การวางแผนสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

{"ad_unit_id":"App_Resource_Sidebar_Upper","resource":{"id":6288451,"author_id":1720395,"title":"การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว","created_at":"2016-09-09T10:47:48Z","updated_at":"2018-09-14T15:04:29Z","sample":false,"description":"ผลงานของ นางสาวปลายฟ้า แสงสุข ชั้น ม.5/1 รายวิชา สุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว","alerts_enabled":true,"cached_tag_list":"www.google.com, www.yahoo.com, www.mathbyme.com","deleted_at":null,"hidden":false,"average_rating":"5.0","demote":false,"private":false,"copyable":true,"score":236,"artificial_base_score":0,"recalculate_score":true,"profane":false,"hide_summary":false,"tag_list":["www.google.com","www.yahoo.com","www.mathbyme.com"],"admin_tag_list":[],"study_aid_type":"MindMap","show_path":"/mind_maps/6288451","folder_id":2548353,"public_author":{"id":1720395,"profile":{"name":"plaipa","about":"","avatar_service":"examtime","locale":"en","google_author_link":null,"user_type_id":1,"escaped_name":"plaifa sangsooK","full_name":"plaifa sangsooK","badge_classes":""}}},"width":300,"height":250,"rtype":"MindMap","rmode":"canonical","sizes":"[[[0, 0], [[300, 250]]]]","custom":[{"key":"rsubject","value":"มายด์แม็บปิ้ง"},{"key":"env","value":"production"},{"key":"rtype","value":"MindMap"},{"key":"rmode","value":"canonical"},{"key":"sequence","value":1},{"key":"uauth","value":"f"},{"key":"uadmin","value":"f"},{"key":"ulang","value":"en"},{"key":"ucurrency","value":"usd"}]}

{"ad_unit_id":"App_Resource_Sidebar_Lower","resource":{"id":6288451,"author_id":1720395,"title":"การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว","created_at":"2016-09-09T10:47:48Z","updated_at":"2018-09-14T15:04:29Z","sample":false,"description":"ผลงานของ นางสาวปลายฟ้า แสงสุข ชั้น ม.5/1 รายวิชา สุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว","alerts_enabled":true,"cached_tag_list":"www.google.com, www.yahoo.com, www.mathbyme.com","deleted_at":null,"hidden":false,"average_rating":"5.0","demote":false,"private":false,"copyable":true,"score":236,"artificial_base_score":0,"recalculate_score":true,"profane":false,"hide_summary":false,"tag_list":["www.google.com","www.yahoo.com","www.mathbyme.com"],"admin_tag_list":[],"study_aid_type":"MindMap","show_path":"/mind_maps/6288451","folder_id":2548353,"public_author":{"id":1720395,"profile":{"name":"plaipa","about":"","avatar_service":"examtime","locale":"en","google_author_link":null,"user_type_id":1,"escaped_name":"plaifa sangsooK","full_name":"plaifa sangsooK","badge_classes":""}}},"width":300,"height":250,"rtype":"MindMap","rmode":"canonical","sizes":"[[[0, 0], [[300, 250]]]]","custom":[{"key":"rsubject","value":"มายด์แม็บปิ้ง"},{"key":"env","value":"production"},{"key":"rtype","value":"MindMap"},{"key":"rmode","value":"canonical"},{"key":"sequence","value":1},{"key":"uauth","value":"f"},{"key":"uadmin","value":"f"},{"key":"ulang","value":"en"},{"key":"ucurrency","value":"usd"}]}

ในปีนี้หลายคนตั้งเป้าหมายการเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การเรื่องงาน เป้าหมายการใช้ชีวิต รวมถึงการมีสุขภาพดีด้วย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันคนหันมาสนใจ และใส่ใจในเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ตัวเองนอนหลับสบาย มีสุขภาพแข็งแรง หรือการหลุดพ้นจากความเครียดเมื่อเราเรียนรู้ที่จะดูแลสุขภาพกายและใจตัวเองให้ดีแล้ว เราก็จะสามารถดูแลตัวเองและจัดการกับความเครียดและภาระหน้าที่ต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

วิธีดูแลสุขภาพให้ดีได้ด้วยตัวเอง

1. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

อาหารกับสุขภาพเป็นของคู่กัน การที่เราจะมีสุขภาพดีได้นั้น การกินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการดูแลตัวเอง เป็นการดูแลจากภายในสู่ภายนอก เราจึงควรต้องกินอาหารให้พอดีและหลากหลายในแต่ละวัน เลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีนและคาร์โบไฮเดตรที่มีประโยชน์เป็นหลัก เสริมผัก ผลไม้ที่ให้เกลือแร่และวิตามิน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันและอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถกินอาหารที่คุณชอบแต่อาจจะไม่ค่อยดีต่อสุขภาพนัก แถมยังรู้สึกผิดทุกครั้งที่กินเข้าไปได้ แน่นอนว่าคุณสามารถกินเค้กชิ้นเล็กๆ ชานมไข่มุก หรือเมนูประเภทปิ้งย่างได้เช่นกัน แต่ต้องระวังไม่ให้เผลอกินในปริมาณที่มากเกินไป เพราะถ้าหากคุณกินในปริมาณที่พอดีก็จะเป็นผลดีต่อร่างกายและจิตใจแถมยังช่วยเยียวยาอารมณ์ให้ดีขึ้นได้โดยไม่เสียสุขภาพด้วย

การวางแผนสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

2. ออกกำลังกาย

เมื่อเลือกทานอาหารที่ดีแล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือการออกกำลังกาย ปัจจุบันการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความชอบ ไลฟสไตล์ และสภาพร่างกายของแต่ละคน แต่ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายชนิดไหน ก็มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากขึ้นทั้งนั้น

การออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างอย่างหนัก แต่การออกกำลังกายที่ดีควรทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และควรออกกำลังกายให้ได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับ สภาพร่างกายช่วงวัยและความถนัด ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค บอดี้เวท หรือโยคะ เพราะการได้ออกกำลังกายในรูปแบบที่เราชอบ จะช่วยทำให้เราออกกำลังกายได้นานขึ้น และออกกำลังกายได้อย่างไม่มีเบื่อ แถมได้ลดน้ำหนักไปในตัวอีกด้วย

3. ดื่มน้ำให้เยอะ เพื่อสุขภาพและผิวพรรณ

การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานการมีสุขภาพดีที่สำคัญขาดไม่ได้เลยในชีวิตประจำวัน แต่กลับเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม การดื่มน้ำเปล่านอกจากจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกาย บรรเทาความเมื่อยล้า ช่วยในเรื่องระบบเผาผลาญและการขับถ่าย แถมยังช่วยให้สุขภาพผิวของเราดีขึ้น

ปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับร่างกายในแต่ละวัน โดยประมาณคือ 2 ลิตร ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อการดูแลสุขภาพที่สมบูรณ์ สำหรับคนที่ดื่มน้ำน้อย ลองกรอกน้ำใส่ขวดไว้แล้วตั้งเป้าหมายว่าต้องดื่มน้ำเรื่อยๆ ให้หมดขวดภายในหนึ่งวัน แบบนี้ก็สามารถทำให้เราดื่มน้ำได้มากขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ สมองฝ่อ โรคตับ อีกทั้งยังมีผลต่อกล้ามเนื้อ และกระดูกในระยะยาวอีกด้วย

การวางแผนสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

ปัจจุบันเรา ใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ จนลืมไปว่าสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดและเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ในการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีนั้นก็คือการนอนการนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ อวัยวะต่างๆ จะได้หยุดพัก หรือทำงานน้อยลง เป็นช่วงเวลาที่ระบบภูมิต้านทานจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสะสมพลังงานสำรองไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากเรานอนครบ 8-10 ชั่วโมงต่อคืน จะทำให้เราตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นและสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในวันถัดไปได้อย่างไม่รู้สึกเหนื่อยล้า เปรียบเสมือนการได้ชาร์ตแบตร่างกายให้เต็ม 100% ในทุกๆ วัน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเข้าเข้านอนก็คือ ช่วงเวลาระหว่าง 22.00-02.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน เพื่อทำให้ร่างกายได้ฟื้นฟูระบบต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ และทำให้คุณภาพการนอนได้รวมดีขึ้นอีกด้วย

5. วางแผนจัดการกับความเครียด ไม่ให้เสียสุขภาพจิต

ความเครียดถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยบั่นทอนสุขภาพ เป็นสภาวะอารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ จนเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล และรู้สึกกดดัน หลายครั้งที่เรามักเรียกโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้มักจะแสดงออกมาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือพฤติกรรม บางคนเครียดแล้วทำให้หงุดหงิดง่าย บางคนเครียดแล้วป่วยบ่อย บางคนก็นอนไม่หลับ เราจึงควรต้องหาวิธีจัดการและบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อให้เรามีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีในเวลาเดียวกัน

การจัดการกับความเครียดนั้นทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการไปออกกำลังกาย การนั่งสมาธิฝึกจิตใจ ธรรมชาติบำบัด การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ตลอดจนการจัดสรรเวลาในชีวิตไม่ให้โฟกัสกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ จมอยู่กับความเครียดมากจนเกินไป จนอาจกระทบต่อตนเองและคนรอบข้างได้

การวางแผนสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

6. ปรับวิธีคิดเพื่อเพิ่มพลังบวก

การจมอยู่กับความวิตกกังวล หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งมากจนเกินไป อาจทำให้กลายเป็นความเครียดสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ในใจ ทำให้เกิดทัศนคติลบ จนส่งผลให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่แย่ลง ลองเอาตัวเองออกจากความกังวลเหล่านั้น และปรับมุมมองปัญหาต่างๆ อาจจะทำให้เรามองเห็นสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากเรายอมรับข้อบกพร่องและพยายามทำความเข้าใจกับมันอย่างมีสติ ก็จะช่วยให้เรามีสุขภาพใจที่แข็งแรง และมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่ายขึ้น หรือถ้าเรามองเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ลองมองข้ามข้าม หรือปล่อยผ่านไปบ้างก็ได้

เราสามารถเพิ่มพลังบวกให้ตัวเองง่ายๆ ด้วยการ

  • มองโลกอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
  • ปรับความคิด ทัศนคติให้เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • เลิกเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ แต่เลือกมองหาเฉพาะเรื่องดีๆ จากสิ่งเหล่านั้นแทน
  • เตือนตัวเองว่าทุกเรื่องมีสองด้านเสมอ มีดีก็ต้องมีร้ายคละเคล้ากันไป
  • มีความสุข ยิ้ม และหัวเราะกับเรื่องธรรมดารอบตัว
  • พาตัวเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความคิดเชิงบวก

ข้อดีของการมองโลกในเชิงบวก นอกจากจะช่วยฟื้นฟูสุภาพใจเราดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น ยิ้มง่ายขึ้น กังวล หรือกดดันน้อยลงแล้ว ยังส่งผลให้สุขภาพกายเราแข็งแรงขึ้นด้วย

7. อย่าลืมไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ

บางคนอาจมองว่าตัวเองอายุยังน้อยจึงไม่เห็นความจำเป็นในการตรวจสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้คุณใช้ชีวิตอย่างแข็งแรง และมีสุขภาพดีในทุกๆ วัน เพราะการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เรารู้ ว่าเรามีปัจจัยเสี่ยงอะไรและควรจะต้องดูแลสุขภาพไปในทิศทางไหนบ้างเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่เกิดขึ้นได้

ยิ่งไปกว่านั้นการตรวจพบโรคในระยะแรกแรกจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน และความรุนแรงของโรค ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสหายได้มากกว่าการตรวจพบโรคเมื่อมีอาการปรากฏมาสักระยะหนึ่งแล้ว

การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีความเสี่ยง หรือเป็นผู้สูงวัยเท่านั้น

การวางแผนสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

สรุป การดูแลสุขภาพตัวเอง

การมีสุขภาพดีและแข็งแรงเป็นพื้นฐานของการมีชีวิตที่ดี ถือเป็นวิธีที่ทำให้ตัวเองมีความสุขได้ง่ายที่สุด เพราะเมื่อเรามีสุขภาพที่ดีแล้วเราก็จะมีความพร้อมมากพอในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงสามารถใช้เวลากับคนที่คุณรักได้ยาวนานกว่าที่เคย

การวางแผนดูแลสุขภาพมีกี่ขั้นตอน

7 เคล็ดลับง่ายๆ!.
1. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ... .
2. ออกกำลังกาย ... .
3. ดื่มน้ำให้เยอะ เพื่อสุขภาพและผิวพรรณ ... .
4. พักผ่อนให้เพียงพอ ... .
5. วางแผนจัดการกับความเครียด ไม่ให้เสียสุขภาพจิต ... .
6. ปรับวิธีคิดเพื่อเพิ่มพลังบวก ... .
7. อย่าลืมไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ.

การวางแผนพัฒนาสุขภาพมีกี่มิติ

การวางแผนพัฒนาสุขภาพ 4 มิติ

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวมีกี่ขั้นตอน

2. วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและ ครอบครัว สามารถวางแผนได้โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การงานแผนพัฒนาสุขภาพทางกาย การวาง แผนพัฒนาสุขภาพจิต การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านสังคม และการวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านปัญญา

การวางแผนพัฒนาสุขภาพหมายถึงอะไร

การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกำาหนดรูปแบบในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการ รวมถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำาเนินการ และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การวางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ และสร้างสัมพันธภาพ อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว นำาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต