สัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมี มีกี่ระบบ

สัญลักษณ์ของ GHS หรือ Globally Harmonized System for Classification and Labelling of Chemicals กำหนดโดย องค์การสหประชาชาติ เป็นการติดฉลากสารเคมีเพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการปกป้องสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจาก อันตรายของสารเคมี ผ่านระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก ทั้งยังลดความซ้ำซ้อนในการจัดเตรียมข้อมูล การประเมินสารเคมี ให้ประเทศต่าง ๆ มีข้อมูลสารเคมีที่ถูกต้องตรงกัน

สำหรับประชาชนทั่วไป สัญลักษณ์ GHS ก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพื่อที่จะได้ระวังเมื่อเจอรถขนส่งสารเคมี หรือเมื่อพบเห็นกล่องที่ติดสัญลักษณ์แสดงอันตรายนั้นๆ โดยจากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุไว้ว่า รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (Hazard pictogram) เป็นสัญลักษณ์สีดำบนพื้นขาวอยู่ภายในกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีทั้งหมด 9 รูปสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายของความเป็นอันตรายในแต่ละด้าน และแต่ละประเภท ได้แก่

สัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมี มีกี่ระบบ

  1. สารไวไฟ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง / สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง / เกิดความร้อนได้เอง / ลุกติดไฟในอากาศได้เอง / สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ / สารเปอร์ออกไซด์อินทรี
  2. สารออกซิไดซ์ : อาจเป็นได้กับทั้งก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
  3. วัตถุระเบิด : หมายถึงวัตถุระเบิด สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์
  4. ก๊าซบรรจุภายใต้ความดัน : ก๊าซภายใต้ความดัน
  5. สารกัดกร่อน : สารที่กัดกร่อนโลหะ ผิวหนัง และดวงตา
  6. พิษเฉียบพลัน : สารที่มีอันตรายถึงชีวิต
  7. อันตรายต่อสุขภาพ : การก่อมะเร็ง / การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ /ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ / ความเป็นพิษต่ออวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง / ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ /ความเป็นอันตรายต่อการสำลัก (สไตรีนโมโนเมอร์ มีสัญลักษณ์นี้ระบุไว้)
  8. ระวัง : ระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนัง / ทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อผิวหนัง / อาจระคายเคืองต่อทางเดินหายใจหรือทำให้ง่วง หรือมึนงง / ความเป็นพิษเฉียบพลัน
  9. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม : เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในน้ำ ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

คำถาม  สัญลักษณ์แสดงความอันตรายของสารเคมีมีลักษณะอย่างไร

คำตอบ  สัญลักษณ์เตือนสารเคมีอันตราย เป็นเครื่องหมายสากลที่เข้าใจง่าย อาจใช้สีพื้นหรือข้อความที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงอันตรายของสารเคมี  ซึ่งระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มีหลายระบบ เช่น ระบบ UN ระบบ NFPA (The National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา ระบบ EEC และระบบ GHS เป็นต้น ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้

            1. ระบบ UN - United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods ได้จำแนกวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย รวมทั้งกำหนดสัญลักษณ์อันตราย เพื่อใช้ในการขนส่ง ดังนี้ http://www.chemtrack.org/UNClass-Intro.asp

            2. ระบบ NFPA - The National Fire Protection Association ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทะแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่ สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability) สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health) สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกริยาของสาร (Reactivity) สีขาวแสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย ดังรูปที่ 1

สัญลักษณ์แสดงอันตรายของสารเคมี มีกี่ระบบ

รูปที่ 1 สัญลักษณ์ของระบบ NFPA

           3. ระบบ EEC ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงอันตรายจะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฎอยู่ที่ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป สัญลักษณ์ดังกล่าวแสดงดังตารางที่ 1

            4. ระบบ GHS– GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals) เป็นระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น เพื่อให้เป็นระบบสากลในการจําแนกหรือการจัดกลุ่มความเปนอันตรายและการสื่อสารความเปนอันตรายของสารเคม ี ในรูปแบบของการแสดงฉลากและเอกสารขอมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก ซึ่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏในระบบ GHS นั้น หากไม่นับรวมสัญลักษณ์ใหม่ที่ทำขึ้นมาใช้สำหรับความเป็นอันตรายต่อสุขภาพบางชนิด เครื่องหมายตกใจ (exclamation mark) และปลากับต้นไม้ (fish and tree) สัญลักษณ์มาตรฐานดังกล่าวได้มีการนำมาใช้ในข้อกำหนดของสหประชาชาติที่เป็นต้นแบบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตราย (ระบบ UN ที่กล่าวข้างต้น) อยู่แล้ว สัญลักษณ์โดยสรุปแสดงดังตารางที่ 1 โดยที่แผนการดำเนินงานของที่ประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งจัดทำขึ้นที่กรุงโยฮันเนสเบิร์ก เมื่อปี 2545 สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ มีการนำระบบ GHS นี้ไปปฏิบัติให้เร็วที่สุด โดยมีแนวทางให้นำระบบนี้ไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2551

            สัญลักษณ์ทั้ง 4 ระบบนี้ จะปรากฎบนฉลากผลิตภัณฑ์และหีบห่อเพื่อประโยชน์ในการจัดการเตรียมค