ภาคกลางมีกี่จังหวัดอะไรบ้าง

จังหวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของภาคกลางคือจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีเนื้อที่ 12,668 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่จังหวัดสมุทรสงครามมีเนื้อที่น้อยที่สุดเพียง 417 ตารางกิโลเมตร จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรมากที่สุดประมาณ 1,190,000 คน ในขณะที่จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือจังหวัดสมุทรสงครามมีประชากร ประมาณ 184,000 คน

ภาคกลางมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชที่สำคัญที่สุดของประเทศ

การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์

          การแบ่งภูมิภาคมีประโยชน์ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นภายในกรอบของพื้นที่รวมทั้งหมด แต่การแบ่งภูมิภาคอาจทำให้เกิดความสับสนขึ้นได้เนื่องจากการแบ่งนั้นกระทำได้หลายวิธีแล้วแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ และเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการแบ่งก็จะแตกต่างกันสุดแต่ว่าจะเป็นวิธีการของหน่วยงานใดหรือนักวิชาการสาขาใด สำหรับงานจัดทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ของราชบัณฑิตยสถานยึดถือตามการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ การแบ่งดังกล่าวนี้ ได้อาศัยเกณฑ์ในด้านลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ แต่ก็ได้นำลักษณะทางด้านภูมิอากาศ วัฒนธรรมด้านเชื้อชาติ ภาษา และความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภูมิภาค คือ
๑. ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน และอุตรดิตถ์
๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
๓. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด ได้แก่ หนองคาย นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
๔. ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
๕. ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
๖. ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต พัทลุง ตรัง ปัตตานี สงขลา สตูล นราธิวาส และยะลา
นอกจากการแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ตามข้อเสนอของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติแล้ว ยังมีหน่วยงานที่จัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๖ ภาค และมีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
 –ภาคเหนือ มี ๑๗ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี
 –ภาคกลาง มี ๙ จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
 –ภาคตะวันออก มี ๙ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา
สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
 –ภาคตะวันตก มี ๘ จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

นางสาวนฤมล  บุญแต่ง
นักวรรณศิลป์ ๗ ว
กองธรรมศาสตร์และการเมือง

 

 

ประกอบด้วย 18 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตด้านตะวันตกติดต่อกับเมียนมาร์ ด้านเหนือติดกับจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ด้านใต้ติดกับจังหวัดชุมพร ส่วนทิศตะวันออกติดกับจังหวัดนครราชสีมา นครนายก ฉะเชิงเทรา และอ่าวไทย

พื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ

มีพื้นที่รวม 41.15 ล้านไร่ หรือร้อยละ 12.8 ของประเทศ เมื่อรวมพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 42.12 ล้านไร่ หรือร้อยละ 13.1 ของประเทศ ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านตะวันตกเป็นพื้นที่สูง บริเวณเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวยาวไปทางใต้ตามแนวพรมแดน ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่างๆ พัดพามา สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง และตอนล่างเป็นพื้นที่ราบและที่ราบชายฝั่งทะเล

จำนวนประชากรรวมของภาคกลาง

เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ข้อมูลจากกรมการปกครอง ในปี 2559 ภาคกลางมีจำนวนประชากร ทั้งหมด 11.93 ล้านคน หรือร้อยละ 18.09 ของประเทศ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2555 ซึ่งมีประชากร 11.5 ล้านคน

ที่ตั้งและขอบเขตภาคกลาง 

     ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย 

     ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

     ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร 

     ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 

ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง 

เขตที่ราบ 

       - เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)

       - เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา 

       - เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป 

แม่น้ำสายสำคัญของภาคกลาง 

       1. แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี)           แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) 

       2. แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

       3. แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี 

คลองที่สำคัญในภาคกลาง 

       1. คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก 

       2. คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี 

       3. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย 

       4. คลองแสนแสบ,คลองพระโขนง และคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง 

       5. คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาคคือ บึงบอระเพ็ด    อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ และบึงสีไพ จังหวัดพิจิตร

ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง

       ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง 

1. ทรัพยากรดิน 

ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง 

ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง 

ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น 

2. ทรัพยากรน้ำ 

ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี 

3. ทรัพยากรป่าไม้ 

ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง

ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย

4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 

ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

ภาคกลางมี 22 จังหวัดได้แก่อะไรบ้าง

๒. ภาคกลาง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร และอีก ๒๑ จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

ภาคกลางมีทั้งหมดกี่จังหวัดอะไรบ้าง

ประกอบด้วย 18 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตด้านตะวันตกติดต่อกับเมียนมาร์ ด้านเหนือติดกับจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ด้านใต้ติดกับ ...

ภาพกลางมีกี่จังหวัด

จำนวนจังหวัดในภาคกลางประกอบด้วย 22 จังหวัด

ภาคอะไรมี 7 จังหวัดได้แก่

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย).