วิธีการปรับตัวให้เข้ากับสังคม

สำหรับคนวัยทำงานแล้ว การโยกย้ายทีม การเปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือการลาออก นั้นจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเจอบ่อย ๆ ไม่แปลกที่ในทุกครั้งของการเริ่มต้นกับที่ทำงานใหม่นั้นจะเกิดความรู้สึกประหม่า ไม่มั่นใจเล็ก ๆ ขึ้นมาบ้าง เพราะเราเองก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องไปเจอกับเพื่อนร่วมงานแบบไหน และวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน จะเหมาะสมกับเราไหมนะ?

เพราะใคร ๆ ก็คงไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนงานบ่อย ๆ แบบ 3 เดือนเข้า 4 เดือนออก แบบนี้เสียเวลาแถมยังเหนื่อยปรับตัวด้วย rabbit finance เข้าใจคุณดี วันนี้จึงจะขอนำเอาเคล็ดลับดี ๆ ในการเริ่มต้นกับที่ทำงานใหม่ จะต้องปรับตัวยังไงให้อยู่รอดและทำงานอย่างมีความสุข ลองตามมาอ่านกันเลย

วิธีการปรับตัวให้เข้ากับสังคม

ปรับตัวยังไงให้รอด เมื่อเปลี่ยนที่ทำงานใหม่

การที่เราจะต้องออกมาเจอกับสังคมที่เราไม่คุ้นเคยของที่ทำงานใหม่ เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงจะกังวลกันอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อเราเลือกจะทำงานที่นี่แล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป อยู่ได้แน่นอนถ้าทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้

เข้าหาอย่างสุภาพ

คนสุภาพ มีมารยาท ได้ใจไปกว่าครึ่ง เช่นเดียวกันกับการเริ่มต้นความสัมพันธ์ดี ๆ กับเพื่อนร่วมงานใหม่ เมื่ออยากทำความรู้จักก็ควรเข้าหาด้วยความสุภาพและแสดงความจริงใจแก่อีกฝ่าย หากเข้าหาแบบนี้ เชื่อได้เลยว่าใคร ๆ ก็ยินดีต้อนรับ และพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ

โดยเฉพาะการมีมารยาท และให้ความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในองค์กร ก็มีส่วนช่วยให้เราเติบโตในหน้าที่การงานได้เร็วขึ้น ไม่ถึงกับต้องกราบไหว้หรือพูดจาทางการด้วยตลอดเวลา แต่ให้รักษามารยาทและพูดจาอย่างระมัดระวัง ไม่ว่าจะกับผู้ที่อาวุโสกว่าหรืออายุน้อยกว่า หากมีการวางตัวดี ก็จะได้รับการชื่นชมจากเหล่าเพื่อนร่วมงาน

อย่าขวางโลกจนไม่สนคนรอบข้าง

เพราะที่ทำงานใหม่ก็เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่เราเองอาจจะยังไม่คุ้นเคย เพราะฉะนั้น การทำตัวขวางโลกหรือสุดโต่งเกินไปตั้งแต่แรกเริ่ม อาจจะไม่เวิร์กเท่าใดนัก สำหรับที่ทำงานที่ยังมีวัฒนธรรมแบบไทย ๆ เพราะเพื่อนร่วมงานอาจรู้สึกไม่ดีกับเราได้ ในช่วงเริ่มต้นแนะนำให้หมั่นสังเกตแนวทางการทำงานของเพื่อนร่วมงาน ว่าเขาทำงานร่วมกันอย่างไร สื่อสารกันอย่างไร และใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่ตามหลังและไม่โดดเด่นกว่าเพื่อนจนเกินงาม โดยลองทำตามและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเพื่อนในทีมหรือเพื่อนร่วมงานที่อยู่รอบ ๆ บ้าง เป็นการผูกมิตรอีกทางหนึ่ง วิธีการนี้จะช่วยลดความอึดอัดระหว่างคนรอบข้าง และช่วยให้ปรับตัวเร็วขึ้น

ผูกมิตรและเปิดใจให้คนอื่น

เมื่อเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ เราต้องรู้จักการผูกมิตรกับเพื่อนร่วมงานที่อยู่มาก่อนเอาไว้บ้าง อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าคนนี้ชื่ออะไร ทำหน้าที่อะไร เผื่อว่าในอนาคตมีโอกาสได้ร่วมงานกัน จะได้ไปหาถูกคน แต่เราก็คงยังไม่รู้ว่าใครที่อยากหรือไม่อยากผูกมิตร ในช่วงเริ่มต้นแนะนำให้เปิดใจ เอาความจริงใจเข้าสู้ โดยเริ่มต้นชวนเพื่อนร่วมงานคนอื่นคุยบ้าง ค่อย ๆ เรียนรู้นิสัยใจคอ ความชอบของเพื่อนร่วมงานแต่ละคน หากรู้สึกว่าเข้ากันไม่ได้จริง ๆ ก็ไม่เป็นไร คุยกันแค่เรื่องงานก็ได้

อย่างที่ใครหลายคนในโลกออนไลน์เคยบอกเอาไว้ว่าในโลกของการทำงานนั้นมันช่างโหดร้ายและเต็มไปด้วยการแข่งขัน แต่ถ้าเรามีเพื่อนร่วมงานดี ๆ สักคน ก็ช่วยลดความตึงเครียดของการทำงานลงได้ ถ้ามีหลายคนก็ยิ่งทำงานง่าย และมีกำลังใจเพิ่มขึ้นเยอะเลย

พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

การเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ก็เหมือนเราเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์แกร่งกล้าแค่ไหน แต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องไม่หยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และตามทันคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาในวงการการทำงานของเราเรื่อย ๆ หากเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ จะทำให้เรามีทักษะเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีอยู่แล้ว หรืออาจได้ทักษะใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งจะช่วยให้เรามีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน และได้เพิ่มเงินเดือนขึ้นอีกด้วย

ตรงไปตรงมา

การสื่อสารถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้ผลงานออกมาตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างมากที่สุด มีจุดบกพร่องน้อยที่สุด ซึ่งผลงานจะออกมาดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันแล้วสร้างสรรค์ผลงานออกมานี่แหละ เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน และพยายามจับประเด็นหลักของงานให้ได้

เมื่อมีข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาด เราควรชี้แจงอย่างตรงไปตรงมา หากไม่เข้าใจก็ถาม หรือพบข้อบกพร่องก็แจ้งเพื่อนร่วมงานไปตรง ๆ อย่าเก็บเอาไว้คนเดียวหรือทนแก้ไขอะไรอยู่คนเดียว เพราะสุดท้ายแล้วหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อทุกคนในทีม และตัวเราเองอาจเดือดร้อนในภายหลัง

มีความรับผิดชอบ

การมีความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องมี โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะแล้ว เข้าใจว่าในช่วงเริ่มต้นอาจจะยังไม่ถนัด หรือไม่คล่องแคล่วนัก อาจเพราะความไม่คุ้นชินกับสถานที่ กับผู้คนใหม่ ๆ หรือยังไม่เข้าใจขอบเขตของงาน ก็ยังพอเข้าใจได้ในช่วงแรก ๆ แต่ก็พยายามอย่าเป็นแบบนี้นานนัก เพราะทางผู้ว่าจ้างก็ย่อมคาดหวังงานที่สมบูรณ์อยู่แล้วจึงได้ว่าจ้างเราเข้ามาทำหน้าที่นี้

พยายามพูดคุย ทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตของงานกับเพื่อนร่วมทีมเยอะ ๆ เพื่อให้รู้ขอบเขตของงานที่ชัดเจน อย่าปล่อยเบลอเป็นเวลานานจนเกิดความผิดพลาดหรือความล่าช้าของงานเกิดขึ้น  เพราะฉะนั้น หากยังไม่เข้าใจส่วนไหนของงานให้ถามหัวหน้างานและเพื่อนร่วมทีมให้ชัดเจนตั้งแต่วันแรก ว่าขอบเขตความรับผิดชอบของเรามีอะไรบ้าง และบริหารเวลาในการทำงานให้ดีเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ติดตามผลงาน แก้ไขจุดบกพร่อง

จริงอยู่ที่ว่าการตั้งใจทำงานและมีความรับผิดชอบจะช่วยให้งานสำเร็จ แต่การติดตามผลงานที่อยู่ในระหว่างดำเนินการขั้นตอนอื่น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ การติดตามงานแบบนี้จะช่วยเพื่อนร่วมงานเช็กข้อผิดพลาดของงานว่าข้อผิดพลาดหรือจุดไหนที่ต้องการให้เพิ่มเติมจะได้รีบแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ใช่แค่ทำงานส่วนของตัวเองเสร็จแล้วก็ปล่อยเลยตามเลย ไม่ได้ติดตามกระบวนการอื่น ๆ ต่อ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับตัวงานก็อาจจะถูกตำหนิจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานได้

การเริ่มต้นใหม่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุก ๆ คน คนเราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้หลายครั้ง และในช่วงแรก ๆ มันอาจจะยาก แต่ถ้าปรับตัวได้แล้ว ก็จะทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้น และยังเป็นการพัฒนาทักษะให้เก่งขึ้นโดยที่ตัวเราเองอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น จงอย่ากลัวที่จะเริ่มต้นใหม่ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ วัยทำงานทุกคน

เสริมความมั่นใจ สร้างความมั่นคง ให้กับชีวิตคนวัยทำงาน  ซื้อประกันออนไลน์ กับ rabbit finance พร้อมบริการดี ๆ อีกเพียบ

บทความโดย rabbit finance

การปรับตัวเข้ากับสังคมมีอะไรบ้าง

7 ทักษะการเข้าสังคมง่ายๆ ที่ทำให้คุณกลายเป็น 'ที่ประทับใจ' ของใคร....
1. รู้จักสบตา ... .
2. วางมือถือลง แล้วให้ความสนใจคนที่อยู่ตรงหน้า ... .
3. การเรียกชื่อของคู่สนทนา ... .
4. การยิ้ม ... .
5. การจับมือทักทาย ... .
6. การฟัง ... .
7. ไม่ใช่แค่ฟังผ่านๆ แต่ต้องฟังอย่างตั้งใจ ... .
5 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อขาดแรงบันดาลใจ.

การเข้าสังคม ดียังไง

การเข้าสังคมมีส่วนทำให้เรามีเครือข่ายสังคมที่กว้างขวางขึ้น และยังสามารถเพิ่มโอกาสดี ๆ ให้เข้ามาในชีวิตของเราได้หลายเรื่อง เช่น เพิ่มโอกาสการเติบโตในสายอาชีพและการทำธุรกิจ เรารู้หรือไม่ว่าหากต้องการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้มีเครือข่ายสังคมในแวดวงอาชีพที่กว้างขวางต้องมีทักษะอะไรบ้าง แล้วเราต้องเป็นคนแบบไหนถึงจะเป็นบุคคล ...

ทำยังไงให้กล้าเข้าสังคม

5 เทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้คนเข้าสังคมไม่เก่ง กล้าและมั่นใจเผชิญโลกมากขึ้น date : 19.กุมภาพันธ์. 2020 tag : Lifestyle..
ยิ้มบ่อยๆ ... .
ปล่อยวางความกลัว แล้วรวบรวมความกล้า ... .
ไม่ติดมือถือ ... .
เป็นผู้ฟังที่ดี ... .
ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง.

เพราะเหตุใดคนเราจึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น

เหตุผลสำคัญที่สุดของการปรับตัวก็คือ การทำตัวเองให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนอื่นๆ ได้ โดยไม่เกิดการตั้งแง่ และความเป็นตัวเองที่มากจนเกินไป ซึ่งถ้าหากยังคงใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ในสถานที่หรือสังคมใหม่ๆ และไม่รู้จักปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อเข้าหาบุคคลคนอื่น ก็ย่อมไม่สามารถที่จะได้รับการยอมรับ หรือใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ...