้ไขได้

สำหรับลูกหนี้ซึ่งต้องชำระดอกเบี้ยแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ หรือเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ผิดนัดนั้น พระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ให้คิดอัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 คือ ร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งไม่กระทบถึงอัตราดอกเบี้ยที่คู่สัญญากำหนดไว้ชัดเจนในสัญญา   ส่วนเจ้าหนี้ในมูลละเมิดสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในค่าสินไหมทดแทนได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่มีการทำละเมิดถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2564 และเรียกได้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป   นอกจากนี้ เจ้าหนี้ไม่สามารถคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ แต่สามารถพิสูจน์ค่าเสียหายอื่น ๆ จากการผิดนัดของลูกหนี้ได้ เช่น การที่เจ้าหนี้ขาดประโยชน์ในการนำบ้านเช่าซึ่งอยู่ในการครอบครองของลูกหนี้ออกให้บุคคลอื่นเช่า ลูกหนี้ต้องรับเป็ดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนของค่าขาดประโยชน์ให้เจ้าหนี้ เป็นต้น และไม่กระทบถึงคดีที่มีการยื่นฟ้องและศาลมีคำพิพากษาไปแล้วก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ   แต่หากคดียังไม่ถึงที่สุด ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่ถูกแก้ไขได้

พระราชกำหนดดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224/1 โดยกำหนดว่าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด ให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น   เจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดจากต้นเงินที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดได้   หากมีข้อตกลงในสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันที่กำหนดให้เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดในแต่ละงวดจากต้นเงินที่ค้างชำระทั้งหมด ข้อตกลงในส่วนนั้นให้ตกเป็นโมฆะ   แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและร้องขอต่อศาลให้บังคับลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมด   ดังนั้น ข้อตกลงที่ว่าหากลูกหนี้ผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมด จึงไม่ขัดกับมาตรา 224/1 และไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระเป็นงวดอีก

แม้ว่าคู่สัญญาจะทำสัญญาก่อนวันที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับ หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ในวงดใดที่ถึงกำหนดชำระหลังวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2564 เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดในงวดนั้นได้เฉพาะจากต้นเงินนั้นเท่านั้น

ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยผิดนัด ตามมาตรา 224/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ จำนวน 1,200,000 บาท โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวด งวดละเดือน เดือนละ 100,000 บาท จำนวน 12 งวด กำหนดอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยผิดนัดที่ร้อยละ 15 ต่อปี   หากลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวมา 4 งวด เมื่อถึงงวดที่ 5 ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะสามารถคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดในงวดที่ 5 จากต้นเงินของงวดที่ 5 คือ 100,000 บาท เท่านั้น

บทความโดย วิทวัส  ออรัตนชัย