สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน

Skip to main content

  • เมนูหลัก  
  • เงื่อนไขการรับประโยชน์ทดแทน ผู้ประกันตนมาตรา 40

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี

  • การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท

    เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย

  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
กรณีทุพพลภาพ

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 – 1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

  • ตายก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

เงื่อนไขในการรับสิทธิ

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน

จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน 

จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน

จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน

จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
กรณีตาย  

  • ได้รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

    เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

    หมายเหตุ

  • “อุบัติเหตุ” หมายความว่า เหตุที่เกิดโดยไม่คาดดิดเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น อุบัตเหตุจากการขนส่ง การตกหรือล้ม การจมน้ำ การสัมผัสความร้อนและสิ่งของที่ร้อน การสัมผัสสารพิษ การถูกทำ้ร้าย การดำเนินการตามกฎหมายและการปฏิบัติการสงคราม การสัมผัสสัตว์และพืชมีพิษ ภัยธรรมชาติจากฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เป็นต้น
    ** ยกเว้น กรณีอุบัติเหตุ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ)

  • ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด

    เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ)

  • ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต

  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด

  • ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

  • กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน

    เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)

  • ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

  • ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555

สิทธิประกันสังคมนอนโรงพยาบาลได้กี่วัน
เงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จได้แก่ บุคคล ดังต่อไปนี้

  • สามี ภริยา บิดาและมารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่านกัน กรณีไม่มีผู้สิทธิตามข้อ 2.1

  • ให้จ่ายแก่บุคคล ซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ

หมายเหตุ หากมีการนำส่งเงินสมทบต่อเนื่องทุกเดือนจะได้รับเงินกรณีชราภาพขั้นต่ำ (ยังไม่รวมผลตอบแทน) หรือดอกเบี้ย 
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2558

แหล่งที่มา : สำนักงานประกันสังคม

81127

ทั่วไป

02 เม.ย. 2565 เวลา 15:55 น.26.6k

ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 เช็กสิทธิ! เจ็บป่วยยื่นเบิก "เงินขาดรายได้" พร้อมแจงการจัดเก็บเงินสมทบในระบบประกันสังคม

วันที่ 2 เมษายน 2565 นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคมได้จัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราฝ่ายละ ร้อยละ 5 ของค่าจ้าง

โดย ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้จัดเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5 นั้น จะถูกแบ่งออกเป็น กรณีเจ็บป่วยอัตราร้อยละ 1.06 กรณีคลอดบุตรอัตราร้อยละ 0.23 กรณีทุพพลภาพอัตราร้อยละ 0.13 กรณีตายอัตราร้อยละ 0.08 รวมการจัดเก็บทั้ง 4 กรณี อัตราร้อยละ 1.50

อีกทั้งได้แบ่งเป็นการจัดเก็บเงินสมทบอีก 3 กรณี คือ กรณีสงเคราะห์บุตร กับ กรณีชราภาพ ร้อยละ 3.00 และกรณีว่างงานอีกในอัตราร้อยละ 0.50

นางสาวลัดดา กล่าวถึงการจัดเก็บเงินสมทบร้อยละ 1.06 เพื่อดูแลรักษาผู้ประกันตนในยามเจ็บป่วยนั้น สำนักงานประกันสังคมได้ให้สิทธิการรักษาในสถานพยาบาลตามมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน โดยสถานพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนอย่างเต็มกำลังความสามารถตลอด 24 ชั่วโมง และจัดหายาเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนอย่างเพียงพอจนสิ้นสุดการรักษาโดยไม่จำกัดจำนวนเงินค่าใช้จ่าย และจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษา

โดยสถานพยาบาลจะไม่เก็บค่าบริการทางการแพทย์จาก "ผู้ประกันตน" โดยเฉพาะการสั่งจ่ายยาที่ใช้สำหรับผู้ประกันตนจะต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานบัญชียาหลักแห่งชาติ และจะต้องจัดให้ผู้ประกันตนโดยไม่เรียกเก็บเงินเพิ่ม ในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับอุบัติเหตุ หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง สามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยไม่ถูกทวงถามสิทธิก่อนรักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนสิ้นสุดการรักษา

นอกจากสิทธิการรักษาพยาบาลแล้ว "ผู้ประกันตน" สามารถเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ "เงินขาดรายได้" กรณีหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วันต่อปี อีกด้วย

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อว่า สำนักงานประกันสังคมได้มีการควบคุมคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาลในระบบประกันสังคม โดยมีการตรวจประเมินคุณภาพของสถานพยาบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบความพร้อมของสถานพยาบาลตามมาตรฐานในด้านการบริการทางการแพทย์เป็นสำคัญ

หากพบสถานพยาบาลใดมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือมาตรฐานที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้จะได้รับการลงโทษตามประกาศสำนักงานประกันสังคม คือ ว่ากล่าวตักเตือน ลดจำนวนโควตาผู้ประกันตนในปีต่อไป ส่งเรื่องให้แพทยสภา หรือยกเลิกสัญญาจ้างแล้วแต่กรณี

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกันตนไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการทางการแพทย์กับสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมสามารถร้องเรียนมาได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทั้ง 12 แห่ง หรือที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สาขา ทั่วประเทศที่ท่านสะดวก หรือโทร 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน