การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

ระบำ รำ ฟ้อน

ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2532
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
     ระบำ รำ ฟ้อน เป็นศิลปะการร่ายรำและการแสดงเพื่อความบันเทิง ซึ่งมีรูปแบบที่สวยงาม นิ่มนวล เข้มแข็ง และตึงตัง อันสะท้อนให้เห็นจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ประณีตและละเอียดอ่อน เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ไทยเป็นชาติที่มีศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ามาแต่โบราณกาล เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้ช่วยกันคิดและสร้างสมไว้เป็นมรดกแก่ชาวไทยทุกคน อีกทั้งพระมหากษัตราธิราชเจ้ายังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

(จำนวนผู้เข้าชม 2646 ครั้ง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบำ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำจำกัดความไว้ว่า การฟ้อนรำเป็นชุดเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ว่า ระบำ คือ การรำเล่น เป็นคู่ เข้ากับการขับร้องปี่พาทย์ เป็นของสำหรับให้ดูกระบวนการที่รำงามกับฟัง ลำนำขับร้อง และ ดนตรีที่ไพเราะหาได้เล่นเป็นเรื่องเหมือนอย่างโขน ละครไม่

ระบำเป็นการแสดงหมู่ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ความงามของระบำ อยู่ที่ความพร้อมเพรียงเป็นสำคัญ กระบวนการท่ารำมีหลากหลาย และมีความสมบูรณ์ในตัวเองในแต่ละชุดไม่ดำเนินเรื่องราวเหมือนละคร นอกจากนี้ความงามของระบำยังอยู่ในรูปแบบการแปรแถว เข่น แถวหน้ากระดาน แถวคู่ วงกลม แยกกลุ่ม สลับซ้าย-ขวา เป็นต้น

   
การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร
 ระบำ
การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

          ระบำ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงดงามของศิลปะการรำ และการรื่นเริงบันเทิงใจไม่แสดงเป็นเรื่องราว ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกายที่สวยงาม และเพลงดนตรีที่ไพเราะน่าฟัง

ระบำ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน และ ระบำเบ็ดเตล็ด

         

1) ระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่มีลักษณะการแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง ตลอดจนท่ารำเพลงร้องและดนตรีได้กำหนดไว้เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะตัว ตามแบบของนาฏศิลป์ไทย ซึ่งบรมครูทางนาฏศิลป์ได้กำหนดแบบแผนกระบวนการรำ เป็นที่ยอมรับกันมาช้านานแล้ว ไม่ควรแก้ไขดัดแปลงไปจากเดิม เช่น ระบำสี่บท ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ระบำเลียนแบบระบำสี่บทขึ้นอีกหลายชุด ได้แก่ ระบำย่องหงิด ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำพรหมมาสตร์ และระบำเทพบันเทิง เป็นต้น

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

ระบำย่องหงิด

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=08-2011&date=18&group=15&gblog=24

         

2) ระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์คิดค้นหรือปรับปรุงขึ้นใหม่ตามความประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์ต้องการ หรือเป็นระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละคร การแต่งกายจะแต่งตามรูปแบบลักษณะของการแสดงนั้นๆ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกราวอาสา ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำเริงอรุณ ระบำวิชนี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำฉิ่ง ระบำโบราณคดี รำสีนวล รำโคม เป็นต้น

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

ระบำวิชนี

ที่มา : http://www.pahurad.com/v2/index.php/cPath/24_85

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร
 ตัวอย่าง การแสดงระบำ
การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

          ระบำดาวดึงส์

                   

ระบำดาวดึงส์เป็นระบำมาตรฐานที่สร้างสรรค์รูปแบบท่ารำใหม่ แตกต่างจากระบำมาตรฐานแบบดั้งเดิม เช่น ระบำสี่บทที่ท่ารำตีบทความหมายของคำร้องระบำดาวดึงส์เป็นระบำประกอบในการแสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ซึ่งจัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ วังบ้านหม้อ ปลายสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

                     บทร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พรรณนาถึงความงดงามโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และทิพยสมบัติของพระอินทร์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ได้ปรับปรุงท่ารำเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ซึ่งเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงประดิษฐ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

                    ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงแตกต่างจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่และเครื่องใหญ่ คือ ลดเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่แกร่งกร้าวเสียงแหลมสูง เครื่องบรรเลง ได้แก่ ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม ระนามทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพนคู่ (ถอดเท้าตั้งขึ้นตีแทนกลองทัด) ฉิ่ง ฆ้องหุ่ยเจ็ดลูก (7 เสียงเรียงลำดับ) กลองแขก ทำนองเพลงประกอบลีลาท่ารำ คือ เพลงเหาะ เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น เพลงรัว

                    ในส่วนของการแต่งกาย ตัวพระเทพบุตร แต่งกายยืนเครื่องเต็มตัว นุ่งผ้ายกตีปีกจีบโจงไว้หางหงส์ทับบนสนับเพลาเชิงงอน สวมเสื้อรัดรูปปักดิ้น เลื่อมลายกนกแขนสั้นเหนือศอก ติดกนกปลายแขน สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์ชฎายอดชัย ตัวนางอัปสร แต่งกายยืนเครื่องนางเต็มตัว นุ่งผ้ายกจีบหน้านางทิ้งชายพก สวมเสื้อในนางรัดรูป ห่มผ้าห่มนางเต็มผืนปักดิ้นเลื่อมลายกนก สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์มงกุฎกษัตริย์ ลีลาท่ารำจะผสมผสานนาฏศิลป์ไทยกับท่าเต้นทุบอกในพิธีแขกเจ้าเซ็น ท่ารำเข้าคู่พระ-นาง ในรูปแบบรำหมู่ เพลงเหาะ รัว ใช้ แม่ท่านาฏศิลป์ไทย ต่อจากนั้นเป็นการผสมผสานท่ารำไทยกับท่าเต้นในพิธีเจ้าเซ็น ซึ่งดูสง่างาม การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ นาที

บทร้อง

ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์ 
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง 
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง 
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล 
สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์ 
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา (ซ้ำ) 
อันอินทรปราสาททั้งสาม (ซ้ำ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา 
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน 
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด (ซ้ำ) บราลีที่ลดมุขกระสัน (ซ้ำ)
มุขเด็ดทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท (ซ้ำ) 
ราชยานเวชยันตร์รถแก้ว (ซ้ำ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต (ซ้ำ) 
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด (ซ้ำ) เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย 
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย (ซ้ำ) 
ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง 
เทียมด้วยสิงธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์ 
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา

การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

ขอบคุณเว็บไซต์ : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=banrakthai&group=7

   
การสร้างงานในรูปแบบของระบำเป็นอย่างไร

รูปแบบของ ระบำ คืออะไร

ระบำ เป็นคำกริยา หมายถึง การแสดงที่ต้องใช้คนจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป ซึ่งการแสดงนั้นๆจะใช้เพลง บรรเลงโดยมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ระบำนั้นเป็นศิลปะของการร่ายรำที่เป็นชุด ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว ผู้รำแต่งกาย งดงาม จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความงดงามของศิลปะการรำไม่มีการดำเนินเรื่อง

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

รํา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) รำเดี่ยว หมายถึง การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว เช่น รำฉุยฉาย รำพลายชุมพล รำมโนราห์บูชายัญ เป็นต้น 2) รำคู่ หมายถึง การรำที่ใช้ผู้แสดง 2 คน การรำคู่ แบ่งลักษณะการรำออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ เช่น กระบี่กระบอง ดาบสองมือ โล่ เขน ดั้ง ทวน เป็นต้น

ระบําแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

การแต่งกายตามประเพณีในแต่ละท้องถิ่นระบำ แบ่ง ออกเป็น ๒ ชนิด คือ ระบำดั้งเดิมหรือระบำ มาตรฐานและระบำปรับปรุงหรือระบำเบ็ดเตล็ด ระบำดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่ได้กำหนดเนื้อร้อง ทำนองเพลง

ระบำ แบ่งรูปแบบของการแสดงไว้กี่ลักษณะ *

ระบำ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน และ ระบำเบ็ดเตล็ด