ประกันสังคมกรณีว่างงาน ได้กี่บาท

ด้วยสถานการณ์ของการประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ ส่งผลกระทบต่อพนักงานและลูกจ้าง โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า และสถานที่ที่ถูกสั่งปิดหรือจำกัดเวลาเปิดทำการ และทำให้ประชาชนจำนวนมากตกอยู่ในสถานะ “ว่างงาน” แต่รู้หรือเปล่าว่า คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือผู้ประกันตนเอง ก็มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออกหรือว่างงานตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยเช่นกัน

ประกันสังคมกรณีว่างงาน ได้กี่บาท

"เงื่อนไข" ของผู้ที่จะได้สิทธิประกันสังคมหรือเงินชดเชย ประกันสังคมในกรณีลาออก หรือว่างงานเพราะได้รับผลกระทบจาก " "โควิด-19"

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

  • ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว จ่าย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

  • ว่างงาน จากการลาออก จ่าย 45% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงาน จากกรณีเลิกจ้าง จ่าย 70% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน 4% เป็นระยะเวลา 6 เดือน

และยังมีมาตรการขยายเวลาส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. - พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

  • งวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน เม.ย. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ส.ค. 63
  • งวดค่าจ้างเดือน พ.ค. เลื่อนส่งได้ ภายใน 15 ก.ย. 63

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมและผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

ก่อนการขึ้นทะเบียนเพื่อเบิกสิทธิประกันสังคมนั้น ต้องตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบก่อน ซึ่งเงื่อนไขคือจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน เช่น หากว่างงานในเดือนเมษายน 2563 ต้องนับระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานคือ เดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไปในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 จากนั้นสามารถไปขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านภายใน 30 วัน เพื่อแสดงสิทธิ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพราะหากไปช้ากว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงานนั่นเอง

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยความที่ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดโควิด-19 คุณสามารถขึ้นทะเบียนแบบออนไลน์ง่าย ๆ เพื่อการเบิกสิทธิประกันสังคมตามขั้นตอนดังต่อไปนี้เลย

ทั้งนี้ การพิจารณาการได้สิทธิประกันสังคมทดแทนกรณีว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะเป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิประกันสังคมให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง

Sharing is caring!

  • Facebook0
  • Twitter
  • Google+0

0shares

ว่างงาน ประกันสังคม จ่ายเท่าไร ❓
ขอรับเงินทดแทน ได้อย่างไร ❓
🔵 ว่างงาน กรณีเลิกจ้าง
รับเงินทดแทนว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
🔵 ว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
รับเงินทดแทนว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
🔵 ว่างงาน กรณีเหตุสุดวิสัย
รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ดังนั้น ผู้ประกันตนที่ว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวงดังกล่าว จะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
2.ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
⭕️ เงื่อนไขการรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน
1.จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
2.มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
3.ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ empui.doc.go.th ของกรมการจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
4.เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
5.ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
6.ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังนี้
🔹 ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
🔹 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
🔹 ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
🔹 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
🔹 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
🔹 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
🔹 ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
⭕️ กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย มีเงื่อนไขดังนี้
1.เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และยังไม่สิ้นสภาพการจ้างเท่านั้น ต้องไม่ลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือถูกเลิกจ้าง
2.ผู้ประกันตนต้องไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย
3.จ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจาก
มีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ (มาตรา 79/1)
⭕️ หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2.หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09)
กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
3.หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
4.หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
5.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้
✅ ธนาคารกรุงไทย
✅ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
✅ ธนาคารกรุงเทพ
✅ ธนาคารไทยพาณิชย์
✅ ธนาคารกสิกรไทย
✅ ธนาคารทหารไทย
✅ ธนาคารธนชาต
✅ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
✅ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
✅ ธนาคารออมสิน
✅ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
⭕️ ขั้นตอนยื่นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน
1.ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ empui.doc.go.th ของกรมการจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
2.ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.(ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
อย่างไรก็ตามในกรณีที่ลูกจ้างผู้ประกันตนว่างงาน ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลต่อไปได้อีก 6 เดือน ซึ่งหลังจากนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้เริ่มงานใหม่ ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนสมัครประกันสังคมในมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ก็ได้

Sharing is caring!

  • Facebook0
  • Twitter
  • Google+0

0shares

เงินประกันสังคมว่างงานได้กี่บาทต่อเดือน

จะได้รับเงินว่างงาน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน 📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ลงทะเบียนคนว่างงานจะได้เงินกี่บาท

ในกรณีที่ผู้ประกันตนคนว่างงานถูกไล่ออกกะทันหัน แล้วทำเรื่องลงทะเบียนคนว่างงานประกันสังคม จะได้รับเงินชดเชยประกันสังคมไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)​ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจาก ฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท ฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ใครต้องจ่ายประกันสังคม

สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงาน จนไปถึงเกษียณอายุ ซึ่งประโยชน์ที่พนักงานได้รับมีถึง 8 เรื่องด้วยกัน คือ

เงินว่างงานได้กี่เปอร์เซ็น2565

1. กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน จากเดิม กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันใน 1 ปีปฏิทิน