คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร

คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร

คลอง เป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองที่มีแม่น้ำ ๓ สายมาบรรจบกันและมีคลองซอยออกไปมากมาย ชาวยุโรปที่เข้ามาเห็นจึงให้สมญานามว่า “เวนิชตะวันออก” เพราะมีคลองมากเหมือนกรุงเวนิชในอิตาลี คลองเหล่านี้นอกจากใช้ในการสัญจรไปมาแล้ว ยังใช้ในการอุปโภคบริโภค คมนาคม และการเกษตร รวมทั้งเป็นถังขยะ สาดสิ่งปฏิกูลและสิ่งของที่ไม่ต้องการลงไปในคลอง

คลองบางคลองยังมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ อย่าง “คูขื่อหน้า” ซึ่งเป็นคลองลัดจากแม่น้ำลพบุรีที่ตำบลหัวรอมาออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าวัดพนัญเชิง เมื่อตอนกรุงแตกครั้งแรก พม่าได้ขนศพทหารมาถมในคูนี้จนสามารถเหยียบข้ามมาประชิดกำแพงพระนครได้ หลังสงครามครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงโปรดให้ขุดขยายออกไปเป็นกว้าง ๑๐ วา ลึก ๓ วา กรุงศรีอยุธยาจึงกลายเป็นเกาะ ทำให้ข้าศึกต้องข้ามน้ำลำบากกว่าจะเข้าถึงกำแพงพระนครได้

หรืออย่าง “คลองมหานาค” ที่อยุธยาขุดขึ้นในปี ๒๐๙๒ สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดียกทัพเข้ามาทางกาญจนบุรี จึงตรัสสั่งให้พระยาจักรีถือพล ๑๕,๐๐๐ ออกไปตั้งค่ายคอยรับศึกที่ทุ่งลุมพลี พระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า “มหานาค” บวชอยู่ที่วัดภูเขาทอง ทุ่งลุมพลี ต้องการจะช่วยทางราชการป้องกันบ้านเมือง จึงได้สึกออกมาชักชวนชาวบ้านตั้งค่ายตั้งแต่วัดภูเขาทองลงมาจนถึงวัดป่าพลู ทั้งยังชวนญาติโยมขุดคลองขึ้นป้องกันค่ายไว้อีกชั้นหนึ่ง เรียกกันว่า “คลองมหานาค” ต่อมาในฤดูน้ำหลาก ยามว่างศึก ชาวบ้านนิยมมาเล่นเพลงเรือกันในคลองนี้

ในการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชประสงค์จะถ่ายแบบให้ใกล้เคียงกรุงศรีอยุธยามากที่สุด “คลองมหานาค” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่โปรดให้สร้างขึ้น เพื่อให้กรุงรัตนโกสินทร์มีให้เหมือนกรุงศรีอยุธยา คลองมหานาคของกรุงรัตนโกสินทร์ถือได้ว่าเป็นคลองที่มีจุดประสงค์ในการขุดต่างจากคลองทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นคลองเพื่อยุทธศาสตร์หรือการคมนาคม แต่เพื่อประเพณีความบันเทิงแบบกรุงศรีอยุธยายามว่างศึก โดยโปรดให้ขุดแยกจากคลองรอบกรุงที่เหนือวัดสะแกหรือวัดสระเกศในปัจจุบัน เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก พระราชทานนามว่า “คลองมหานาค” โปรดให้ราษฎรไว้ใช้เล่นเพลงเรือสักวาในฤดูน้ำหลากเช่นเดียวกับคลองมหานาคที่กรุงศรีอยุธยา

ต่อมามีการขุดคลองบางกะปิเชื่อมกับคลองมหานาค และเชื่อมกับคลองหัวหมากกับคลองตัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดให้ขุดคลองแสนแสบเชื่อมกับคลองตันไปออกแม่น้ำบางปะกง ใช้เป็นคลองยุทธศาสตร์ คลองมหานาคจึงกลายเป็นต้นทางของคลองยุทธศาสตร์ไปด้วย มีสถานีขนยุทโธปกรณ์และกำลังพลที่ปากคลองด้านป้อมมหากาฬ

ส่วนคลองยุทธศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ถือว่าเป็นคูเมืองป้องกันพระนคร คลองแรกก็คือคลองที่เป็นคูเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี คลองนี้นับว่ามีความสับสนในเรื่องชื่อ ในปี ๒๔๕๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีประกาศให้เรียกชื่อแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ทางปากคลองด้านเหนือ ให้เรียกว่า “คลองโรงไหมวังหน้า” ตรงกลางจากปากคลองวัดราชนัดดารามถึงปากคลองวัดราชบพิธ เรียกว่า “คลองหลอด” ส่วนปากคลองด้านใต้ ให้เรียกว่า “คลองตลาด” จนมี “ตลาดปากคลองตลาด” อยู่ในปัจจุบัน แต่ในบัญชีคลองแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑ หรือ พ.ศ.๒๔๘๔ ให้เรียกว่า “คลองหลอด” ตลอดคลอง จนกระทั่งในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๒๕ ตอนจะมีงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้เรียกชื่อคลองนี้อย่างเป็นทางการ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า “คลองคูเมืองเดิม”

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น โดยย้ายพระราชวังข้ามมาอยู่ฝั่งตะวันออก ก็ยังอยู่ในเขตคูเมืองเดิมของกรุงธนบุรี และชุมชนก็ไม่ได้ย้ายตามมาด้วย ขุนนางข้าราชการส่วนใหญ่ยังคงอยู่ฝั่งธนบุรีตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ คลองบางกอกน้อย ซึ่งไปมากับกับพระราชวังได้สะดวกด้วยการคมนาคมทางน้ำ ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังอยู่ฝั่งธนบุรีกันมาก เหมือนยังเป็นเมืองเดียวกันที่แยกกันไม่ออก

ส่วนคูเมืองฝั่งธนบุรี ขุดแยกจากคลองบางกอกน้อย ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับปากคลองคูเมืองเดิมด้านเหนือ ไปทะลุคลองบางกอกใหญ่ ที่อยู่ตรงข้ามกับปากคลองตลาด มีชื่อเรียกเป็นช่วงๆตามสถานที่ผ่านไปว่า คลองบ้านขมิ้น คลองบ้านช่างหล่อ คลองบ้านหม้อ คลองวัดท้ายตลาด ปัจจุบันคลองประวัติศาสตร์แห่งนี้หมดความสำคัญ และถือได้ว่าหมดสภาพคลอง เป็นเสมือนท่อน้ำทิ้ง

คลองคูเมืองเดิมสมัยที่ยังไม่มีประตูน้ำทั้งสองด้านอย่างปัจจุบัน เป็นเส้นทางสัญจรที่มีเรือผ่านไปมา หรือนำสินค้ามาจอดขาย ในสมัยตลาดนัดสวนจตุจักรยังอยู่ที่สนามหลวง ชาวสวนฝั่งธนก็ขนผลไม้และต้นไม้มาขายตามริมคลอง สมัยผู้เขียนเป็นวัยรุ่นอยู่แถวบ้านหม้อ ก็ลงเล่นน้ำในคลองคูเมืองเดิมเป็นประจำ เพราะน้ำยังเหมือนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ผ่านเข้ามาในคลองตามน้ำขึ้นน้ำลง ไม่ดำสนิทเหมือนตอนที่มีประตูน้ำ

ก้นคลองคูเมืองเดิมที่เป็นโคลนนั้น นับได้ว่าเป็นขุมทองที่ฝังสมบัติมีค่าไว้ไม่น้อย มีคนดำน้ำร่อนหากันตลอดคลอง และได้ของเก่าขึ้นมาขายอย่างไม่หมดง่ายๆ สมัยก่อนเห็นร่อนหากันทุกวัน โดยเฉพาะช่วงจากสะพานหัวตะเข้ หรือสะพานอุบลรัตน์ ตรงวังบ้านหม้อ ไปถึงปากคลองตลาด จะมีคนร่อนมุ่งหาเศษทองในโคลน ก็เพราะถนนบ้านหม้อซึ่งขนานกับถนนอัษฎางค์ที่เลียบคลอง แถวหน้าโรงเรียนเสาวภา มีร้านทำทองเรียงรายอยู่หลายร้าน แม้จะอยู่ห่างจากคลองคูเมืองคนละถนน แต่ท่อน้ำทิ้งจากร้านพวกนี้ก็พาเศษทองจากการทำทองรูปพรรณไหลมาลงคลองด้วย ส่วนฝุ่นตามหน้าร้านนั้นเทศบาลไม่ต้องเป็นภาระ จะมีคนเอาแปลงขนนุ่มมาบรรจงกวาดฝุ่นบนทางเท้า รวมทั้งขอบๆผิวจราจร ใส่ถุงเอาไปร่อนหาเศษทอง ซึ่งก็คงได้กันพอควรจึงเห็นมีคนกวาดกันอยู่เป็นประจำจนเป็นถนนปลอดฝุ่น ตอนนั้น สุเทพ วงศ์กำแหง ยังเป็นช่างเขียนอยู่ในร้านทำบล็อกแถวเดียวกับร้านทำทอง ตอนเริ่มดังก็ยังเห็นนั่งเขียนแบบอยู่ตรงนั้น ได้เห็นคนกวาดฝุ่นทองที่หน้าร้านทุกวัน ดีที่ไม่ได้ตื่นทองกับเขาด้วย เลยไปดังทางร้องเพลงจนเป็นศิลปินแห่งชาติ

เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯโปรดฯให้ขุดคูเมืองขยายออกไปตามแนวเดิมอีกชั้นหนึ่ง คือคลองรอบกรุง หรือที่เรียกกันว่าคลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง ที่เล่าไปเมื่อวันก่อน

ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้ขุดคูเมืองรอบนอกขยายออกไปอีกชั้นคือ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชดำริให้ขุดขึ้นในปีแรกที่ครองราชย์ เพื่อขยายเมืองให้กว้างออกไป ซึ่งก็ได้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีกเท่าตัว หรือประมาณ ๕,๕๕๒ ไร่ โดยจ้างแรงงานคนจีนขุด เริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้วัดเทวราชกุญชร เทเวศม์ ตัดผ่านคลองมหานาค เป็น “สี่แยกมหานาค” ผ่านทุ่งหัวลำโพง ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่เหนือวัดแก้วแจ่มฟ้าเดิม มีความยาว ๑๓๗ เส้น กว้าง ๑๐ วา ลึก ๖ ศอก สิ้นค่าจ้างขุดเป็นเงิน ๒๗,๕๐๐ บาท พระราชทานนามว่า “คลองผดุงกรุงเกษม” แล้วสร้างกำแพงเมืองตามแนวคลอง มีป้อมเป็นระยะห่างกันประมาณ ๑๒ เส้น รวม ๘ ป้อม ต่อมาป้อมเหล่านี้พร้อมกำแพงพระนครหมดความสำคัญ กลายเป็นสิ่งกีดขวางถนนและบ้านเรือน มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตรื้อออกทีละป้อม จนเหลือเพียงป้อมเดียว คือป้อมป้องปัจจามิตร ที่ปากคลองสาน ฝั่งธนบุรี

คลองนี้เป็นย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพฯตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีเรือขนสินค้ามาส่งตามย่านของสินค้าริมฝั่งคลอง เช่น ปากคลองด้านเทเวศร์เป็นตลาดข้าวและวัสดุก่อสร้าง รวมทั้ง อิฐ กรวด หิน กระเบื้อง ไม้เสา และไม้กระดาน ย่านสะพานเทวกรรมมีชาวมอญนำโอ่งดินจากสามโคก ปทุมธานี มาวางขาย จนเรียกย่านนี้ว่า “อีเลิ้ง” ซึ่งเป็นภาษามอญแปลว่า “โอ่ง” ต่อมาคนไทยเห็นว่าไม่สุภาพ เลยเรียกกันใหม่ว่า “นางเลิ้ง” ส่วนย่านสี่แยกมหานาคเป็นแหล่งผลิตผลทางการเกษตร ทั้งผักและผลไม้ ที่หัวลำโพงก็มีโกดังสินค้าที่ขนมาทางรถไฟ ปากคลองมีโรงน้ำแข็งของบริษัทนายเลิศ ทั้งยังมีโรงสี โรงเลื่อยอยู่หลายแห่งริมคลอง ซึ่งทั้งคนอยู่และคนผ่านต่างก็นิยมใช้คลองเป็นถังขยะด้วยกันทั้งนั้น คลองผดุงกรุงเกษมจึงเป็นคลองที่ตื้นเขินเร็ว ต้องขุดลอกอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันไม่มีการคมนาคม ใช้เพียงเป็นที่ระบายน้ำ และถูกตกแต่งอย่างสวยงาม มีเขื่อนคอนกรีตตลอดคลอง และมีถนนขนาบทั้ง ๒ ข้าง

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๐ ให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลองที่ต้องอนุรักษ์ และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในปี ๒๕๑๙

ยังมีคลองเล็กๆ อีก ๒ คลองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดให้ขุดขึ้นหลังจากขุดคลองรอบกรุง เป็นคลองซอยเชื่อมคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง มีลักษณะเล็กและตรงเหมือนหลอดดูดน้ำ จึงเรียกว่า “คลองหลอด” โปรดให้ขุดขึ้น ๒ คลอง คลองแรกขุดที่ข้างวัดบุรณศิริมาตยารามไปเชื่อมกับคลองรอบกรุงที่ข้างวัดเทพธิดารามวรวิหาร เรียกว่า “คลองหลอดวัดเทพธิดาราม” อีกคลองหนึ่งขุดจากคลองคูเมืองเดิมที่ข้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ไปเชื่อมกับคลองรอบกรุงที่ข้างสวนรมณีย์นาถ เรียกว่า “คลองหลอดวัดราชบพิธ” ในอดีต คลองทั้งสองนี้มีประโยชน์ในทางคมนาคม ใช้เป็นคลองลัดระหว่างคลองคูเมืองทั้ง ๒ แต่เมื่อมีประตูน้ำเกิดขึ้นในคลองคูเมืองแล้ว คลองหลอดทั้ง ๒ คลองจึงเป็นแต่คลองระบายน้ำ

คลองหลอดทั้ง ๒ นี้ถูกเรียกชื่อต่างกันไปตามสถานที่ผ่าน อย่างคลองหลอดวัดเทพธิดา ตอนผ่านวัดมหรรณพาราม ก็เรียกกันว่า คลองวัดมหรรณ์ ส่วนคลองหลอดวัดราชบพิธ ตอนผ่านข้างวัดสุทัศน์ กลับเรียกกันว่า คลองสะพานถ่าน เพราะเป็นแหล่งที่มีคนนำถ่านมาวางขาย เมื่อสมัย ๖๐-๗๐ ปีก่อน ย่านนี้เป็นที่รู้จักของผู้ชายในกรุงเทพฯเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้สนใจจะไปซื้อถ่าน หากเป็นย่านโสเภณีที่โด่งดัง

นอกจากนี้ยังมีคลองประวัติศาสตร์อีกคลองหนึ่งทางฝั่งพระนคร ที่ถือว่าเป็นคลองยุทธศาสตร์ ก็คือ คลองแสนแสบ ขุดขึ้นในปี ๒๓๘๐ สมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะไทยทำสงครามยืดเยื้อนานถึง ๑๔ ปีกับญวนที่เข้ายึดครองเขมร เพื่อใช้ในการขนส่งเสบียง ยุทธปัจจัย ตลอดจนกำลังพลให้สะดวกขึ้น จ้างแรงงานคนจีนขุดคลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงโดยขุดต่อจากคลองตันที่เชื่อมคลองหัวหมาก คลองบางกะปิ และคลองมหานาคอยู่แล้ว ผ่าทุ่งบางกะปิไปออกแม่น้ำบางปะกงที่บางขนาก เมืองฉะเชิงเทรา มีความยาว ๑,๓๓๗ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก หรือประมาณ ๕๓.๕๒ กิโลเมตร กว้าง ๖ วา หรือ ๑๒ เมตร ลึก ๔ ศอก หรือ ๒ เมตร ค่าจ้างขุดเส้นละ ๗๐ บาท ใช้เวลาขุดนาน ๓ ปี เมื่อขจัดอิทธิพลญวนออกจากเขมรได้แล้ว คลองนี้จึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ทำให้การเดินทางจากบางกอกไปเมืองแปดริ้วและเมืองปราจีนสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก ต่อมาก็มีผู้คนอพยพมาอยู่ตามแนวชายคลอง ขยายพื้นที่ทางการเกษตรออกไป

ส่วน คลองเปรมประชากร เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานพระกฐินที่อยุธยาในปีนั้น ทรงเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวทำให้เสียเวลาเดินทางมาก และอาจมีอันตรายในฤดูน้ำหลาก จึงมีพระราชดำริให้ขุดคลองลัด ซึ่งจะทำให้ให้ผู้คนอพยพเข้ามาอยู่เพื่อทำกสิกรรมด้วย ทำให้พื้นที่แถบนี้ซึ่งเป็นเขตทุ่งหลวงด้านตะวันตกที่ยังเป็นป่ารก ไม่มีผู้คนเข้าไปอาศัย จะได้มีความเจริญขึ้น เช่นเดียวกับเขตทุ่งหลวงด้านตะวันออกซึ่งมีคลองแสนแสบอยู่แล้ว โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นผู้อำนวยการเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระชลธารวินิจฉัย เป็นผู้ปักหมายกรุยแนวคลองและจ้างแรงงานคนจีนขุดเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาจากตำบาลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ลงมาทางใต้ ผ่านดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางซื่อ บรรจบคลองผดุงกรุงเกษมที่หน้าวัดโสมนัสวิหาร เป็นระยะทาง ๑,๒๗๑ เส้น ๓ วา หรือ ๕๐,๘๔๖ เมตร สิ้นพระราชทรัพย์ ๒,๕๔๔ ชั่งกับอีก ๘ บาท หรือ ๒๐๓,๕๒๘ บาท พระราชทานนามว่า “คลองสวัสดิเปรมประชากร” แต่ต่อมาคำว่า “สวัสดิ” ก็เลือนหายไป เรียกกันตามสะดวกว่า “คลองเปรมประชากร”

คลองนี้ได้ย่นระยะการเดินทางจากอยุธยา-กรุงเทพฯลงมาก ทั้งยังปลอดภัยกว่า จึงเป็นเสมือน “คลองด่วน” แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ราษฎรใช้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผ่านคลองเหมือนคลองภาษีเจริญ

คลองสำคัญของกรุงเทพฯอีกคลองหนึ่งก็คือ คลองประเวศบุรีรมย์ ขุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่นกันทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกงที่จังหวัดฉะเชิงเทราพระราชทานเงินทุนจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๘๐,๐๐๐ บาท และเงินจากราษฎรร่วมกันออกอีก ๓๒,๗๕๒ บาท เป็นค่าขุดคลอง โดยให้ราษฎรที่มีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์จากการจับจองที่ดินสองฝั่งคลองเป็นค่าตอบแทน

ด้วยวิธีนี้ ทำให้ที่ดินริมคลองประเวศบุรีรมย์ไม่เพียงพอกับความต้องการของราษฎร จึงได้ช่วยกันออกเงินขุดคลองแยกอีก ๔ คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่ เริ่มขุดตั้งแต่ปี ๒๔๒๑แล้วเสร็จในปี ๒๔๒๓ มีความยาวทั้งสิ้น ๔๖ กม.

พระราชประสงค์ของการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ ก็เพื่อการคมนาคมระหว่างเมืองสมุทรปราการกับเมืองฉะเชิงเทรา และเพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งคลองเพิ่มขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ดินที่ประสบความสำเร็จในการบุกเบิกพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งยุคนั้นมุ่งในการปลูกข้าวสนองความต้องการของตลาดโลก
คลองเก่าแก่อีกคลองของกรุงเทพฯ ก็คือ คลองสามเสน มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ในเพลงยาว “อนุสรณ์เจ้าฟ้าเหม็น” กล่าวว่าเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ หรือเจ้าฟ้าเหม็น พระราชโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่พระมารดาซึ่งเป็นพระธิดาของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานพระนามใหม่ให้เป็น เจ้าฟ้าอไภยธิเบศ ได้ปฏิสังขรณ์วัดอไภทาราม ปลายคลองสามเสนขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๓๔๑ ซึ่งก็คือ วัดอภัยธาราม ที่ข้างโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน แสดงว่าคลองสามเสนมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แล้ว

ในราวปี ๒๔๙๕ ผู้เขียนยังมีโอกาสได้เห็นความบริสุทธิ์ช่วงสุดท้ายของคลองสามเสน น้ำในคลองใสสะอาดน่าดำผุดดำว่าย ในฤดูน้ำเต็มฝั่งคลอง ตกเย็นหนุ่มสาวจะพายเรือเล่นกันอย่างสนุกสนาน ปลาสร้อยที่ลอยหัวเต็มแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูน้ำ ก็จะลอยหัวเต็มคลองสามเสนเช่นกัน แต่ถ้าวันใดโรงเหล้าเชิงสะพานเทพหัสดินที่ถนนพิชัยปล่อยน้ำออกมา ปลาตัวใหญ่ก็จะเมาส่าเหล้าลอยหัวด้วย ตอนค่ำถ้าเอาไฟฉายส่องตามริมตลิ่ง จะเห็นตาแดงๆของกรุงนางที่เมาส่าเหล้าเกยหัวเป็นแถว แต่พอมีประตูน้ำเกิดขึ้น ธรรมชาติอันสดใสเหล่านี้ก็กลายเป็นอดีต น้ำเสียจากบ้านเรือนไหลลงมาเป็นน้ำเน่าในคลอง ก่อนที่จะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นในปัจจุบัน

ยังมีคลองที่สำคัญอีก ๒ คลองซึ่งไม่ใช่เป็นคลองที่ขุดขึ้น แต่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมที่ไหลวกอ้อมไปเป็นรูปโค้งเกือกม้าหรือกระเพาะหมู ต้องใช้เวลาเดินเรือช่วงอ้อมนี้ถึงวันเต็มๆ จนราว พ.ศ.๒๐๘๐ สมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดในช่วงนี้เพื่อย่นระยะการเดินทางทำให้ทุ่นเวลาไปหนึ่งวันเต็มๆ แต่เมื่อน้ำเดินสะดวกพุ่งตรงไม่ต้องไหลโค้ง จึงเซาะตลิ่งคลองที่ขุดให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันส่วนโค้งของแม่น้ำที่น้ำไหลเข้าน้อยลงก็ตื้นเขินขึ้นทุกทีจนเรียกกันว่าคลอง ซึ่งก็คือ คลองบางกอกน้อย คลองบางระมาด หรือคลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ขุดใหม่นี้ จากปากคลองบางกอกน้อยที่สถานีรถไฟธนบุรี ถึงปากคลองบางกอกใหญ่ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดี๋ยวนี้ก็ยังแคบกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่เหนือและใต้ลงไป
คลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ เป็นคลองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และการเจริญเติบโตของกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้เป็นคลองที่ต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๐ แต่คลองที่ต้องอนุรักษ์นี้ ก็อย่าคิดว่าจะเป็นคลองอมตะนิรันดร อย่างคลองอรชร ที่ขนานถนนอังรีดูนังด์มาตลอด จากข้างสภากาชาดมาจนถึงสยามสแควร์ ซึ่งอยู่ในบัญชีอนุรักษ์นี้ด้วย ก็ถูกถมเป็นถนนไปเรียบร้อยหลายปีแล้ว ในยุคที่ถนนสำคัญกว่าคลอง
ทุกวันนี้คลองลดความสำคัญลงไปมากแล้ว ส่วนถนนกลับเป็นสิ่งสำคัญของบ้านเมือง แต่ก็ยังดีที่ยังมีสะพานไว้ให้ข้ามคลอง ไม่ถมไปเสียทั้งหมด

คลอง ถนน สะพาน จึงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย
คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร

คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร

คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร

คูคลองหรือแม่น้ำมีความสำคัญกับการตั้งกรุงอย่างไร



  • คลอง
  • เรื่องเก่าเล่าสนุก
  • โรมบุนนาค

ภูมิปัญญาด้านการขุดคลองในกรุงศรีอยุธยามีความสำคัญอย่างไรมากที่สุด

การขุดคลองในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการคมนาคม ติดต่อกับหัวเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาเขต เป็นเหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์และการค้าภายในเป็นหลัก แต่ไม่ใช่เพื่อการชลประทานแต่อย่างใด ส่วนการขุดคลองลัดก็สามารถย่นระยะทางของลำน้ำตามธรรมชาติที่ลักษณะคดโค้งตามรูปแบบของเส้นทางน้ำในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เพราะ ...

แม่น้ำลำคลองมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวันของคนเรา

คลองช่วยให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณภาคกลางของประเทศ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายต่างๆ เป็นจำนวนมาก การขุดคลองได้ช่วยการสัญจรทางน้ำ โดยเชื่อมแม่น้ำสายต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือเป็นเส้นทางลัดในแม่น้ำที่ไหลอ้อม คดเคี้ยวไปมา ให้สามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น จะเห็นได้ ...

ลําคลอง มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของคลอง เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำ และป้องกันอุทกภัยจากน้ำท่วมและน้ำขัง เพื่อใช้ในการชลประทานสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อใช้ในกิจการประปา สำหรับการอุปโภคบริโภคน้ำสะอาดของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองและเขตชุมชนใหญ่ๆ

ความหมายของการขุดคลองคืออะไร

ในกรณีของคลองขุดนั้น เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้ ๑. ขุดเป็นคลองลัด เพื่อเชื่อมลำน้ำตอนที่ไหลโค้งตวัด หรือเชื่อมแม่น้ำ ๒ สายเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำ มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น