ประจําเดือนเลื่อน ได้มากสุด กี่วัน

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป มากระปริดกระปรอย มาขาดๆ หายๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

20 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประจำเดือน

  1. ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง
  2. ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วคือ...โรคอ้วน
  3. ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนยังไม่สมดุล
  4. โดยปกติรอบเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน
  5. ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน
  6. หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก
  7. ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน
  8. หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง
  10. ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด
  11. ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติซะอีก
  14. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา
  15. การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen
  19. ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา กับประจำเดือนมามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

ประจําเดือนเลื่อน กี่วันถึงจะท้อง? ตรวจครรภ์ได้ตอนไหน? อาการคนท้องมีอะไรบ้าง? เช็กอาการคนท้อง 1-4 สัปดาห์แรก พร้อมกันเตรียมตัวสู่การเป็น “แม่” ได้ที่นี่

ประจําเดือนเลื่อน กี่วันถึงจะท้อง? ตรวจครรภ์ได้ตอนไหน?

อาการคนท้อง ของผู้หญิงในแต่ละรายนั้นไม่เหมือนกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงมักจะคาดเดาว่าอาจจะท้องจากการที่ประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนเลื่อน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ประจําเดือนเลื่อน กี่วันถึงจะท้อง? จะสามารถใช้ที่ตรวจการตั้งครรภ์ได้หลังจากวันที่ประจำเดือนเลื่อนวันไหน? สามารถตรวจครรภ์แล้วขึ้น 2 ขีดได้ตอนไหน? อาการคนท้องมีอะไรบ้าง? ทีมแม่ ABK ขอตอบทุกคำถามค่ะ

อาการคนท้อง เป็นแบบไหน?

ส่วนใหญ่แล้ว นอกจากประจำเดือนขาด หากตั้งครรภ์ มักจะมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดแปลกไป มาดูกันว่ามีอาการไหนบ้างที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังมีเบบี๋อยู่ในท้องแล้ว

  1. ปัสสาวะบ่อยขึ้น และสีเข้มขึ้น

อาการคนท้องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมดลูกที่โตกดกระเพาะปัสสาวะ และฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์มีผลทำให้เลือดมาคั่งในเชิงกรานมาก เพื่อไปหล่อเลี้ยง ตัวอ่อนมากขึ้น ระบบปัสสาวะที่ต่อเนื่องถึงกันจึงได้รับผลกระทบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ จึงระคายเคืองและบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย รวมทั้งต้องลุกมาเข้าห้องน้ำใน ตอนกลางคืนบ่อย ๆ ด้วย

2. คัดเต้านม เจ็บ และตึง

มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมใหญ่ขึ้น กดจะเจ็บเนื่องจากมีการเจริญเติบโตของไขมันและต่อมน้ำนม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ หัวนมเจ็บและไวต่อสิ่งสัมผัส มีเส้นเลือดดำสีเขียว ๆ ปรากฏขึ้นที่บริเวณผิวหนังรอบเต้านม หัวนมมีสีคล้ำขึ้นและตั้งชู

3. ท้องผูกกว่าปกติ

เพราะมีสาเหตุจากเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อตั้งครรภ์ เช่น การบีบตัวของลำไส้ลดลง มดลูกทับลำไส้ใหญ่ การแก้ไขภาวะท้องผูกในคนท้องที่ดีที่สุดคือ พยายามรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายพอเหมาะซึ่งจะช่วยในเรื่องการแก้ไขอาการท้องผูกได้

4. มีอาการตกขาวเล็กน้อย

อาการตกขาวของคนท้องนั้น เป็นของคู่กัน เมื่อผู้หญิงเราตั้งครรภ์ทำให้มาการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ ฮอร์โมนเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดมีเลือดมาคั่งมากในช่องคลอด ที่คอมดลูก ต่อมต่าง ๆ ในคอมดลูกทำงานมากขึ้น จะมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น เมื่อหลุดออกมาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นปกติในช่องคลอดของหญิงทุกคน เป็นผลให้เซลล์สลายออกเกิดเป็นตกขาวได้

5. เหนื่อยง่าย และง่วงนอนตลอดเวลา

เป็นอาการที่เกิดจาก ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมา ทำให้ นอกจากตอนเย็นหลังเลิกงานแล้วยังเหนื่อยล้าในตอนกลางวันอีกด้วย อาการเช่นนี้ ดีสำหรับคุณแม่ เพราะเท่ากับช่วยลดกิจกรรมต่าง ๆ ลงทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จะได้พบปะเจอะเจอผู้คนน้อยลง หรือไม่ค่อยอยากเดินทางไปไหนมาไหน ช่วยให้คุณแม่ได้รับเชื้อโรคและสารพิษจาก สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษน้อยลง

6. รู้สึกขม ๆ เฝื่อน ๆ มีรสชาติแปลก ๆ ในปาก

เป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน เพราะผู้หญิงตั้งครรภ์มักเป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงรวมทั้งมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคุณมีอาการขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์

7. รู้สึกเหม็น ทนไม่ได้กับบางสิ่งบางอย่าง

เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในร่างกายมีปฏิกริยากับสิ่งที่สัมผัสได้ ทั้งกลิ่น รส เสียง สัมผัส คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายรายมักจะมีอาการแพ้ท้องเมื่อได้กลิ่นอาหาร (ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนเป็นอาหารที่ตัวเองชอบ) หรือแพ้กลิ่นน้ำหอม (เดิมชอบกลิ่นนี้มาก พอตั้งครรภ์แล้วกลิ่นที่เคยหอมกลับรู้สึกว่าเหม็นไป) หรือหนักมาก ๆ เข้าก็แพ้กลิ่นตัวสามีก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง เพราะว่าระบบธรรมชาติได้พยายามปกป้องร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาและเจริญเติบโต เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเลยทีเดียว ดังนั้นหลาย ๆ คนที่แพ้ท้องมาก ๆ ก็อาจจะต้องหยุดพัก ได้แต่กิน นอน และอาเจียนกันเลยทีเดียว

8. มีอารมณ์อ่อนไหวหรือแปรปรวนง่าย

เป็นอีกอย่างหนึ่งอาการของคนท้อง อาจเป็นผลมาจากฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง บางครั้งได้ยิน ได้ฟังเรื่องเศร้า ๆ ก็ร้องไห้ น้ำตาซึม หรือปล่อยโฮ ดูหนังเศร้าก็ร้องไห้เสียใจ โดยที่เมื่อก่อนไม่ใช่คนแบบนี้ ผู้หญิงบางรายอาจไม่มีอาการดังกล่าวนี้เลย แต่ก็ “ทราบ” ว่าตนเองตั้งครรภ์ ก็เป็นได้เช่นกัน

ประจําเดือนเลื่อน ได้มากสุด กี่วัน
อาการคนท้อง

9. แพ้ท้อง

เป็นอาการ ที่พบบ่อยมากจนเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อาการแพ้ท้อง มักมีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียนหลังตื่นนอนในตอนเช้า บางรายอาจเป็นในช่วงเย็น ๆ บางรายมีอาการต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งวัน (แย่หน่อย) โดยเฉพาะตอนที่ท้องว่าง บางทีหิวแต่กินไม่ได้มาก ทำให้เกิด อาการวิงเวียนจะเป็นลม เนื่องจากมีน้ำตาลในเลือดต่ำ

10. ประจำเดือนเลื่อน ประจำเดือนขาด

ประจำเดือนไม่มา ก็มีสาเหตุหลายสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา เช่น

  • มีความเครียด หรือวิตกกังวลสูง
  • ไม่สบาย ก็อาจทำให้ประจำเดือนไม่มา
  • ตั้งครรภ์

ในบางรายที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หากประจำเดือนของคุณขาดไป ก็แสดงว่าคุณอาจตั้งครรภ์ เพราะหลังจากปฏิสนธิ ประจำเดือนจะไม่มา

ประจําเดือนเลื่อน กี่วันถึงจะท้อง?

เมื่อตั้งครรภ์แล้ว อาการอีก 1 อย่างคือ ประจำเดือนเลื่อน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ประจําเดือนเลื่อน กี่วันถึงจะท้อง? คำตอบคือ เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก่อนที่เราจะทราบว่าประจำเดือนเลื่อนนั้น ทางการแพทย์เค้านับว่าเป็นตั้งครรภ์เดือนที่ 1 เป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ ดังนั้น การตั้งครรภ์จึงนับตั้งแต่วันแรกที่ปฏิสนธิ ไม่ได้นับจากวันที่ประจำเดือนเลื่อนค่ะ การที่ประจำเดือนเลื่อน ประจำเดือนขาด เป็นเพียงอาการที่บ่งบอกว่าอาจจะตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าหากประจำเดือนเลื่อน แล้วจะหมายความว่าเราจะท้องอยู่นั่นเอง ดังนั้น ถ้าต้องการตรวจสอบให้แน่นอนว่าตั้งครรภ์ชัวร์ ๆ ควรใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจค่ะ

ประจําเดือนเลื่อน ได้มากสุด กี่วัน
ที่ตรวจครรภ์

ใช้ที่ตรวจการตั้งครรภ์ได้วันไหน?

คำตอบนี้ ทีมแม่ ABK ขอนำบทความจากคอลัมน์ คุยกับหมอพิณ มาให้ความกระจ่างกันค่ะ

แม้ฮอร์โมนจะน้อย ๆ (น้อยระดับที่จุ่มปัสสาวะอาจจะไม่ขึ้น) ก็สามารถบอกได้ว่า ตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ ทีนี้จะตรวจการตั้งครรภ์วันไหนดี หลังมีเพศสัมพันธ์ อสุจิจะว่ายน้ำไปหาไข่ และกระทำการผสม แต่ถ้าว่ายไปแล้วไม่เจอไข่ล่ะ อสุจิสามารถว่ายน้ำรอได้ประมาณ 3 วัน ก่อนที่จะหมดแรงแล้วตายไป ส่วนคุณไข่ หลังตกมาแล้วจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมงค่ะ ก่อนที่จะสลายไป

ทีนี้ ถ้าเขา (อสุจิและไข่) มาเจอกัน แล้วผสมกัน เขาจะรวมร่างกันแถว ๆ ท่อนำไข่ค่ะ ได้มาเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนก็จะค่อย ๆ กระดึ๊บ ๆ เข้ามาในห้องโถงโพรงมดลูก มาแปะที่โพรงมดลูกอันหนานุ่ม ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ จะใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน หลังจากผสมกันค่ะ ทีนี้ตัวอ่อนก็จะฝังรากลงไปในโพรงมดลูกอันหนานุ่ม ซึ่งตอนฝังตัวนี่เองค่ะ ที่จะสามารถปล่อยฮอร์โมนการตั้งครรภ์ออกมาได้

ดังนั้นถ้าถามว่าจะตรวจเลือดเจอฮอร์โมนเมื่อไหร่ดี ฮอร์โมนจะสามารถตรวจพบได้ประมาณวันที่ 8-10 หลังไข่ตกค่ะ แต่ตามความเป็นจริง เราก็จะไม่แน่ใจหรอกค่ะว่า เราไข่ตกวันไหน อสุจิว่ายน้ำกันกี่วัน ถ้าจะเอาให้ตรวจในปัสสาวะได้ ก็รอจนถึงวันที่ประจำเดือนควรจะมา แล้วยังไม่มานี่ล่ะค่ะ

สรุปว่า แนะนำให้ตรวจปัสสาวะ หากถึงวันที่ประจำเดือนต้องมา แล้วยังไม่มานะคะ ซึ่งประจำเดือนน่าจะมาวันไหน คนที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือคนที่จดประจำเดือนเป็นประจำ ก็จะพอคาดเดาได้ค่ะ (app ในมือถือสมัยนี้ก็คำนวณวันที่ประจำเดือนน่าจะมาให้เรียบร้อย)

ทีนี้ ถ้าตรวจแล้วยังไม่ท้อง ประจำเดือนก็ยังไม่มาซะที ให้ใจร่ม ๆ ก่อนค่ะ ถ้าประจำเดือนยังไม่มา ให้รอตรวจซ้ำอีก 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ท้องอีก แล้วประจำเดือนยังไม่มาซักที ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดีกว่าค่ะ

สรุปแล้วเราสามารถใช้ที่ตรวจครรภ์เพื่อให้รู้ว่าท้องหรือไม่ ได้ตั้งแต่วันแรกของการคลาดเคลื่อนของประจำเดือนเลย  แต่ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ตรวจหนึ่งอาทิตย์หลังจากที่ประจำเดือนคลาดเคลื่อนค่ะ เพราะโอกาสจะตรวจได้ผลบวกสูงกว่า

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อาการของคนท้อง ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนคลอด มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

ภรรยาสาว เป้ วงมายด์ รีวิว ฉีดวัคซีนโควิดตอนท้อง 6 เดือน ท้องแฝด!

ทำไมถึง ตั้งครรภ์นอกมดลูก ท้องนอกมดลูก รู้เร็ว แม่รอด!

เคล็ด(ไม่)ลับ ดูแลลูกในท้อง วิธีบำรุงลูกในท้องให้แข็งแรง!

ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์, คุยกับหมอพิณ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

ประจําเดือนเลื่อนมากสุดกี่วัน

โดยปกติประจำเดือนจะมาทุก ๆ 21-35 วัน แต่บางครั้งอาจมาเร็วหรือมาช้ากว่ารอบเดือนปกติประมาณ 3-7 วัน ซึ่งประจำเดือนเลื่อนอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาเร็วหรือมาช้ากว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละรอบประจำเดือนไม่ควรมามากกว่า 7 วัน

ประจําเดือนมานานสุดกี่วัน

โดยปกติแล้วรอบเดือนจะห่างกันทุกๆ 28 วัน ผิดพลาดได้บวกลบไม่เกิน 7 วัน หมายความว่ารอบเดือนนั้นอาจจะเป็น 21- 22 วัน หรือ 30 - 35 วันก็ยังถือว่าเป็นปกติอยู่ ก่อนที่คุณจะเป็นกังวลลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร อยู่ในระหว่างคุมกำเนิดหรือไม่ ตั้งครรภ์หรือไม่

ประจําเดือนขาดกี่วันถึงจะตรวจการตั้งครรภ์ได้

คำแนะนำในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง

ประจําเดือนมาช้าเกิดจากอะไร

ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร สาเหตุของภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยอยู่ในชีวิตประจำวันก็มีผลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ เช่น น้ำหนักที่มากเกินไป การออกกำลังกายอย่างหนัก ความเครียด ส่วนสาเหตุที่พบได้เป็นปกติ ได้แก่ ภาวะการตั้งครรภ์ที่สามารถเกิดประจำเดือนไม่มา หรือผู้ที่ให้นมบุตร