ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธมีดังนี้:

  • วันโกน
  • วันวิสาขบูชา: วันประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในวันสำคัญที่สุดของปี จัดในช่วงขึ้น 15 ค่ำแรก เดือน 6 ในเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 4 ซึ่งมักเกิดในช่วงพฤษภาคมหรือมิถุนายนในช่วงปีอธิกสุรทินจันทรคติ ในบางประเทศไม่เป็นเพียงแค่วันประสูติเท่านั้น แต่ยังเป็นวันตรัสรู้และปรินิพพานด้วย[1]
  • วันปรินิพพาน: หรือวันนิพพาน เป็นวันหยุดของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่ฉลองในเอเชียตะวันออก มักจัดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์[2]
  • วันมาฆบูชา: เป็นที่เกิดเหตุการณ์4อย่างโดยมิได้นัดหมายและเป็นวันสำคัญในประเทศไทย กัมพูชา ศรีลังกา และลาว จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม) แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
  • พุทธชยันตี: จัดในเกาหลีใต้และจีนในวันที่ 8 เมษายน ตามจันทรคติ มีอีกชื่อว่า "ฮานามัตสึริ"[1] ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการใช้น้ำชาล้างพระพุทธรูปในวัยทารก[1]
  • วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน 6)
  • วันอาสาฬหบูชา: หรือ "วันธรรม" ฉลองในเรื่องการสั่งสอนครั้งแรกของพระพุทธเจ้า จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ประมาณเดือนกรกฎาคม[3]
  • วันพระ: มีอีกชื่อว่าวันประชุม มีอยู่ 4 ช่วง คือ: ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และแรม 15 ค่ำของทุกเดือน[3]
  • วันทอดกฐิน: จัดในช่วงสิ้นสุดวันเข้าพรรษา
  • วันอภิธรรม: รายงานจากธรรมเนียมพม่า มีการฉลองในช่วงที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่สวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อสอนพระอภิธรรมให้กับพระมารดา ฉลองในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติพม่า ซึ่งเริ่มต้นในเดือนเมษายน[3][4]
  • วันลอยกระทง: เมื่อแม่น้ำและคลองเอ่อล้นไปด้วยน้ำ เทศกาลนี้จัดในทุกภาคของประเทศไทยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ในกระทงมีใบไม้ เทียน และธูป แล้วนำไปลอยบนน้ำ สื่อถึงการปัดโชคร้ายออกไป[3]
  • Madhu Purnima: จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนBhadro (สิงหาคม/กันยายน) จัดขึ้นเนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากป่าปาริเลยยกะเพื่อนำสันติสุขมายังเหล่าศิษย์ที่ขัดแย้งกัน[3]
  • แรกนาขวัญ: ในช่วงพระจันทร์ครึ่งดวงในเดือนพฤษภาคม จะมีโคสองตัวลากคันไถทอง ตามมาด้วยสตรีชุดขาวที่โปรยเมล็ด โดยเป็นวันฉลองที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ครังแรก[3]
  • เทศกาลช้าง: พระพุทธเจ้ายกตัวอย่างถึงช้างป่าที่ไม่ถูกฝึกกับช้างที่ถูกฝึก พระองค์ตรัสว่าผู้ที่เพิ่งนับถือศาสนาพุทธควรมีความสัมพันธ์กับชาวพุทธที่นับถือมาก่อน เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่สามของเดือนพฤศจิกายน[3]
  • เทศกาลฟัน: ในประเทศศรีลังกา มีวัดที่เก็บฟันของพระพุทธเจ้า จัดขึ้นทุก ๆ ขึ้น 15 ค่ำ ในเดือนสิงหาคมทุก ๆ ปี[3]
  • วันสารทจีน: "วันบรรพบุรุษ" ฉลองในวันแรกถึงวันที่ 15 ของเดือน 8 ตามจันทรคติ โดยเป็นวันที่สามเณรสำเร็จจากการเข้าพรรษา[3]
  • วันประสูติของอวโลกิเตศวร: จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ ในเดือนมีนาคม ตามแบบมหายานที่ประเทศทิเบตและจีน
  • วันโพธิ์: เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้รับการตรัสรู้[5][1]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Buddhist Holidays 2013". About.com. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  2. "Why Buddhists Celebrate Nirvana Day - World Religion News". World Religion News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-12.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Festivals and Special Days". Buddhanet. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  4. Melton, J. Gordon (13 September 2011). Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations. ABC-CLIO. p. 4. ISBN 9781598842050.
  5. "Buddhist Holidays". Family Dharma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)

นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 8 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เมื่อเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วนได้ประกอบพิธีบูชาขึ้น มีการเวียนเทียนเป็นต้น แต่ไม่ทั่วไปทั่วราชอาณาจักร โดยจะประกอบพิธีในบางวัดเท่านั้น ตามแต่ความศรัทธาของท้องถิ่น ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เช่น ประเพณีถวายพระเพลิงฯ จำลอง ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และประเพณีอัฎฐมีบูชาของ วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่รักษาสืบสานมายาวนานมากกว่า 120 ปีแล้ว เป็นต้น

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อักษรโรมัน: Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ในปัญจวัคคีย์ ประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสาวกและภิกษุองค์แรกในโลก และทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็น"วันพระรัตนตรัย" อีกด้วย

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลัง) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือปีอธิกมาส จะเลื่อนเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลัง ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

วันออกพรรษา

เพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เราเรียกกันว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป

แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เสียก่อน

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อต้องไปวัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

สรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

Creator : ธีรทัศน์ โรจนนาค Jan 14, 2021

Editor :


19 มกราคม 2564

ผู้ชม 261515 ครั้ง

ปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อมีโอกาสไปวัดในวันสำคัญ

1. ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 2. ร่วมการเวียนเทียน 3. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก.
ทำเทียนจำนำพรรษา.
ถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร.
ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล.

เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในวันสำคัญทางศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยด้วย การตักบาตรทำบุญ เวียนเทียน เข้าวัดฟังธรรมเพื่อเป็นการเรียนรู้และทบทวนพระธรรมวินัย สำหรับการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เมื่อถึงวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไรในตอนค่ำ

1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ชาวพุทธควรปฏิบัติตนอย่างไรในวันมาฆบูชา

การปฏิบัติตนสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันมาฆบูชา คือ ในตอนเช้า ควรไปทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อ ฟังพระธรรมเทศนา หรือจัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหาร ช่วงบ่าย ฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา เมื่อถึงตอนค่ำ นำดอกไม้ธูป เทียน ไปเวียนเทียน ๓ รอบ ที่พระอุโบสถ โดยการเวียนเทียน นั้นจะเวียนขวา จำนวน ๓ รอบ และช่วงเวลาที่เดินอยู่ ...