ความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างไร

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในระหว่างการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม หากไม่ป้องกันให้ดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และตัวของพนักงานเอง ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง อาจทำให้สูญเสียชีวิตเลยก็เป็นได้ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความประมาท นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมในการทำงานก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอันตรายได้เช่นเดียวกัน โรงงานของคุณมีความปลอดภัยมากแค่ไหน? แล้วความปลอดภัยในโรงงานคืออะไร มีสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอะไรบ้างที่ควรรู้ รวมถึงระบบความปลอดภัยในการทำงานมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

ความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างไร

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ

ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้อง โดยปราศจากอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน อันส่งผลต่อทรัพย์สินและร่างกายหรือชีวิต ส่วนคำว่า อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่มีใครคาดคิดในระหว่างการปฏิบัติงาน ทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย

8 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

1.การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ถูกขั้นตอน

2.เกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน

3.เกิดจากการมีนิสัยชอบความเสี่ยง

4.การทำงานที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายหรือไม่สวมใส่ PPE

5.ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบในด้านความปลอดภัยของการทำงาน

6.การทำงานในขณะที่สภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น ป่วยหรือมีอาการมึนเมา เป็นต้น

7.การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม

8.เกิดจากความรีบร้อนเพราะต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว

อุบัติเหตุ คือ สิ่งที่เราสามารถป้องกันได้ คำถามคือแล้วเราจะป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างไร การป้องกันอุบัติเหตุ โดยหลักๆ แล้วมีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  • แก้ไขที่ตัวบุคคล ให้พนักงานทำงานด้วยความระมัดระวังหรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน สวมใส่ PPE
  • การป้องกันและแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตรายเป็นวิธีการแก้ไขหรือป้องกันที่ดีที่สุด แต่อาจใช้ต้นทุนมาก บางครั้งแก้ไขได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยม
  • การป้องกันที่ทางผ่านเป็นการตัดวงจรระหว่างแหล่งอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานให้แยกออกจากกัน เช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ ให้นำเครื่องกำบังมาครอบไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มือพนักงานเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น

ระบบความปลอดภัยในโรงงาน

สร้างความปลอดภัยในโรงงานด้วยการจัดระบบความปลอดภัย ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ อย่างที่เราได้กล่าวไปในตอนต้นว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้น จึงต้องมีการจัดอบรมให้พนักงานเข้าใจ ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน อบรมให้พนักงานเรียนรู้ถึงขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย จัดระเบียบสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น การวางผังโรงงาน แสงสว่าง เครื่องจักร อากาศ หรือเสียงที่ก่อให้เกิดอันตรายต้องมีการตรวจสอบให้ดีและต้องมีการตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานด้วย ทุกอย่างต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ไม่ได้รับความเสียหายหรือชำรุด หากพบข้อบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนด อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ

ความปลอดภัยในโรงงานคืออะไร สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและการจัดระบบความปลอดภัย ข้อมูลที่เรานำเสนอในข้างต้นหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคน ความปลอดภัยในการทำงาน ไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบของใครเพียงคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันสร้างความปลอดภัยในองค์กร

 

ความสำคัญของการมี Jorpor หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในองค์กร

อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรสามารถป้องกันได้ หากทุกองค์กรมี จป ,จป บริหาร , จป เทคนิค , จป วิชาชีพ  หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยปฏิบัติหน้าที่และดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด หรือการทำงานที่มีความอันตราย

ความปลอดภัย (SAFETY) คือ สภาพที่ไม่มีภยันตราย ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงานจึงหมายถึง การทำงานที่ไม่มีอันตราย ไม่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือไม่มีเชื้อโรค โดยจะไม่ก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ เหล่านี้

· การบาดเจ็บ พิการ หรือตาย

· การเจ็บป่วย หรือโรค

· ทรัพย์สินเสียหาย

· เสียเวลา

· ขบวนการผลิตหยุดชะงักไม่สม่ำเสมอ

· คนงานเสียขวัญและกำลังใจ

· กิจการเสียชื่อเสียง

ความปลอดภัยในการทำงาน จะเกิดขึ้นได้เมื่อสภาพที่เป็นอันตรายหรือโอกาสเกิดอุบัติเหตุหมดไป โดยเรากำจัดสาเหตุมูลฐานของอุบัติเหตุ อันได้แก่

1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (UNSAFE ACTS)

2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (UNSAFE CONDITIONS)

ด้วยเหตุนี้ความปลอดภัยจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการเพิ่มผลผลิต หากขบวนการผลิตไม่มีความปลอดภัยแล้วจะทำให้การผลิตสะดุดหยุดลง เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายแก่เจ้าของกิจการและก่อให้เกิดความสูญเสียๆ มากมาย

กล่าวคือ * การผลิตที่มีประสิทธิภาพ คือ การผลิตอย่างปลอดภัย (Safe Production)

* ความปลอดภัย ต้องสอดแทรกเข้าไปทุกวิธีปฎิบัติเพื่อที่จะได้มาซึ่งปัจจัยการ ผลิตที่มีคุณภาพ

ถ้าจะให้แยกแยะภัยอันตรายระหว่างการทำงานมีอยู่ทุกที่ ซึ่งจะเกิดจากหลากหลายสาเหตุ แต่ความรุนแรงของอุบัติเหตุนั้นๆ ก็จะแตกต่างกันเช่นกัน

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพของพนักงานในองค์กรป้องกันไม่ให้ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายอุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

รู้หรือไม่ มีผู้เสียชีวิตกว่า 2.8 ล้านคนซึ่งมีผลมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จากสถิติพบว่าในทุกๆ 15 วินาทีจะมีผู้เสียชีวิต 1 รายและมีการบาดเจ็บแต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิตอีกประมาณ 375 ล้านคนต่อปี ตัวเลขนี้ถือว่าสูงมากเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียต่อพนักงาน สูญเสียทรัพย์สินและเงินค่าชดเชยต่างๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ว่าจะมากมายมหาศาลแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถซื้อชีวิตกลับมาได้

ความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างไร

ความปลอดภัย 3 หลักที่องค์กรควรจัดให้มี อ้างอิงจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ได้แก่

1.จัดให้มีการส่งเสริมด้านสุขภาพของพนักงาน

2.จัดให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้พื้นที่การทำงานนั้นเกิดความปลอดภัย

3.จัดให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานและสนับสนุนทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้ปลอดภัยโดยให้พนักงานทุกคนนั้นได้มีส่วนร่วมมีการออกนโยบายเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัย รวมถึงจัดให้มีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมความปลอดภัยด้วย

ความปลอดภัยในการทำงานถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และมีความเข้าใจผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยมาแล้วมีโอกาสที่จะลดอุบัติเหตุให้น้อยลงได้

ความปลอดภัยในการทำงาน ความหมายที่แท้จริงคือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยต่อพนักงาน ปราศจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงาน สำหรับอุบัติเหตุก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมักมีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

1.อุบัติเหตุที่เกิดจากตัวบุคคล ซึ่งเกิดจากความประมาท การที่พนักงานไม่มีความระมัดระวังทำงานด้วยความประมาทนั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

2.อุบัติเหตุเกิดจากการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน หรือไม่มี WI

3.อุบัติเหตุเกิดจากสภาพการณ์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรได้รับการชำรุด

การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ โดยคิดเป็นร้อยละ 85 ของอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัยมีอะไรบ้าง

  • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบในด้านความปลอดภัย
  • ความประมาท พลั้งเผลอ หรือเหม่อลอย
  • การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลหรือ PPE
  • การทำงานข้ามขั้นตอน หรือทำงานเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
  • การใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท ตลอดจนการดัดแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
  • การทำงานด้วยความเร่งรีบหรือรีบร้อน
  • การทำงานโดยมีสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติไม่พร้อมที่จะปฏิบัติงาน

หัวใจสำคัญของการทำงาน คือ ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายๆ คนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น ได้รู้ว่าความปลอดภัยในการทำงานคืออะไรบ้าง องค์กรควรมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างไร เพื่อลดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ควรได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยให้เกิดความรู้และความเข้าใจด้วยเช่นเดียวกัน

การทํางานโดยคํานึงถึงความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างไร

1 ช่วยป้องกันและควบคุมให้เกิดสภาพความปลอดภัยในการทำงาน 2 ช่วยลดความสูญเสียที่บันทอนกิจการของนายจ้างอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ 3 ช่วยลดผลกระทบทางสังคมที่อาจตามมาหลังการประสบอันตรายจากการทำงาน 4 ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตและอำนวยประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่นสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของลูกจ้าง

Safety สำคัญยังไง

ความปลอดภัย (SAFETY) คือ สภาพที่ไม่มีภยันตราย ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงานจึงหมายถึง การทำงานที่ไม่มีอันตราย ไม่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือไม่มีเชื้อโรค โดยจะไม่ก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ เหล่านี้ · การบาดเจ็บ พิการ หรือตาย · การเจ็บป่วย หรือโรค

กฎความปลอดภัย 5 ข้อ มีอะไรบ้าง

หลักการเกี่ยวกับความปลอดภัย ... .
1. สะสาง ... .
ผลจากการดำเนินงาน ... .
2. สะดวก.
หลักการ ... .
3. สะอาด ... .
4. สุขลักษณะ ... .
5. สร้างนิสัย.

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีความสำคัญอย่างไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล