สมรรถนะหลักของครูกําหนดมีทั้งหมดกี่สมรรถนะ

สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

  • กุมภาพันธ์ 22, 2019
  • 26 Comments
  • Uncategorized, ข่าวสารทั่วไป, อัพเดทข่าวสาร

สมรรถนะหลักของครูกําหนดมีทั้งหมดกี่สมรรถนะ

สมรรถนะหลัก (Core Competency) 5 ประการ ได้แก่

การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
การบริการที่ดี
การพัฒนาตนเอง
การทำงานเป็นทีม
จริยธรรมและจรรยาบรรณครู

สมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (Functional Competency) 6 ประการ ได้แก่

– การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
– การพัฒนาผู้เรียน
– การบริหารจัดการชั้นเรียน
– การวิเคราะห์ สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
– ภาวะผู้นำ
– การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชน

สมรรถนะหลักของครูกําหนดมีทั้งหมดกี่สมรรถนะ
สำหรับยุคแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารที่เต็มไปด้วยข้อมูลสารสนเทศหลากหลาย ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญสำหรับยุคนี้ที่เรียกว่า C-Teacher (ถนอมพร เลาหจรัสแสง) ซึ่งได้แก่

Content: ผู้สอนต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี เพราะหากผู้สอนไม่เชี่ยวชาญในเรื่องที่สอนหรือถ่ายทอด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมาย

Computer (ICT) Integration: ผู้สอนต้องมีทักษะในนการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เรียน ยิ่งถ้าได้ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพจะยิ่งช่วยส่งเสริมทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

Constructionist: ผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้เองจากการเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่เข้ากับความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ได้รับ และได้จากการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ โดยครูสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง ๆ ผ่านการประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากในชั้นเรียนและจากการศึกษาด้วยตนเอง

Connectivity: ผู้สอนต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและสถานศึกษากับชุมชนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนCollaboration: ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสารสนเทศระหว่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต

Communication: ผู้สอนมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ การนำเสนอสื่อ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมนำไปสู่ความเข้าใจและสามารถเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

Creativity: ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสร้างสรรค์กิจกรรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย แปลกใหม่จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ผู้สอนต้องเป็นมากกว่าผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงเพียงอย่างเดียว

Caring: ผู้สอนต้องมีมุทิตาจิตต่อผู้เรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อใจส่งผลต่อการจัดสภาพการเรียนรู้ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่ผู้เรียนจะมีความสุขในการเรียนรู้และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก kruvoice.com

สมรรถนะหลักของครูกําหนดมีทั้งหมดกี่สมรรถนะ

Facebook

Twitter

Line

อ่านแล้ว 62041 ครั้ง

26 ความเห็นบน “สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด”

  1. Khajohnsak Pratumpan พูดว่า:

    เมษายน 9, 2019 ที่ 10:35 am

    เป็นความจริง ที่ครู คนเก่งๆ นำหลักการนีี้ี้ไปประยุกต์ใช้ การทำงานก็ประสบผลสำเร็จ สำหรับครูที่อิงอะไร เดิมๆ ก็เดิมๆ ครับ

    ตอบกลับ

    1. ผ่องพรรณ ตาทอง พูดว่า:

      เมษายน 10, 2019 ที่ 1:40 pm

      ถ้าครูทุกคนนำหลักการนี้มาปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนการศึกษาไทยจะเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทุกๆปี

      ตอบกลับ

    2. เปรมฤดี สุพรรณฝ่าย พูดว่า:

      เมษายน 11, 2019 ที่ 12:25 pm

      ส่วนใหญ่นะคะร้อยละ 70 ก็เดิมๆและเดิมๆค่ะบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบทบาทหน้าที่ตัวเองคืออะไรบ้าง อันตรายที่สุดค่ะ

      ตอบกลับ

    3. อำพร สูงเพีย พูดว่า:

      กรกฎาคม 21, 2020 ที่ 3:34 am

      ถูกต้อง

      ตอบกลับ

  2. 5341100038335 พูดว่า:

    เมษายน 9, 2019 ที่ 11:21 am

    ดีค่ะถ้าครูทุกคนสามารถทำได้

    ตอบกลับ

  3. วันเพ็ญ เขียวทูน พูดว่า:

    เมษายน 11, 2019 ที่ 9:34 am

    ครูรุ่นใหม่ทุกวันนี้ไม่มีศักยภาพอย่างที่ครูควรจะเป็นทั้งก้าวร้าวและไม่มีความรับผิดชอบหมายถึงครูที่บ้านฉันนะคะไม่รู้ว่าจะสอบมาเป็นครูทำไม?ใจไม่รักก็อย่ามาทำให้สถาบันเค้าเสียหายเลยคะ

    ตอบกลับ

    1. นายอิทธิราช รักษา พูดว่า:

      ตุลาคม 31, 2019 ที่ 9:40 pm

      ออกแบบให้ผู้บริหารยิ่งใหญ่ครูต้องกล้วและง้อ จากการประเมินทุกขั้นต้อวเร่งทำผลงาน จนครูยุในภาวะจำยอม ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ส่งลักษณะอย่างนั้นต่อไปยังเด็ก เห็นแก่ตัวเพราะการออกแบบผิดเพี้ยน set zero ไปเลยทั้งระบบ

      ตอบกลับ

      1. [email protected] พูดว่า:

        พฤศจิกายน 3, 2019 ที่ 10:12 am

        เห็นด้วยครับ นี่แหละคือปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยที่ต้องเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธิคิดผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับให้เข้าใจว่าการบริหารกระทรวงทางการศึกษาและสถานศึกษาต้องออกแบบระบบการบริหารจัดการที่สามารถประสานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูอาจารย์สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ บริหารให้เขามีเกียรติ มีความสุขในการทำงาน มีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน และมีความมั่นคงในอาชีพ เป็นต้น

        ตอบกลับ

  4. Fon พูดว่า:

    เมษายน 11, 2019 ที่ 9:22 pm

    หนูเป็นครูอัตราจ้างรุ่นใหม่คะ หนูไปทำงาน07.15น. ทุกวัน สอนเต็มที่ค่ะ ทำงานล่วงเวลาด้วย มีงานพิเศษที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายด้วย และทำงานที่ข้าราชการครูแท้ๆ ไม่ยอมทำด้วย อย่าใช้คำว่าครูรุ่นเก่ารึรุ่นใหม่เถอะคะ แบะอย่าอ้างเหตุผลว่า หมดไฟ คนที่พุดคำนี้ คือคนที่ไม่รู้จักพัฒนาตนเอง

    ตอบกลับ

    1. [email protected] พูดว่า:

      เมษายน 12, 2019 ที่ 9:42 pm

      ขอชมเชยคุณครูผู้มีใจรักความเป็นครู พี่เห็นด้วยนะคะคุณครูรุ่นใหม้ไฟแรงคะ สู้ๆๆนะคะ เป็นกำลังใจคะ

      ตอบกลับ

      1. [email protected] พูดว่า:

        เมษายน 13, 2019 ที่ 7:50 am

        ครูรุ่นเก่าหมดไฟแล้วก็น่าจะเออรี่ตัวเองซะ คนเงินเดือน 4 หมื่นกว่าไม่ทำอะไรเลยก็มี สอนงานรุ่นน้องก็ไม่สอน อยู่กินภาษีประชาชนจริงๆ

        ตอบกลับ

        1. [email protected] พูดว่า:

          เมษายน 13, 2019 ที่ 11:51 am

          อิ่มกับเด็กรุ่นใหม่ที่ชอบดูถูกคนรุ่นแม่ตัวเอง อีก30ปีข้างหน้าคุณก็จะเป็นรุ่นเก่าเหมือนกัน

          ตอบกลับ

  5. จ่าอู๊ด พูดว่า:

    เมษายน 13, 2019 ที่ 2:10 pm

    ผมอยากเห็นการกำหนดสมรรถนะของครูแบบนี้มานานแล้ว อยากให้ครูเชื่อว่าผู้เรียนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ได้เอง ไม่ใช่ครูคอยตั้งหน้าตั้งตาสอนตามตำราเหมือนในอดีต ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลย ครูต้องกล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองครับ

    ตอบกลับ

    1. บัณฑิต จนดา พูดว่า:

      พฤศจิกายน 3, 2019 ที่ 9:14 pm

      สุดยอดความคิดครับ

      ตอบกลับ

  6. นายนิรันนายนิรันดร์ บุญบ้านเกิด พูดว่า:

    เมษายน 13, 2019 ที่ 2:57 pm

    ครูคำนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมการศึกษา. ถัาสังคมการศึกษาไม่มึการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายทั้งหมดต้องวดเพิ่มเติม เมื่อค่าใช้จ่ายได้รับการสนับสนุนการศึกษาต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีต่อผู้เรียนด้วยผู้สอยแนะนำ ฉะนั้นผู้สอนเป็นตัวแรกที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางเป็นตัวนำการเปลี่ยนแปลง. ส่วนผู้เรียนเป็นตัวตาม การศึกษาจะสำเร็จผลหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับผู้นำ(ครู)และผู้ตาม(นักเรียน นักศึกษา). ฝ่านหนึ่งฝ่ายใดจะเด่นฝ่ายเดียวไม่ได้ 2. อย่างนี้ต้องไปด้วยกัน

    ตอบกลับ

  7. นางสายพิน บ้านชี พูดว่า:

    เมษายน 14, 2019 ที่ 2:38 pm

    ถ้าเปรียบเทียบครูรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ต้อง ดูช่วงอายุเวลาด้วยเรื่องการเรียนการสอน อุทิศตน เวลาสอนเสริม เสียสละเงินส่วนตัวปรับปรุงพัฒนาตัวเอง,นักเรียนและสิ่งแวดล้อม เป็นครูมา 36 ปีอยู่โรงเรียนเดิมจนใกล้จะปลดเกษียณเหลืออีก 2ปีกว่าๆแต่ก็ยังมีพลังที่จะสอนนักเรียนไม่ย่อท้อ จะบกพร่องก็เรื่องความร่วมมืองานที่โรงเรียนจัดเวลากลางคืนหรืองานสังสันต์ ขอให้ครูรุ่นใหม่รู้จักเคารพ มีสัมมาคารวะ แล้วจะทำงานร่วมกันได้

    ตอบกลับ

  8. Chouvalit พูดว่า:

    เมษายน 14, 2019 ที่ 7:28 pm

    ถ้าครูยังคิดว่าตัวเก่งคงเปลี่ยนยาก….
    ความรู้ก็จะอยู่แค่ครูสอนในห้อง…
    โดยครูไปหามา ไปอบรมมา แค่นั้น..
    ครูต้องเปลี่ยนเป็นผู้สร้างกิจกรรม และเชื่อโยงความรู้จากแหล่งความรู้สู่ผู้เรียนตรงๆ ให้ได้ โดยผ่านครูให้น้อยที่สุด…
    ผมแสดงความคิดเห็นในระดับอาชีวะนะครับ…
    ถึงจะทันโลกครับ…

    ตอบกลับ

  9. สถิตพันธ์ พูดว่า:

    เมษายน 15, 2019 ที่ 4:40 pm

    ครูขอเพียงทำหน้าที่เป็นครู ให้เวลาเต็มที่กับการทำหน้าที่ครู รับผิดชอบในหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู เหมือนคุณครูสมัยเก่าเท่านั้นก็เพียงพอ อย่าเอาเวลามาทำผลงาน เก็บร่องรอยของการทำงานเพื่อเป็นผลงาน ตามการออกแบบของนักวิชาการ จนเกิดช่องว่าง ความห่าง มากขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน จนทำให้จุดประสงค์หลักกลายเป็นจุดประสงค์รอง ในท้ายที่สุดจะนำสู่การล้มเหลวของการจัดการศึกษา

    ตอบกลับ

  10. ศราวุธ พูดว่า:

    กรกฎาคม 17, 2019 ที่ 9:27 am

    ครูรุ่นเก่าไม่มีความรู่ด้าน ict เลย บอกตรงๆและก็กลัวที่จะใช้คอมด้วย พิมพ์งานไม่เป็นเลยก็มีเยอะ ยังใช้วิธีสอนแบบเดิมๆอยู่เลย…ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้คอม ก็ใช้ครูอัตราจ้าง ไม่ก็ธุรการ ผมมองว่าไม่สมควรอย่างยิ่งเพราะไม่ว่าครูจะอายุเท่าไหร่ไม่สำคัญต้องพัฒนาตนเองปรับตัวเองให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบันให้ได้ ไม่ใช่กลัวที่ต้องรับความรู้ในสิ่งใหม่ๆ

    ตอบกลับ

  11. Songsak Saensuk พูดว่า:

    ตุลาคม 19, 2019 ที่ 5:28 pm

    ผมอายุ 60 ย่างเข้าปี 38 ปีของอาชีพการรับราชการครูที่ผมรักมาตั้งแต่เกิด ในส่วนของ Competencies ของครูที่อ่านดูแล้วครอบคลุมได้ดีมากโดยเฉพาะขณะเวลานี้ Real timeะเป็นยุคใหม่ที่เรียกว่าศตวรรษที่ 21 เข้ามาเป้นเวลา 19 ปีการเรียนการสอนของครูเท่าที่ได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับการสอนของครูสรุปได้ว่าประมาณร้อยละ 74.23 ยังทำการแบบให้งาน paper, Exercise หรือเรียกการสอนแบบนี้ว่า Passive Learning การสอนแบบเก่าและแบบ Joy and Playกำลังจะเริ่มเข้าสู่ระบบใหม่การใช้ Technology แบบระบบ Inter-net Wi-Fi เพื่อการพัฒนาการเเรียนรู้แบบ Active learning สืบค้นหาองค์ความรู้ใหม่ด้วยตัวผู้เรียนเองส่วนนี้เด็กหรือผู้เรียนไปไกลแล้วในเรื่องการใช้ Smart Phone ครูเก่งแต่ยังไม่ปรับวิธีการสอนแบบ E- Learning -ข้อสังเกตครูขาดการสร้างนวัตกรรมทั้งที่ครูเป็น Innovator แล้วสร้าง Innovation ด้วยกระบวน Research แก้ปัญหาเด็กเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้เป็น Output-outcome ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การสร้าง 4Rs 8Cs ลูกหลานครู ในยุค21ST CENTURY TEACHER ช่วยลูกหลานบ้านเฮาเด้อครับ ขอบคุณมากครับ

    ตอบกลับ

  12. ไลออนพันเอกนายแพทย์บวร แมลงภู่ทอง พูดว่า:

    กุมภาพันธ์ 27, 2020 ที่ 11:33 pm

    โลกเปลี่ยนไป จากยุคฟิล์มโกดัก เป็น digital camera และยังคงเปลี่ยนไปตลอดเวลา
    เป็นเหตุให้ เป้าหมายการศึกษา ต้องชัดเจน
    สุดท้ายคือ อุดมการณ์ชาติ เพื่อสร้างชาติ
    เพื่อช่วยเหลือกันและกันไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
    ถ้าเป้าหมายชัดเจน..ลองคิดดูครับว่า
    คนในชาติควรเป็นคนแบบใด
    ถ้าคำตอบ คือ คนในชาติต้องเป็น
    คนดี คนเก่ง คนกล้า มีภาวะผู้นำ ภาวะบริหาร ภาวะคุณธรรม จึงไปออกแบบกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
    ไม่ใช่ขึ้นชั้น คือ สอบผ่านข้อเขียน คือจำได้
    แต่ไม่ทำ ต้องรับประกันได้ว่า
    ต้องได้คนดี คนเก่ง คนกล้า
    ลองคิดดูว่าคุณครู และกระทรวงควรทำอย่างไร
    เรามีเวลา 22 ปี แค่ 8000 กว่าวันเท่านั้น
    ที่จะสร้างเด็กและเยาวชนก่อนที่เขาจะหลุดออกจากสถานศึกษา

    ตอบกลับ

  13. supreeya พูดว่า:

    กุมภาพันธ์ 28, 2020 ที่ 7:22 am

    ถ้าทุกโรงเรียนทำได้อย่างนี้ ครูทุกคนทำได้แบบนี้ นักเรียนจะมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีขึ้นมากเลยค่ะ

    ตอบกลับ

  14. Ble พูดว่า:

    กุมภาพันธ์ 28, 2020 ที่ 3:00 pm

    ครูไทยเก่ง คูรไทยมีสมถรรนะครูในศตวรรษที่ 21 อยู่แล้ว แต่ต้องให้ครูนั้นได้อยู่ในห้องสอน อยู่ในงานการสอนเพียงงานเดียวเท่านั้นต้องไม่มีงานอื่นมา การศึกษาไปได้ดีแน่ครับ

    ตอบกลับ

  15. marukao พูดว่า:

    กุมภาพันธ์ 29, 2020 ที่ 1:23 pm

    ครูทุกคนไทยเก่ง คูรไทยมีสมถรรนะครูในศตวรรษที่ 21 อยู่แล้ว แต่ต้องให้ครูนั้นได้อยู่ในห้องสอน อยู่ในงานการสอนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และดูแลครูอัตราจ้างที่อยู่มานานๆด้วยครับ โดยเฉพาะของกรมอาชีวะครับให้นโยบายมาปฏิบัติตั้งเยอะแต่ไม่ดูแล ดูของ สพฐ.และสพท. สิครับมีข่าวดีๆเยอะมากไม่เข้าใจว่า สพฐ สพท และอาชีวศึกษาอยู่ กระทรวงศึกษาธิการ เหมือนกันไม่ครับ

    ตอบกลับ

  16. เกรียงศักดิ์ พูดว่า:

    มีนาคม 10, 2020 ที่ 12:11 pm

    การควบคุมกำกับ ติดตามและประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับอ่อนแอมาก มีแต่ นโยบาย มีแตมาตรการ มีแต่กฎระเบียบ ที่คิดและเขียนให้คนอ่านเล่น ไม่เคยมีความจริงจังอะไรเลยในการปฏิบัติ เรื่อยๆมาเรียงๆ

    สมรรถนะประจำสายงานมีกี่ข้อ

    ละ 3. สมรรถนะประจำสายงาน ซึ่งมีทั้งหมด 22 สมรรถนะ โดยในแต่ละสมรรถนะได้มีการกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ หรือตัวอย่างพฤติกรรม เพื่อแสดง สมรรถนะที่เหมาะสมของแต่ละระดับ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำสมรรถนะที่ได้มีการกำหนดโดย ก.ถ. และ ก.จ., ก.ท. และ

    สมรรถนะของครูผู้สอนใน”ศตรวรรษที่ 21 สมรรถนะ หลัก(Core Competency) 5 ประการของครู มีอะไรบ้าง

    สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดไว้ ดังนี้ . สมรรถนะหลัก (Core Competency)5 ประการ ได้แก่ 1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน 2. การบริการที่ดี 3. การพัฒนาตนเอง 4. การท างานเป็นทีม 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณครู

    สมรรถนะของครูคืออะไร

    บุญฤดี อุดมผล (2563, น. 161) ได้สรุปความหมายของสมรรถนะทางวิชาชีพครูไว้ว่า สมรรถนะวิชาชีพครู หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะที่ เฉพาะและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพครู มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

    สมรรถนะ ครู มือ อาชีพ มี อะไร บ้าง

    1. ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของสมรรถนะครูมืออาชีพในยุค 4.0 สำหรับนักศึกษาครูพบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักได้แก่1) ความรู้ความคิด ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชา การ พัฒนาหลักสูตร การวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยี2) ทักษะความสามารถ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ทักษะการทำงานร่วมกับผู้ ...